260 likes | 765 Views
Chapter 7 Material Management. Aj-Kulachatr C. Na Ayudhya Naresuan University Payao Campus Semester 1/50. Chapter Agenda. Material Management Material Management Goals Made or Buy Decision Outsourcing Trends Discovering Potential Suppliers Analysis of Suppliers
E N D
Chapter 7Material Management Aj-Kulachatr C. Na Ayudhya Naresuan University Payao Campus Semester 1/50
Chapter Agenda • Material Management • Material Management Goals • Made or Buy Decision • Outsourcing Trends • Discovering Potential Suppliers • Analysis of Suppliers • Material Requirement Planning
ความสำคัญของวัสดุหรือวัตถุดิบMaterial or Raw Material • วัสดุมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการผลิต หากขาดแคลนวัสดุหรือวัตถุดิบจะทำให้กระบวนการผลิตหยุดชะงักลง ทำให้สินค้าขาดแคลนส่งผลกระทบต่อความต้องการผู้บริโภค ส่งผลทางจิตวิทยาต่อผู้ซื้อ และคู่แข่งอาจได้ลูกค้าไป • วัสดุคงคลังช่วยแก้ปัญหาการส่งมอบที่ไม่แน่นอนของผู้ขายแต่ถ้ามีมากเกินไปก็เป็นปัญหาเงินจม • วัสดุที่ดีต้องมีคุณภาพสม่ำเสมอ จึงจะได้ผลิตภัณฑ์คุณภาพมาตรฐาน
Material Management • การจัดการวัสดุ เมื่อวัสดุหรือวัตถุดิบมีความสำคัญดังกล่าว การจัดการวัสดุจึงมีความจำเป็นมาก ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อบริหารการผลิตและซัพพลายเชนในโรงงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายกิจกรรม เช่น กิจกรรมการจัดซื้อ การผลิต การบรรจุภัณฑ์ การพยากรณ์ การเคลื่อนย้ายวัสดุระหว่างการผลิต โรงงานส่วนใหญ่มีความต้องการวัสดุเพื่อการผลิตที่แตกต่างกัน จึงมีวิธีการบริหารวัสดุคงคลังที่ต่างกัน ไปในแต่ละช่วงเวลา ฤดูกาลหรือความต้องการซื้อของผู้บริโภค ชิ้นส่วนวัสดุต่างๆ ก็สั่งซื้อมาจากผู้ขายหลายแหล่ง รอบเวลาในการขนส่งสินค้าก็แตกต่างกัน จึงเป็นที่มาของปัญหาต่างๆ ในการจัดการกับวัสดุเพื่อการผลิต โรงงานส่วนใหญ่จึงมีระบบการวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning ; MRP) เป็นเครื่องมือช่วยบริหารจัดการปัญหาต่างๆ ดังนั้นการมีวัสดุคงคลังจำนวนมาก ช่วงเวลาการผลิตที่แตกต่าง จึงต้องการระบบข้อมูลของวัสดุคงคลังที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีวัตถุดิบป้อนสายการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง โดยบริหารจัดการให้สมดุลกับปริมาณวัสดุในคลังไม่ให้ต้นทุนสูงจนเกินไป เพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Material Management Goals เป้าหมายในการจัดการวัสดุ • Low Cost ; ถ้ามีการบริหารจัดการวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้ต้นทุนวัสดุสินค้ามีราคาต่ำ เช่น จัดซื้อจำนวนมากต่อรองราคาได้ • Quality Assurance (QA) ; สินค้าที่มีคุณภาพต่ำเกิดจากวัตถุดิบไม่มีคุณภาพ การจัดการวัสดุจะต้องมีระบบประกันคุณภาพวัสดุเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์จะมีคุณภาพตามที่กำหนดทุก Lot • High level of service ; การจัดการกับวัสดุได้ดีจะส่งผลให้ลูค้าพึงพอใจ ที่โรงงานสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง เช่น สั่งซื้อได้สินค้าทันที มีความพร้อมในการให้บริการ ส่งได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง สมบูรณ์ ครบถ้วนน่าเชื่อถือ เป็นที่ไว้วางใจ
Material Management Goals เป้าหมายในการจัดการวัสดุ (ต่อ) • Low of inventory cost; การจัดการกับวัสดุได้ดีจะทำให้ลดจำนวนเงินที่ต้องไปจมไว้กับวัสดุคงคลัง สามารถระบายวัตถุดิบไปกระบวนการผลิตได้อย่างราบรื่น เงินทุนจึงหมุนเวียนตลอด • Support purchasing ; นอกจากจะจัดการกับวัสดุในการผลิตแล้ว ยังสามารถช่วยแผนกจัดซื้อในการบริหารวัสดุสำนักงานได้อีกด้วย เป็นการสนับสนุนหน่วยงานอื่นๆ ได้อย่างดี
ความเป็นจริงเกี่ยวกับการผลิตระดับโลกความเป็นจริงเกี่ยวกับการผลิตระดับโลก Buy Material Buy Material Made Buy Material การผลิตมีทั้งการสั่งซื้อวัตถุดิบจากภายนอก (Outsource) และผลิตขึ้นเองในโรงงาน (Made)
Made or Buy Decision การตัดสินใจซื้อหรือผลิตเอง ด้วยเหตุที่สินค้าเกิดจากวัสดุหรือวัตถุดิบหลายอย่างประกอบกัน เป็นไปได้ยากที่ โรงงานจะผลิตสินค้า โดยอาศัยวัตถุดิบทั้งหมดที่ผลิตขึ้นเองในโรงงาน ความเป็นจริงในปัจจุบัน โรงงานส่วนใหญ่มีการสั่งซื้อวัสดุหรือวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ เพื่อลดต้นทุนการผลิตวัตถุดิบเอง เพราะไม่ชำนาญและมีต้นทุนการผลิตสูง ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการซื้อหรือผลิตเอง นั้น ได้แก่ ต้นทุน คุณภาพ ภาวะการแข่งขัน ปริมาณการผลิตที่ประหยัด ภาวะการปรับตัว การสร้างอุปสรรคกับผู้ผลิตรายใหม่ ความเชื่อถือได้และการจัดการสินค้าคงคลัง
TC (Make) = Fc + VcVc = (vc x D) TC = Total Cost D = Demand VC = Unit variable cost Fc = Fixed Cost TC (Buy) = P*D P = Unit price D = Demand การพิจารณาต้นทุน (Cost)การใช้เทคนิควิเคราะห์จุดคุ้มทุนเพื่อตัดสินใจผลิตเองหรือซื้อ (Make or Buy Break –even Analysis) Material amount/y TC(buy) TC(make) FC(make) A Demand/y หาก Demand > A ควรผลิตเอง (Make) หาก Demand < A ควรซื้อ (Buy)
คุณภาพวัสดุหรือวัตถุดิบ : คุณภาพวัสดุมีความสัมพันธ์กับคุณภาพสินค้า ถ้าซัพพลายเออร์มีความน่าเชื่อถือก็ควรซื้อดีกว่าผลิตเอง ตรงกันข้าม หากวัสดุในตลาดคุณภาพไม่น่าไว้ใจก็ควรลงทุนผลิตเอง • ภาวะการแข่งขัน: หากมีซัพพลายเออร์เพียงเจ้าเดียวที่ผลิตวัสดุได้ ย่อมมีความเสี่ยงจากการขึ้นราคาเพราะอำนาจต่อรองของซัพพลายเออร์มีมาก ควรพิจารณาการลงทุนเพื่อผลิตเอง แต่ถ้าซัพพลายเออร์มีการแข่งขันมากรายก็สามารถเจรจาต่อรองได้ • ปริมาณการผลิตที่ประหยัด: หากปริมาณการผลิตเองไม่มากพอที่จะบรรลุจุดการผลิตที่ประหยัด ก็ควรจัดซื้อจากซัพพลายเออร์ • ภาวะการปรับตัว: การผลิตเองจะต้องลงทุนในเครื่องจักรและทรัพยากรต่างๆ มากมาย หากมีการลดขนาดหรือเพิ่มขนาดการผลิตจะไม่สามารถปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงได้ ก็ควรซื้อจากซัพพลายเออร์
