520 likes | 689 Views
ปัญหาสุขภาพ พฤติกรรมดูแลสุขภาพ และการใช้บริการสุขภาพของแรงงาน ในโรงงานวงษ์พาณิชย์ จำกัด สาขาท่าทอง จังหวัดพิษณุโลก. วิภาวี ชอบดี ฐิติมา คุรุพงศ์ ปริณยะศักดิ์ สังกะเพศ. หลักการและเหตุผล.
E N D
ปัญหาสุขภาพ พฤติกรรมดูแลสุขภาพและการใช้บริการสุขภาพของแรงงานในโรงงานวงษ์พาณิชย์ จำกัด สาขาท่าทองจังหวัดพิษณุโลก วิภาวีชอบดี ฐิติมาคุรุพงศ์ ปริณยะศักดิ์สังกะเพศ
หลักการและเหตุผล • ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศไปในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยแรงงานที่ทำงานในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากภาคเกษตรกรรม ปัญหาการเจ็บป่วยและสุขภาพอนามัยของแรงงาน จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจที่ได้มีการศึกษาวิจัยกันเรื่อยมา ว่าคนงานที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมมีลักษณะการเจ็บป่วยและสภาวะสุขภาพอนามัยเป็นอย่างไร ดังนั้นการศึกษาวิจัยทั้งในเรื่องปัญหาการเจ็บป่วย สุขภาพอนามัย และการส่งเสริมสุขภาพอนามัย รวมทั้งบทบาทของแรงงานในการแก้ปัญหาและส่งเสริมสุขภาพ เพื่อว่าความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวจะได้นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อคนงาน นายจ้าง และรัฐบาล ในการที่จะหาแนวทางป้องกันและแก้ไขภัยอันตรายที่อาจจะมีผลต่อสุขภาพอนามัยของคนงาน เพื่อสนับสนุนให้ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานสูงขึ้น และเป็นการเสริมสร้างโอกาสในการทำงานของแรงงาน อันจะเป็นผลให้มีบทบาทและสถานภาพในการทำงานสูงขึ้นด้วย
วัตถุประสงค์ • เพื่อทราบถึงปัญหาสุขภาพที่พบในแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม • เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อเกิดภาวะการเจ็บป่วยขึ้น • เพื่อทราบถึงปัจจัยหรือเงื่อนไขอื่นๆ เช่น สภาวะเศรษฐกิจ และการดูแลของครอบครัว ซึ่งมีผลต่อการกำหนดพฤติกรรมการดูแลตนเองและการเข้ารับบริการในสถานบริการทางสาธารณสุข
รูปแบบการวิจัย • Qualitative study : Focus group discussion. In-depth Interview.
วิธีดำเนินการวิจัย • สัมภาษณ์เก็บข้อมูลเบื้องต้น โดยทางโรงงานวงษ์พาณิชย์เป็นผู้เลือกผู้เข้าร่วมการวิจัย 20 คน เนื่องจากเพื่อมิให้กระทบกระเทือนระบบการทำงาน จากนั้น คัดเลือกผู้ที่เข้า Inclusion criteria ทำการเก็บข้อมูลแบบ Focus group discussion แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 - 7 คน และเลือกทำ In-depth Interview ในรายที่น่าสนใจ 3 ราย คือ • รายที่ไม่เคยลางานเลย • รายที่เป็นผู้ป่วยเรื้อรัง ใช้บริการสุขภาพหลากหลายและมีสุขภาพดีขึ้น หลังจากทำงานในโรงงาน • รายที่มีทัศนคติที่ดีต่อโรงพยาบาล • โดยจะมีการขออนุญาตบันทึกเทปและจะเก็บข้อมูลเป็นความลับ และทำการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
ทบทวนวรรณกรรม • ส่วนข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2537 เรื่อง “สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2537“
ตารางที่ 1 :จำนวนผู้ป่วยนอกตามกลุ่มสาเหตุ ( 6 กลุ่มโรค ) จากสถานบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข ภาคเหนือ กับอัตราป่วยต่อประชากร 100 คน พ.ศ. 2537
