1 / 120

แนวทางการเขียนรายงานสมัคร รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐรายหมวด

แนวทางการเขียนรายงานสมัคร รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐรายหมวด. สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว 8 กรกฎาคม 2556. กิตติพงศ์ จิรวัสวงศ์. รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการ ภาครัฐ ( รายหมวด). เกณฑ์คะแนนการพิจารณา รางวัล. เกณฑ์การพิจารณา รางวัล (กระบวนการ). คะแนน หมวดที่ ขอรับรางวัล.

gail-mccoy
Download Presentation

แนวทางการเขียนรายงานสมัคร รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐรายหมวด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการเขียนรายงานสมัครรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐรายหมวดแนวทางการเขียนรายงานสมัครรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐรายหมวด สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว 8 กรกฎาคม 2556 กิตติพงศ์ จิรวัสวงศ์

  2. รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (รายหมวด) PMQA Award Writing 2556

  3. เกณฑ์คะแนนการพิจารณารางวัลเกณฑ์คะแนนการพิจารณารางวัล PMQA Award Writing 2556

  4. เกณฑ์การพิจารณารางวัล (กระบวนการ) คะแนนหมวดที่ขอรับรางวัล PMQA Award Writing 2556

  5. เกณฑ์การพิจารณารางวัล (กระบวนการ) คะแนนหมวดอื่นๆ PMQA Award Writing 2556

  6. เกณฑ์การพิจารณารางวัล (กระบวนการ) คะแนนหมวดอื่นๆ PMQA Award Writing 2556

  7. ข้อกำหนดพื้นฐาน และข้อกำหนดโดยรวม ข้อกำหนดพื้นฐาน ข้อกำหนดโดยรวม PMQA Award Writing 2556

  8. ADLI PMQA Award Writing 2556

  9. เกณฑ์การพิจารณารางวัล (ผลลัพธ์) PMQA Award Writing 2556

  10. แนวทางการเขียนรายงาน PMQA Award Writing 2556

  11. กรอบการเขียนรายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การ(Application Report) รวม ไม่เกิน 50 หน้า PMQA Award Writing 2556

  12. ส่วนที่ 1 ลักษณะสำคัญขององค์กร : ประมาณ 10 หน้า (ไม่มีคะแนน) • อธิบายโครงร่างองค์กรตามแนวคำถาม 15 ข้อ ที่จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงทิศทางการดำเนินงานขององค์กร และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินการขององค์กร • ความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ • ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ PMQA Award Writing 2556

  13. ส่วนที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐอย่างต่อเนื่อง : รวมทุกหมวดประมาณ 15 หน้า (ยกเว้นหมวดที่ขอรับรางวัล) • แสดงให้เห็นการดำเนินการของ PMQA ในองค์กรที่ยังคงเป็นระบบ มีการถ่ายทอด มีความสอดคล้อง และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง • แสดงให้เห็นถึงแนวทางการปรับปรุงเพื่อให้มั่นใจว่าระบบมีความยั่งยืน • เชื่อมโยงถึงผลลัพธ์ที่สะท้อนการดำเนินการในแต่ละหมวด และมีกลไกการติดตามประเมินผลที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ PMQA Award Writing 2556

  14. ส่วนที่ 3 การดำเนินการที่โดดเด่นรายหมวด : ประมาณ 20 หน้า (เฉพาะหมวดที่สมัครรางวัลฯ ) • ใช้คำถามจากเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2550 • อธิบายรายละเอียดโดยแสดงให้เห็นถึงความโดดเด่นของการพัฒนาในหมวดที่เสนอขอรางวัล และความเชื่อมโยงระหว่างหมวดอย่างชัดเจนประกอบด้วย • แนวทางการดำเนินการที่เป็นระบบ และมีประสิทธิผล • การถ่ายทอดแนวทางสู่การปฏิบัติ • การปรับปรุงและการเรียนรู้ • ความเชื่อมโยงกับหัวข้อสำคัญในโครงร่าง (OP) หรือแนวทางการดำเนินการในหมวดอื่นที่นำไปสู่การปรับปรุงจนทำให้เกิดผลลัพธ์และการเรียนรู้ที่โดดเด่น • การเชื่อมโยงสู่ผลลัพธ์การดำเนินการในหมวดนั้นๆ โดยมีระดับที่ดีและแนวโน้มของการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีกลไกการติดตามประเมินผลที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ PMQA Award Writing 2556

  15. ส่วนที่ 4 ผลลัพธ์การดำเนินการประมาณ 5 หน้า • แสดงผลลัพธ์ในภาพรวมขององค์การ ได้แก่ ผลลัพธ์สำคัญในทุกหัวข้อในหมวด 7 • ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับส่วนที่ 3 ให้แสดงข้อมูลที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการปรับปรุง PMQA Award Writing 2556

  16. รายงานที่ดี • เนื้อหากระชับ สะท้อนการดำเนินการจริง • เขียนจากความเข้าใจ และความรู้จากการปฏิบัติจนค้นพบหนทางที่นำไปสู่ความเป็นเลิศ(Best Practices)ในหมวดต่าง ๆ • สนับสนุนด้วยผลลัพธ์และข้อมูลที่เกิดจากความร่วมมือในการปรับปรุงของบุคลากรในองค์กร • เป็นต้นแบบที่สะท้อนระบบการบริหารจัดการที่ดีจริงตามแนวทาง PMQA PMQA Award Writing 2556

  17. กระบวนการ • ตั้งต้นด้วยหัวข้อ • บรรยายให้เห็นแนวทางที่เป็นระบบ • การถ่ายทอดที่มีประสิทธิผล • การเรียนรู้และการพัฒนา • ผสมผสานระหว่างการเขียนเชิงพรรณา ตาราง และผังแนวคิด • ผังควรนำเสนอให้เห็นแนวคิดที่เป็นเลิศ • ไม่ควรเขียนเป็นขั้นตอนของการทำงาน • เชื่อมโยงกระบวนการที่ดีสู่ผลลัพธ์ในหมวด7 PMQA Award Writing 2556

  18. การวิเคราะห์กระบวนการการวิเคราะห์กระบวนการ PMQA Award Writing 2556

  19. การเขียนที่ไม่แนะนำ • เขียนเป็น Bullet ขาดความต่อเนื่อง • ยกตัวอย่างเป็นจุด ๆ ไม่เห็นความเป็นระบบ • พรรณามากไป ขาดการยกตัวอย่าง หรือผัง ประกอบ • เขียนตอบคำถามเหมือนตอบข้อสอบ • อธิบายเป็นแนวทฤษฎีมากไป • ใช้คำเหมือนคำถามในเกณฑ์ PMQA Award Writing 2556

  20. ผลลัพธ์ • ชื่อตัวชี้วัดที่สื่อชัดเจน • แสดงข้อมูลปีล่าสุด • แสดงเป็นกราฟพร้อมเสกล และทิศทางที่เป็นแนวโน้มว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง • จำแนกตามกลุ่มผู้รับบริการ พื้นที่ กลุ่ม (ตามความเหมาะสม • อธิบายความสำคัญของตัวชี้วัด • อย่าอธิบายกราฟ PMQA Award Writing 2556

