330 likes | 564 Views
แนวคิดความรุนแรงในครอบครัว การประเมินความเสี่ยง และการช่วยเหลือเบื้องต้น. ผศ.โสภา อ่อนโอภาส และคณะ. แนวคิดความรุนแรงในครอบครัว. วัฒนธรรมความเชื่อเรื่องผู้ชายเป็นผู้นำ ระบบความคิดความเชื่อวิถีปฏิบัติและพฤติกรรม ความรักความสัมพันธ์ และเพศสัมพันธ์ของบุคคล
E N D
แนวคิดความรุนแรงในครอบครัว การประเมินความเสี่ยง และการช่วยเหลือเบื้องต้น ผศ.โสภา อ่อนโอภาส และคณะ
แนวคิดความรุนแรงในครอบครัวแนวคิดความรุนแรงในครอบครัว • วัฒนธรรมความเชื่อเรื่องผู้ชายเป็นผู้นำ • ระบบความคิดความเชื่อวิถีปฏิบัติและพฤติกรรม ความรักความสัมพันธ์ และเพศสัมพันธ์ของบุคคล • อคติต่อเพศทางเลือก • โครงสร้างอำนาจ
ลำดับขั้นความรุนแรงในครอบครัวลำดับขั้นความรุนแรงในครอบครัว • 1. ความรุนแรงทางจิตใจ • 2.ความรุนแรงทางวาจา • 3.ความรุนแรงต่อทรัพย์สิน • 4.ความรุนแรงต่อร่างกาย • 5.ความรุนแรงทางเพศ • 6.ความรุนแรงต่อชีวิต
ครอบครัวเสี่ยงต่อความรุนแรงในครอบครัวครอบครัวเสี่ยงต่อความรุนแรงในครอบครัว
ครอบครัวที่อาจมีความเสี่ยงความรุนแรงขึ้นในครอบครัวครอบครัวที่อาจมีความเสี่ยงความรุนแรงขึ้นในครอบครัว 1.ครอบครัวที่ผู้นำครอบครัวยึดถือตนเองเป็นสำคัญ 2. ครอบครัวที่มีสมาชิกเกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสิ่งเสพติด 3. ครอบครัวที่กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจ 4. ครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้พิการ 5. ครอบครัวที่มีการทะเลาะกันบ่อยครั้งและมีความถี่สูงขึ้น 6.ครอบครัวที่ขาดความพร้อมการตั้งครอบครัว (ครอบครัววัยรุ่น)
กระบวนการช่วยเหลือจากเหตุความรุนแรงกระบวนการช่วยเหลือจากเหตุความรุนแรง • การรับแจ้งเหตุ • การประเมินความเสี่ยง • การประสานส่งต่อ/ การติดตาม
ขั้นตอนที่1 รับแจ้ง รับเข้า(ดำเนินการภายใน 24 ชั่วโมง) • การเก็บรวบรวมรายละเอียดเบื้องต้นทันที จากผู้แจ้งเหตุ และตัวผู้เสียหาย • ชื่อ สกุล อายุ / ที่อยู่ปัจจุบัน ที่สามารถติดต่อได้ • สถานที่ทำงาน / โทรศัพท์ • ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเด็กและครอบครัว • การรับทราบเหตุเบื้องต้น / ความเกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิด
ขั้นตอนที่1 รับแจ้ง รับเข้า(ดำเนินการภายใน 24 ชั่วโมง) • รายละเอียดของเหตุการณ์ • วันเวลา สถานที่เกิดเหตุ • สิ่งที่พบเห็น บุคคล ลักษณะของเหตุ (การละเมิดทางกาย เพศ การทำร้าย) • บุคคลที่เป็นผู้กระทำ ลักษณะท่าทาง การข่มขู่คุกคาม ภาษาที่ใช้ • ผู้เสียหาย สภาพทางร่างกาย จิตใจ ขณะเกิดเหตุ หลังการเกิดเหตุ • พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ พยานผู้รับฟังเหตุการณ์ • การรับรู้ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ใกล้ชิด
