430 likes | 904 Views
โดย คุณพ่อ สุรสิทธิ์ ชุ่มศรีพันธุ์ คุณพ่อ สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์.
E N D
โดย คุณพ่อ สุรสิทธิ์ ชุ่มศรีพันธุ์ คุณพ่อ สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์
“แม่พระแห่งลูกประคำ” นามนี้มีกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีใครทราบแน่ชัด อาจกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 8มีการสวดบท “ข้าแต่พระบิดา” ซ้ำไปซ้ำมา โดยใช้ลูกประคำ 150 บท ตามจำนวนบทสดุดีในพระคัมภีร์ แล้วต่อมาจึงนำ บท “วันทามารีอา” ท่อนแรกมาใช้แทนบท “ข้าแต่พระบิดา”
สายประคำนำชีวิต อาวุธคู่กายของบรรดาคริสตัง • หลายคนมีมากกว่าหนึ่งสายและสวดมากกว่าหนึ่งสาย
“แม่พระลูกประคำ” เกี่ยวโยงกับการประจักษ์ของแม่พระต่อนักบุญดอมินิโก ใน ปี ค.ศ. 1208 นักบุญดอมินิโกกำลังต่อสู้กับอิทธิพลอันใหญ่หลวงของลัทธิเฮเรติก ท่านรู้สึกถึงความท้อแท้ เพราะการทำงานของท่านไร้ผล แม่พระประจักษ์มาและทรงสอนท่านว่า “อย่าแปลกใจเลย ที่การทำงานของลูกไร้ผล ลูกกำลังทำงานบนผืนดินที่แห้งแล้ง โดยไม่รดน้ำด้วยพระหรรษทาน เมื่อพระเจ้าทรงประสงค์จะเนรมิตแผ่นดินขึ้นใหม่นั้น พระองค์เริ่มด้วยการส่งฝนแห่งความเจริญงอกงาม นั่นคือ การแจ้งสารของเทวทูต (คำทักทายว่า “วันทามารีอา”) ฉะนั้น ลูกจงเผยแพร่การสวดคำทักทายของเทวทูตนี้ 150 ครั้ง และบท “ข้าแต่พระบิดา” 15 ครั้ง แล้วลูกจะเก็บเกี่ยวได้อย่างอุดมสมบูรณ์”
นักบุญดอมินิโก เริ่มต้นเผยแพร่ความศรัทธาต่อการสวดลูกประคำ ที่สุดท่านได้รับชัยชนะ ในสมัยของAlan de Rupe (1428-1475) ซึ่งได้ฉายาว่า “อัครสาวกผู้ยิ่งใหญ่แห่งลูกประคำ” เป็นผู้จุดประกายให้เห็นความเกี่ยวข้องของนักบุญดอมินิโกและลูกประคำ และได้เผยแพร่การสวดลูกประคำ จนเป็นที่นิยมไปทั่วทุกแห่งหน • ในวันที่ 7 ตุลาคม 1571 สมาชิกแห่งแนวร่วมในการสวดสายประคำ ร่วมชุมนุมสวดสายประคำ เพื่อขอพรสำหรับกองทัพคริสตัง ที่กำลังสู้รบกับพวกเติร์กมุสลิม ที่เมือง Lepantoพระสันตะปาปา ปีโอ ที่ 5 ทรงร่วมสวดด้วย และที่สุดกองทัพคริสตังได้รับชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งช่วยให้ยุโรปรอดพ้นจากการยึดครองของมุสลิม พระสันตะปาปา ปีโอ ที่ 5 จึงกำหนดให้วันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ.1571 เป็นวันรำลึกถึงแม่พระลูกประคำประจำปีตั้งแต่นั้นมา
พระแม่แห่งสายประคำในรูปแบบต่างๆเกิดจากความศรัทธาที่มีต่อแม่พระ • ผ่านทางพระแม่ คำภาวนาของเรามุ่งไปสู่พระเยซูเจ้า
