460 likes | 618 Views
รายงานผลการศึกษา การประเมินผลการดำเนินงานของ โครงการพัฒนาศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554. www.naetc.eto.kps.ku.ac.th. หลักการและเหตุผล.
E N D
รายงานผลการศึกษา การประเมินผลการดำเนินงานของ โครงการพัฒนาศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
หลักการและเหตุผล กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฏีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (โครงการพัฒนาศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550-2553 และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานของโครงการ ฯ ในแต่ละปีว่าบรรลุวัตถุประสงค์ เกิดผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ฯ หรือไม่ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น จึงได้มีการกำหนดให้มีกิจกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ ฯ ไว้เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการ ฯ ในทุกปี www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความรู้ ความเข้าใจ การนำไปปฏิบัติใช้ตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความพึงพอใจ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 2. เพื่อศึกษาผลการนำความรู้ตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติใช้ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกร (ปี 2550-2553) และเกษตรกรอาสา (ปี 2551-2553) ที่เข้าร่วมโครงการ ฯ www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
3. เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของการดำเนินงานโครงการ ฯ ที่มีผลต่อเกษตรกรและชุมชนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และด้านอื่น ๆ ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินงานโครงการ ฯ 4. เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงานโครงการ ฯ สู่แนวทางการพัฒนาเพื่อขยายผลการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเป็นรูปธรรมในการดำเนินงานโครงการ ฯ ให้มีความยั่งยืนต่อไป www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
ครอบคลุมพื้นที่ 44 จังหวัด www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
กรอบแนวความคิด ปราชญ์ชาวบ้าน/ผู้นำชุมชน www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล 1. แบบสอบถาม (Questionnaire) เกษตรกรปี 50-54 ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ความสามารถในการนำ ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์และปฏิบัติจริง และความพึงพอใจ 2. แบบทดสอบ (Test) โดยการใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ (Achievement Test) แบบถูกผิด (True-False Item) เกษตรกรปี 54 ประกอบด้วย แนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง และความรู้ความเข้าใจตามวิชาที่รับการฝึกอบรม www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
3. การประชุมกลุ่ม (Focus Group Discussion) ศูนย์ ฯ ในประเด็น ผลกระทบของการดำเนินงานโครงการ ฯ ที่มีผลต่อเกษตรกร ชุมชน 4. แบบสัมภาษณ์ (Interview) แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi Structured selection Interview) ศูนย์ ฯ ในประเด็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการ ฯ ที่มีผลต่อเกษตรกร และชุมชน 5. แบบสังเกต (Observation) แบบมีเค้าโครงล่วงหน้า (Structure Observation) ศูนย์ ฯ ในประเด็นผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างเป็น รูปธรรมของการดำเนินงานโครงการ ฯ ที่มีผลต่อเกษตรกร ชุมชน www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
เกณฑ์คะแนนความรู้ความเข้าใจของผู้ผ่านการอบรมปี 2554 www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
เกณฑ์การประเมินทัศนะคติของผู้ผ่านการฝึกอบรมเกณฑ์การประเมินทัศนะคติของผู้ผ่านการฝึกอบรม ศึกษาและรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจ ของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการวัดแบบเลือกตอบได้ 5 ระดับ www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