ขั้นตอนที่1 รับแจ้ง รับเข้า(ดำเนินการภายใน 24 ชั่วโมง) • บทบาทของผู้รับแจ้ง • ปลอบโยน ทำความเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกของผู้เสียหาย รับฟังหากผู้เสียหายมีสติบอกเล่าเหตุการณ์ รายละเอียดต่าง ๆ • ให้กำลังใจผู้แจ้งเหตุ รับรองเรื่องการรักษาความลับ • ให้หลักประกันว่าการเปิดเผยข้อมูลจะดำเนินการอย่างระมัดระวัง กรณีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และต้องแจ้งต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ตำรวจ
ขั้นตอนที่2 ประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น(ดำเนินการภายใน 24 ชั่วโมง) • รวบรวมข้อมูลและกลั่นกรองเพื่อพิจารณา/ประเมินความเสี่ยง • ประเมินระดับความเสี่ยง ระดับสูง ต่ำหรือภาวะฉุกเฉิน • การตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม • การพิจารณาความช่วยเหลือในระดับที่เหมาะสม เน้นความปลอดภัยเป็นฐาน ผ่านผู้เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 คน จาก ตำรวจ พนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน ผู้นำชุมชนที่ได้รับการยอมรับ ครูที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่อนามัย แพทย์ พยาบาล ผู้นำใน อบต. ผู้นำศาสนา (ระมัดระวังเรื่องความลับ ที่จะมีผลกระทบต่อเด็กและครอบครัว)
ภาวะเสี่ยงในระดับสูง:ส่งผลกระทบรุนแรงต่อร่างกายและความปลอดภัยในชีวิตภาวะเสี่ยงในระดับสูง:ส่งผลกระทบรุนแรงต่อร่างกายและความปลอดภัยในชีวิต • สมาชิกในครอบครัวอยู่ในภาวะถูกทำร้ายทางเพศโดยบุคคลในครอบครัว • สมาชิกในครอบครัวถูกทำร้ายทางร่างกายโดยถูกผู้ดูแลชก ต่อย เตะ ใช้ไฟจี้ • สมาชิกในครอบครัวอยู่ในภาวะยากลำบาก หรือขาดผู้ดูแล • เด็กมีแนวโน้มจะถูกค้ามนุษย์ หรือขายเพื่อทำงานบริการทางเพศ
ภาวะเสี่ยงในระดับสูง:ส่งผลกระทบรุนแรงต่อร่างกายและความปลอดภัยในชีวิตภาวะเสี่ยงในระดับสูง:ส่งผลกระทบรุนแรงต่อร่างกายและความปลอดภัยในชีวิต • เด็กหรือสมาชิกครอบครัวถูกใช้แรงงานในสถานที่อันตรายและส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างรุนแรง • เด็กหรือสมาชิกในครอบครัวถูกลงโทษอย่างร้ายแรง กักขังโดดเดี่ยว • สมาชิกในครอบครัวได้รับผลกระทบรุนแรงจากสารเสพติด สุรา
ภาวะเสี่ยงระดับต่ำ • ภาวะเสี่ยงที่เคยเกิดขึ้นแต่ปัจจัยเสี่ยงได้หมดไป เช่น ผู้กระทำต่อเด็กและสมาชิกครอบครัวถูกจับกุมแล้ว หรืออาจจะยังจับกุมไม่ได้แต่พ่อแม่ ชุมชนมีระบบเฝ้าระวังติดตามภาวะเสี่ยงอย่างใกล้ชิด หรือมีการมอบหมายเรื่องการป้องกันความเสี่ยงซ้ำอย่างชัดเจน
