330 likes | 666 Views
การพัฒนาสถานศึกษา การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดย...วิลาวัลย์ จุดโต.
E N D
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง......... เป็นพระบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้คนไทยตั้งแต่ ปี 2517 นานกว่า 30 ปี มาแล้ว ซึ่งแนวทางในการดำเนินชีวิตและแนวทางการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางสายกลาง
ปี 2540 เกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ประเทศไทยจึงได้บทเรียนจากการพัฒนาที่ไม่สมดุลส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในวงกว้าง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 78 วรรค 1 กำหนดให้รัฐบาลต้องบริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยรวมเป็นสำคัญ
มาตรา 83 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไรหลักคิดที่คู่กับหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตโดยใช้ ทางสายกลางใช้ในทุกมิติของชีวิตตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน
องค์ประกอบหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง3ห่วง (พอประมาณ มีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี)ความพอประมาณ กับปัจจัยภายในคือเหมาะกับสภาพตนเองและปัจจัยภายนอกคือพอควรกับภูมิสังคมความมีเหตุผล รู้สาเหตุ(ทำไม เมื่อไร เท่าไร) พร้อมทั้งรู้ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ วิชาการกฎหมาย ความเชื่อและประเพณีการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ พร้อมเตรียมรับการเปลี่ยนแปลง การวางแผนอย่างรอบคอบ
2 เงื่อนไข (เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนคุณธรรม)เงื่อนไขความรู้ รู้ในเรื่องที่จะทำ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวังเงื่อนไขคุณธรรมคือการกระทำที่จะทำให้งานสำเร็จ โดยไม่ทำให้ตนเองหรือผู้อื่นเดือดร้อน
แนวทางการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปปรับใช้ในโรงเรียน1.ด้านการบริหารจัดการ 1.1 กำหนดเป็นนโยบาย - วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจ แผนปฏิบัติ - งานวิชาการ งบประมาณ บุคคล บริหารทั่วไป ชุมชนสัมพันธ์
- นำหลักการทรงงาน มาปรับใช้ในการบริหาร สถานศึกษา- เน้นการบริหารทรัพยากรตามหลัก ปศพ. การมีส่วนร่วม รู้รักสามัคคี ไม่ประมาท
2.ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สอนวิชาเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐาน ส 3.1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ได้ จัดทำรายวิชาเพิ่มเติม /หลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับสภาพ และความต้องการ โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงวิเคราะห์เพื่อกำหนดรายวิชา
การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจชั้นป.1 – 3 เป็นความพอเพียงระดับตนเองและครอบครัวชั้นป.4 – 6 เป็นความพอเพียงระดับโรงเรียนชั้น ม.1 – 3 เป็นความพอเพียงระดับชุมชน/จังหวัด ชั้น ม.4 – 6 เป็นความพอเพียงระดับประเทศภายใต้ยุคโลกาภิวัฒน์
การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจัดทำได้ 2 ลักษณะคือ1.สอดแทรกหรือบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงลงในแผนการจัดการเรียนรู้ปกติในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้2.จัดทำหน่วยการเรียนรู้ใหม่หรือรายวิชาเพิ่มเติมใหม่ 3.บูรณาการแบบสหวิชา
3.ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3.1การแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3.2 กิจกรรมนักเรียน 3.3 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
4.ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา4.1พัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเช่น มีโครงการในแผนปฏิบัติการประจำปี ฯลฯ4.2 การติดตามและขยายผล เช่น การนิเทศภายใน พัฒนาต่อยอด ฯลฯ
5.ผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ5.1สถานศึกษา 5.2 ผู้บริหารสถานศึกษา 5.3 บุคลากรของสถานศึกษา 5.4 นักเรียน
การถอดบทเรียน/ถอดรหัสหรือวิเคราะห์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากกิจกรรม/โครงการในสถานศึกษาในแผนปฏิบัติการฯ, แผนการจัดการเรียนรู้,กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, ฯลฯก่อนจะเกิด 3 ห่วงได้ จะต้องมี 2 เงื่อนไขก่อนเงื่อนไขคุณธรรมกำกับความรู้ เงื่อนไขความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
3 ห่วงความพอประมาณ เช่น ความพอเหมาะ พอควรกับศักยภาพของครู นักเรียน ฯลฯความมีเหตุผล เช่นทำไมจึงทำ ทำทำไม เทียบได้กับวัตถุประสงค์ของโครงการและกิจกรรม การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือการรู้เท่าทันและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง การวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน ความรอบคอบ ระมัดระวัง การคาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นและเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้าเพื่อแก้ปัญหา
นำสู่สมดุล 4 มิติ1.มิติด้านเศรษฐกิจหรือวัตถุ2.มิติด้านสังคม3.มิติด้านวัฒนธรรม4.มิติด้านสิ่งแวดล้อมและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
ตัวอย่างการถอดบทเรียนหรือวิเคราะห์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันหรือกิจกรรมและโครงการในโรงเรียน