1 / 53

เอกภพ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7. เอกภพ. เอกภพ. ระบบสุริยะ. ดาวฤกษ์. ดาวเคราะห์ ในระบบสุริยะ. เทคโนโลยีอวกาศ. กาแล็กซีและเอกภพ. ระบบสุริยะ. กำเนิดระบบสุริยะ. ดวงอาทิตย์และบริวารเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว

garron
Download Presentation

เอกภพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยการเรียนรู้ที่7 เอกภพ

  2. เอกภพ • ระบบสุริยะ • ดาวฤกษ์ • ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ • เทคโนโลยีอวกาศ • กาแล็กซีและเอกภพ

  3. ระบบสุริยะ

  4. กำเนิดระบบสุริยะ • ดวงอาทิตย์และบริวารเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว • มวลสารของแก๊สและมวลสารของกลุ่มธุลีในอวกาศรวมตัวกัน ทำให้เกิดดวงอาทิตย์และดาวบริวาร • ดวงอาทิตย์จะหมุนรอบตัวเอง ส่วนดาวบริวารจะหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์

  5. วัตถุในระบบสุริยะ • ดวงอาทิตย์ (Sun) • เป็นดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ มีอายุประมาณ 5,000 ล้านปี • เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ • ประกอบด้วยแก๊สไฮโดรเจนที่อัดแน่นภายใต้แรงดึงดูดสูง • มีอุณหภูมิที่ผิวประมาณ 5,800 องศาเซลเซียส

  6. ดาวเคราะห์ (Planet) • เป็นดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง • มีทั้งหมด 8 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน • ดาวเคราะห์น้อย (Asteroids) • เป็นดาวที่มีขนาดเล็ก ซึ่งในระบบสุริยะมีอยู่ประมาณ 50,000 ดวง • มีวงโคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี • ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่ถูกค้นพบชื่อว่า เซเรส

  7. ดาวหาง (Comet) • เป็นกลุ่มมวลสารที่หลงเหลือจากการกำเนิดระบบสุริยะ • ประกอบด้วยแก๊สที่รวมตัวกันเป็นก้อนแข็ง น้ำ ฝุ่นธุลี และก้อนหินที่อยู่กันอย่างหลวมๆ ซึ่งไม่มีแสงในตัวเอง • การที่มองเห็นดาวหางมีแสงเนื่องจากดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์

  8. อุกกาบาต (Meteor) • เป็นสะเก็ดดาวหรือเศษชิ้นส่วนที่หลุดออกจากดวงดาว ซึ่งโคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ • เมื่อผ่านเข้ามาในบรรยากาศของโลกจะถูก แรงดึงดูดของโลกดึงดูดเข้ามาและเสียดสีกับบรรยากาศจนเกิดการลุกไหม้ • ดาวเคราะห์แคระ (Dwaf Planet) • เป็นวัตถุขนาดเล็กที่มีรูปร่างคล้ายทรงกลม แต่มีวงโคจรเป็นรูปวงรี ซึ่งซ้อนทับกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ดาวพลูโต ดาวอีรีส ดาวเซเรส

  9. ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

  10. ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ • ดาวเคราะห์วงใน คือ ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวพุธ และดาวศุกร์ • ดาวเคราะห์วงนอก คือ ดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน

  11. โลก (Earth) โลกถือเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต • โลกกับดวงอาทิตย์ • โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง • การที่โลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้เกิดกลางวัน กลางคืน • โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 365.24 วัน โดยโคจรในลักษณะที่แกนเอียง 23.5 องศา ซึ่งทำให้เกิดฤดูกาล