ผลการศึกษา ผลการประเมินและศึกษาของเกษตรกรและเกษตรกรอาสาที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550-2554 จำนวน 1,230 ราย www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
ผลการประเมินและศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกรและเกษตรกรอาสาที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550-2554 จำนวน 1,230 ราย ตอนที่ 1 - เกษตรกร ปี 54 จำนวน 421 ราย- เกษตรกร ปี 50-53 จำนวน 427 ราย- เกษตรกรอาสา ปี 51-53 จำนวน 382 ราย www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 59.19)มีอายุระหว่าง 41-50 ปี (ร้อยละ 29.92)และจบการศึกษาระดับประถมศึกษา(ร้อยละ 54.69)มีพื้นที่ทำการเกษตรต่ำกว่า 10 ไร่ (ร้อยละ 50.4) ทำนาเป็นอาชีพหลัก(ร้อยละ 59.64)และทำสวนเป็นอาชีพรอง(ร้อยละ 28.55) เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าร่วมโครงการและรับการฝึกอบรมเพราะต้องการความรู้เพิ่มเพื่อนำไปปฏิบัติ ช่วยเหลือสังคม และศรัทธาในตัวปราชญ์ชาวบ้าน (ร้อยละ 30.09)รองลงมาต้องการความรู้เพิ่มและนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน (ร้อยละ 17.91) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
ผลการประเมินและศึกษาระดับความรู้ ความเข้าใจ การนำไปปฏิบัติใช้ตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และความพึงพอใจของเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ตอนที่ 2 เกษตรกร ปี 54 จำนวน 421 ราย www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมด้านเศรษฐกิจพอเพียงกับหน่วยงานอื่นก่อนเข้ารับการอบรมที่ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน (ร้อยละ 78.86) และเกษตรกรมีความคาดหวังก่อนเข้ารับการฝึกอบรมว่าจะได้รับความรู้เพิ่มเติมเพื่อนำไปปฏิบัติในครัวเรือนและสามารถลดรายจ่ายสร้างรายได้เสริมได้ (ร้อยละ 44.67) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
เกษตรส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจด้านแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับดี (ร้อยละ 47.27)และเกษตรกรนำความรู้เรื่องแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์และปฏิบัติใช้เพิ่มเติม (ร้อยละ 67.39) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจในวิชาการทำบัญชีครัวเรือนในระดับดีสูงที่สุด (ร้อยละ 87.82) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
เกษตรกรผู้ผ่านการฝึกอบรม ปี 54 มีความคิดเห็นว่าสามารถนำความรู้ตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติได้ในระดับง่าย (เฉลี่ย 3.74 คะแนน) นอกจากนั้นเกษตรกรมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการจัดฝึกอบรมของศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านในระดับมากที่สุด (เฉลี่ย 4.23 คะแนน) โดยเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อความรู้และประสบการณ์ของปราชญ์ชาวบ้านและคณะวิทยากรในระดับสูงที่สุด (เฉลี่ย 4.41 คะแนน) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
เกษตรกรส่วนใหญ่ได้ถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมให้กับเพื่อนบ้านและครอบครัว(ร้อยละ 40.85) และได้แนะนำให้ครอบครัว เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นเข้ารับการฝึกอบรมกับศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน (ร้อยละ 99.76)เพราะต้องการให้ได้รับความรู้ ประสบการณ์และทักษะเพื่อนำไปประยุกต์ปฏิบัติใช้ (ร้อยละ 35.28) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
ผลการประเมินและศึกษาการนำความรู้ตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติใช้ของเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550-2553 และเกษตรกรอาสาที่ผ่านการฝึกอบรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551-2553 จำนวน 809 ราย ตอนที่ 3 - เกษตรกร ปี 50-53 จำนวน 427 ราย- เกษตรกรอาสา ปี 51-53 จำนวน 382 ราย www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
เกษตรกรส่วนใหญ่ได้นำความรู้เรื่องแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รับไปปฏิบัติเป็นบางกิจกรรมและได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพิ่มเติม (ร้อยละ 32.18)นอกจากนั้นยังนำผลผลิตที่ได้ไปใช้เองและบางส่วนแบ่งให้เพื่อนบ้านหรือชุมชน (ร้อยละ 52.98) จากการปฏิบัติกิจกรรมส่งผลให้เกษตรกรมีรายจ่ายทางด้านการเกษตรลดลงเฉลี่ย 10,713 บาทต่อปี รายจ่ายในชีวิตประจำวันลดลงเฉลี่ย 9,592 บาทต่อปี www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