ขั้นตอนที่ 3 ประสาน ส่งต่อ • การประสานงานกับหน่วยงาน/ทีมงานสหวิชาชีพ • คุยกับผู้เสียหายในสถานที่ปลอดภัย เป็นส่วนตัว ระมัดระวังเรื่องการเปิดเผยข้อมูล การถูกล้อเลียน ทั้งในส่วนครอบครัวและเครือญาติ การเตรียมความรู้สึกกรณีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม • การทำงานกับญาติหรือผู้ใกล้ชิดหรือผู้ที่ไว้วางใจ เพื่อสื่อสารสถานการณ์และหาข้อเท็จจริงเพิ่ม • การค้นหาทรัพยากร บุคคลที่ไว้วางใจในบ้าน
ขั้นตอนที่ 3 ประสาน ส่งต่อ • การติดต่อผู้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ปกครองหรือญาติ ผู้นำชุมชนหรือในกรณีที่เป็นความเสี่ยงสูงหรือฉุกเฉิน ควรติดต่อ ประสานงานกับบุคลากรในพื้นที่จังหวัด อำเภอ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และสามารถดำเนินงานที่เป็นประโยชน์
ข้อเท็จจริงที่ควรได้จากการทำงานในขั้นแรกข้อเท็จจริงที่ควรได้จากการทำงานในขั้นแรก • ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ถูกกระทำ (ควรมีการเยี่ยมบ้าน) • ชื่อ ที่อยู่ อายุ • วันเวลา ลักษณะการล่วงละเมิด การทำร้ายที่เกิดขึ้น • ความถี่ของการล่วงละเมิด ทำร้าย ความต่อเนื่องของเหตุการณ์ • สภาวะทางอารมณ์ของผู้ถูกกระทำขณะที่พูดถึงเหตุการณ์ • การรับรู้และปฏิกิริยาของของบุคคลในครอบครัว
ข้อเท็จจริงที่ควรได้จากการทำงานในขั้นแรกข้อเท็จจริงที่ควรได้จากการทำงานในขั้นแรก • ผู้เสียหาย เคยเปิดเผยข้อมูลการถูกทำร้าย/ละเมิด แก่บุคคลใดมาก่อนหรือไม่ / ปฏิกิริยาตอบรับเป็นอย่างไร • ผู้ที่เสียหายหรือผู้ถูกกระทำเชื่อใจ วางใจได้ • ความต้องการของผู้เสียหายต่อกรณีที่เกิดขึ้น • การสื่อสารให้ผู้เสียหาย เข้าใจสถานการณ์ และมีความมั่นใจมากขึ้นว่าจะได้รับความช่วยเหลือ
ข้อเท็จจริงที่ควรได้จากสมาชิกในครอบครัวข้อเท็จจริงที่ควรได้จากสมาชิกในครอบครัว • จำนวนและรายละเอียดของสมาชิกในบ้าน พร้อมความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียหาย • คนอื่นๆ ในบ้านมีความเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิด/การทำร้ายหรือไม่ • ความสัมพันธ์ของคนในบ้าน ที่มีต่อผู้เสียหาย กรณีที่คนใกล้ชิดในบ้านเป็นผู้กระทำ • การยอมรับปัญหา และความร่วมมือในการช่วยเหลือ
การตัดสินใจ เรื่องการตรวจร่างกาย/บาดแผล • การประเมินในการเข้ารับการตรวจร่างกาย รักษาบาดแผล ฟื้นฟูจิตใจ อารมณ์ เพื่อความปลอดภัยของผู้เสียหาย • กรณีเร่งด่วนหรือมีความเสี่ยงสูง ต้องส่งตรวจสุขภาพทันที เพื่อตรวจสอบบาดแผลและผลกระทบอื่น ๆ เช่น การตั้งครรภ์ โรคติดต่อ ผลกระทบทางจิตใจ พร้อมกับขอให้มีการบันทึกหลักฐานทั้งหมดให้ได้มาตรฐานในการปฏิบัติ เพื่อใช้ในกระบวนการยุติธรรม
ข้อพึงระวัง • แจ้งผู้ถูกกระทำว่าจะมีการรักษาความลับอย่างเคร่งครัด • ทำให้ผู้เสียหายรู้สึกปลอดภัยและไว้วางใจที่จะให้ข้อมูล • ต้องฟังอย่างตั้งใจและใส่ใจเรื่องราวที่เกิดขึ้น • ช่วยให้ผู้ถูกกระทำได้ระบายความรู้สึกมากที่สุด