  12. โลกกับดวงจันทร์ โลกมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดวง โดยดวงจันทร์จะโคจรรอบโลก ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ • ข้างขึ้นข้างแรม • เกิดจากดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองและโคจรรอบโลก ทำให้แต่ละคืนตำแหน่งของดวงจันทร์จะเปลี่ยนไป • ช่วงเวลาที่มองเห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์ค่อยๆ โตขึ้นเรื่อยๆ เรียกว่า วันข้างขึ้น • วันที่เห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์เต็มดวง เรียกว่า วันเพ็ญ • วันที่มองไม่เห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์เลย เรียกว่า วันเดือนดับ

  13. แนววงโคจรของดวงจันทร์และการเกิดข้างขึ้นข้างแรมแนววงโคจรของดวงจันทร์และการเกิดข้างขึ้นข้างแรม

  14. น้ำขึ้นน้ำลง • เกิดจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ต่างส่งแรงดึงดูดมายังโลก ทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลงตามริมทะเล

  15. สุริยุปราคาหรือสุริยคราส • เกิดจากโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์เคลื่อนที่มาอยู่ในแนวเดียวกัน โดยดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ • ดวงจันทร์ไปบังแสงจากดวงอาทิตย์ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นแสงอาทิตย์

  16. จันทรุปราคาหรือจันทรคราสจันทรุปราคาหรือจันทรคราส • เกิดจากโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ เคลื่อนที่มาอยู่ในแนวเดียวกัน โดยโลกอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ • โลกไปบังแสงอาทิตย์ แสงอาทิตย์จึงส่องไปไม่ถึงดวงจันทร์ ทำให้มองเห็นดวงจันทร์มืดลงชั่วขณะ

  17. ดาวพุธ (Mercury) • เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด • ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร • ไม่มีบรรยากาศปกคลุม • กลางวันอุณหภูมิสูงถึง 430 องศาเซลเซียส กลางคืนอุณหภูมิจะต่ำถึง -170 องศาเซลเซียส • ได้รับฉายาว่าเตาไฟแช่แข็ง ดาวศุกร์ (Venus) • เป็นดาวเคราะห์ที่มองเห็นสว่างที่สุดในท้องฟ้า • ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร • ถ้าเห็นตอนหัวค่ำ เรียกว่า ดาวประจำเมือง ถ้าเห็นตอนเช้ามืด เรียกว่า ดาวประกายพรึก • มีฉายาว่าดาวเคราะห์ฝาแฝดของโลก

  18. ดาวอังคาร (Mars) • เป็นดาวที่มีขนาดเล็กกว่าโลกประมาณครึ่งหนึ่ง • เป็นดาวที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าน่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ จึงมีการส่งยานอวกาศไปสำรวจหลายครั้ง ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) • เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด จึงมีฉายาว่าดาวเคราะห์ยักษ์ • มีวงแหวนเช่นเดียวกับดาวเสาร์ • มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 63 ดวง • พื้นผิวเต็มไปด้วยแก๊สที่มีความหนาแน่นสูง

  19. ดาวเสาร์ (Saturn) • มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากดาวพฤหัสบดี • มีดวงจันทร์เป็นบริวารอย่างน้อย 30 ดวง • ดวงจันทร์บริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ไททัน • เป็นดาวเคราะห์ที่สวยที่สุดเมื่อมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ • มีวงแหวนล้อมรอบประมาณ 7 ชั้น และมีวงแหวนเล็กๆ ซ้อนกันอยู่จำนวนมาก

  20. ดาวยูเรนัส (Uranus) • เป็นดาวเคราะห์แก๊สสีเขียวอ่อน • มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในระบบสุริยะ • มีวงแหวนบางๆ ล้อมรอบอย่างน้อย 9 วง • โคจรรอบดวงอาทิตย์โดยเอาขั้วนำไปก่อน จึงมองเห็นวงแหวนในแนวดิ่ง ดาวเนปจูน (Naptune) • มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ในระบบสุริยะ • แผ่พลังงานออกมามากกว่าได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ • พื้นผิวมีอุณหภูมิเย็นจัดถึง -200 องศาเซลเซียส