  21. PMQA Application Writing ตัวอย่างการเขียนรายงาน PMQA Award Writing 2556

  22. มีสารสนเทศน้อยและไม่ชัดเจน Anecdotal information 3.2 ก(4) ข้อร้องเรียนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แม้ทางส่วนราชการ จะมีระบบบริหารจัดการที่ดีเพียงใดก็ตาม ทางส่วนราชการ จึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการแก้ไขข้อร้องเรียนของผู้รับบริการ โดยได้ปรับให้บุคลากรมีทัศนคติที่ดีต่อข้อร้องเรียนของผู้รับบริการ ให้ทุกคนคิดว่าข้อร้องเรียนคือโอกาสในการพัฒนาการบริการ และกระบวนการทำงาน และนำข้อร้องเรียนนั้นมาตอบสนองโดยเร็ว เช่น กรณีผู้รับบริการร้องเรียนถึงความล่าช้าของการให้บริการข้อมูลข่าวสาร ทางส่วนราชการ โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ จะรีบตอบสนองโดยทันที มีการวิเคราะห์หาสาเหตุ และดำเนินการแก้ไข รวมถึงแจ้งให้ผู้ร้องเรียนได้ทราบ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจ PMQA Award Writing 2556

  23. เริ่มเป็นระบบ Early systematic 3.2 ก(4) ข้อร้องเรียนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แม้ทางส่วนราชการจะมีระบบการบริหารจัดการที่ดีเพียงใดก็ตาม ดังนั้นทางส่วนราชการ จึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการแก้ไขข้อร้องเรียนของผู้รับบริการ โดยได้มีการปรับให้บุคลากรมีทัศนคติที่ดีต่อข้อร้องเรียนของผู้รับบริการ และให้คิดเสมอว่า ข้อร้องเรียน จะเป็นโอกาสสำหรับการพัฒนาการให้บริการต่อไป โดยจะดำเนินการตามขั้นตอนตามรูป PMQA Award Writing 2556

  24. เป็นระบบและมีประสิทธิผล Systematic & Effective 3.2 ก(4) ส่วนราชการใช้ขั้นตอนตามรูป 3.2-4 ในการจัดการข้อร้องเรียนของผู้รับบริการ บุคลากรทุกคนมีหน้าที่รับฟังและตอบสนองผู้รับบริการ โดยใช้คู่มือการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีการมอบอำนาจให้บุคลากรสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันที ทั้งนี้ ปัญหาจะถูกจัดความสำคัญเป็นสามระดับตามความร้ายแรงของปัญหา ปัญหาระดับสองขึ้นไปจะถูกรายงานถึงผู้บังคับบัญชาทันที ผู้บริหารจะเรียกประชุมทันทีในวันรุ่งขึ้นหากปัญหายังไม่สามารถแก้ไข ผู้รับบริการที่ร้องเรียน จะได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิดโดยทีมงานพัฒนาคุณภาพ เพื่อให้แน่ใจว่ายังคงสามารถรักษาระดับความพึงพอใจและความผูกพัน ข้อร้องเรียนทั้งหมดถูกรวบรวมโดยทีมพัฒนาคุณภาพ รายงานต่อทีมบริหาร ทุกไตรมาส เพื่อผลักดันให้เกิดโครงการพัฒนาคุณภาพ จากการดำเนินการอย่างเข้มแข็ง ส่งผลให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อกระบวนการแก้ไขปัญหาเพิ่มขึ้นดังภาพ 7.2-4 PMQA Award Writing 2556

  25. เป็นระบบ มีประสิทธิผล และถ่ายทอดดี (Systematic & Effective, Well Deploy) 3.2 ก(4) ส่วนราชการใช้กระบวนการตามรูป 3.2-4 เรื่องจัดการข้อร้องเรียนของผู้รับบริการ บุคลากรทุกคนจะรับฟังและตอบสนองผู้รับบริการ โดยใช้คู่มือการแก้ไข ปัญหา ซึ่งมอบอำนาจให้บุคลากรทุกระดับสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันที ปัญหาถูกจัดความ สำคัญเป็นสามระดับตามความร้ายแรง ปัญหาระดับสองขึ้นไปจะถูกรายงานผู้บังคับ บัญชาทันทีผ่านมือถือ ผู้บริหารจะเรียกประชุมทันทีในวันรุ่งขึ้นหากปัญหาไม่สามารถแก้ไข ผู้รับบริการทุกรายที่ร้องเรียน จะถูกติดตามอย่างใกล้ชิดโดยทีมงานพัฒนาคุณภาพเพื่อให้แน่ใจว่ายังคงสามารถรักษาระดับความพึงพอใจและความผูกพัน ทีมงานพัฒนาคุณภาพจะรวบรวมและวิเคราะห์ข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นรายงานต่อทีมบริหารทุกไตรมาส และจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพ ส่งผลให้เกิดโครงการพัฒนาจำนวนมาก และผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อกระบวนการแก้ไขปัญหาเพิ่มขึ้นดังภาพ 7.2-4 PMQA Award Writing 2556