การสร้างอุปสรรคกับผู้ผลิตสินค้ารายใหม่ : การผลิตวัสดุหรือวัตถุดิบเอง อาจมีเหตุผลเพื่อสร้างอุปสรรคแก่ผู้คุกคามรายใหม่ (Entry Barrier) เช่น การครอบครองแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี • ความเชื่อถือได้ (Reliability) : ถ้าหากแหล่งผลิตวัตถุดิบส่งมอบไม่ตรงเวลา สินค้าขาดมือ การเลือกหนทางที่จะผลิตเองอาจดูเหมาะสมกว่าการซื้อจากซัพพลายเออร์ • ต้องการควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) : การจัดซื้อสินค้าจากหน่วยงานภายนอก สามารถควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับต่ำได้
ปัจจัยสนับสนุนการตัดสินใจผลิตเองปัจจัยสนับสนุนการตัดสินใจผลิตเอง ต้นทุนการผลิตต่ำ ให้ผลตอบแทนการลงทุนสูง ควบคุมกระบวนการผลิตได้ตามต้องการ มีกำลังการผลิตเหลือ จำเป็นต้องควบคุมคุณภาพ มีความลับทางการค้า ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะกิจ ซัพพลายเออร์ขาดความน่าเชื่อถือ ปัจจัยสนับสนุนการตัดสินใจซื้อ มีกำลังการผลิตจำกัด ต้นทุนการผลิตสูง ผู้ผลิตภายนอกชำนาญกว่า ปรับตัวได้ง่ายกว่า เมื่อซัพพลายเออร์มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการวัสดุ (VMI) การผลิตเองอาจมีสินค้าคงเหลือหรือผลิตมากเกิน (Access Supply) Factor for Made or Buy
การค้นหา Outsource ที่มีศักยภาพ Website Catalogs Trade Register Directories Trade journals Phone Directories Sales Personal Trade Show Professional Organizations อันตรายจากการจัดซื้อภายนอก สูญเสียอำนาจการควบคุม สูญเสียการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า เสียโอกาสในการขาย สัญญาอาจขาดความสมบูรณ์ ไม่สามารถควบคุมต้นทุนได้ เสี่ยงต่อการเผยแพร่ความลับ ควบคุมผู้รับช่วงผลิตไม่ได้ Outsourcing Trendsการจัดการวัสดุโดยอาศัยการจัดซื้อจากภายนอกมีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะสามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิตและอาศัยความเชี่ยวชาญของ Outsource ในการผลิตวัสดุคุณภาพ
Analysis of Outsource /Suppliers • วิเคราะห์ด้านการเงิน • วิเคราะห์ด้านการผลิต • วิเคราะห์กำลังการผลิต • วิเคราะห์สภาพโรงงาน • วิเคราะห์ขีดความสามารถด้านการผลิต • วิเคราะห์ขีดความสามารถด้าน IT • วิเคราะห์ความสามารถในการให้บริการ
Material Requirement Planning ; MRP เป็นระบบการจัดการวัสดุที่อาศัยคอมพิวเตอร์มาจัดการฐานข้อมูลวัสดุคงคลังประเภทชิ้นส่วน อะไหล่ และ/หรือส่วนประกอบต่างๆ ของสินค้า สินค้าที่นิยมใช้ MRP มาบริหารจัดการวัสดุ ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่ประกอบตามคำสั่งซื้อ (Assembler to order) ดังนั้นถ้าผู้ผลิตทราบความต้องการสินค้า ก็จะทราบจำนวนชิ้นส่วนหรือวัสดุต่างๆ ที่ต้องการด้วย ล้อ 18 ชุด Trunk 1 หัวรถลาก 1