  21. กาแล็กซีและเอกภพ

  22. กาแล็กซี เป็นบริเวณที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ บริวารของดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง อุกกาบาต รวมทั้งแก๊สและฝุ่นธุลีในอวกาศ • ชนิดของกาแล็กซี • หากใช้รูปร่างหรือลักษณะที่มองเห็นจากโลกเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้ • กาแล็กซีกังหัน • กาแล็กซีกังหันแบบมีคาน • กาแล็กซีรูปไข่ • กาแล็กซีรูปร่างไม่แน่นอน

  23. กาแล็กซีกังหัน: เมื่อมองจากด้านบน ตรงกลางจะมีขนาดใหญ่ ซึ่งเต็มไปด้วยดวงดาวที่มีอายุมาก ส่วนดาวที่อยู่ตามแขนของกังหันเป็นดาวที่มีอายุน้อย กาแล็กซีกังหันแบบมีคาน: บริเวณตรงกลางมีลักษณะคล้ายคานและมีแขนต่อออกมาจากปลายคานทั้งสองข้าง มีการหมุนเร็วกว่ากาแล็กซีทุกประเภท

  24. กาแล็กซีรูปไข่:มีรูปร่างขึ้นอยู่กับการหมุนของกาแล็กซี ถ้าหมุนช้าจะมีรูปร่างกลม แต่ถ้าหมุนเร็วจะมีรูปร่างยาวรี กาแล็กซีรูปร่างไม่แน่นอน: ส่วนใหญ่เป็นกาแล็กซีขนาดเล็ก

  25. องค์ประกอบของกาแล็กซีองค์ประกอบของกาแล็กซี • กระจุกดาว:กลุ่มดาวฤกษ์ตั้งแต่สิบดวงขึ้นไปจนถึงหลายสิบล้านดวง • สสารระหว่างดาว: ประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่นธุลี และชิ้นส่วนของสะเก็ดดาว • เนบิวลา: สิ่งที่ปรากฏเป็นเมฆ หมอก หรือฝุ่นธุลีที่อยู่คงที่ท่ามกลางดาวฤกษ์บนท้องฟ้า แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ • - เนบิวลาสว่าง โดยแบ่งออกได้เป็นเนบิวลาสะท้อนแสง ซึ่งสะท้อนแสงสว่างที่ส่องมาจากดาวฤกษ์ และเนบิวลาเรืองแสง ซึ่งเปล่งแสงออกมาจากตัวเอง • - เนบิวลามืด เป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นธุลีจำนวนมากที่หนาทึบ

  26. เอกภพ บริเวณอันกว้างใหญ่ไพศาล ไม่มีขอบเขตจำกัด ซึ่งประกอบด้วยกาแล็กซีหลายกาแล็กซีรวมกันอยู่เป็นระบบ กำเนิดเอกภพ ทฤษฎีบิกแบง (Big-Bang Theory) กล่าวว่า “ สรรพสิ่งทั้งมวลในเอกภพที่ปรากฏอยู่นี้ ครั้งหนึ่งเคยรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน และอัดตัวอยู่รวมกันแน่นด้วยพลังมหาศาล ต่อมา เอกภพเกิดการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งมวลและ พลังงานมหาศาลถูกปล่อยออกมา แต่ความร้อน และพลังงานได้ดึงดูดกันไว้ ทำให้สารต่างๆ รวมตัวกันเกิดเป็นดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ กระจุกดาว กาแล็กซี และพลังงานต่างๆ”

  27. การขยายตัวของเอกภพ กาแล็กซีแต่ละกาแล็กซีกำลังเคลื่อนตัว ออกห่างกันไปเรื่อยๆ ทุกทิศทาง โดย สามารถตรวจสอบได้จากการเปลี่ยนแปลง เส้นสเปกตรัมของแสงที่ได้รับที่บ่งบอกว่า กำลังเคลื่อนที่ออกไป ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้ เห็นว่า เอกภพมีการขยายตัวออกไปเรื่อยๆ