ทบทวนวรรณกรรม(ต่อ) • การศึกษาของนสพ.ธีราภา ชาญกูลและคณะปี 2545 ในเรื่อง “พฤติกรรมดูแลสุขภาพและการเข้ารับการรักษาของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบ” เป็นการศึกษาแบบ Qualitative Descriptive Study ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลเบื้องต้นเพื่อทำความรู้จักและคัดเลือกผู้ร่วมสนทนากลุ่ม ( Focus group discussion ) และ In-depth Interview กับผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก ที่มีภาวะเจ็บป่วยในช่วง 1ปีที่ผ่านมา (2545) จำนวน 17 คน • ประเด็นเรื่องของปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเมื่อยามเจ็บป่วย ได้ข้อสรุป คือ ภาวะความเจ็บป่วยที่พบมักเป็นความเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถดูแลรักษาได้ด้วยตนเอง และโดยส่วนใหญ่จะเลือกใช้วิธีการซื้อยามารับประทานเองจากร้านขายยา ร้านค้าในตลาด ในส่วนของการรับรู้ข้อมูลทางสุขภาพ ส่วนใหญ่ก็รับรู้จากโฆษณาทางโทรทัศน์ ผู้ขายยาโดยตรง ประสบการณ์การใช้ยาดังกล่าวมาก่อน สำหรับเหตุผลที่เลือกใช้เป็นเรื่องของความสะดวก ไม่เสียเวลา ไม่แพง
ทบทวนวรรณกรรม(ต่อ) • ประเด็นพฤติกรรมการใช้บริการทางสถานบริการสาธารณสุขเมื่อเจ็บป่วย คือเมื่อเจ็บป่วยถึงกับช่วยเหลือตัวเองไม่ได้จึงมาทำการรักษา ซึ่งเหตุผลก็เป็นเรื่องของเศรษฐกิจ • ความต้องการต่อบริการสาธารณสุขในเพศหญิงแตกต่างจากเพศชายคือ ต้องการเน้นถึงแพทย์ผู้รักษาเป็นพิเศษ ซึ่งควรมีความเข้าใจผู้ป่วยมาก ควรมีจิตวิทยาในการคุยกับคนไข้ เมื่อจะบอกความจริงเกี่ยวกับโรคร้ายแรงที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ โดยไม่เน้นถึงบุคลากรอื่น ๆ มากนักเมื่อเทียบกับความต้องการของสามล้อถีบเพศชาย
ทบทวนวรรณกรรม(ต่อ) • วรวิทย์ เจริญเลิศ และนภาพร อติวานิชพงศ์ ปี 2545 โครงการวิจัยเรื่อง “ การพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนงาน” วิเคราะห์ข้อมูลภาพรวมของลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรมประเภทต่างๆทั่วประเทศ โดยจำแนกเป็น 4 กลุ่ม คือลูกจ้างในภาคธุรกิจที่เป็นทางการ ลูกจ้างนอกภาคธุรกิจที่เป็นทางการ แรงงานต่างด้าวและแรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศ • พบว่า การขาดหลักประกันด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานเป็นสาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งของความจนและความด้อยโอกาสนอกเหนือจากสาเหตุด้านรายได้และความมั่นคง • การที่รัฐบาลไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการบังคับใช้กฎหมายด้านความปลอดภัยในสถานประกอบการ : กรณีไฟไหม้โรงงานเคเดอร์อินดัสเทรียล จังหวัดนครปฐม (10 พ.ค. 2536) มีคนงานเสียชีวิต 188 ราย บาดเจ็บ 481 ราย, โรงงานอบลำไยแห้งที่จังหวัดเชียงใหม่ (19 ก.ย.2542) มีคนงานเสียชีวิต 36 ราย • สภาพแวดล้อมที่ไม่ได้มาตรฐาน,การขาดแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านโรคที่เกิดจากการทำงาน ทำให้ผู้ป่วยด้วยโรคจากการทำงานไม่ได้รับการรักษาถูกต้องตั้งแต่แรก : กรณีคนงานป่วยด้วยโรคปอดอักเสบจากฝุ่นฝ้าย โรงงานทอผ้ากรุงเทพ ซึ่งต่อสู้โดยผ่านกระบวนการทางศาลเพื่อให้ได้สิทธในการเข้าถึงสวัสดิการจากกองทุนเงินทดแทน ,กรณีคนงานเสียชีวิตจากสารพิษตะกั่วในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน
ทบทวนวรรณกรรม(ต่อ) • กุศล สุนทรธาดา และสุรีย์พร พันพึ่ง ปี 2530 ในโครงการวิจัยเรื่อง “ การวางแผนครอบครัวและสุขภาพอนามัยของสตรีโรงงาน ” แบบ Descriptive เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลจากแรงงานสตรีในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ จำนวน 906 ราย ส่วนใหญ่อายุ 20 – 29 ปี มาจากชนบท การศึกษาชั้น ป.4 รายได้เฉลี่ย 2500 – 3000 บาท/เดือน ส่วนใหญ่ ( 60 % ) ทำงานมานานกว่า 5 ปี ร้อยละ 54.2 ไม่เคยเปลี่ยนหน้าที่การทำงานเลย • การเจ็บป่วยที่พบนั้นมักจะเป็นอาการของโรคหลายๆโรคในเวลาเดียวกัน
ทบทวนวรรณกรรม(ต่อ) • อาการเจ็บป่วยที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เช่น เสียง ฝุ่น และแสง ก่อให้เกิดอาการ เช่น สมรรถภาพการได้ยินลดลง อาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับทางเดินหายใจ อาการทางตา มีสัดส่วนสูงขึ้นเมื่อทำงานในโรงงานนานขึ้น • คนงานเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่แสดงทัศนคติว่าสิ่งแวดล้อมต่างๆมีผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ดังนั้นส่วนใหญ่จึงไม่ใส่ใจในการป้องกัน • แรงงานกลุ่มนี้ต้องการมีบุตร 2 – 3 คน แต่มีบุตรเฉลี่ยไม่ถึง 2 คน ทั้งนี้เนื่องจากสภาพจำยอมจากสภาพการทำงาน และนิยมคุมกำเนิดโดยวิธีชั่วคราว รองลงมาคือ ทำหมันหญิงซึ่งนิยมในคนที่มีอายุมากและไม่ต้องการมีบุตรอีก
ตารางที่ 2 : ร้อยละของการเจ็บป่วยทั่วไปของแรงงานสตรี
ตารางที่ 3 : ร้อยละของผลการประเมินสุขภาพของแรงงานสตรี A1 : ปกติ A2 : เสื่อมสมรรถภาพเล็กน้อย A3 : เสื่อมสมรรถภาพปานกลาง A4 : เสื่อมสมรรถภาพมาก
จากการทบทวนวรรณกรรม.............จากการทบทวนวรรณกรรม............. • อาชีพเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการเข้ารับการบริการทางสาธารณสุข กลุ่มแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมมีทัศนคติและพฤติกรรมสุขภาพต่างจากกลุ่มอาชีพอื่นอย่างไร • แรงงานในปัจจุบันมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการเข้ารับการบริการทางสาธารณสุขเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างเมื่อเวลาผ่านไป กว่า 15ปีและมีการรณรงค์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และสิทธิของแรงงานมากขึ้น เพียงพอกับความต้องการหรือไม่
คำถามการวิจัย • คำถามหลัก : ปัญหาสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และการใช้บริการสุขภาพของแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร เมื่อเกิดภาวะการเจ็บป่วยขึ้น • คำถามรอง : • ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยหรือเงื่อนไขอื่นๆ เช่น สภาวะเศรษฐกิจและการดูแลของครอบ ครัวแรงงานสตรีในโรงงานอุตสาหกรรม กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเป็นอย่างไร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ • ทราบปัญหาสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเองของแรงงานในโรงงาน ช่วยในการปรับปรุงแก้ไข พัฒนาพฤติกรรม นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี • เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม สถานบริการสาธารณสุข นายจ้าง และรัฐบาลในการที่จะหาแนวทางป้องกันและแก้ไขภัยอันตรายที่อาจจะมีต่อสุขภาพอนามัยของแรงงาน • เพื่อส่งเสริมให้ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมสูงขึ้น