  26. เป็นระบบ มีประสิทธิผล ถ่ายทอดดี การเรียนรู้เป็นระบบSystematic & Effective, Well Deploy, Systematic Learning ส่วนราชการใช้กระบวนการรูป 3.2-4 จัดการข้อร้องเรียนของผู้รับบริการ บุคลากรทุกคนจะรับฟังและตอบสนองผู้รับบริการ โดยใช้คู่มือการแก้ไขปัญหา ซึ่งมอบอำนาจให้บุคลากรทุกระดับสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันที ปัญหาถูกจัดความสำคัญเป็นสามระดับตามความร้ายแรง ปัญหาระดับสองขึ้นไปจะถูกรายงานผู้บังคับบัญชาทันทีผ่านมือถือ ผู้บริหารจะเรียกประชุมทันทีในวันรุ่งขึ้นหากปัญหาไม่สามารถแก้ไข ผู้รับบริการทุกรายที่ร้องเรียน จะถูกติดตามอย่างใกล้ชิดโดยทีมพัฒนาคุณภาพ เพื่อให้แน่ใจว่ายังคงสามารถรักษาระดับความพึงพอใจและความผูกพัน ทีมพัฒนาคุณภาพรวบรวมและวิเคราะห์ข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นรายงานต่อทีมบริหารทุกไตรมาส และจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพ ส่งผลให้เกิดโครงการพัฒนาจำนวนมาก และผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อกระบวนการแก้ไขปัญหาเพิ่มขึ้นดังภาพ 7.2-4 ส่วนราชการมีการทบทวนประสิทธิผลของกระบวนการแก้ไขข้อร้องเรียนทุกปี โดยใช้กลไกตรวจติดตามภายในและ management review ตามระบบ ISO PMQA Award Writing 2556

  27. เป็นระบบ มีประสิทธิผล ถ่ายทอดดี การเรียนรู้เป็นระบบด้วยหลักฐานของการเรียนรู้ Systematic & Effective, Well Deploy, Systematic Learning withevidence of learning รูป 3.2-4 แสดงวิธีจัดการข้อร้องเรียนของผู้รับบริการ บุคลากรทุกคนจะรับฟังและตอบสนองผู้รับบริการโดยใช้คู่มือการแก้ไขปัญหา ซึ่งมอบอำนาจให้บุคลากรทุกระดับสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันที ปัญหาถูกจัดความสำคัญเป็นสามระดับตามความร้ายแรง ปัญหาระดับสองขึ้นไปจะถูกรายงานผู้บังคับบัญชาทันทีผ่านมือถือ ผู้บริหารจะเรียกประชุมทันทีในวันรุ่งขึ้นหากปัญหาไม่สามารถแก้ไข ผู้รับบริการทุกรายที่ร้องเรียน จะถูกติดตามอย่างใกล้ชิดโดยทีมงานพัฒนาคุณภาพ เพื่อให้แน่ใจว่ายังคงรักษาระดับความพึงพอใจและความผูกพัน ทีมงานพัฒนาคุณภาพรวบรวมและวิเคราะห์ข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นรายงานต่อทีมบริหารทุกไตรมาส และจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพ ส่งผลให้เกิดโครงการพัฒนาจำนวนมาก และผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อกระบวนการแก้ไขปัญหาเพิ่มขึ้นดังภาพ 7.2-4 ส่วนราชการจะมีการทบทวนประสิทธิผลกระบวนการแก้ไขข้อร้องเรียนทุกปี ผ่านกลไกตรวจติดตามภายในและ MR ตามระบบ ISO ส่งผลให้เกิดการพัฒนาระบบComplaint Online เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา PMQA Award Writing 2556

