731 likes | 2.69k Views
การเขียนสคริปต์รายการวีดิทัศน์ Video Script Writing. โดย ; วรพจน์ นวลสกุล นักวิชาการโสต ทัศน ศึกษา 8 สำนัก วิทย บริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. จุดมุ่งหมายการเรียน. เพื่อให้ น.ศ.เห็นความสำคัญของการเขียนสคริปต์ เพื่อให้ น.ศ.มีความรู้ความเข้าใจ ในการเขียน สคริปต์แต่ละประเภท
E N D
การเขียนสคริปต์รายการวีดิทัศน์Video Script Writing โดย; วรพจน์ นวลสกุล นักวิชาการโสตทัศนศึกษา 8 สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จุดมุ่งหมายการเรียน เพื่อให้ น.ศ.เห็นความสำคัญของการเขียนสคริปต์ เพื่อให้ น.ศ.มีความรู้ความเข้าใจในการเขียนสคริปต์แต่ละประเภท เพื่อให้ น.ศ.มีความรู้ในรูปแบบต่างๆของสคริปต์รายการ เพื่อให้ น.ศ.มีทักษะในการเขียนสคริปต์ ที่สามารถนำไปใช้ประกอบการผลิตรายการวีดิทัศน์ได้
การเขียนสคริปต์รายการวีดิทัศน์การเขียนสคริปต์รายการวีดิทัศน์ VDO Script Writing บทโทรทัศน์ (Script) ว่าเป็นการนำเอาเนื้อหาเรื่องราวที่มีอยู่ หรือจินตนาการขึ้นมาเพื่อนำเสนอให้ผู้ชม ได้รับรู้อย่างพอใจ ประทับใจ ด้วยเหตุนี้เอง บทโทรทัศน์จึงเป็นหัวใจของการผลิตรายการโทรทัศน์ (สังคม ภูมิพันธุ์. 2530) ผู้เขียนบทโทรทัศน์ หรือ Script Writer จำเป็นที่จะต้องมีความรอบรู้ในศาสตร์และศิลป์ด้านต่างๆ มีความเข้าใจในจิตวิทยาการรับรู้ของมนุษย์ ความชอบ ความสนใจ ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อและความศรัทธา รวมทั้งการใช้ภาษาที่เหมาะสม
การเขียนสคริปต์รายการวีดิทัศน์การเขียนสคริปต์รายการวีดิทัศน์ VDO Script Writing บทโทรทัศน์ควรจะมีการใช้ภาษาที่สละสลวย ชวนชมชวนฟัง มีการเกริ่นนำ (Introduction)การดำเนินเรื่อง (Content) และบทสรุป (Conclusion) ที่กระชับสอดคล้องสอดแทรกมุขตลก เกร็ดความรู้ หรือเทคนิคแปลกๆ มีลีลาที่น่าสนใจเพื่อให้เกิดการจดจำได้ดี แล้วจึงนำมาขัดเกลาสร้างสรรค์ ให้มีความเหมาะสมทั้งภาพและเสียงรวมทั้งการใส่เสียงดนตรีประกอบ
ประเภทของสคริปต์รายการวีดิทัศน์ประเภทของสคริปต์รายการวีดิทัศน์ Type of video script บทโทรทัศน์สามารถแบ่งเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ ดังนี้ แบบไม่เข้าตารางหรือแบบเรียงลำดับ(Open Script) แบบเข้าตาราง(Shooting Script)