นอกจากนั้นเกษตรกรมีรายได้จากการทำการเกษตรเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 26,045 บาทต่อปี มีรายได้ด้านอื่น ๆ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 28,796 บาทต่อปี และมีเงินออมสะสมเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16,485 บาทต่อปี จากการปฏิบัติกิจกรรมตามแนวคิดและหลัก ฯ ส่งผลให้เกษตรกรมีเงินออมสะสมเฉลี่ย 16,485 บาทต่อปี หรือมีอัตราเงินออมต่อรายได้เท่ากับ 0.22 ของรายได้ที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกร www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
สิ่งที่ภาคภูมิใจหลังเมื่อได้รับการคัดเลือกเป็นเกษตรกรอาสา พบว่า เกษตรกรอาสา ปี 51-53 จำนวน 382 ราย ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ามีความภาคภูมิใจที่สามารถถ่ายทอดความรู้สู่ครอบครัว เพื่อนบ้าน ชุมชน และสังคมได้ (ร้อยละ 34.15)และเกษตรกรอาสา สามารถเป็นต้นแบบ และเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาให้แก่คนในชุมชนหรือผู้ที่สนใจ โดยใช้แปลงสาธิตหรือแปลงเรียนรู้ที่มีอยู่ และได้สร้างเครือข่ายการดำเนินงานของกลุ่มในชุมชนร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ (ร้อยละ 51.34) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
จากการศึกษาการปฏิบัติกิจกรรมของเกษตรกรอาสา พบว่า เกษตรกรอาสามีความคิดเห็นว่าการปฏิบัติกิจกรรมตามแนวคิดและหลัก ฯ ส่งผลให้ : - ดินมีคุณภาพดีขึ้น โดยมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลไปจนถึงสีดำ ร่วน ซุย ฟู เนื้อดินอุ้มน้ำ และถ่ายเทอากาศได้ดี มีธาตุอาหารเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากการปลูกพืชโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมี - แหล่งน้ำมีคุณภาพดีขึ้น โดยน้ำมีความสะอาดและมีสัตว์น้ำอาศัยมาก ไม่มีกลิ่นเหม็นของสารเคมี - ป่าไม้ โดยเกษตรกรรู้จักการปลูกต้นไม้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้องการให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศพื้นที่อยู่อาศัย www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
ตอนที่ 4 การศึกษาผลกระทบจากการดำเนินงานโครงการพัฒนาศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านที่มีผลต่อเกษตรกร และชุมชนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในชุมชน จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 1,003 ราย ซึ่งประกอบด้วยเกษตรกร จำนวน 10-12 ราย/ ศูนย์ เกษตรกรอาสา จำนวน 10-12 ราย/ ศูนย์ ตัวแทนปราชญ์ชาวบ้านและผู้นำชุมชน 2-3 ราย/ ศูนย์ รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูล จำนวน 20-25 ราย/ ศูนย์ จากศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน 40 แห่ง ด้วยกระบวนการประชุมกลุ่ม (Focus Group Discussion) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
ศูนย์เครือข่าย ฯ ที่ทำการศึกษามีพื้นที่เฉลี่ย 25.75 ไร่ต่อศูนย์ มีรูปแบบ (Model) ในการดำเนินกิจกรรมที่คล้ายคลึงกันในระหว่างภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง คือ การผลิตและแปรรูปข้าวอินทรีย์ ผัก ผลไม้ สมุนไพร ปศุสัตว์ ประมง และป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ในขณะที่ภาคใต้นั้นมีรูปแบบกิจกรรมบางกิจกรรมที่แตกต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ คือ การผลิตและแปรรูปยางพารา ผัก ผลไม้ สมุนไพร ปศุสัตว์ ประมง และป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
จากรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้นจะเห็นได้ว่าการผลิตและแปรรูปผัก ผลไม้ สมุนไพร ปศุสัตว์ และประมง จะมีการนำไปประยุกต์และปฏิบัติใช้ในทุกภูมิภาคของประเทศและจะมีรายละเอียดในการปฏิบัติกิจกรรมที่แตกต่างกันไปตามสภาพภูมินิเวศและภูมิสังคมในแต่ละภูมิภาค อย่างไรก็ตามจากการปฏิบัติกิจกรรมตามแนวคิดและหลัก ฯ ของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มนั้นได้ส่งผลกระทบต่อด้านต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาค ดังนี้ www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