  28. ดาวฤกษ์

  29. ดาวฤกษ์ • ดาวฤกษ์ คือ มวลของกลุ่มแก๊สร้อนรูปทรงกลมที่สามารถปล่อยพลังงานแสง ความร้อน และรังสีต่างๆ ออกมาได้ • พลังงานที่ปล่อยออกมาจากดาวฤกษ์ เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน • ดาวฤกษ์มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือไฮโดรเจน ฮีเลียม และธาตุโลหะ ที่อยู่ในสภาพแก๊ส

  30. วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ • เริ่มจากมวลสารระหว่างดวงดาวมารวมกันแล้วเกิดแรงอัดตัวกันกลายเป็นดาวฤกษ์ • ดวงอาทิตย์ คือ ดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีสีเหลืองแต่ต่อไปเมื่อใกล้หมดอายุจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีแดง เรียกว่า ดาวยักษ์แดง หลังจากนั้นจะค่อยๆ หดตัว จนมีขนาดเล็กลงและมีสีขาว เรียกว่า ดาวแคระขาว ดาวยักษ์แดง ดาวแคระขาว กลุ่มแก๊สและฝุ่นธุลี ที่รวมเป็นดาวฤกษ์ การแตกดับ จุดเริ่มต้น

  31. อุณหภูมิและสีของดาวฤกษ์อุณหภูมิและสีของดาวฤกษ์ • สีของดาวฤกษ์สามารถบอกถึงอุณหภูมิของดาวแต่ละดวง และยังบอกถึงอายุของดาวฤกษ์ได้ • ดาวฤกษ์ที่มีอายุน้อยจะมีอุณหภูมิสูง และมีสีน้ำเงิน ส่วนดาวฤกษ์ที่มีอายุมากจะมีอุณหภูมิต่ำและมีสีแดง

  32. กลุ่มดาวฤกษ์ เป็นกลุ่มดาวประจำที่ ซึ่งมีระยะห่างกันคงที่เสมอ ทำให้เกิดเป็นรูปร่างต่างๆ ตามที่ ผู้มองจินตนาการ • กลุ่มดาว 12 ราศี • กลุ่มดาวฤกษ์ 12 กลุ่ม ที่ปรากฏอยู่ตามเส้นแถบสุริยวิถี กลางท้องฟ้าที่พาดผ่านจากขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกไปถึงขอบฟ้าด้านทิศตะวันตก • วิธีการสังเกต คือ ขณะที่ดวงอาทิตย์กำลังลับจากขอบฟ้า กลุ่มดาว 12 ราศี จะปรากฏบริเวณใกล้ๆ กับที่ดวงอาทิตย์ตก

  33. กลุ่มดาว 12 ราศีในแต่ละเดือน

  34. กลุ่มดาว 12 ราศีในแต่ละเดือน

  35. กลุ่มดาว 12 ราศีในแต่ละเดือน

  36. กลุ่มดาวฤดูกาลต่างๆ • กลุ่มดาวฤดูหนาว: กลุ่มดาวนายพราน กลุ่มดาววัว กลุ่มดาวลูกไก่ • กลุ่มดาวฤดูร้อน: กลุ่มดาวหมีใหญ่หรือกลุ่มดาวจระเข้ กลุ่มดาวกางเขนใต้ กลุ่มดาวสิงโต กลุ่มดาวคนยิงธนู กลุ่มดาวหญิงพรหมจารี • กลุ่มดาวฤดูฝน: กลุ่มดาวหงส์ กลุ่มดาวพิณ กลุ่มดาวเฮอร์คิวลิส กลุ่มดาวแมงป่อง กลุ่มดาวนายพราน