MRP Components Master Production Schedule Inventory Master File ProductStructureFile MaterialRequirement Planning Planned Order Releases Work Oder P/O Reschedule Notice
Input Components Master Production Schedule ;MPS Inventory Master File ProductStructureFile MPS ; ตารางการผลิตหลัก คือ ตารางกำหนดว่าจะผลิตสินค้าใด ประเภทใด จำนวนเท่าไร เวลาที่จะผลิต แฟ้มโครงสร้างผลิตภัณฑ์หรือ Bill of Materialเป็นการแสดงชิ้นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด แบ่งย่อยลงเป็นลำดับชั้นตั้งแต่ชิ้นส่วนแม่ (Parents) จนถึงชิ้นส่วนสุดท้ายที่แยกต่อไม่ได้อีกแล้ว (Child) แฟ้มข้อมูลสินค้าคงคลัง: เป็นข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณวัสดุหรือสินค้าคงคลังที่เหลืออยู่ รวมถึงปริมาณสั่งซื้อ ขนาดของล็อตที่สั่งแต่ละครั้ง สินค้าเผื่อขาดมือ รอบเวลาในแต่ละกิจกรรมที่ผลิต และอัตราการใช้ในอดีต
Processing Unit MRP เป็นการคำนวณหาชิ้นส่วนทั้งหมดที่ต้องใช้ในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งมาจากรอบเวลาในแต่ละกิจกรรมของแต่ละชิ้นส่วนและวัตถุดิบในโครงสร้างของผลิตภัณฑ์และแผนลำดับการผลิตหลัก ซึ่งจำนวนและช่วงเวลาของการสั่งซื้อวัสดุหรือสั่งผลิตวัสดุคำนวณได้ดังนี้ ความต้องการรวม (Gross Requirement)จำนวนที่จะได้รับจากผู้ขาย (Schedule Receipts) จำนวนที่ใช้ได้ (Available Balance or On Hand)ความต้องการสุทธิ (Net Requirement) จำนวนรับตามแผนที่วางไว้ (Planned Order Receipts) MaterialRequirement Planning Planned Order Releases จำนวนสั่งตามแผน (Planned order Releases)
Available Balance = S + จำนวนสินค้าคงคลังที่ยกมาจากช่วงเวลาก่อน • Net Requirement = G – S –A
Outputs Components ส่วนผลลัพธ์: ประกอบด้วย • รายงานการสั่งซื้อหรือสั่งทำ (Purchase Orders ; P/O , Work Order) เป็นรายงานประจำที่ได้จากกระบวนการวางแผนความต้องการวัสดุ ประกอบด้วย • รายงานปริมาณชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบ • แผนการสั่งซื้อหรือการสั่งผลิต (Planned order releases) • คำแนะนำในการซื้อ • รายงานพิเศษ (Rescheduling Notice) ได้แก่ รายงานการควบคุมระบบ MRP รายงานแผนงานสินค้าคงคลัง รายงานปัญหาพิเศษที่เกิดขึ้นในการจัดการวัสดุ เช่น ปัญหาความล่าช้า ชิ้นส่วนที่ไม่มาตรฐาน เป็นต้น Work Order P/O Reschedule Notice
บรรณานุกรม คำนาย อภิปรัชญาสกุล. โลจิสติกส์และการจัดการซัพพลายเชน “กลยุทธ์ทำให้รวยช่วยประหยัด”,--กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์นัฎพร, 2546. ไชยยศ ชัยมั่นคง,มยุขพันธุ์ ไชยมั่นคง. กลยุทธ์โลจิสติกส์และซัพพลายเชน เพื่อแข่งขันในตลาดโลก. --กรุงเทพฯ : ซี.วาย.ซิสเต็มพรินติ้ง, 2550.