640 likes | 858 Views
การอบรม “การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง”. โดย. นพ. วิชัย จตุรพิตร. ผู้อำนวยการ ศูนย์แพทย์อาชีวเวชศาสตร์กรุงเทพ. วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม 2549 เวลา 08.00 – 17.00 น. หัวข้อเรื่อง. ชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูง - ความดันโลหิต - เอกซเรย์ทรวงอก - ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด - ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ
E N D
การอบรม “การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง” โดย นพ. วิชัย จตุรพิตร ผู้อำนวยการ ศูนย์แพทย์อาชีวเวชศาสตร์กรุงเทพ วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม 2549 เวลา 08.00 – 17.00 น. หัวข้อเรื่อง • ชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูง • - ความดันโลหิต • - เอกซเรย์ทรวงอก • - ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด • - ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ • - ระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) • - ระดับไขมันในเลือด (Cholesterol) - สมรรถภาพการทำงานของตับ (SGOT & SGPT) - สมรรถภาพการทำงานของไต (BUN & Cr) - ระดับกรดยูริค (Uric Acid) - ไวรัสตับอักเสบ บี (HBsAg & HBsAb) - สมรรถภาพการได้ยิน (Audiometry) - สมรรถภาพการทำงานของปอด (Spirometry)
ประโยชน์ของการตรวจสุขภาพประโยชน์ของการตรวจสุขภาพ • การสร้างเสริมคุณภาพชีวิต (Improve Quality of Life) ดังนั้นการตรวจสุขภาพใดๆ ที่เพียงทำให้สามารถวินิจฉัยความผิดปกติได้ โดยไม่บรรลุเป้าหมายที่กล่าวแล้ว ย่อมไม่ได้รับการถือว่ามีประโยชน์ ในปัจจุบันประชาชนมีความตื่นตัวในด้านการตรวจสุขภาพมากขึ้น และรัฐบาลได้มีการส่งเสริม ให้ดำเนินการดังกล่าว เห็นได้จากการที่กระทรวงการคลังได้มีระเบียบอนุมัติให้ ข้าราชการสามารถเบิกจ่ายค่าตรวจสุขภาพได้ ตามรายการที่กำหนด และในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ให้นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพให้กับลูกจ้างเป็นประจำ มีการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนรับการตรวจสุขภาพประจำปี โดยกำหนดให้เป็นข้อหนึ่งอยู่ในสุขบัญญัติ 10 ประการ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การตรวจสุขภาพควรคำนึงถึงเป้าหมายที่จะได้รับจากการตรวจ จึงจะมีประโยชน์ เป้าหมายสุดท้ายของการให้บริการด้านสุขภาพได้แก่ จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า “การตรวจสุขภาพ จะมีประโยชน์ได้ควรจะต้อง มีรายการ การตรวจที่เหมาะสม และผู้รับการตรวจ มีความเข้าใจต่อผล และค่าที่ได้จากการตรวจ และมีความรู้ที่จะสามารถปรับเปลี่ยน และปรับปรุงตัว ให้สอดคล้องกับผลการตรวจนั้นๆ” ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ประโยชน์ของเวชกรรมป้องกัน ที่ทำให้ป้องกันโรคได้จากการค้นหาโรคตั้งแต่ระยะต้นๆ ได้แก่ สถิติการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง ลดลงตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 มากกว่าร้อยละ 50 เนื่องจากแนวโน้มในการค้นหา และเริ่มรักษาความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ระยะต้นๆ • การมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น (Prolong Life) • การลดการเจ็บป่วย (Decrease Morbidity)
การชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ดัชนีมวลร่างกาย (BMI) = ส่วนสูง (เมตร)2 วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโรคอ้วน และภาวะทุพโภชนาการในผู้ใหญ่ ปัจจุบันในทางการแพทย์ ถือว่า “ความอ้วน” เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ความอ้วนเกิดจาก การมีปริมาณไขมันในร่างกายมากกว่าปกติ จนมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, โรคถุงน้ำดี, โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วนที่มีผลร้ายต่อร่างกาย มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ โรคอ้วนทั้งตัว, โรคอ้วนลงพุง, และโรคอ้วนทั้งตัวร่วมกับโรคอ้วนลงพุง 1. โรคอ้วนทั้งตัว (Overall Obesity) จะมีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติ ไขมันมิได้จำกัดอยู่ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งโดยเฉพาะ เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินว่าเป็น ”โรคอ้วน” แนะนำให้ใช้ การคำนวณดัชนีมวลร่างกาย (Body Mass Index : BMI)
ตัวอย่าง ผู้ที่มีน้ำหนักตัว 80 กก. ส่วนสูง 160 ซม. 80 กิโลกรัม BMI = = 31.25 กิโลกรัม / ตารางเมตร (1.6)2 เมตร อยู่ในเกณฑ์ เป็น “โรคอ้วน” การวินิจฉัย “โรคอ้วนทั้งตัว” ที่แน่นอนที่สุด คือ การวัดปริมาณไขมันในร่างกายว่ามีมากน้อยเพียงใด แต่เป็นเรื่องยุ่งยากเกินความจำเป็น ในทางปฏิบัติการใช้ ”ดัชนีมวลร่างกาย(BMI)”เป็นวิธีที่เหมาะสม โดยเหตุผลที่ว่า ดัชนีมวลร่างกายแปรตามส่วนสูงน้อย และจากการศึกษาพบว่าค่าของดัชนีมวลร่างกายจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณไขมันจริงในร่างกาย และมีความสัมพันธ์กับอัตราการตาย โดยผู้ที่มีดัชนีมวลร่างกายมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์จะมีอัตราการตายสูงกว่า ผู้ที่มีดัชนีมวลร่างกายปกติ ค่าดัชนีมวลร่างกาย ผล 20.0-25.0 ปกติ ต่ำกว่า 20.0 น้ำหนักน้อยเกินควร 25.0 – 30.0 อ้วนเล็กน้อย สูงกว่า 30.0 เป็น ”โรคอ้วน”
แนะนำให้ใช้ รอบเอว รอบสะโพก (Waist / Hip Circumference ratio : WHR) ชาย ควร น้อยกว่า 1.0 หญิง ควร น้อยกว่า 0.8 ตัวอย่าง เพศชาย วัดรอบเอวได้ 42 นิ้ว รอบสะโพก 35 นิ้ว รอบเอว 42 = = 1.2 รอบสะโพก 35 อยู่ในภาวะ “โรคอ้วนลงพุง” 2. โรคอ้วนลงพุง (Visceral Obesity)กลุ่มนี้จะมีไขมันของอวัยวะภายใน ที่อยู่ในช่องท้องมากกว่าปกติ และอาจมีไขมันใต้ผิวหนังที่หน้าท้อง เพิ่มมากกว่าปกติด้วย เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินว่าเป็น ”โรคอ้วนลงพุง”
จากการศึกษา พบว่า ผู้ที่มี “ภาวะอ้วนลงพุง” เกิดโรคหัวใจขาดเลือดสูงกว่า ผู้ที่มีไขมันสะสมมากบริเวณสะโพก และ/หรือ บริเวณต้นขา เนื่องจากไขมันในช่องท้องจะดักจับไขมันชนิดที่ดี (HDL) ทำให้ไขมันชนิดที่ดี (HDL) ในเลือดมีระดับต่ำลง เพราะฉะนั้นผู้ที่มีไขมันสะสมในบริเวณช่วงกลางของลำตัว จะมีระดับไขมันที่ดี (HDL) ต่ำกว่าผู้ที่มีไขมันสะสมบริเวณสะโพก ก้น และต้นขา มีข้อมูลที่น่าสนใจว่าชาวอินเดียในเอเชียเป็นชาติที่มีอัตราเกิดโรคหัวใจขาดเลือดสูงสุด ทั้งๆ ที่เกือบครึ่งหนึ่งของชนกลุ่มนี้เป็นมังสวิรัติมาตลอดชีวิต จากการศึกษา พบว่า เกิดขึ้นเนื่องจากชนกลุ่มนี้มีระดับ HDL-Cholesterol ต่ำ และมีไตรกลีเซอไรด์สูง ร่วมกับมีรูปร่างเป็นโรคอ้วนลงพุง ซึ่งข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นความสำคัญของโรคอ้วนลงพุง ซึ่งมักจะมีภาวะไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง และมีไขมันที่ดีต่ำ (HDL ต่ำ)