  28. เป็นระบบ มีประสิทธิผล ถ่ายทอดดี การเรียนรู้เป็นระบบด้วยหลักฐานของการเรียนรู้ KM และนวัตกรรม Systematic & Effective, Well Deploy, Systematic Learning withevidence of learning and KM/Innovation 3.2 ก(4) รูป 3.2-4 แสดงวิธีจัดการข้อร้องเรียน บุคลากรทุกคนจะรับฟังและตอบสนองลูกค้าโดยใช้คู่มือการแก้ไขปัญหา ซึ่งมอบอำนาจให้บุคลากรทุกระดับสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันที โดยปัญหาถูกจัดความสำคัญเป็นสามระดับตามความร้ายแรง ปัญหาระดับสองขึ้นไปถูกรายงานผู้บังคับบัญชาทันทีผ่านมือถือ ผู้บริหารจะจัดประชุมทันทีในวันรุ่งขึ้นหากปัญหาไม่สามารถแก้ไข ผู้รับบริการทุกรายที่ร้องเรียน จะมีการติดตามอย่างใกล้ชิดโดยทีมพัฒนาคุณภาพ เพื่อให้แน่ใจว่ายังคงรักษาระดับความพึงพอใจและความผูกพัน ทีมพัฒนาคุณภาพจะรวบรวม วิเคราะห์ข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้น เพื่อรายงานต่อทีมบริหารทุกไตรมาส จัดทำเป็นโครงการพัฒนาคุณภาพ ส่งผลให้เกิดโครงการพัฒนาจำนวนมาก รวมถึงบทเรียนที่ได้รับจะถูกจัดเก็บใน K-Portal เพื่อให้บุคลากรทุกคนเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้รับบริการพึงพอใจต่อการแก้ไขปัญหาเพิ่มขึ้นดังภาพ 7.2-4 ส่วนราชการมีการทบทวนกระบวนการแก้ไขข้อร้องเรียนทุกปี ผ่านกลไกตรวจติดตามภายในและ MR ตามระบบ ISO ส่งผลให้เกิดการพัฒนาระบบ Complaint Online ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ขององค์กร PMQA Award Writing 2556

  29. เป็นระบบ มีประสิทธิผล ถ่ายทอดดี การเรียนรู้เป็นระบบด้วยหลักฐานของการเรียนรู้ KM และนวัตกรรม และ การบูรณาการข้ามกระบวนการSystematic & Effective, Well Deploy, Systematic Learning withevidence of learning , KM/Innovation , Integration acrossprocess 3.2 ก(4) จากรูป 3.2-4 แสดงวิธีจัดการข้อร้องเรียน บุคลากรทุกคนจะรับฟังข้อร้องเรียนผ่านช่องทางตามรูป 3.1-1 และตอบสนองลูกค้าโดยใช้คู่มือการแก้ไขปัญหา ซึ่งมอบอำนาจให้บุคลากรทุกระดับแก้ไขปัญหาได้ทันที ปัญหาถูกจัดความสำคัญเป็นสามระดับตามความร้ายแรง ปัญหาระดับสองขึ้นไปถูกรายงานผู้บังคับบัญชาทันที ผู้บริหารจัดประชุมในวันรุ่งขึ้นหากไม่สามารถแก้ปัญหา ผู้รับบริการทุกรายที่ร้องเรียนจะมีการติดตามอย่างใกล้ชิดโดยทีมพัฒนาคุณภาพ เพื่อให้แน่ใจว่ายังคงมีความพึงพอใจ และความผูกพัน ทีมพัฒนาคุณภาพจะรวบรวมวิเคราะห์ข้อร้องเรียนเพื่อรายงานให้ทีมบริหารทุกไตรมาสในที่ประชุม ผู้บริหาร (ตามรูป 4.1-3) มีการจัดทำเป็นโครงการพัฒนาคุณภาพ ส่งผลให้เกิดโครงการพัฒนาจำนวนมาก โดยบทเรียนที่ได้จัดเก็บไว้ใน K-Portal เพื่อให้บุคลากรทุกคนเรียนรู้ ส่งผลให้ความพอใจต่อการแก้ปัญหาสูงขึ้นดังแสดงผลลัพธ์ในภาพ 7.2-4 ส่วนราชการจะมีการทบทวนกระบวนการแก้ไขข้อร้องเรียนทุกปี ผ่านกลไกตรวจติดตามภายในและ MR ตามระบบ ISO ส่งผลให้เกิดการพัฒนาระบบ Complaint Online ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ขององค์กร PMQA Award Writing 2556