เมื่อกล่าวถึงแม่พระแห่งลูกประคำ เราคิดถึงเหตุการณ์ที่แม่พระประจักษ์มาให้แก่ท่านนักบุญดอมินิโก และสอนให้ท่านเผยแพร่การสวดลูกประคำ จิตรกรจึงมักวาดรูปแม่พระแห่งลูกประคำเป็นรูปแม่พระอุ้มพระกุมาร และมอบสายประคำให้แก่นักบุญดอมินิโก แต่ด้วยความศรัทธาที่คริสตชนมีต่อนักบุญคาทารีนา แห่งซีเอนา (1347-1379) ซึ่งเป็นสมาชิกขั้นที่ 3 ของคณะดอมินิกัน นักบุญคาทารีนาแห่งซีเอนา ซึ่งเป็นนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ของคณะดอมินิกันก็ว่าได้ ในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ และสามารถช่วยให้พระสันตะปาปากลับมาอยู่กรุงโรมได้อีกครั้ง ในสมัยนั้น ที่พระสันตะปาปาต้องจากกรุงโรมไปอยู่ที่ Avignon ประเทศฝรั่งเศส ชาวอิตาเลียนยังถือว่า นักบุญคาทารีนาแห่งซีเอนาเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของประเทศอิตาลี คู่กับนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีอีกด้วย ฉะนั้น เมื่อจิตรกรวาดภาพแม่พระลูกประคำ จึงมักมีรูปของนักบุญ คาทารีนาแห่งซีเอนาอยู่คู่กับนักบุญดอมินิโกด้วยนั่นเอง
พระแม่แห่งสายประคำ ปอมเปอี นักบุญโดมินิโกและคาเทรีนาแห่งซีเอนารับสายประคำ
รูปแม่พระอุ้มพระกุมารกำลังประทานสายประคำแก่นักบุญทั้งสองนี้ เกิดขึ้นมาเมื่อไรแน่ หรือมีชื่อเรียกรูปนี้ว่าอะไร ไม่มีบันทึกแน่ชัด เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และได้รับนามว่า “แม่พระแห่งลูกประคำ” ก็ในปลายศตวรรษที่ 19 โดยเริ่มต้นที่เมือง Campania ในหุบเขาปอมเปอี รูปนี้จึงได้รับชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “แม่พระแห่งปอมเปอี” ที่น่าสังเกตก็คือ “รูปแม่พระแห่งปอมเปอี” นี้ เป็นรูปแม่พระอุ้มพระกุมารด้วยพระหัตถ์ขวา ส่วนพระหัตถ์ซ้ายของแม่พระยื่นสายประคำให้แก่นักบุญคาทารีนาแห่งซีเอนา ขณะที่พระกุมารเองหันพระพักตร์ไปยังนักบุญดอมินิโก และใช้พระหัตถ์ส่งสายประคำให้นักบุญดอมินิโกส่วนรูปแม่พระพระองค์ใหญ่ เหนือพระแท่นในวัดกาลหว่าร์ของเรา ซึ่งเป็นรูปปั้นตั้งอยู่ในตำแหน่งอันเป็นองค์อุปถัมภ์ของวัด เป็นรูปแม่พระอุ้มพระกุมารด้วยพระหัตถ์ซ้าย แล้วใช้พระหัตถ์ขวาส่งสายประคำให้นักบุญดอมินิโก ขณะที่พระกุมารหันพระพักตร์ไปยังนักบุญคาทารีนาแห่งซีเอนา และส่งสายประคำให้นักบุญคาทารีนาแห่งซีเอนา นั่นคือ สลับกันนั่นเอง • ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับเราเหมือนกัน ที่จะรู้จักความเป็นมาของรูปแม่พระแห่งปอมเปอี นี้สักหน่อย
1. แม่พระลูกประคำ แม่พระแห่งปอมเปอี • ปอมเปอี เป็นชื่อเมืองๆ หนึ่งที่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เพราะใน ปี ค.