3. โรคอ้วนทั้งตัวร่วมกับโรคอ้วนลงพุง (Combined Overall and Abdominal Obesity)เป็นผู้ที่มีทั้งไขมันทั้งตัวมากกว่าปกติ และมีไขมันในช่องท้องมากกว่าปกติร่วมกัน ผลร้ายของโรคอ้วนที่มีต่อสุขภาพ แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม 1. เกิดโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับความอ้วนเช่น โรคหัวใจขาดเลือด, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคเบาหวาน โรคถุงน้ำดี 2. มีความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ และการเผาผลาญทางชีวเคมีในร่างกาย (Metabolism)เซลล์ไขมันทำหน้าที่เป็นเซลล์ของต่อมไร้ท่อได้ด้วย โดยสามารถสร้างฮอร์โมนได้ และยังเป็นเซลล์เป้าหมายของฮอร์โมนหลายชนิด ทำให้คนอ้วนมีระดับและการตอบสนองต่อฮอร์โมนผิดปกติ เช่น มีการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเพิ่มขึ้น แต่มีภาวะดื้อต่ออินซูลินมีระดับฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ลดลง มีฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ลดลง เป็นต้น 3. ปัญหาสุขภาพที่อ่อนแอลงจากความอ้วนเช่น เกิดโรคข้อเสื่อม มีการหายใจผิดปกติ มีความต้านของระบบทางเดินหายใจส่วนบนเพิ่มขึ้น มีแนวโน้มมีระดับกรดยูริคในเลือดสูง เป็นต้น 4. ปัญหาทางสังคม และจิตใจซึ่งอาจจะเป็นปัญหาในบางคน
มาตรการที่เสนอแนะ แนะนำให้ตรวจวัดส่วนสูง และชั่งน้ำหนักเป็นระยะๆ ในบุคคลทุกคน เพื่อนำมาใช้คำนวณดัชนีมวลร่างกายควบกับการวัดสัดส่วนเส้นรอบวง-(เอว) ต่อเส้นรอบวง-(สะโพก) และประเมินโรคหรือภาวะทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมต่อไป เมื่อตรวจพบว่า บุคคลใดอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นโรคอ้วนก็ควรต้องให้การรักษา โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ 1. ลดน้ำหนัก โดยควรให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวเดิม 2. ต้องมีมาตรการในการรักษาน้ำหนักตัวที่ลดแล้ว ให้คงอยู่ได้ตลอดไป 3. ตรวจสอบดูแลรักษาป้องกัน โรคต่างๆ ที่เกิดร่วมกับความอ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง ภาวะระดับไขมันในเลือดผิดปกติ เป็นต้น
การบำบัดโรคอ้วน การที่มนุษย์จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงย่อมขึ้นอยู่กับดุลยภาพของพลังงาน ซึ่งมาจากความสมดุลของพลังงานที่ได้จากการบริโภค และพลังงานที่ร่างกายนำไปใช้ พลังงานที่บริโภค ขึ้นกับปริมาณพลังงานที่บริโภคทั้งหมด และขึ้นกับสัดส่วนของพลังงานที่ได้รับนั้นมาจากอาหารประเภทโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต(แป้ง) อย่างละเท่าใด พลังงานที่ร่างกายนำไปใช้ จะประกอบด้วยอัตราฐานของการเผาผลาญในร่างกาย และพลังงานที่ใช้ไปกับการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การทำงาน การเล่นกีฬา เพราะฉะนั้น แนวทางการปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคอ้วน จึงต้องมีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม และมีการเพิ่มระดับการเคลื่อนไหวร่างกายที่มากเพียงพอ
แนวทางการบริโภคอาหาร เพื่อควบคุมน้ำหนักตัว 1. การบริโภคอาหารที่ให้พลังงานแต่พอควร ถ้าการบริโภคมากเกินกว่าพลังงานที่ร่างกายนำไปใช้ ก็จะเกิดการสะสมของไขมันในร่างกายจนเกิดเป็นโรคอ้วนในที่สุด แต่ก็ไม่ควรจำกัดมากจนเกินควร การจำกัดอาหารให้น้ำหนักตัวลดลงประมาณสัปดาห์ละ 0.25-0.5 กิโลกรัม จัดว่าเหมาะสมและปลอดภัย 2. การบริโภคไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานที่ได้รับ ไขมันเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงกว่าอาหารอื่นๆ และเป็นอาหารที่ยับยั้งความรู้สึกหิวได้ต่ำ ดังนั้นการบริโภคไขมันมากจึงเป็นบ่อนทำลายการควบคุมน้ำหนักตัว ในทางปฏิบัติกระทำได้ โดยหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไขมันหมู, น้ำมันมะพร้าว, กะทิ, หมูสามชั้น, เนยเหลว, ครีม, ไส้กรอก, หมูยอ, เนื้อติดมัน ของทอด เช่น ปาท่องโก๋, กล้วยแขก, ทอดมัน เป็นต้น 3. การบริโภคโปรตีน ประมาณร้อยละ 15-20 ของพลังงานที่ได้รับ อาหารโปรตีนมีพลังงานต่ำกว่าไขมัน และมีความสามารถในการยับยั้งยุติความรู้สึกหิวได้ดี และร่างกายจะถ่ายโอนโปรตีนที่บริโภคเกินเป็นสารอื่นได้ดี มีการสะสมโปรตีนต่ำ เพราะฉะนั้นอาหารโปรตีนมีผลดีต่อการควบคุมน้ำหนักตัวได้ดี แต่การบริโภคมากเกินควร จะมีผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน
ในทางปฏิบัติ ควรบริโภคเนื้อสัตว์ ชนิดที่ไม่มีไขมันมาก เช่น เนื้อปลา, เนื้อไก่เอาหนังออก, ถั่วเหลือง, นมไขมันต่ำ, ไข่ไก่ (ไม่ควรเกินวันละ 1 ฟอง) 4. การบริโภคคาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 50-55 ของพลังงาน คาร์โบไฮเดรต ก็คือ อาหารจำพวก ข้าว แป้ง ของหวาน เป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำกว่าไขมัน และยับยั้งความรู้สึกหิวได้ดี ร่างกายมีขีดความสามารถสูงในการใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นพลังงาน แต่ถ้าได้รับมากเกิน ประมาณร้อยละ 80 ของพลังงานที่บริโภคเกินจะถูกสะสมไว้ในร่างกายในรูปของไขมัน นอกจากปริมาณแล้ว ยังต้องคำนึงถึงชนิดของคาร์โบไฮเดรตที่บริโภคด้วย โดยในทางปฏิบัติให้บริโภคข้าว (ข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้อง) เป็นหลัก เพราะข้าวเป็นสารคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ซึ่งเป็นแหล่งให้ใยอาหาร ไม่ควรรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล และรสหวาน ในผู้ที่ติดรสหวานเลิกไม่ได้ อาจต้องใช้สารที่มีรสหวาน และให้พลังงานน้อยแทนน้ำตาล เช่น แอสปาร์เทม (Aspartame)
5. การงด หรือการลดการดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ไม่ใช่สารอาหาร แต่เป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง ร่างกายจะให้ลำดับการนำแอลกอฮอล์มาใช้เป็นพลังงานก่อนสารอาหารปกติ ดังนั้นการบริโภคแอลกอฮอล์จะมีผลให้พลังงานแก่ร่างกายไปส่วนหนึ่ง และมีผลทำให้ร่างกาย ใช้พลังงานจากสารอาหารน้อยลง และทำให้สารอาหารถูกสะสมเป็นไขมันในร่างกายมากขึ้น 6. การบริโภคผัก และผลไม้เป็นประจำ ผัก และผลไม้ นอกจากให้วิตามิน และเกลือแร่แล้ว ยังเป็นใยอาหารซึ่งทำให้ลดความหิว และลดการบริโภคพลังงานลง อย่างไรก็ตามควรบริโภคผลไม้ที่ไม่หวานจัด เป็นหลัก ใยอาหาร เป็นสารที่พบในผัก และผลไม้ ซึ่งลำไส้ของมนุษย์จะไม่สามารถย่อยสลายได้ ดังนั้นใยอาหารจึงไม่เพิ่มจำนวนพลังงาน และมีบทบาทสำคัญในการทำให้การขับถ่ายอุจจาระเป็นปกติ
การวัดความดันโลหิต เป็นที่ทราบกันทั่วไป ภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดโรคอันตรายร้ายแรง เช่น เส้นโลหิตในสมองแตก ทำให้เป็นอัมพาต โรคหัวใจขาดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น ภาวะความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการ จนกว่าจะมีโรคแทรกซ้อนร้ายแรงเกิดขึ้นแล้วจึงจะปรากฏอาการ เพราะฉะนั้นปัญหาที่สำคัญในการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง คือ การทำให้ประชากรกลุ่มที่มีความดันโลหิตสูง ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตสูง จากสถิติพบว่า ในประเทศไทย ประชากรที่มีความดันโลหิตสูง ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตสูง เฉลี่ยเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ความดันโลหิต จะประกอบด้วย ความดันตัวบน เรียกว่า ความดันซิสโตลิค (Systolic Pressure) และความดันตัวล่าง เรียกว่า ความดันไดแอสโตลิค (Diastolic Pressure) ซึ่งค่าปกติจะไม่เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถ้าความดันโลหิตสูงกว่านี้ ถือว่ามี “ความดันโลหิตสูง”
ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกได้กำหนดเกณฑ์การวินิจฉัยความดันโลหิตสูงไว้ว่า ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกได้กำหนดเกณฑ์การวินิจฉัยความดันโลหิตสูงไว้ว่า “ความดันโลหิตสูง” คือ สภาวะที่ค่าของความดันเลือดที่วัดอย่างถูกต้อง และมีการตรวจวัดหลายๆ ครั้ง ในต่างวาระกันแล้ว พบว่ามีระดับของความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท เราแบ่งระดับความรุนแรง ของภาวะความดันโลหิตสูงไว้ ดังนี้ Systolic (มม.ปรอท) ระดับ Diastolic (มม.ปรอท) เหมาะสม (Optimal) < 120 < 80 ปกติ (Normal) < 130 < 85 เกือบสูง (High-Normal) 130-139 85-89 ความรุนแรงระดับ 1 : Mild Hypertension 140-159 90-99 ความรุนแรงระดับ 2 : Moderate Hypertension 160-179 100-109 ความรุนแรงระดับ 3 : Severe Hypertension >= 180 >= 110 Isolated Systolic Hypertension >= 140 < 90 หมายเหตุ : ถ้าหากระดับ sBP และ dBP อยู่ในระดับความรุนแรงต่างกัน ให้ถือระดับที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์
ผู้รับการตรวจวัดความดันโลหิต ควรละเว้นสิ่งต่อไปนี้ ก่อนวัดความดันโลหิต ประมาณ 1 ชั่วโมง ได้แก่ 1. การออกกำลังกาย 2. การดื่มกาแฟ สุรา หรือเครื่องดื่มผสม คาเฟอีน 3. การสูบบุหรี่ 4. ควรนั่งพักประมาณ 5 นาที และถ้าพบว่า มีความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดซ้ำอีก 2-3 ครั้ง ส่วน ผู้ที่ยืนยันการวินิจฉัยว่า มีความดันโลหิตสูง ควรปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เพื่อลดระดับความดันโลหิตลง ดังนี้ 1. ลดน้ำหนัก ถ้ามีน้ำหนักเกิน 2. จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ 3. เพิ่มการออกกำลังกาย ชนิดแอโรบิค (30-45 นาที/วัน) 4. จำกัดปริมาณโซเดียม (งดรับประทานเค็มให้มากที่สุด) 5. ได้รับโปแตสเซียมอย่างเพียงพอ เช่น รับประทานผลไม้มากขึ้น 6. หยุดการสูบบุหรี่ 7. ลดการรับประทานไขมัน และโคเลสเตอรอล
จากการศึกษา การรับประทานอาหารที่เน้น ผัก ผลไม้ และนมไขมันต่ำ ลดเค็ม ร่วมกับลดปริมาณไขมัน สามารถลดความดันโลหิตลงได้ประมาณ 8-14 มม.ปรอท การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ดังกล่าวจะให้ประโยชน์ทั้งในด้านการลดความดันโลหิต และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ จึงถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น ถึงแม้ผู้ป่วยจะได้รับยาลดความดันโลหิตแล้วก็ตาม เมื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแล้ว 3-6 เดือน ยังไม่สามารถลดความดันโลหิตได้ดีพอ ควรใช้ยารักษาลดความดันโลหิต ตามคำแนะนำของแพทย์
เอกซเรย์ทรวงอก ในประเทศไทยวัตถุประสงค์หลัก ในการเอกซเรย์ทรวงอกในผู้ที่ไม่มีอาการ คือ เพื่อตรวจหาวัณโรคปอดระยะแรก ที่อาจจะยังไม่มีอาการ เนื่องจากวัณโรคปอด ยังเป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย เมื่อเป็นวัณโรคปอด เอกซเรย์จะเห็นเป็นจุดทึบ หรือเป็นหย่อมทึบที่เนื้อปอด ซึ่งจะต้องตรวจเพิ่มเติมว่า จุดหรือรอยทึบที่เห็นนั้น เป็นวัณโรคปอดหรือไม่ เช่น ตรวจหาเชื้อจากเสมหะ เป็นต้น สำหรับผู้มีประวัติ เคยเป็นวัณโรคปอด และได้รับการรักษาจนหายเรียบร้อยแล้ว เมื่อเอกซเรย์ปอด ก็อาจจะยังพบมีรอยทึบ หรือจุดในปอดหลงเหลืออยู่ และพบตลอด เนื่องจากเป็นรอยแผลเป็น ในกรณีเช่นนี้ ควรมีเอกซเรย์ปอดของเก่าเก็บไว้ เพื่อเปรียบเทียบกับเอกซเรย์ใหม่ ถ้าจุดที่พบในเอกซเรย์ยังคงเหมือนเดิม ก็บอกได้ว่า “ผลปกติ” นอกจากวัณโรคปอด เอกซเรย์ทรวงอกจะช่วยตรวจกรองเนื้องอกในปอด ประเมินขนาดของหัวใจ และดูแนวกระดูกสันหลังว่า มีคดงอหรือไม่ ในกรณีถ้าแพทย์ อ่านผลการเอกซเรย์ทรวงอกว่า มีหัวใจโตเล็กน้อย อย่ากังวลใจ ถ้าตรวจร่างกายผลปกติ และความดันโลหิตไม่สูง หัวใจโตเล็กน้อย จะไม่บ่งชี้โรค เพราะเมื่ออายุมากขึ้นหัวใจมักจะมีขนาดโตขึ้น และเกณฑ์การวัดขนาดของหัวใจจากเอกซเรย์ทรวงอก จะเป็นเพียงการประเมินคร่าวๆ เท่านั้น แต่ถ้าเอกซเรย์ปอดแล้วมีหัวใจโตมาก ต้องพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุ
Hemoglobin : HGB การวัดปริมาณความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน ค่าปกติ ชาย 13.0-18.0 gm% หญิง 11.5-16.5 gm% • Hematocrit : HCT การวัดปริมาณอัดแน่นของเม็ดเลือดแดง ค่าปกติ ชาย 40-54 % หญิง 36-47 % การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count : CBC) การตรวจประกอบด้วย การตรวจวัด HGB และ HCT ใช้ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง ถ้าค่าของ HGB และ HCT ที่ตรวจพบมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ ถือว่า “มีภาวะโลหิตจาง” ภาวะโลหิตจาง มีผลทำให้ประสิทธิภาพของการไหลเวียนเลือดลดลง ทำให้ความสามารถในการทำงาน ความอดทน และความสามารถในการใช้กำลังร่างกายลดลง ซึ่งกลุ่มที่มีโลหิตจางได้บ่อย ได้แก่ สตรีตั้งครรภ์ สตรีในวัยเจริญพันธุ์ ประชากรที่มีรายได้น้อย และเด็กที่ขาดสารอาหาร สาเหตุของการเกิดภาวะโลหิตจางที่สำคัญและพบบ่อยที่สุด คือ การขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นภาวะโลหิตจางที่พบบ่อยที่สุดทั่วโลก
แต่สำหรับในประเทศไทย ยังมีภาวะโลหิตจางที่พบบ่อย คือ โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) และฮีโมโกลบินผิดปกติ (Hemoglobinopathies) ซึ่งเกิดเนื่องจากมีความผิดปกติในการสร้างฮีโมโกลบิน ที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด และถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งกลุ่มนี้ มีลักษณะตั้งแต่ ไม่มีอาการเลย คือ เป็นพาหะเท่านั้น จนถึงมีอาการรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก (เป็นโรคธาลัสซีเมีย) มีประชากรไทยจำนวนมากที่เป็นพาหนะ โดยไม่รู้ตัว และไม่มีอาการ แต่จะถ่ายทอดสู่ลูกได้ และลูกอาจจะเป็นโรคธาลัสซีเมียได้ ปัจจุบันมีเครื่องตรวจนับเม็ดเลือด (Automated Electronic Cell Counters) ซึ่งสามารถตรวจระดับฮีโมโกลบิน ตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดแดง (Red Cell Count) ขนาดเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (Mean Corpuscular Volume : MCV) และการกระจายตัวของขนาดเม็ดเลือดแดง (Red Cell Distribution Width : RDW) ซึ่งทำให้สามารถแยกสาเหตุ และวินิจฉัยสาเหตุของภาวะโลหิตจางได้ละเอียด และถูกต้องยิ่งขึ้น ส่วนค่าอื่นๆ ในการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด มักจะเป็นค่าที่ใช้ประกอบการวินิจฉัยโรคมากกว่า ใช้ในการตรวจกรองสุขภาพ เช่น จำนวนเม็ดเลือดขาว และชนิดของเม็ดเลือดขาว มักใช้ในการประเมินภาวะติดเชื้อ นอกจากในกรณี ตรวจพบจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงมากๆ เช่น มีจำนวนเป็นหลายหมื่นตัวต่อตารางมิลลิเมตร ให้สงสัยว่าจะมีมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) ปริมาณเกล็ดเลือด (Pletelet) ก็มักตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค เช่น ไข้เลือดออกที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น
การตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบการตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ (Complete Urine Analysis : UA) เป็นการตรวจที่มีประโยชน์มาก เนื่องจากสามารถบ่งชี้ความผิดปกติของไตได้ตั้งแต่ระยะแรกที่ยังไม่มีอาการ ประเทศไทยเป็นประเทศที่พบโรคไตวายเรื้อรังค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนใหญ่สามารถรักษาและป้องกันได้ ถ้าตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่แรกก่อนที่ไตจะเสื่อมจนเป็นไตวาย ในการตรวจปัสสาวะ ผลการตรวจที่สำคัญ ได้แก่ 1. การตรวจหาโปรตีน (ไข่ขาว) ในปัสสาวะ 2. การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ 3. การตรวจหาเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ การตรวจโปรตีนในปัสสาวะ โดยปกติโปรตีนจะรั่วออกมาในปัสสาวะเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะตรวจไม่พบ แต่เมื่อไตมีพยาธิ สภาพเกิดขึ้นมักจะมีผลทำให้โปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะมากขึ้นจนตรวจพบได้ ซึ่งจะรายงานผลตามความเข้มข้นของโปรตีน ที่ตรวจพบตั้งแต่ 1+ ถึงระดับ 4+ เพราะฉะนั้นในผู้ที่ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ จะต้องระวังแล้วว่าไตของตนเอง เริ่มมีความเสื่อมลงจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง และควรต้องได้รับการตรวจซ้ำ และติดตามตรวจวิเคราะห์หาสาเหตุต่อไป
การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะการตรวจหาเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ ในคนปกติตรวจพบเม็ดเลือดแดง จำนวนประมาณ 0-5 เซลล์ต่อการมองในกล้องขยายกำลังสูงหนึ่งครั้ง ถ้าตรวจพบจำนวนเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ เช่น มากกว่า 10 เซลล์ขึ้นไป ถือว่าไตมีความผิดปกติ และต้องตรวจสืบค้นหาสาเหตุต่อไป เช่น อาจเป็นนิ่ว, อาจมีไตอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือการอักเสบจากภูมิไวเกินของร่างกาย เป็นต้น การตรวจหาเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ ในคนปกติตรวจพบเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะได้ประมาณ 0-5 เซลล์ต่อการมองกล้องจุลทรรศน์หนึ่งครั้ง เช่นเดียวกับเม็ดเลือดแดง ถ้าตรวจพบมีจำนวนเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ จะบ่งชี้ว่า กำลังมีการอักเสบติดเชื้อในระบบของทางเดินปัสสาวะ ซึ่งพบบ่อยในเพศหญิง นอกจากการตรวจกรองโรคของระบบไตแล้ว การตรวจปัสสาวะยังช่วยกรองโรคเบาหวานได้ โดยถ้าตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ จะบ่งชี้วาอาจเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งควรยืนยันด้วยการตรวจเลือดเพิ่มเติมต่อ
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar) เป็นการตรวจเพื่อหาโรคเบาหวาน โดยใช้วิธีการตรวจวัดระดับกลูโคส (น้ำตาล) ในเลือด หลังจากอดอาหารมาก่อน อย่างน้อย 8 ชั่วโมง การมีเบาหวาน หมายถึง มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ ทั้งชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา โรคไตจากเบาหวาน และนำไปสู่ภาวะไตวาย ซึ่งต้องอาศัยการรักษาด้วยการฟอกเลือด ซึ่งลำบากไม่น้อย เบาหวานยังก่อให้เกิดโรคของหลอดเลือดสมอง โรคอัมพาต และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และหลอดเลือดของแขนขาตีบ ซึ่งชักนำให้เกิดภาวะแผลหายยาก เนื้อตาย และอาจต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วน ในผู้ที่เพิ่งค้นพบว่าเป็นโรคเบาหวาน มีการตรวจพบว่า มีโรคเบาหวานขึ้นตาแล้ว ถึงร้อยละ 20 ซึ่งแสดงว่า คนเหล่านี้เป็นเบาหวานมาแล้วอย่างน้อย 4-7 ปี โดยไม่รู้ตัว ซึ่งคนเหล่านี้ ถ้าทราบว่าตนเองเป็นเบาหวาน และรักษาควบคุมให้ดีก็สามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนเหล่านี้ได้