ทักษะสำคัญในการช่วยเหลือเบื้องต้นทักษะสำคัญในการช่วยเหลือเบื้องต้น • การฟัง • การถาม • การให้กำลังใจ • การให้บริการปรึกษา
การฟัง ความหมาย คือการรับฟังความคิด อารมณ์ ความรู้สึกและปัญหาของผู้พูด วัตถุประสงค์ 1.เปิดโอกาสให้ผู้พูดระบายอารมณ์ ความรู้สึก 2.ให้ผู้พูดตระหนักว่ามีผู้ยินดีรับฟังและช่วยแหลือ 3.ผู้พูดมีโอกาสทบทวนความคิด ความรู้สึกของตนเอง
เทคนิคการฟัง • ฟังอย่างไม่ตัดสิน • ฟังเพื่อร่วมรับรู้ความรู้สึกและเนื้อหาของผู้พูด เป็นการสร้างความสัมพันธ์ • ฟังแบบไม่ขัดจังหวะผู้พูด ให้ผู้พูดได้ระบายอารมณ์ ความรู้สึกเต็มที่
เทคนิคการฟัง (ต่อ) • ฟังเพื่อมองให้เห็นใจของเราที่แปรเปลี่ยนไปทุกครั้งที่เราได้ฟัง • การฟังด้วยหัวใจ จะมีคุณกับทั้งคนฟังและคนที่ได้รับการรับฟัง เป็นพื้นที่แห่งความไว้วางใจ ที่ทั้งสองฝ่ายสร้างขึ้นมาร่วมกัน คนที่ได้รับการรับฟังจะได้ระบายความอึดอัด ความคิดความรู้สึกโดยที่เขาจะไม่รู้สึกว่าถูกตัดสิน ยอมรับเขาได้ตามที่เขาเป็น บางครั้งเขาอาจจะเห็นทางออกได้ด้วยตัวเอง เพราะมีคนฟังเขาด้วยหัวใจ
การถาม ความหมาย คือ การตั้งคำถามเพื่อค้นหาข้อมูล ปัญหาและความต้องการของผู้ให้ข้อมูล วัตถุประสงค์ 1. เป็นการให้โอกาสแก่ผู้ให้ข้อมูลได้บอกถึงความรู้สึกและเรื่องราวต่างๆ 2. เป็นการช่วยเหลือให้ผู้ให้ข้อมูลเข้าใจถึงปัญหามากขึ้น ตลอดจนได้ใช้เวลาคิดคำนึงและทำความเข้าใจปัญหาของตน
แนวทางการถาม • คำถามปิดเป็นการถามเพื่อทราบข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับผู้ใช้บริการ โดยผู้ใช้บริการไม่ต้องใช้เวลามากนัก ในการคิดและข้อมูลมักไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง เช่น หนูอายุเท่าไหร่ • คำถามเปิด เปิด เป็นคำถามที่ไม่ได้กำหนดขอบเขตของการตอบ ช่วยผู้ให้ข้อมูลได้มีโอกาสพูดถึงความคิด ความรู้สึก และสิ่งที่เป็นปัญหาตามความต้องการของตน การใช้คำถามเปิดจะมีลักษณะของคำถามที่ใช้คำว่า “อะไร” “อย่างไร” “เพราะอะไร”
การให้กำลังใจ • ความหมาย เป็นการแสดงความสนใจ ความเข้าใจในสิ่งที่ผู้ให้ข้อมูลได้พูดมาแล้ว และเป็นการสนับสนุนให้เขาได้พูดต่อไป • วัตถุประสงค์ เพื่อสื่อถึงความใส่ใจ ความเข้าใจของฟังที่มีต่อผู้ให้ข้อมูล ทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองเป็นที่เข้าใจ เป็นที่ยอมรับ เกิดความอบอุ่นใจและเกิดกำลังใจในการแก้ไขปัญหา
แนวทางการให้กำลังใจ • มีกิริยาท่าทางที่แสดงว่าได้รับรู้ และได้ยินในสิ่งที่เขาพูดออกมา เช่น การพยักหน้า ยิ้ม ฯลฯ • มีการอุทานตอบรับ เช่น ฮึม…. ค่ะ • มีการทวนคำสำคัญๆที่ผู้ให้ข้อมูลได้พูดออกมา • แสดงความเงียบเพื่อให้เวลาในการคิด • มีคำพูดที่ให้กำลังใจที่สอดคล้องกับสถานการณ์
ร่วมสร้างสรรค์สังคมที่ปลอดความรุนแรงร่วมสร้างสรรค์สังคมที่ปลอดความรุนแรง