Host :อายุ,เพศ,อาชีพ,สถานภาพสมรส,จำนวนบุตร,เศรษฐกิจภายในครอบครัว,ประวัติความเจ็บป่วยของบุคคลนั้นและครอบครัว,การรับรู้,ความรู้สึกต่อปัญหาสุขภาพของบุคคลนั้น,การดูแลสุขภาพก่อนป่วยเช่นอาหาร, การออกกำลังกาย,ความเครียด,ความวิตกกังวล Agent : Biological Physiological Chemical Environment : แสง ฝุ่น ความร้อน เสียงเครื่องจักรกล ภาวะเจ็บป่วย ปัญหาสุขภาพ พฤติกรรม การดูแลสุขภาพ Self care สถานบริการ ทางด้านสาธารณสุข การรับรู้,ความรู้สึก,ความต้องการและปัญหาที่พบในแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อเกิดความเจ็บป่วยที่ต้องมารับการรักษาในสถานบริการทางด้านสาธารณสุข ผลการรักษา
Inclusion criteria : แรงงานในโรงงานวงพาณิชย์ จำกัด สาขาท่าทอง จังหวัดพิษณุโลก ที่มีภาวะการเจ็บป่วยในช่วง วันที่ 1 มกราคม 2545 ถึง 31 ธันวาคม 2545 Exclusion criteria : แรงงานในโรงงานวงพาณิชย์ จำกัด สาขาท่าทอง จังหวัดพิษณุโลก ที่ไม่เคยมีภาวะการเจ็บป่วยในช่วง วันที่ 1มกราคม 2545 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2545 ระเบียบวิธีวิจัย กลุ่มประชากร
Variable • Independent variable : ทัศนคติและวัฒนธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมการดู แลสุขภาพ • Dependent variable :พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ การเลือกสถานบริการทางสาธารณสุข • Confounding variable :อายุ, underlying disease ฐานะทางเศรษฐกิจ , การศึกษา
คำนิยาม • แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม หมายถึง บุคคลที่ทำงานร่วมกับเครื่องจักรกลในโรงงานอุตสาหรรม ที่มีระบบงานกะ และงานล่วงเวลา โดยได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนจากนายจ้างเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมนั้น • สุขภาพ หมายถึง การมีสุขภาพกาย ใจ จิตวิญญาณ สังคม และเศรษฐกิจดี จนทำให้ชีวิตมีคุณภาพ • พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ หมายถึง การที่บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาให้เห็นว่าถูกต้องตามหลักสุขภาพ มีผลทำให้บุคคลนั้นมีสุขภาพอนามัยดี ไม่เป็นโรค และป้องกันมิให้เกิดโรค หรือไม่อยู่ในสภาวะที่เป็นโรคได้ง่าย มีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนทางอนามัยดีและถูกต้อง
คำนิยาม(ต่อ) • ภาวะความเจ็บป่วย หมายถึง ความเจ็บป่วยที่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ หรือความเจ็บป่วยที่ต้อง 1) ทำงานตามปกติไม่ได้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง 2) รับประทานอาหารตามปกติไม่ได้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง และ 3) ต้องนอนพักอย่างน้อย 24 ชั่วโมง • การใช้บริการสุขภาพ หมายถึง การไปรักษาทั้งแผนปัจจุบัน , แผนโบราณ , การซื้อยากินเอง และรับข้อมูลจากร้านขายยา
Sample size • แรงงานในโรงงานวงษ์พาณิชย์ จำกัด สาขาท่าทอง จังหวัดพิษณุโลก ที่มีภาวะการเจ็บป่วยในช่วง วันที่ 1 มกราคม 2545 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2545 จำนวน 20 คน
Bias • Selective bias : Choice of sampling frame • Information bias : Omission/ Imprecision recording data • Confounding bias : Age , Underlying disease
ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ข้อมูล ระยะเวลาการวิจัย • 2 สัปดาห์
การสูบบุหรี่ - การดื่มสุรา
การพักผ่อน - การออกกำลังกาย
ปัญหาสุขภาพ หรือภาวะความเจ็บป่วยที่พบในแรงงานในโรงงาน • ส่วนใหญ่มักเป็นปัญหาความเจ็บป่วย เล็กๆน้อยๆ ที่สามารถดูแลรักษาได้ด้วยตนเองก่อนมาพบแพทย์ เช่น ไข้หวัด ปวดศีรษะ ปวดท้อง ปวดเมื่อยทั่วไป • แต่บางส่วนเคยมีปัญหาความเจ็บป่วยในอดีต ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เช่น เป็นไข้มาลาเรีย เป็นไทรอยด์เป็นพิษ • ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า จะต้องรุนแรงถึงขั้นไม่สามารถปฏิบัติภารกิจต่อไปได้ หรือรบกวนประสิทธิภาพการทำงานจึงมารักษาที่โรงพยาบาล • ส่วนเรื่องการดื่มสุราไม่ค่อยเป็นปัญหาสุขภาพมากนักเนื่องจากดื่มไม่บ่อย ดื่มตามเทศกาล
อภิปรายผล :ปัญหาสุขภาพ ปัญหา • ส่วนมากปัญหาสุขภาพเล็กๆน้อยๆ เช่น ปวดศรีษะ เป็นไข้ ที่สามารถหาทางป้องกันได้ ส่วนโรคร้ายแรงมักไม่ค่อยเกิด ซึ่งจะเห็นว่าแรงงานในโรงงานมีสุขภาพแข็งแรง โดยสภาพแวดล้อมที่ทำงานมีผลต่อความเจ็บป่วยน้อยมา • แต่การเจ็บป่วยในระบบทางเดินหายใจนั้น เมื่อคิดแล้วเป็น 70 % ซึ่งมากกว่าตัวเลขสถิติของกระทรวงสาธารณสุข เกือบ 2 เท่า ( 33.05%) นั้นอาจจะเป็นเพราะอคติในการวิจัยที่สืบเนื่องมาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
อภิปรายผล :ปัญหาสุขภาพ(ต่อ) แนวทางแก้ปัญหา • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้สบาย • กระตุ้นให้รับรู้และเข้าใจผลการทำงานและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยและการเจ็บป่วย เพื่อจะได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันพิษจากการทำงาน มีความกระตือรือร้นที่จะทำการป้องกันและทำอย่างต่อเนื่อง
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ • พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของแรงงานในโรงงาน โดยส่วนใหญเมื่อเกิดภาวะความเจ็บป่วยขึ้นมาหากเป็นความเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆที่พอจะดูแลตนเองได้ จะขอยาที่ออฟฟิศและสถานีอนามัยมารับประทานเอง ซึ่งหากรุนแรงมากขึ้นชนิดกินแล้วไม่หาย ก็จะไปโรงพยาบาล มีส่วนน้อยที่จะไปคลินิก โดยส่วนมากแล้วจะตระหนักที่จะดูแลตัวเองเมื่อมีความเจ็บป่วย • แรงงานทุกคนมีความตระหนักในการสวมผ้าปิดจมูก ถุงมือ ทุกคนเชื่อว่าสามารถป้องกันการเจ็บป่วยจากการทำงานได้
อภิปรายผล : พฤติกรรมสุขภาพ ปัญหา • ด้านการรักษา : พฤติกรรมการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย เช่น การซื้อยามารับประทานเอง • ด้านการส่งเสริมสุขภาพ : พฤติกรรมการออกกำลังกาย แนวทางแก้ปัญหา • ควรส่งเสริมให้แรงงานในโรงงานออกกำลังกายโดยวิธีอื่น ชี้ให้เห็นประโยชน์มากมายจากการออกกำลังกายซึ่งส่งผลดีทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ อาจชักชวนให้ลูกหลาน คนใกล้ชิดร่วมออกกำลังกาย เป็นการเชื่อมสัมพันธภาพภายในครอบครัวได้
การรับรู้ ความรู้สึก ความต้องการ และปัญหาที่พบในการใช้บริการสุขภาพ • ส่วนใหญ่จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทั้งของรัฐ ก็ต่อเมื่อความเจ็บป่วยมาก รุนแรงพอที่จะทำให้ไม่สามารถจะประกอบอาชีพได้ตามปกติ • สาเหตุของการไม่มารักษาในระยะเริ่มแรก เนื่องมาจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ เป็นหลัก ทำให้ต้องขาดงานขาดรายได้ • บางท่าน มีเจตคติในด้านลบต่อ โรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์โดยตรง • ในเรื่องของความรู้สึกต่อการบริการ ส่วนใหญ่รู้สึกพอใจว่าแพทย์พูดดีกับคนไข้ มีส่วนน้อยที่ดุคนไข้