  37. แผนที่ดาว แผนที่แสดงตำแหน่งของดวงดาวบนท้องฟ้าที่โคจร รอบโลก มีลักษณะเป็นทรงกลม ซึ่งกำหนดให้ตัวผู้ดู เป็นศูนย์กลางของท้องฟ้าเสมอ • การทำแผนที่ดาว จะต้องทราบสิ่งต่างๆ ดังนี้ • ทิศบนท้องฟ้า: ดวงอาทิตย์และดวงดาวขึ้นทางทิศตะวันออกและลับขอบฟ้าทาง ทิศตะวันตก • เส้นขอบฟ้า: เส้นวงกลมบนพื้นโลกที่จรดกับขอบฟ้าล้อมรอบตัวเรา • เส้นเมอริเดียนท้องฟ้า:เส้นที่แบ่งครึ่งท้องฟ้าออกเป็นสองส่วน คือ ซีกโลกตะวันออกและตะวันตก • เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า: อยู่ในระนาบเดียวกับเส้นศูนย์สูตรของโลก • จุดยอดท้องฟ้า: จุดสูงสุดบนท้องฟ้าซึ่งจะอยู่เหนือศีรษะพอดี

  38. ตำแหน่งและเส้นต่างๆ ที่ควรทราบในการทำแผนที่ดาว

  39. การอ่านแผนที่ดาว แหงนหน้าขึ้นไปบนท้องฟ้าแล้วยกแผนที่ดาวขึ้นเหนือศีรษะ ตั้งทิศแผนที่ดาวและทิศจริงให้ตรงกัน จะทำให้เห็นดาวบนฟ้าตรงกับแผนที่ดาว

  40. การใช้ประโยชน์จากดาวฤกษ์การใช้ประโยชน์จากดาวฤกษ์ • การหาทิศ • ดาวที่นิยมใช้ในการหาทิศ คือ ดาวเหนือ ซึ่งอยู่ในกลุ่มดาวหมีเล็ก • หากต้องการหาทิศใต้ อาจใช้กลุ่มดาวกางเขนใต้ • การบอกเวลา • กลุ่มดาวหมีใหญ่เป็นกลุ่มดาวที่นิยมใช้บอกเวลา ซึ่งคนไทยเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลุ่มดาวจระเข้ • เวลา 24.00 น. กลุ่มดาวจระเข้จะอยู่กลางท้องฟ้า โดยส่วนหัวจะชี้ไปทางทิศเหนือ และเวลาใกล้สว่างส่วนหัวจะค่อยๆ ลับขอบฟ้าไปทางทิศตะวันตก

  41. เทคโนโลยีอวกาศ

  42. เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีอวกาศ หมายถึง การนำความรู้ เครื่องมือ และวิธีการต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ มาปรับใช้กับการศึกษาทางดาราศาสตร์ และอวกาศ ตลอดจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้ สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติ และการดำรงชีวิตของมนุษย์

  43. การเดินทางสู่อวกาศ การเดินทางสู่อวกาศจำเป็นต้องศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ • แรงโน้มถ่วงของโลก • เป็นแรงที่ดึงดูดต่อวัตถุทั้งหมดบนโลกไม่ให้หลุดลอยออกไปนอกโลก • การส่งยานอวกาศหรือดาวเทียมจากโลกสู่อวกาศ จะต้องอาศัยแรงขับมหาศาล และความเร็วสูงมากๆ • ความเร็วที่ทำให้ยานอวกาศเคลื่อนที่หลุดจากแรงโน้มถ่วงของโลก เรียกว่า ความเร็วหลุดพ้น

  44. แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา การส่งยานอวกาศหรือดาวเทียมขึ้นไปต้องอาศัยกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน ซึ่งกล่าวว่า ทุกแรงกิริยาก็ย่อมมีแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากันกระทำในทิศตรงกันข้ามเสมอ วงโคจรของดาวเทียม ดาวเทียมที่โคจรรอบโลกได้เนื่องจาก ความเร็วของดาวเทียมที่โคจรรอบโลก สมดุลกับแรงโน้มถ่วงของโลก