ศ. 79 ภูเขาไฟวิสุเวียสได้เกิดระเบิดขึ้น และลาวาของภูเขาไฟ พร้อมทั้งฝุ่นเถ้าภูเขาไฟ ได้ถล่มลงมาและกลบเมืองๆ นี้ไว้ แบบชนิดที่ว่าประชาชนไม่ได้ตั้งตัว เป็นความหายนะแบบฉับพลันทันที รวดเร็วมาก หลังจากผ่านพ้นไปหลายศตวรรษ จึงได้มีการขุดค้นเมืองนี้ขึ้นมา ทำให้เมืองเก่าแก่โบราณนี้มีคุณค่าอย่างยิ่งทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมโบราณ • พ่อขอนำพวกเราไปแสวงบุญยังสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างจากซากปรักหักพังดังกล่าวนี้ ประมาณ 5 นาทีขับรถเท่านั้น เมืองนี้มีชื่อว่า คัมปาเนีย (Campania) อยู่ในหุบเขา Pompeii (Valle de Pompeii) ที่นี่มีวัดอยู่แห่งหนึ่ง อุทิศให้กับ “แม่พระลูกประคำ” ได้รับการขนานนามว่า “แม่พระแห่งปอมเปอี”ดังนั้น จึงเป็นเรื่องความศรัทธาพิเศษ และความมหัศจรรย์จากความศรัทธาที่มีต่อลูกประคำ เรามารู้จักสถานที่นี้กันเลย
การระเบิดของภูเขาไฟเวซูเวียส เถ้าฝุ่นและลาวาทำลายเมืองปอมเปอีชนิดที่ชาวเมือง • ไม่ทันตั้งตัว
ปอมเปอีมีวิหารเทพเจ้าต่างๆมากมาย • เทพอะปอลโล เทพวีนัส ฯลฯ สนามกีฬา • ภาพบน ชาวเมืองเสียชีวิตแบบไม่ทันตั้งตัว
ศิลปะและสิ่งก่อสร้างต่างๆแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของปอมเปอี อาณาจักรโรมันได้รับอิทธิพลอย่างมากจากอาณาจักรกรีกโบราณ
2. วัดประจำเมือง • บันทึกเก่าแก่ทำให้เราทราบว่า ในศตวรรษที่ 4 วัดใหญ่หลังหนึ่งถวายเกียรติแด่พระผู้ไถ่ ได้รับการก่อตั้งขึ้น ในศตวรรษที่ 11 ฤษีคณะเบเนดิ๊กตินเป็นผู้ดูแลวัดนี้ • ปี ค.ศ. 1659 โรคมาเลเรียได้ทำลายชีวิตคนเมืองนี้ไปเป็นจำนวนมาก เหลือเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้น • ปี ค.ศ. 1740 วัดใหญ่ “พระผู้ไถ่” พังลงมา จึงสร้างวัดเล็กๆ หลังหนึ่งขึ้นมาแทน มีสัตบุรุษเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ดูแลโดยพระสงฆ์อาวุโสองค์หนึ่งเท่านั้น สภาพของวัดเสื่อมโทรมลง ประชาชนหันมาเชื่อนอกรีต (Superstition) มีการก่ออาชญากรรม และคนจำนวนมากได้กลายเป็นโจรผู้ร้าย จนกระทั่งบริเวณนี้ถูกเรียกว่า Pompeii เป็นบ้านพักของโจรผู้ร้าย • สภาพของปอมเปอีนี้ดำเนินเช่นนี้จนกระทั่งมาถึงช่วงเวลาของ Bartolo Longo
บุญราศี บารโตโล ลองโก คนบาปกลับใจ เปี่ยมไปด้วยความศรัทธาต่อแม่พระแห่งสายประคำ • เป็นผู้ริเริ่มสักการะสถาน ก่อตั้งงานด้านเมตตาต่างๆ เป็นผู้แสวงหาพระรูปแม่พระแห่งสายประคำ ท่านเปลี่ยนรูปนักบุญโรซา เป็นนักบุญ คาทารีนาแห่งซีเอนา
3. ต้นกำเนิด • ประวัติศาสตร์ในปี ค.ศ. 1891 บันทึกว่า “วัดนี้ เมื่อ 20 ปีก่อน เล็กและทรุดโทรม ยากจน จนไม่อาจมีโรงเรียน ชาวบ้านก็เป็นพวกนอกรีตและนอกกฎหมาย หลายคนเป็นขโมย” • Bartolo Longoผู้ที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของ Valle de Pompeii เป็นผู้ก่อสร้างสักการสถานแม่พระลูกประคำ เกิดใน ปี ค.ศ.1841 เป็นลูกชายนายแพทย์ ท่านเรียนกฎหมาย ระหว่างที่เรียนได้เข้าร่วมกับนิกายนอกรีตนิกายหนึ่ง จนได้บวชเป็นสงฆ์แห่งซาตาน เวลานั้น ท่านพยายามอย่างที่สุดที่จะทำลายอิทธิพลของคาทอลิก