การรับรู้ ความรู้สึก ความต้องการ และปัญหาที่พบในการใช้บริการสุขภาพ(ต่อ) • มีความต้องการให้แพทย์เข้าใจคนไข้มากขึ้น ยิ้มแย้ม เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการได้รับรู้ ซักถามสิ่งที่ข้องใจ โดยไม่ถูกตำหนิด้วยวาจา หรือท่าทีที่ไม่เหมาะสม • ทางโรงงานแจกผ้าปิดจมูก ถุงมือ ผ้าคลุมศีรษะ หมวก ให้แก่คนงานทุกคน • คนงานทุกคนมีประกันสังคม แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้สิทธิ์นั้น เนื่องจากต้องเสียเวลาไปโรงพยาบาล และมีการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
อภิปรายผล : การรับรู้ ความรู้สึก ความต้องการ ข้อเสนอแนะ • ควรมีการประชาสัมพันธ์ในส่วนของนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อาศัยหลายๆหน่วยงานเข้ามามีส่วนร่วม และอาศัยสื่อต่างๆ เช่น รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ เชิญวิทยากรที่มีความรู้ในเรื่องหลักประกันสุขภาพ มาตอบปัญหาและข้อข้องใจของประชาชน เปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น • ปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริการของสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสามารถ รองรับประชากรในพื้นที่ เน้นเชิงรุกมากขึ้น และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนในการแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ หลังการได้รับบริการทุกครั้งอาจเป็นตู้รับความคิดเห็น
อภิปรายผล : การรับรู้ ความรู้สึก ความต้องการ(ต่อ) • ควรมีการทบทวนระบบประกันสังคมให้เหมาะสมกับคนงาน เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ได้ไปใช้บริการแต่ต้องถูกหักค่าจ้างส่วนหนึ่งในการทำประกันสังคม • การที่โรงงานมีระบบป้องกันสุขภาพของแรงงานที่ดี มีการตรวจสุขภาพประจำปี ทำให้แรงงานมีสุขภาพดี และก่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน • การที่แรงงานในโรงงานมีสุขภาพดีนั้นอาจมาจาก การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมงานด้วยกัน นายจ้าง ทำให้สุขภาพจิตดีนำไปสู่สุขภาพร่างกายที่ดีได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ • ปัญหาเศรษฐกิจ : เป็นปัญหาแรกสุดที่มีผลต่อการมารับการรักษาในโรงพยาบาล จึงทำให้แรงงานในโรงงานเลือกที่จะดูแลตนเองก่อน เนื่องจากการมาโรงพยาบาลหมายถึงรายได้ที่ขาดไป เพราะการมาโรงพยาบาลจะเสียเวลาในการมารอตรวจเกือบทั้งวัน • ทัศนคติ : เป็นความคิด ความเชื่อ ความรู้สึกที่มีอยู่เดิม หรือประสบการณ์ที่ได้รับ ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของแต่ละคน • ความสะดวก รวดเร็ว : เป็นปัจจัยหนึ่งในการเลือกแหล่งพึ่งพิงทางสุขภาพ เช่น ร้านขายยา ร้านค้า คลินิกใกล้บ้าน