ประเภทของสคริปต์รายการวีดิทัศน์ประเภทของสคริปต์รายการวีดิทัศน์ Type of video script 1. แบบไม่เข้าตารางหรือแบบเรียงลำดับ(Open Script) เป็นแบบที่ไม่แบ่งคอลัมน์ภาพ และคอลัมน์เสียง หากแต่เขียนเรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีการระบุฉากลักษณะภาพลักษณะเสียงและเวลาตามลำดับ ส่วนใหญ่ใช้กับการบันทึกเทปโทรทัศน์ในสติวดิโอ เช่น การสัมภาษณ์พูด-คุย ของผู้ดำเนินรายการ หรือพิธีกรกับผู้ร่วมรายการ สำหรับผู้ที่ชำนาญแล้ว ซึ่งใช้เวลาในการบันทึกเทปที่ไม่ซับซ้อนมากนัก
ประเภทของสคริปต์รายการวีดิทัศน์ประเภทของสคริปต์รายการวีดิทัศน์ Type of video script 2. แบบเข้าตาราง(Shooting Script) เป็นการวางรูปแบบบทโทรทัศน์ให้ส่วนของภาพอยู่ซีกซ้ายเรียกว่าคอลัมน์ภาพ และส่วนของเสียงอยู่ซีกขวาเรียกว่าคอลัมน์เสียง คอลัมน์ภาพใช้สำหรับเขียนลักษณะของมุมภาพตัวหนังสือเพื่ออธิบายมุมกล้องหรืออาจวาดเป็นภาพร่างหรือภาพถ่าย(Storyboard)ลงไปในคอลัมน์ภาพก็ได้ >> ที่สำคัญคือคำสั่งหรือคำศัพท์เกี่ยวกับภาพที่นำมาใช้นั้น ต้องเป็นที่เข้าใจของผู้ร่วมงานการผลิตทั้งหมด
ประเภทของสคริปต์รายการวีดิทัศน์ประเภทของสคริปต์รายการวีดิทัศน์ Type of video script 2. แบบเข้าตาราง(Shooting Script)ต่อส่วนคอลัมน์เสียงใช้สำหรับเขียนคำบรรยาย ดนตรีประกอบหรือเสียงพิเศษอื่นๆ นอกจากนั้นยังสามารถใช้เขียนคำอธิบายสิ่งต่างๆ ให้กับผู้แสดง และผู้บรรยายด้วย เช่น การใช้อารมณ์ในน้ำเสียง สีหน้า แววตาการเคลื่อนไหว การควบคุมเสียงเปล่งเสียงหรือการทอดเสียง เป็นต้น อาจขยายคอลัมน์ภาพและคอลัมน์เสียง ให้สามารถกำหนดรายละเอียดมากยิ่งกว่าเดิมได้
บทวีดิทัศน์ VDO Script • บทแบบสมบูรณ์ • บทแบบกึ่งสมบูรณ์หรือแบบย่อ • บทแบบกำหนดการแสดงและช่วงเวลา • บทแบบเรียงลำดับเรื่องที่เสนอ • บทแบบเปิด
บทวีดิทัศน์ VDO Script บทแบบสมบูรณ์Fully Scripted Showเป็นการแสดงรายละเอียดของภาพและเสียง จะบอกคำพูดทุกคำที่ผู้พูด/บรรยาย จะพูดในรายการ ตั้งแต่ต้นจนจบ พร้อมกับบอกรายละเอียดด้านภาพโดยสมบูรณ์ ได้แก่ รายการละคร รายการสารคดี รายการข่าว และรายการโฆษณาสินค้า ประโยชน์ของการเขียนบทประเภทนี้ คือสามารถมองภาพรวมของรายการได้อย่างดีเพราะมีการกำหนดมุมกล้องขนาดของภาพ การเคลื่อนไหวกล้องไว้กราฟิก และเสียงต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน
บทวีดิทัศน์ VDO Script Story Boards (สตอรีบอร์ด) เป็นการร่างแนวความคิดเชิงรูปธรรมที่ผู้เขียนสคริปต์จินตนาการถึงเนื้อหา (บทประพันธ์) ให้ผู้ผลิตรายการ ทำการกำกับมุมภาพ กำกับนักแสดง กำกับการถ่ายทำ บันทึกเสียง บรรยากาศสถานที่ รวมทั้งแนวทางการตัดต่อให้คล้ายคลึงกับสถานที่จริง หรือตามที่ออกแบบไว้มากที่สุด ส่วนใหญ่ใช้กับการถ่ายทำภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา ซึ่งมีทุนสูงและมีความละเอียดอ่อนในการผลิตมาก
