240 likes | 613 Views
สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน. ลุ่มน้ำยม ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบน้ำท่า-น้ำฝน ในกลุ่มลุ่มน้ำ ทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ทำการเกษตร. พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน การประเมินความต้องการน้ำ
E N D
สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ลุ่มน้ำยม • ที่ตั้ง • ลักษณะภูมิประเทศ • พื้นที่ลุ่มน้ำ • ภูมิอากาศ • ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบน้ำท่า-น้ำฝน ในกลุ่มลุ่มน้ำ • ทรัพยากรดิน • การใช้ประโยชน์ที่ดิน • พื้นที่ทำการเกษตร. • พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน • การประเมินความต้องการน้ำ • ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านภัยแล้ง • แนวทางแก้ไข ส่วนอำนวยการและติดตามประเมินผล
8. ลุ่มน้ำยม ที่ตั้ง ลุ่มน้ำยมตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ 10 จังหวัด คือ พะเยา น่าน ลำปาง แพร่ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และนครสรรค์ ลักษณะของลุ่มน้ำนี้จะวางตัวตามแนวเหนือ-ใต้ ทิศเหนือเริ่มจากทิวเขาผีปันน้ำติดกับลุ่มน้ำโขง ทิศใต้ติดกับลุ่มน้ำปิง ทิศตะวันตกติดกับลุ่มน้ำวังและลุ่มน้ำปิง และทิศตะวันออกติดกับลุ่มน้ำน่าน รูปที่ 8-1 แสดงที่ตั้ง ลุ่มน้ำยม
ลักษณะภูมิประเทศ แม่น้ำยมมีต้นกำเนิดจากดอยขุนยวมในทิวเขาผีปันน้ำ ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดพะเยา ไหลผ่านหุบเขาที่มีความลาดชัน มีที่ราบแคบๆ ริมแม่น้ำ จากนั้นไหลออกสู่ที่ราบในจังหวัดแพร่ และไหลเข้าสู่หุบเขาทางตะวันตก แล้วไหลลงใต้เข้าสู่ที่ราบที่จังหวัดสุโขทัย แม่น้ำยมจะไหลคู่ขนานมากับแม่น้ำน่าน จากนั้นจะไหลผ่านจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร จนเข้าเขตจังหวัดนครสวรรค์ แล้วไหลมาบรรจบกับแม่น้ำน่านที่จังหวัดนครสวรรค์ รูปที่ 8-2 สภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำยม
พื้นที่ลุ่มน้ำ ตารางที่ 8-1 ขนาดของพื้นที่ลุ่มย่อย ลุ่มน้ำยมมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 23,618 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 11 ลุ่มน้ำย่อยตามตารางที่ 8-1 และรูปที่ 8-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย 08.03 08.02 08.04 08.05 08.07 08.08 08.06 08.09 08.10 08.12 08.11 รูปที่ 8-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย พื้นที่ลุ่มน้ำยม
ภูมิอากาศข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญของลุ่มน้ำนี้ได้แสดงไว้แล้ว ตามตารางที่ 8-2 ซึ่งแต่ละรายการจะเป็นค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเฉลี่ยเป็นรายปี ตารางที่ 8-2 แสดงข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญ
ตารางที่ 8-3 แสดงปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายเดือน ปริมาณน้ำฝนลุ่มน้ำยมมีปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยผันแปรตั้งแต่ 1,000 มิลลิเมตรจน. ถึง 1,600 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ยประมาณ 1,159.20 มิลลิเมตร ลักษณะการผันแปรของปริมาณฝนรายเดือนเฉลี่ยได้แสดงไว้ ตามตารางที่ 8-3 และมีลักษณะการกระจายของปริมาณน้ำฝน ตามรูปที่ 8-4 รูปที่ 8-4 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย รูปที่ 8-5 ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย ปริมาณน้ำท่าพื้นที่น้ำยมมีพื้นที่รับน้ำทั้งหมด 2,3618 ตารางกิโลเมตร และมีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติรายปีเฉลี่ยประมาณ 3,656.6 ล้านลุกบาศก์เมตร ตามตารางที่ 8-3 หรือมีปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่รับน้ำฝน 4.91 ลิตร / วินาที / ตารางกิโลเมตร ตามรูปที่ 8-5 แสดงปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนของแต่ละลุ่มน้ำย่อย
ตารางเปรียบเทียบ ปริมาณน้ำฝน - ปริมาณน้ำท่า