  45. ความก้าวหน้าของการสำรวจอวกาศความก้าวหน้าของการสำรวจอวกาศ • ยุคก่อนอวกาศ • พ.ศ. 2152 กาลิเลโอประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ตัวแรกขึ้น • พ.ศ. 2474 มีการใช้คลื่นวิทยุสำรวจดวงดาวที่เรียกว่า วิทยุดาราศาสตร์ และในเวลาต่อมามีการสร้างกล้องโทรทรรศน์วิทยุ • การสำรวจวัตถุบนท้องฟ้าในอดีตทำได้เพียงการใช้กล้องโทรทรรศน์ และกล้องโทรทรรศน์วิทยุเท่านั้น

  46. ยุคอวกาศ • มีการประดิษฐ์ยานอวกาศเพื่อส่งไปสำรวจอวกาศ • สหภาพโซเวียตส่งดาวเทียมดวงแรกขึ้นสู่อวกาศชื่อ สปุตนิก 1 • มีการจัดตั้งโครงการสำรวจอวกาศ โดยทั้งสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และ อีกหลายประเทศได้ส่งดาวเทียมและยานอวกาศขึ้นไปโคจรรอบโลก • มีการส่งยานอวกาศไปสำรวจดาวเคราะห์ต่างๆ และมีการจัดตั้งสถานีอวกาศเพื่อเป็นสถานีทดลองทางวิทยาศาสตร์บนอวกาศ

  47. เทคโนโลยีสำรวจอวกาศ ดาวเทียม เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ส่งไปโคจรรอบโลก โดยอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงของโลกและวงโคจรของดาวเทียม ซึ่งดาวเทียมมีประโยชน์ต่อมนุษย์หลายด้าน • ด้านการสื่อสาร • ใช้ดาวเทียมเป็นสถานีรับส่งคลื่นวิทยุเพื่อการสื่อสาร และโทรคมนาคม • ใช้ติดต่อสื่อสารทั้งในและต่างประเทศ

  48. ด้านการพยากรณ์อากาศ • ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาส่งสัญญาณภาพถ่ายทางอากาศมาสู่พื้นดิน ซึ่งเป็นข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา • ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาดวงแรกที่ส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก คือ ดาวเทียมไทรอส-1 ดาวเทียมไทรอส-1 • ด้านการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ • ใช้ประโยชน์จากดาวเทียมในด้านป่าไม้ การเกษตร การใช้ที่ดิน อุทกวิทยา ธรณีวิทยา สิ่งแวดล้อม และการทำแผนที่ • ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ที่สำคัญ ได้แก่ ดาวเทียมแลนด์แซทดาวเทียมสปอต ดาวเทียมมอส-1 ดาวเทียมธีออส

  49. ด้านการสำรวจสมุทรศาสตร์ด้านการสำรวจสมุทรศาสตร์ • ใช้ดาวเทียมสำรวจสมุทรศาสตร์ทำการบันทึกข้อมูลในช่วงคลื่นไมโครเวฟ • ดาวเทียมสำรวจสมุทรศาสตร์ที่ถูกส่งไปโคจรรอบโลก เช่น ดาวเทียมซีแซท ดาวเทียมเรดาร์แซท ดาวเทียมมอส-1 ดาวเทียมธีออส

  50. ยานอวกาศ ยานพาหนะที่มีเครื่องยนต์ หรือสิ่งอื่นที่ใช้บังคับยานอวกาศให้เคลื่อนที่ไป หรือกลับสู่พื้นโลก หรือจอดบนพื้นผิวดาวเคราะห์ที่ต้องการสำรวจ • จรวด • สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้เป็นอาวุธและใช้ในการส่งยานอวกาศหรือดาวเทียมขึ้นจากพื้นโลก • จรวดที่ใช้ส่งยานอวกาศหรือดาวเทียมจะมีหลายท่อนโดยแต่ละท่อนจะบรรจุเชื้อเพลิงได้

More Related