  30. เกณฑ์ PMQA ฉบับปี 2550

  31. ส่วนที่ 1 ลักษณะสำคัญขององค์กร PMQA Award Writing 2556

  32. 1ก. ลักษณะพื้นฐานของส่วนราชการ • - พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมายของส่วนราชการ คืออะไร - มีแนวทาง และวิธีการอย่างไรในการให้บริการแก่ผู้รับบริการ - คุณลักษณะโดดเด่นของผลิตภัณฑ์ / บริการ • - วิสัยทัศน์ของส่วนราชการ คืออะไร - เป้าประสงค์หลักของส่วนราชการคืออะไร - วัฒนธรรมของส่วนราชการ คืออะไร - ค่านิยมของส่วนราชการที่กำหนดไว้ คืออะไร - สมรรถนะหลักของส่วนราชการ PMQA Award Writing 2556

  33. 1ก. ลักษณะพื้นฐานของส่วนราชการ • ลักษณะโดยรวมของบุคลากรในส่วนราชการเป็นอย่างไร เช่น ระดับการศึกษา อายุ สายงาน ระดับตำแหน่ง ข้อกำหนดพิเศษในการปฎิบัติงาน เป็นต้น • ส่วนราชการมีเทคโนโลยี อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญอะไรบ้าง ในการให้บริการและการปฏิบัติงาน • ส่วนราชการดำเนินการภายใต้กฏหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับที่สำคัญอะไรบ้าง PMQA Award Writing 2556

  34. 1ข. ความสัมพันธ์ภายในภายนอกองค์การ (6) โครงสร้างองค์การ และ วิธีการจัดการที่แสดงถึงการกำกับดูแลตนเองที่ดีเป็นเช่นใด • ส่วนราชการหรือองค์การที่เกี่ยวข้องกันในการให้บริการหรือส่งมอบงานต่อกันมีหน่วยงานใดบ้าง มีบทบาทอย่างไรในการปฏิบัติงานร่วมกัน - ข้อกำหนดที่สำคัญในการปฏิบัติงานร่วมกันมีอะไรบ้าง - มีแนวทางและวิธีการสื่อสารระหว่างกันอย่างไร (8) - กลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของส่วนราชการคือใครบ้าง - กลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านี้มีความต้องการและความ คาดหวังที่สำคัญ อะไรบ้าง - แนวทางและวิธีการสื่อสารระหว่างกันคืออะไร PMQA Award Writing 2556