ทรัพยากรดิน พื้นที่ลุ่มน้ำยมสามารถจำแนกชนิดดินตามความเหมาะสมของการปลูกพืชออกได้ 4 ประเภท ซึ่งมีลักษณะการกระจายของกลุ่มดิน ตามรูปที่ 8-5 และแต่ละประเภทกลุ่มดินมีจำนวนพื้นที่ตามตารางที่ 6-4 ตารางที่ 8-4 รูปที่ 8-5 การแบ่งกลุ่มดินจำแนกตามความเหมาะสมใช้ปลูกพืช
การใช้ประโยชน์จากที่ดินการใช้ประโยชน์จากที่ดิน 1) พื้นที่ทำการเกษตร....................... 47.24 % พืชไร่.................................... 60.04 % ไม้ผล-ไม้ยืนต้น....................... 0.17 % ปลูกข้าว................................... 38.37 % อื่นๆ........................................... 1.42 % รูปที่ 8-6 การทำเกษตร 2) ป่าไม้........................................... 49.68 % เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า.................. 3.71 % อุทยานแห่งชาติ............................ 5.15 % พื้นที่ป่าอนุรักษ์............................. 91.14 % รูปที่ 8-7 พื้นที่ป่าไม้เพื่อการอนุรักษ์ 3) ที่อยู่อาศัย........................................ 1.49 % 4) แหล่งน้ำ.......................................... 0.27 % 5) อื่นๆ................................................ 1.31 % รูปที่ 8-8 การใช้ประโยชน์จากที่ดิน
ในลุ่มน้ำยมมีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดประมาณ 11,156 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก 7,595.47 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 67.94 พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว 5,595.47 ตารางกิโลเมตร (73.82%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชผัก 14.19 ตารางกิโลเมตร (0.19%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ 1,930.10 ตารางกิโลเมตร (25.46%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้น 40.04 ตารางกิโลเมตร (0.53%) รูปที่ 8-9 การใช้ประโยชน์ที่ดินหลักด้านการเกษตร พื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณตอนล่างของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะสองฝั่งลำน้ำของแม่น้ำยมและสาขาใกล้จุดบรรจบแม่น้ำน่าน ซึ่งรวมแล้วประมาณร้อยละ 32.10ของพื้นที่ทั้งลุ่มน้ำ ในการทำการเกษตร พบว่าพื้นที่ที่ปลูกข้าวและพืชผัก ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมดีอยู่แล้ว แต่การปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้นและพืชไร่ ยังปลูกบนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมไม่เพียงพอ
พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทานพื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน พื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับพัฒนาระบบชลประทานในลุ่มน้ำยม ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณตอนล่างของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะบริเวณสองฝั่งลำน้ำของแม่น้ำยมและสาขาใกล้จุดบรรจบแม่น้ำน่าน โดยมีพื้นที่ประมาณ 5,040 กิโลเมตร และคิดเป็นร้อยละ 66.49 ของพื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก หรือร้อยละ 45.18 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ตารางที่ 8-5 ตาราลงเปรียบเทียบพื้นที่การเกษตรกับพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับพัฒนาเกษตรชลประทาน
การประเมินความต้องการน้ำการประเมินความต้องการน้ำ จากการศึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้คาดคะเนอัตราการเจริญเติบโตของประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและนอกเขตเมือง รวมทั้งความต้องการน้ำสำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ช่วงปี 2542–2564 สรุปได้ตามรูปที่ 8-10 ชลประทาน ปริมาณน้ำ (ล้าน ลบ.ม.) รักษาระบบนิเวศ อุปโภค - บริโภค อุตสาหกรรม รูปที่ 8-10 สรุปแนวโน้มความต้องการใช้น้ำในภาคต่างๆ ของลุ่มน้ำยม