ที่สุด เพื่อนที่ดีคนหนึ่งแนะนำท่านให้รู้จักกับพระสงฆ์ดอมินิกันคนหนึ่งชื่อ Alberto Radente ซึ่งศรัทธาเป็นพิเศษต่อแม่พระ และส่งเสริมความศรัทธาต่อลูกประคำ • เมื่อ Bartolo กลับใจล้างบาป ท่านได้เลือกชื่อล้างบาปว่า Maria เพราะท่านสำนึกว่า ท่านเป็นคนบาป และแม่พระคือ “ที่หลบภัยของคนบาป” และเพื่อใช้โทษบาปในอดีต ท่านสัญญาที่จะทำงานเพื่อคนยากจน และท่านยังได้พิมพ์สารที่เรียกว่า “The Rosary of New Pompei” อีกด้วย • เย็นวันหนึ่ง ขณะที่ท่านอยู่ใกล้วัดที่ทรุดโทรม มีหนูและสัตว์เลื้อยคลานวิ่งเพ่นพ่านอยู่ ท่านพบกับประสบการณ์ที่ลึกลับ ท่านเขียนไว้ว่า
“ข้าพเจ้ามีความรู้สึกถึงความสิ้นหวังและเกือบจะฆ่าตัวตาย ทันใดนั้น ข้าพเจ้าได้ยินเสียงสะท้อนในหู เป็นเสียงของคุณพ่อ Alberto ที่ย้ำคำพูดของแม่พระว่า ‘ถ้าลูกต้องการแสวงหาความรอด จงเผยแพร่การสวดลูกประคำ แม่สัญญา’ คำพูดนี้ ส่องสว่างวิญญาณของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าคุกเข่าลง และพูดว่า หากเป็นจริงแล้ว ลูกจะไม่ไปจากหุบเขานี้ จนกว่าการเผยแพร่สวดลูกประคำจะสำเร็จ” • Bartolo ชักชวนชาวบ้านให้มาช่วยกันทำความสะอาดวัดแห่งนี้ แล้วก็ชวนให้มาสวดลูกประคำด้วยกันในเย็นวันหนึ่ง มีเด็กไม่กี่คนเท่านั้นที่มา • Bartolo จึงออกเยี่ยมทุกบ้าน แจกลูกประคำ รูปพระ และเชิญชวน แต่ก็ได้ผลไม่มากนัก ชาวบ้านถึงแม้จะรักและเคารพ Bartolo แต่พวกเขาไม่เข้าใจ และไม่สนใจที่จะรู้จักกับลูกประคำ
Bartolo ออกทุนจัดงานเทศกาลฉลองลูกประคำศักดิ์สิทธิ์ ใน ปี ค.ศ. 1873 ครั้งแรกล้มเหลว นอกจากฝนตกแล้ว ผู้เทศน์ก็เทศน์เป็นภาษา อิตาเลียนทางการ ไม่ใช่ภาษาท้องถิ่นที่ชาวบ้านเข้าใจ ปีต่อมา ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่บางคนก็เริ่มสวดลูกประคำเป็นแล้ว ปีที่สาม ท่านเชิญพระสงฆ์คณะพระมหาไถ่มาเทศน์มิชชั่น 2 สัปดาห์ ท่านถือโอกาสบูรณะวัดใหม่ • Bartolo เริ่มโครงการหารูปแม่พระแห่งลูกประคำ รูปที่ท่านมีอยู่เป็นเพียงรูปภาพสีน้ำมันบนกระดาษ ในเวลานั้น กฎหมายของพระศาสนจักรกำหนดให้ภาพศักดิ์สิทธิ์ต้องวาดด้วยสีน้ำมันบนผ้าใบ หรือบนไม้เท่านั้น มีคนบอก Bartolo ว่า มีรูปแม่พระลูกประคำเก็บไว้ในอารามแห่งหนึ่ง ซึ่งซื้อมาจากร้านซอมซ่อแห่งหนึ่งในราคา 3,40 ลีร์ Bartolo เขียนอธิบายไว้ว่า
“รูปภาพนี้ไม่เพียงแต่ถูกหนอนกินเท่านั้น แต่พระหัตถ์ของแม่พระ ยังเป็นเหมือนหญิงชาวบ้านที่หยาบกระด้าง ผ้าใบส่วนหนึ่งที่อยู่เหนือศีรษะของแม่พระก็หายไป เสื้อคลุมก็มีรอยแตก ไม่ต้องพูดถึงความน่าเกลียดของรูปส่วนอื่นๆ นักบุญดอมินิกดูแล้วเหมือนคนมอมแมมข้างถนน ทางซ้ายมือของแม่พระคือนักบุญโรซา ต่อมา ข้าพเจ้าได้เปลี่ยนภาพนี้ให้เป็นนักบุญคาทารีนาแห่งซีเอนา ข้าพเจ้าลังเลที่จะเอารูปนี้หรือไม่เอา ที่สุด ข้าพเจ้าเอา” • Bartolo ให้จิตรกรสมัครเล่นคนหนึ่งซ่อมแซมภาพนี้ และที่สุด ตั้งไว้ในวัด เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 1876 ต่อมา ใน ปี ค.ศ.1880 จิตรกรที่มีชื่อเสียงชาวอิตาเลียนชื่อ Federico Madlarelli เสนอตัวซ่อมแซมภาพนี้อีกครั้ง ที่สุด จิตรกรจากวาติกันได้ซ่อมแซมอีกครั้งเมื่อ ปี ค.ศ. 1965