อภิปรายผล :ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ • หน่วยบริการสาธารณสุขควรเน้นในเรื่องของการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม ทั้งยามปกติและเจ็บป่วย ควรเน้น 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่องพฤติกรรมการรักษาตนเองเมื่อเจ็บป่วยและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงในยามปกติ เช่น การออกกำลังกาย • ขั้นตอน คือ บุคลากรสาธารณสุขให้คำปรึกษา ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เสนอทางเลือก ให้ตระหนักในปัญหาของตนเองก่อนต้องการที่จะแก้ปัญหา และพยายามค้นหาศักยภาพที่ทำให้เขาสามารถมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมต่อไป
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย • ทราบปัญหาสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเองของแรงงานในโรงงาน ช่วยในการปรับปรุงแก้ไข พัฒนาพฤติกรรม นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี • เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม สถานบริการสาธารณสุข นายจ้าง และรัฐบาลในการที่จะหาแนวทางป้องกันและแก้ไขภัยอันตรายที่อาจจะมีต่อสุขภาพอนามัยของแรงงาน • เพื่อส่งเสริมให้ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมสูงขึ้น
อุปสรรคและข้อเสนอแนะ • ผู้เป็น modulator ขาดประสบการณ์และความสามารถในการดึงสมาชิกผู้ร่วมสนทนาให้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นโต้ตอบ จึงทำให้การสนทนากลุ่มค่อนข้างเป็นไปในเชิงซักถาม ข้อมูลที่ได้อาจขาดข้อมูลบางส่วนที่เกิดจากการสนทนากลุ่มร่วมกัน • ระยะเวลาในการทำงานวิจัยไม่เหมาะสม ผู้ทำการวิจัยต้องรีบเร่ง รวบรวม อภิปราย และวิเคราะห์ข้อมูล จึงควรเพิ่มระยะเวลาในการทำงานวิจัยให้เหมาะสม • ในการสัมภาษณ์ ใช้สถานที่บริเวณลานในโรงงาน ทำให้มีเสียงดังรบกวนการสัมภาษณ์ตลอดเวลา จึงควรจัดสถานที่สำหรับสัมภาษณ์ให้เป็นสัดส่วน หลีกเลี่ยงจากปัจจัยอื่นที่มารบกวน
เอกสารอ้างอิง • กุศล สุนทรธาดา , สุรีย์พร พันพึ่ง. การวางแผนครอบครัวและสุขภาพอนามัยของสตรีโรงงาน ใน ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์ , เพ็ญจันทร์ ประดับมุข , จริยา สุทธิสุคนธ์ , บรรณาธิการ. พฤติกรรมสุขภาพ,พิมพ์ครั้ง ที่ 1 .โครงการข่ายงานวิจัยพฤติกรรมสุขภาพ ศูนย์ประสานงานทางการแพทย์และสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข , 2533 . 240 – 273 • กลุ่มงานอาชีวอนามัย ศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต 9 พิษณุโลก. คู่มือปฏิบัติงานอาชีวอนามัยสำหรับเจ้าหน้าที่สาธาณสุข , พิมพ์ครั้งที่ 1 .2540 • ธีราภา ชาญกูล และคณะ . รายงานการวิจัยเรื่อง พฤติกรรมดูแลสุขภาพและการเข้ารับการักษาของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบ 2545.
เอกสารอ้างอิง(ต่อ) • ฝ่ายการศึกษาพยาบาลและผดุงครรภ์ กองอนามัยครอบครัว กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข . รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของสตรีวัยก่อนและหลังหมดระดู ในจังหวัดสระบุรี, นครสวรรค์ นครราชสีมา และนครศรีธรรมราช 2537. • ภิรมย์ กมลรัตนกุล , มนต์ชัย ชาลาประวรรตน์ , ทวีสิน ตันประยูร . หลักการทำวิจัยให้สำเร็จ , พิมพ์ครั้งที่ 2 . บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด , 2542. • ลือชัย ศรีเงินยวง , ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์ , บรรณาธิการ . ยุทธศาสตร์เพื่อการดูแลสุขภาพตนเอง ,พิมพ์ครั้งที่ 1 .ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล , 2533 .