  35. 2ก. สภาพการแข่งขัน (9) - สภาพการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกประเทศของส่วนราชการเป็นเช่นใด - ประเภทการแข่งขัน และจำนวนคู่แข่งขันในแต่ละประเภทเป็นเช่นใด - ประเด็นการแข่งขันคืออะไร และผลการดำเนินการปัจจุบันในประเด็น ดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งเป็นอย่างไร (10) - ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ส่วนราชการประสบความสำเร็จเมื่อเปรียบเทียบกับ คู่แข่งขันคืออะไร - ปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งมีผลต่อสภาพการแข่งขันของส่วน ราชการคืออะไร (11) ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบและข้อมูลเชิงแข่งขันมีแหล่งข้อมูลอยู่ที่ใดบ้าง (12) ข้อจำกัดในการได้มาซึ่งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ และข้อมูลเชิงแข่งขันมีอะไรบ้าง (ถ้ามี) PMQA Award Writing 2556

  36. 2ข. ความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ • ความท้าทายและความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการในด้านพันธกิจ ด้านปฏิบัติการ ด้านทรัพยากรบุคคล และด้านสังคม คืออะไร PMQA Award Writing 2556

  37. 2ค. ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ • แนวทางและวิธีการในการปรับปรุงประสิทธิภาพของส่วนราชการ เพื่อให้เกิดผลการดำเนินการที่ดีอย่างต่อเนื่องมีอะไรบ้าง • ภายในองค์การมีแนวทางในการเรียนรู้ขององค์การและมีการแลกเปลี่ยนความรู้อย่างไร PMQA Award Writing 2556

  38. หมวด 1 : การนำองค์กร PMQA Award Writing 2556

  39. 1.1 การนำองค์กร ให้อธิบายถึงการดำเนินการของผู้บริหารของส่วนราชการ ในการชี้นำองค์กร การกำกับดูแลตนเองที่ดี และให้อธิบายว่าผู้บริหารของส่วนราชการผลการดำเนินการอย่างไร PMQA Award Writing 2556

  40. ก. การกำหนดทิศทางของส่วนราชการ • - ผู้บริหารของส่วนราชการ ดำเนินการอย่างไรในการกำหนดในเรื่องวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ระยะสั้นและระยะยาว ค่านิยม และผลการดำเนินการที่คาดหวังไว้ รวมทั้งการถ่ายทอดให้บุคลากรในส่วนราชการนำไปปฏิบัติ - ในการกำหนดผลการดำเนินการดังกล่าว ผู้บริหารของส่วนราชการได้คำนึงถึงความต้องการหรือผลประโยชน์ของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยยึดหลัก ความโปร่งใสและความชัดเจนอย่างไร - ผู้บริหารของส่วนราชการดำเนินการอย่างไรในการสื่อสารในเรื่องดังกล่าวแบบ 2 ทิศทางอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมไปสู่บุคลากรทุกคน รวมทั้งผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ โดยผ่านระบบการนำองค์กร PMQA Award Writing 2556

  41. ก. การกำหนดทิศทางของส่วนราชการ (2) ผู้บริหารของส่วนราชการดำเนินการอย่างไรในการสร้างบรรยากาศ - เพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจการตัดสินใจ นวัตกรรม และความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน - เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งในระดับส่วนราชการและผู้ปฏิบัติงาน - เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทำงานอย่างถูกต้องตามกฏระเบียบและหลักจริยธรรม PMQA Award Writing 2556

  42. ข. การกำกับดูแลตนเองที่ดี (3) ในการกำกับดูแลตนเองที่ดี ส่วนราชการและผู้บริหารดำเนินการอย่างไรในเรื่องที่สำคัญต่อไปนี้ - ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานของส่วนราชการ - ความรับผิดชอบด้านการเงิน และการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ - การปกป้องผลประโยชน์ของประเทศและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย PMQA Award Writing 2556