4. อัศจรรย์ • หลังจากตั้งรูปนี้ในวัดครั้งแรก ก็มีแผนที่จะสร้างวัดใหญ่ที่เหมาะสมกับแม่พระลูกประคำ ชาวบ้าน 300 คน ช่วยอดออมเงินหนึ่งเพนนีต่อเดือนเพื่องานของแม่พระนี้ ที่สุดได้วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 1876 ภายในเดือนนั้นเอง ก็เริ่มมีอัศจรรย์เกิดขึ้นที่สักการสถานแห่งนี้ นั่นคือ มีบันทึกว่า คนป่วย 4 คน ได้รับการรักษาให้หาย และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ระหว่างปี ค.ศ. 1891-1894 มีอัศจรรย์นับร้อยเกิดขึ้น และได้รับการบันทึกไว้ที่สักการสถานแห่งนี้ เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จใน ปี ค.ศ.1883 Bartolo เรียกร้องต่อชาวบ้านว่า • “ ณ สถานที่แห่งนี้ซึ่งถูกเลือกไว้สำหรับอัศจรรย์มากมาย เราปรารถนาที่จะทิ้งอนุสาวรีย์ของราชินีแห่งชัยชนะไว้ให้กับชนรุ่นปัจจุบัน และอนาคต อนุสาวรีย์ที่คู่ควรมากขึ้นต่อความยิ่งใหญ่ของพระนาง แต่คู่ควรยิ่งกว่าต่อความเชื่อและความรักของเรา”
ใน ปี ค.ศ.1891 Bartolo และภรรยา ได้ถวายวัดหลังใหม่ให้แก่พระสันตะปาปาเป็นผู้ปกครองดูแล และในวันเปิดสักการสถานแห่งใหม่นี้ รูปภาพก็ได้รับการประดิษฐานอย่างยิ่งใหญ่ • ใน ปี ค.ศ.1965 หลังจากการบูรณะรูปภาพเป็นครั้งที่สาม พระสันตะปาปา เปาโล ที่ 6 ตรัสในระหว่างบทเทศน์ว่า “เฉกเช่นเดียวกับที่รูปภาพของพระนางมารีอาพรหมจารีนี้ได้รับการบูรณะ และประดับประดา ขอให้พระฉายาของพระนางมารีอาที่เราคริสตชนต้องมีอยู่ในชีวิตของเรา ได้รับการบูรณะและประดับประดาให้ใหม่และสวยงามนี้ด้วย” ในโอกาสนี้ พระสันตะปาปาได้ประดับมงกุฎบนศีรษะของพระเยซูเจ้าและพระนางมารีอา มงกุฎที่บรรดาสัตบุรุษได้ถวายนั่นเอง
พระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ประดับมงกุฎถวายเกียรติแด่พระเยซูเจ้า • และพระนางมารีอา • ปี 1965
ความสวยงามของสักการะสถานแม่พระแห่งปอมเปอียามค่ำคืน ถ้าภาพชัดจะสวยกว่านี้มาก
สถานที่นี้เหมาะแก่การแสวงบุญอย่างยิ่ง เป็นสักการะสถานขึ้นตรงต่อ • สันตะสำนัก • (Pontifical Shrine)
แท่นกลางของสักการะสถาน เหนือแท่นเป็นรูปแม่พระแห่งปอมเปอี
ความสวยงามภายในสักการะสถาน ศิลปะที่โดมและภายในทำให้เกิดบรรยากาศการภาวนา
บุญราศี บารโตโล ลองโก ในชุดสมาชิกชั้น 3 คณะโดมินิกัน ซึ่งมีความศรัทธาพิเศษต่อแม่พระแห่งสายประคำ
บุญราศี บารโตโล ลองโกถวายวัดหลังใหม่แด่ • พระสันตะปาปาเลโอเนที่ 13 และภาพห้องพักเล็กๆของท่าน เหตุการณ์ยิ่งใหญ่เกิดจากคนบาปธรรมดาคนหนึ่ง