บทวีดิทัศน์ VDO Script 2. บทแบบกึ่งสมบูรณ์หรือแบบย่อ Semi-Scripted Show มีลักษณะคล้ายแบบสมบูรณ์ แต่ไม่กำหนดรายละเอียดของมุมกล้อง ทิ้งว่างไว้เพื่อให้ผู้กำกับรายการได้กำหนดเอง บางรายการอาจกำหนดคำสั่งบนด้านภาพ/ด้านคำพูด/คำบรรยายบ้าง บทสนทนาก็ไม่ได้ระบุหมดทุกตัวอักษรหรือทุกคำ เพียงแต่ให้ประโยคเริ่มต้น/ประเด็นที่จะพูดและประโยคสุดท้าย เพื่อเป็นสัญญาณชี้แนะเท่านั้น บทประเภทนี้ ได้แก่ รายการเพื่อการศึกษา รายการสัมภาษณ์ เป็นต้น ที่ผู้สนทนาหรือผู้บรรยายพูดเองเป็นส่วนใหญ่ไม่มีระบุในบท
บทวีดิทัศน์ VDO Script 3. บทแบบกำหนดการแสดงและช่วงเวลาShow Format เขียนบอกเฉพาะคำสั่งต่างๆ ที่สำคัญในรายการ ฉากที่สำคัญ ลำดับรายการ และกำหนดเวลาแต่ละตอน/break รายการที่ใช้บทประเภทนี้ ได้แก่ รายการประจำของสถานี รายการสนทนา รายการข่าวสั้น รายการปกิณกะ รายการอภิปราย รายการนิตยสารและ Variety Show
บทวีดิทัศน์ VDO Script 4. บทแบบเรียงลำดับเรื่องที่เสนอ เขียนเพื่อแสดงรายการที่จะเสนอตามลำดับก่อน-หลังโดยระบุไว้เพียงคร่าวๆ ไม่มีคำสั่ง/รายละเอียดเกี่ยวกับภาพและเสียงโดยเฉพาะ บางครั้งบริษัทโฆษณาจะเขียนบทประเภทนี้ให้กับผู้ผลิต ว่าต้องการให้มีภาพสินค้าอะไรบ้างที่ออกอากาศ และมีคำพูดโฆษณาอย่างไรบ้างพอสังเขป ผู้กำกับรายการจำเป็นต้องนำบทประเภทนี้มากำหนดช่วงเวลาก่อน-หลัง เพื่อให้ทีมงานทั้งหมดได้เข้าใจ ว่าจะทำงานตามขั้นตอนอย่างไร บทประเภทนี้นิยมใช้นำเสนอในรายการถ่ายทอดสด (live)
บทวีดิทัศน์ VDO Script 5. บทแบบเปิดOpen Scriptเป็นบทที่มีการเรียงลำดับประเด็นที่พูดหรือสัมภาษณ์ เช่น ประเด็นที่พิธีกรจะถาม และประเด็น สำหรับผู้ร่วมในรายการให้สัมภาษณ์หรือตอบเท่านั้น บทโทรทัศน์แบบนี้ไม่มีการกำหนดรายละเอียดใดๆเลย เกี่ยวกับภาพและเสียงมักใช้ในการบันทึกเทปโทรทัศน์ เพื่อที่จะนำไปตัดต่อแก้ไขอีกครั้งภายหลัง
บทสรุป รายการวีดิทัศน์ไม่ว่าจะลักษณะใดก็ตาม ต้องอาศัยบทหรือสคริปต์ ตามลักษณะรูปแบบรายการ บางเรื่องต้องการรายละเอียดมาก เช่น บทสารคดี ละครที่อาศัยคำต่อคำ เพื่อแสดงลักษณะการถ่ายภาพและการจัดฉาก บทบางลักษณะไม่จำเป็นที่ต้องลงรายละเอียด เพียงต้องการโครงร่างเท่านั้นก็ใช้ได้ แต่ผู้เขียนบทโทรทัศน์จำเป็นต้องมีความรู้กับทักษะพื้นฐาน และเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิตรายการเป็นอย่างดี การเขียนบทโทรทัศน์มีจุดมุ่งหมายอย่างน้อย 3 ประการ คือ (สุรพล บุญลือ. 2540) • เพื่อกำหนดลักษณะรูปแบบของรายการ • เพื่อบ่งบอกถึงเนื้อหาสาระของภาพและเสียงในรายการ • เพื่อจัดลำดับเนื้อหาของรายการให้เป็นขั้นตอน สะดวกต่อการผลิต