ปัญหาของลุ่มน้ำ ด้านอุทกภัย สภาพการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำนี้ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ∶- 1) อุทกภัยที่เกิดในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและลำน้ำสาขาต่างๆ จะเกิดจากการที่มีฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากจากต้นน้ำลงมามาก จนลำน้ำสาขาหลักไม่ระบายน้ำได้ทัน ประกอบกับมีสิ่งกีดขวางจากเส้นทางคมนาคมขวางทางน้ำ และมีอาคารระบายน้ำไม่เพียงพอ พื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมเป็นประจำได้แก่ อำเภอศรีสำโรง อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย อำเภอวังชิ้น อำเภอเด่นชัย และอำเภอสูงเม่น จังหวัด แพร่ 2) อุทกภัยที่เกิดในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดบริเวณที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มและแม่น้ำสายหลักตื้นเขิน มีสามารถระบายน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ได้แก่ อำเภอลอง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ อำเภอกงไกรลาศ อำเภอคีรีมาศ อำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอสามง่าม อำเภอโพทะเล อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร กิ่งอำเภอทุ่งทราย และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
ปัญหาภัยแล้งในลุ่มน้ำยมเกิดจากภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนาน ทำให้พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกิดความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตร รวมทั้งการใช้น้ำในกิจกรรมอื่นๆ ด้วย ตามข้อมูล กชช.2ค. ปี 2542 หมู่บ้านในลุ่มน้ำนี้มีทั้งหมด 2,472 หมู่บ้าน พบว่ามีหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำ จำนวน 1,739 หมู่บ้าน (ร้อยละ 70.35) โดยแยกเป็นหมู่บ้านที่ขาดแคลนเพื่อการเกษตร จำนวน 1,030 หมู่บ้าน (ร้อยละ 41.67) และหมู่บ้านขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร จำนวน 709 หมู่บ้าน (ร้อยละ28.68) หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตจังหวัดสุโขทัย 520 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 29.90 ของหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งทั้งหมด หมู่บ้านที่มีน้ำอุปโภค-บริโภค แต่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร รูปที่ 8-11 แสดงลักษณะการกระจายตัวของหมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้ง
แนวทางการแก้ไข ปัญหาการเกิดอุทกภัย และภัยแล้งในลุ่มน้ำยม มีลักษณะคล้ายกับพื้นที่ลุ่มน้ำอื่นๆ คือการผันแปรของปริมาณน้ำฝน ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง ในทางกลับกันเมื่อมีฝนตกหนักก็ทำให้เกิดน้ำไหลหลากท่วมพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่การเกษตร การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวทางแก้ไขในภาพรวมโดยสรุปดังนี้. 1) การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กในพื้นที่ตอนบนของลำน้ำสาขาที่สำคัญ ได้แก่ น้ำแม่สรวย, น้ำแม่รำพัน และคลองตรวน เพื่อเก็บกักและชะลอปริมาณน้ำหลากในช่วงที่ฝนตกหนัก และปล่อยน้ำที่เก็บกักลงทางท้ายน้ำในช่วงฤดูแล้ง เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งให้สองฝั่งลำน้ำ 2) การก่อสร้างระบบส่งน้ำและกระจายน้ำให้กับพื้นที่ที่รับความเดือดร้อนจากภัยแล้ง และอยู่ไม่ห่างจากลำน้ำสายหลักมากนัก โดยอาจดำเนินการในลักษณะก่อสร้างฝาย/ประตูระบายน้ำพร้อมระบบคลองส่งน้ำ/ระบบสูบน้ำและท่อส่งน้ำ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้ง 3) การขุดลอกลำน้ำสายหลักในช่วงที่ตื้นเขินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ (ควรดำเนินการควบคู่ไปกับการก่อสร้างฝาย/ประตูระบายน้ำ เพื่อเก็บกักน้ำไว้ในช่วงฤดูแล้ง หรือวิธีขุดเป็นช่วง) 4) การปรับปรุงฝาย ประตูระบายน้ำ สะพาน ท่อลอด และอาคารอื่นๆ ที่กีดขวางทางน้ำและเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ ให้มีความสามารถระบายน้ำที่พอเพียงและเหมาะสมกับสภาพทางน้ำ 5) ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณเขตตัวเมืองและพื้นที่โดยรอบ ให้เป็นไปตามผังเมืองที่วางไว้และควบคุมการรุกล้ำลำน้ำแนวคลองและลำน้ำสาธารณะ _________________________