สรุปผลกระทบในภาพรวมจากการดำเนินงานโครงการพัฒนาศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านที่มีผลต่อเกษตรกร และชุมชนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในชุมชน www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
1. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากการปฏิบัติตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผู้เข้าร่วมการประชุมกลุ่มได้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนจากศูนย์เครือข่าย ฯ และส่วนใหญ่ได้นำความรู้ในการทำบัญชีครัวเรือนไปประยุกต์ใช้ (ร้อยละ 79.99) และนำผลจากการทำบัญชีครัวเรือนไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนชีวิตร่วมกับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้ที่ได้รับจากศูนย์เครือข่าย ฯ จากการปฏิบัติกิจกรรมส่งผลให้ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่มีรายจ่ายในครัวเรือนลดลงมากกว่าร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับรายจ่ายเดิมก่อนนำแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ (ร้อยละ 62.69) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
ซึ่งความรู้ที่ได้รับจากศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านที่ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มนำไปประยุกต์และปฏิบัติมากที่สุดตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ 1)การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ 2)การผลิตและแปรรูปผัก ผลไม้ปลอดสาร 3)การใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรด้านอาหาร ยา น้ำยาเอนกประสงค์ และสารป้องกันกำจัดแมลง 4)การปลูกข้าวอินทรีย์ หรือข้าวปลอดสาร 5) การปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
จากการปรับเปลี่ยนแนวคิดสู่การพึ่งพาตนเองโดยใช้ความพอประมาณ และความมีเหตุผลเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย และการบริโภคในครัวเรือนนั้นได้ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มรู้จักการออมสะสมเพื่อไว้ใช้ในยามจำเป็นโดยการออมสะสมในลักษณะของเงินฝาก โดย - ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่มีการออมสะสมในรูปลักษณะของเงินฝากอยู่ในระหว่าง 20,000-40,000 บาทต่อปี(ร้อยละ 34.29) รองลงมาน้อยกว่า 20,000 บาทต่อปี (ร้อยละ 27.86) - ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่มีการออมสะสมในลักษณะของการเลี้ยงปศุสัตว์ ได้แก่ โค กระบือ สุกร และสัตว์ปีก(ร้อยละ 34.00) เพื่อบริโภคและจำหน่ายในยามจำเป็น และนอกจากนั้นมีผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มบางส่วนมีการออมสะสมในลักษณะของการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ในเขตพื้นที่สวน ไร่ นาของตนเอง (ร้อยละ 31.00) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
สรุป จากการศึกษาด้านต้นทุน และรายได้ของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มจะเห็นได้ว่าผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มมีรายจ่ายในครัวเรือนที่ลดลง มีการออมสะสมในลักษณะทรัพย์สินและสินทรัพย์ และผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มในแต่ละภูมิภาคได้นำวัตถุดิบและผลพลอยได้ทางการเกษตรใช้ประโยชน์ในการลดต้นทุนการผลิต โดยในทุกภูมิภาคมีการใช้มูลสัตว์และเศษพืชผัก ผลไม้ เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพมากที่สุด รองลงมามีการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรโดยการบริโภคเพื่อเป็นอาหารและยารักษาโรค การผลิตเป็นสารชีวภัณฑ์เพื่อใช้ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช และการใช้เพิ่มประสิทธิภาพน้ำยาเอนกประสงค์ www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
2. ผลกระทบด้านสังคมจากการปฏิบัติตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากการศึกษาผลกระทบด้านสังคมที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดความรู้ การดำเนินกิจกรรมกลุ่มและเครือข่าย พบว่า ศูนย์เครือข่าย ฯ ที่ทำการศึกษา จำนวน 40 แห่งนั้น ได้มีการติดต่อประสานงานเพื่อเผยแพร่ความรู้และข้อมูลข่าวสารกับหน่วยงานหรือกลุ่มต่าง ๆ ผ่านช่องทางการเป็นวิทยากรของปราชญ์ชาวบ้านมากที่สุด (เฉลี่ย 51 ครั้งต่อปี)และรองลงมาเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านรายการวิทยุ (เฉลี่ย 29 ครั้งต่อปี) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