ร่างกายของท่านอยู่ใต้แท่นวัดน้อยร่างกายของท่านอยู่ใต้แท่นวัดน้อย • ภายในสักการะสถานแห่งใหม่
ท่านเสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 1926 อายุ 85 ปี
สภาพระสังฆราชแห่งประเทศไทยแสวงบุญโอกาสเข้าเฝ้า Ad Limina ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2008 • พระคาร์ดินัล มีชัย กิจบุญชู • เป็นประธานในสักการะสถาน
คงดีไม่น้อยหากพวกเรา • จะมีโอกาสถวายบูชามิสซาที่นี่บ้าง คงมีสักวัน คงมีสักวัน
พระสังฆราช Liberati ประจำเขตปอมเปอี ถ่ายภาพร่วมกับสมณทูต Salvatore Pennacchio • และสภาพระสังฆราชแห่งประเทศไทย • พ่อผู้ดูแลสักการะสถานนำชมและอธิบายให้ความรู้เกี่ยวกับสักการะสถานและชีวิตของบุญราศี
บรรดาพระสังฆราชให้ความสนใจอย่างมาก ไม่มีใครหลับในห้องเรียนเลย • พบพ่อองค์นี้โดยบังเอิญ ท่านเคยอยู่ที่บ้านเรา ปัจจุบัน ประจำที่สักการะสถานพ่อปีโอที่ • Giovanni Rotondo
ในระหว่างที่กำลังก่อสร้างวัดเพื่อการแสวงบุญอยู่นั้น BartoloMariaLongo ก็เริ่มทำงานมากมายด้านการกุศล ท่านและภรรยาได้สร้างบ้านสำหรับเด็กหญิงกำพร้า พวกแรก มีเด็กกำพร้าเล็กๆ 15 คน เท่ากับ 15 ทศของสายประคำ ท่านยังตั้งบ้านพักสำหรับเด็กชายลูกๆ ของนักโทษ และบ้านพักสำหรับเด็กหญิง • ท่านเป็นผู้ก่อตั้งคณะ Daughters of the Holy Rosary of Pompei นักบวชหญิง เพื่อดูแลสักการสถาน และบ้านเพื่อการศึกษา ที่ติดอยู่กับสักการสถาน ท่านยังตั้งคณะดอมินิกันชั้นที่สามใกล้ ๆ กับสักการสถานด้วย
งานด้านการกุศลของสักการะสถานมีมากมาย สถานเลี้ยงเด็กและโรงเรียน มีเด็กๆในความอุปการะกว่า 400 คน • ทั้งนี้เป็นไปตามจิตตารมณ์ของท่านบุญราศี
วันที่ 21 ตุลาคม 1979 พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 เสด็จเยี่ยม Pompei ในโอกาสแสวงบุญแห่งชาติ • วันที่26 ตุลาคม 1980 พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ได้สถาปนาท่านเป็นบุญราศีพระองค์ทรงเรียกท่านว่า “บุรุษแห่งพระมารดา” และ “อัครสาวกแห่งลูกประคำ” • พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 เสด็จจาริกแสวงบุญที่ปอมเปอี วันที่ 7 ตุลาคม 2003ซึ่งเป็นปีที่พระองค์ทรงประกาศเป็นปีแห่งสายประคำ • พระสันตะปาปาเบเนดิ๊กที่ 16 เสด็จจาริกแสวงบุญที่ปอมเปอี วันที่ 19 ตุลาคม 2008ทรงภาวนาต่อราชินีแห่งสายประคำเพื่อการประชุมสมัชชาพระสังฆราชในหัวข้อ พระคัมภีร์ในชีวิตของพระศาสนจักร ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ที่กรุงโรมในขณะนั้น
ภาพแห่งความทรงจำ • และประทับใจ พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ทรงภาวนาสายประคำต่อหน้าพระรูป
พระสันตะปาปาเบเนดิ๊กที่ 16 เสด็จจาริกแสวงบุญ 19 ตุลาคม 2008
ทรงภาวนาต่อหน้าหลุมศพบุญราศี แบบอย่างแห่งความเชื่อความศรัทธา • ดังนั้น เราควรไปสักครั้ง