แนวทางการเขียนสคริปต์ของฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาแนวทางการเขียนสคริปต์ของฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา ใช้หลักการเขียน ‘เรียงความ’ ในการเขียนสคริปต์ แต่เพิ่มมุมมองด้านภาพ เข้าไปเพื่อช่วยในการสื่อความหมายให้ผู้ชมทำความเข้าใจได้ง่ายและเร็วยิ่งขึ้น (มองคำพูด/คำบรรยายให้เป็นภาพ) แบ่งเนื้อหาที่จะเสนอออกเป็น 4 ส่วน 1.บทนำ (introduction) เป็นการนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง จะกล่าวถึงความสำคัญจำเป็น การปูพื้นเบื้องต้นให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจโดยรวม 2.เนื้อหา (content) เป็นเรื่องราวรายละเอียดต่างๆ ทั้งหมด มีการจัดเรียงลำดับขั้นตอนของเนื้อหาที่จะนำเสนอให้ถูกต้องเข้าใจง่าย กะทัดรัดตรงประเด็นสละสลวยแต่ไม่เยิ่นเย้อในภาษาและสำนวน โดยคำนึงถึงหลักจิตวิทยา ซึ่งมีมากมายหลายวิธีให้เลือก ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด 3. บทสรุป (conclusion) จะเป็นส่วนที่คลี่คลายเนื้อเรื่อง สรุปหรือขมวดเนื้อหาสาระ ข้อคิดที่ได้จากและรายละเอียดที่ได้เสนอไป หรืออาจทิ้งท้ายประเด็นที่ผู้ชมจะทำต่อ
แนวทางการเขียนสคริปต์ของฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาแนวทางการเขียนสคริปต์ของฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา 4. เข้าตารางถ่ายทำตัดต่อ (shooting script) เป็นการนำสคริปต์บทบรรยาย/สัมภาษณ์ ไปเข้าตารางเพื่อกำหนดมุมภาพให้สอดคล้องกับคำบรรยาย/คำพูดในแต่ละฉาก (scene) พร้อมกับใส่หรือสอดแทรกเสียงดนตรี บทสัมภาษณ์ เทคนิคหรือคำสั่งพิเศษ กราฟิก เพื่อให้ช่างภาพและผู้ตัดต่อทำการตัดต่อภาพผสมเสียง เรียงร้อยเนื้อหาตามสคริปต์ที่ร่างไว้ รวมทั้งไตเติ้ลเปิด-ปิดเรื่อง
ฝึกเขียนสคริปต์ ให้นักศึกษาฝึกการเขียนสคริปต์แบบเข้าตาราง (Shooting Script) จากบทบรรยายที่ให้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้ แบ่งตารางออกเป็นคอลัมน์ จำนวน 5 คอลัมน์ มี Graphic Title ความยาว 10 sec. กำหนดมุมภาพวิดีโอ/กราฟิก/ตัวอักษรให้ชัดเจน ใส่คำบรรยายให้สอดคล้อง/สื่อความหมายกับภาพ กำหนดเวลาแต่ละฉาก ใส่ Effects/เทคนิคพิเศษ/คำสั่ง ที่ต้องการเพิ่มเติม