ซึ่งการถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านการทำงานร่วมกันและขยายผลความรู้สู่กลุ่มและเครือข่ายเกษตรกรผ่านช่องทางต่าง ๆ ของศูนย์เครือข่าย ฯ นั้นเพื่อเป็นการช่วยผลักดันและสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายของศูนย์เครือข่าย ฯ ที่ดำเนินกิจกรรมให้เกิดความเข็มแข็งและสามารถเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามความเข้มแข็งของกลุ่มเครือข่ายจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องอาศัยความมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มในชุมชนเป็นหลัก และจากการศึกษา พบว่า ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่ (ร้อยละ 68.80) ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มครบทุกขั้นตอน โดยมีการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมรับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
จากการดำเนินงานของกลุ่มต่าง ๆ เพื่อการเป็นต้นแบบในการดำเนินกิจกรรมและการขยายผลสู่ชุมชน พบว่า กลุ่มของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่สามารถขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมสู่ชุมชนโดยมีคนเข้ามาศึกษาดูงานมากกว่า 20 รายต่อเดือน (ร้อยละ 56.54)กลุ่มของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มบางส่วนสามารถขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมสู่ชุมชนโดยมีคนเข้ามาศึกษาดูงาน 11-20 รายต่อเดือน (ร้อยละ 23.70) และกลุ่มของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนสามารถขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมสู่ชุมชนโดยมีคนเข้ามาศึกษาดูงาน 1-10 รายต่อเดือนน้อย (ร้อยละ 19.76) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
3. ผลกระทบด้านเศรษฐสังคมจากการปฏิบัติตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากการศึกษาเครือข่ายการเรียนรู้และการพัฒนาของศูนย์เครือข่าย ที่สนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อปฏิบัติกิจกรรมตามแนวคิดและหลักปรัชญา ฯ ของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มในลักษณะของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มธุรกิจชุมชน พบว่า ศูนย์เครือข่าย ฯ ทั้งหมดมีเครือข่ายการเรียนรู้และพัฒนาในระดับชุมชน และจังหวัดมากที่สุด รองลงมาเป็นเครือข่ายระดับภูมิภาค (31 ใน 40 ศูนย์) และส่วนน้อยเป็นเครือข่ายระดับนานาชาติ (3 ใน 40 ศูนย์) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
ซึ่งจากความเชื่อมโยงของเครือข่ายการเรียนรู้และการพัฒนาดังกล่าวส่งผลให้ศูนย์เครือข่าย ฯ มีกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรในชุมชนที่สอดคล้องกับแนวคิดและหลักปรัชญา ฯ เฉลี่ย 4 กลุ่มต่อศูนย์เครือข่าย ฯ นอกจากนั้นยังพบเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มธุรกิจชุมชนเฉลี่ย 2 กลุ่มต่อศูนย์เครือข่าย ฯ และมีสมาชิกเฉลี่ยกลุ่มละ 131 ราย และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มธุรกิจชุมชนสามารถสร้างมูลค่าธุรกิจได้เฉลี่ย 515,720.50 บาทต่อกลุ่มต่อปี ด้วยการดำเนินกิจกรรมผลิต แปรรูป จำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร การรับฝากเงินของสมาชิกและการดำเนินธุรกิจบริการ www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
4. ผลกระทบด้านทัศนะคติของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มต่อการนำแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ามีความเชื่อมั่นในระดับมากต่อการนำแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้แล้วสามารถส่งผลให้สามารถพึ่งพาตนเองในการดำเนินชีวิตได้เป็นหลัก www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าจากการปฏิบัติตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งในวิถีชีวิตของตนเอง/ ครอบครัว และชุมชนเข้มแข็งในระดับมาก เนื่องจากทำให้รู้จักการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก และมีการร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมที่ส่งผลให้เกิดสายใยความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวและชุมชน อีกทั้งยังได้เป็นการพบปะ พูดคุยถึงปัญหาต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยังสามารถเป็นต้นแบบที่ดีในการดำเนินชีวิตให้แก่คนรุ่นลูกหลานได้ปฏิบัติตาม www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าได้ประสบความสำเร็จในระดับมากต่อการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ให้แก่บุตรหลาน (ร้อยละ 82.50) เนื่องจากบุตรหลานได้เห็นความสำคัญในอาชีพการเกษตรมากขึ้น จากการร่วมปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ และต้องการสานต่ออาชีพของครอบครัวให้คงอยู่ต่อไป www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
5. ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่ม จากการปฏิบัติตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5.1 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่าไม้ - ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่ได้ปฏิบัติและเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ดิน โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพปรับปรุงบำรุงดิน การปลูกพืชตระกูลถั่ว และพืชคลุมดิน การไม่เผาตอซัง และการหมักตอซังในนาข้าว (ร้อยละ 72.04) - ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่ได้ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีอันตรายในการป้องกันกำจัดแมลงและวัชพืชที่จะสะสมและไหลลงสู่แม่น้ำลำคลองเป็นพิษต่อสัตว์น้ำ และสุขภาพของคนในชุมชน (ร้อยละ 68.95) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
- ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำของชุมชน โดยการช่วยกันขุดลอกคูคลอง สร้างฝาย การร่วมมือเฝ้าระวังการปล่อยของเสียจากโรงงาน และสิ่งปฏิกูลจากชุมชนลงสู่แม่น้ำลำคลอง รวมทั้งร่วมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำในชุมชน (ร้อยละ 67.71) - ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่มีการปลูกป่าเศรษฐกิจ (ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง) ใน สวน ไร่ นา และได้เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าชุมชน เป็นอาสาสมัครป้องกันไฟป่า ร่วมกันขุดแนวกันไฟ และจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์เฝ้าระวังเพื่อป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งในขณะเดียวกันผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มยังได้อาศัยภูมิปัญญาด้านประเพณีและความเชื่อในการช่วยเหลือการอนุรักษ์ป่า ได้แก่ การบวชป่า ดอนปู่ตารักษาป่า และการเลี้ยงผีขุนน้ำ (ร้อยละ 97.07) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
5.2 การผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัย - ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่มีการดำเนินการผลิตผัก ผลไม้ปลอดสาร และเนื้อสัตว์ปลอดภัย โดยใช้สมุนไพรและการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยระบบชีววิธี และการเลี้ยงสัตว์พื้นเมืองที่มีความทนทานต่อโรคและต้องการการดูแลรักษาน้อย(ร้อยละ 92.50) - ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่ได้นำสมุนไพรที่หาได้ในท้องถิ่นแปรรูปเป็นอาหาร ยา เครื่องสำอาง และน้ำยาเอนกประสงค์เพื่อใช้ในครัวเรือน (ร้อยละ 90.00) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
- ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มมีการปลูกข้าวอินทรีย์ โดยการลด ละ เลิก การใช้สารเคมีอันตรายด้วยการใช้วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยชีววิธี และผลผลิตที่ได้แปรรูปเป็นข้าวกล้องเพื่อรับประทานในครัวเรือนและชุมชน (ร้อยละ 75.00) ผลกระทบจากกิจกรรมการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่าไม้ และการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัยสามารถส่งผลดีต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต ของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่ม รวมทั้งสามารถส่งผลดีต่อระบบนิเวศในชุมชนของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มด้วย www.naetc.eto.kps.ku.ac.th
จบการนำเสนอ www.naetc.eto.kps.ku.ac.th