  43. ค. การทบทวนผลการดำเนินการของส่วนราชการ (4) - ผู้บริหารของส่วนราชการดำเนินการอย่างไรในการทบทวนผลการดำเนินการของส่วนราชการ - ผู้บริหารของส่วนราชการใช้ผลการประเมินและทบทวนดังกล่าวมาประเมินความสำเร็จของการบรรลุเป้าประสงค์ระยะสั้นและระยะยาวของส่วนราชการอย่างไร - ผู้บริหารของส่วนราชการนำผลการประเมินและทบทวนนี้มาใช้ในการประเมินความสามารถในการตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของส่วนราชการอย่างไร (5) - ตัวชี้วัดสำคัญที่ผู้บริหารของส่วนราชการทบทวนเป็นประจำมีอะไรบ้าง - ผลการทบทวนที่ผ่านมาเป็นอย่างไร PMQA Award Writing 2556

  44. ค. การทบทวนผลการดำเนินการของส่วนราชการ (6) - ผู้บริหารของส่วนราชการมีวิธีการอย่างไรในการนำผลการทบทวนดังกล่าว มาจัดลำดับความสำคัญ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงทั้งอย่างต่อเนื่องและอย่าง ก้าวกระโดด รวมทั้งใช้เป็นโอกาสในการสร้างนวัตกรรม - ผู้บริหารของส่วนราชการใช้วิธีการอย่างไรในการนำผลการทบทวนไป ปรับปรุง และนำไปสู่การปฏิบัติทั่วทั้งส่วนราชการ รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (7) - ผู้บริหารของส่วนราชการ ในแต่ละระดับได้รับการประเมินผลงานอย่างไร - ส่วนราชการนำผลจากการประเมินผลงานของผู้บริหาร ไปปรับปรุงระบบ การนำองค์กรของผู้บริหารทุกระดับอย่างไร PMQA Award Writing 2556

  45. ความเชื่อมโยงของหมวด 1 กับหมวดอื่นๆ PMQA Award Writing 2556

  46. 1.2 ความรับผิดชอบต่อสังคม ให้อธิบายว่าส่วนราชการดำเนินการอย่างไร เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และมีการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม และเป็นองค์กรที่คำนึงถึงสังคม PMQA Award Writing 2556

  47. ก. ความรับผิดชอบต่อสังคม (8) ในกรณีที่การบริการ และการปฏิบัติงานมีผลกระทบในทางลบต่อสังคม ส่วนราชการดำเนินการอย่างไร (9) กระบวนการ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และเป้าหมายของส่วนราชการในการจัดการกับผลกระทบในทางลบที่เกิดขึ้นคืออะไร (10) - ส่วนราชการได้คาดการณ์ล่วงหน้าถึงผลกระทบในทางลบของการบริการ และการปฏิบัติงานที่อาจเกิดขึ้นต่อสังคมทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างไร - ส่วนราชการมีการเตรียมการเชิงรุกในประเด็นดังกล่าวอย่างไร PMQA Award Writing 2556

  48. ข. การดำเนินการอย่างมีจริยธรรม (11) ผู้บริหารของส่วนราชการได้กำหนดวิธีปฏิบัติเพื่อให้ส่วนราชการมีการดำเนินการอย่างมีจริยธรรมอย่างไร PMQA Award Writing 2556

  49. ค. การให้การสนับสนุนต่อชุมชนที่สำคัญ (12) - ส่วนราชการดำเนินการอย่างไรในการสนับสนุนและเสริมสร้างความ เข้มแข็งให้แก่ชุมชนที่สำคัญต่อส่วนราชการ - ชุมชนใดที่สำคัญกับส่วนราชการของท่าน และมีวิธีเลือกชุมชนดังกล่าว อย่างไร - มีวิธีการอย่างไรในการเลือกกิจกรรมที่จะสนับสนุนชุมชน - ผู้บริหารของส่วนราชการและบุคลากรมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา ชุมชนดังกล่าวอย่างไร PMQA Award Writing 2556

  50. ความเชื่อมโยงของหมวด 1.2 กับหมวดอื่นๆ PMQA Award Writing 2556

More Related