ค่าการตรวจเลือด ผล 110 มก./ดล. ปกติ 110 -125 มก./ดล. มีแนวโน้ม เป็น โรคเบาหวาน ≥126 มก./ดล. (ตรวจอย่างน้อย 2 ครั้ง) เป็น โรคเบาหวาน ผู้ที่ “มีแนวโน้มเป็นเบาหวาน” ควรควบคุมอาหาร ลดน้ำหนัก และติดตามตรวจเลือดบ่อยขึ้น อาจจะปีละ 2-3 ครั้ง สำหรับ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็น”โรคเบาหวาน” แน่นอนแล้ว ถ้าควบคุมได้ดี วัดระดับน้ำตาลในเลือด ได้ต่ำกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก็ไม่ได้แปลว่า ผู้นั้นหายจากโรคเบาหวาน เพียงแต่ควบคุมโรคเบาหวานได้เท่านั้น และยังจำเป็นจะต้องใช้มาตรการควบคุมต่อเนื่องตลอดไป
การตรวจระดับไขมันในเลือดการตรวจระดับไขมันในเลือด เป็นที่ทราบกันดีว่า ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ และโรคอัมพาต เราจึงควรมีการตรวจวัดระดับไขมันในเลือด เพื่อป้องกันโรคเหล่านี้ โดยให้การบำบัดรักษาอย่างถูกต้องไม่ให้มีระดับไขมันในเลือดสูง แต่ถ้าในขณะนี้ เรามีผลการตรวจเลือดอยู่ในมือ เราจะทราบได้อย่างไรว่าผลที่ตรวจได้บอกอะไร หรือตัวเลขที่ได้นั้น หมายถึงอะไร สูง-ต่ำอย่างไร ในปัจจุบัน การตรวจวัดค่าของโคเลสเตอรอลรวม(Total Cholesterol)เพียงอย่างเดียวไม่พอเพียงในการบอกสถานะความเสี่ยงต่อโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด เราต้องการตรวจวัดระดับไขมันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ได้แก่ 1.โคเลสเตอรอลรวม(Total Cho.) 3.HDL-Cho.(ไขมันชนิดดี) 2.ไตรกลีเซอไรด์(Triglyceride) 4.LDL-Cho.(ไขมันชนิดไม่ดี)
ค่าโคเลสเตอรอล ผล < 200 มก./ดล. ปกติ 201-240 มก./ดล. สูงเล็กน้อย > 240 มก./ดล. สูงชัดเจน โคเลสเตอรอลรวม (Total Cholesteral) เป็นค่าที่วัดระดับโคเลสเตอรอลรวม ซึ่งมีทั้ง โคเลสเตอรอลชนิดดี และโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดีปนกัน โดยทั่วไประดับโคเลสเตอรอลรวมที่ตรวจพบ จะมาจาก มีโคเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL-Cho) ประมาณร้อยละ 70 และเป็นไขมันชนิดที่ดี(HDL-Cho) ประมาณร้อยละ 17
ค่าไตรกลีเซอไรด์ ผล < 170 มก./ดล. ปกติ 171-400 มก./ดล. สูงปานกลาง > 400 มก./ดล. สูง ไขมันไตรกลีเซอไรด์(Triglyceride) การมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเช่นเดียวกับโคเลสเตอรอล ไขมันที่เรารับประทาน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันพืช ไขมันสัตว์ ไขมันที่ซ่อนอยู่ในอาหารชนิดต่างๆ ส่วนใหญ่ คือไตรกลีเซอไรด์ นั่นเอง ไตรกลีเซอไรด์ที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปใช้เป็นพลังงาน แต่ถ้ามีมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ไตรกลีเซอไรด์จะถูกเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อไขมันสะสมอยู่ภายในร่างกาย
ค่า HDL-Cho ผล < 35 มก./ดล. ต่ำ > 60 มก./ดล. ดี ไขมัน HDL(High Density Lipoprotein ) เป็นไขมันที่ทำหน้าที่จับโคเลสเตอรอลจากเซลล์ของร่างกาย และนำไปกำจัดทิ้งที่ตับ ดังนั้นจึงเป็นไขมันที่ดีต่อร่างกาย ถ้ามีระดับ HDL-Cholesterol สูง จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจน้อยลง
LDL= โคเลสเตอรอลรวม – HDL – (ไตรกลีเซอไรด์) 5 ค่า LDL ผล < 130 มก./ดล. ปกติ 130-160 มก./ดล. สูงเล็กน้อย > 160 มก./ดล. สูง ไขมัน LDL(Low Density Lipoprotein) เป็นอนุภาคที่ทำหน้าที่ขนส่งโคเลสเตอรอลไปตามกระแสเลือด LDL สามารถจับกับผนังเส้นเลือดได้ ทำให้เกิดการสะสมโคเลสเตอรอลบนผนังเส้นเลือด เพราะฉะนั้น LDL จึงเป็นอนุภาคไขมันชนิดเลว ซึ่งจะบ่งชี้ว่า เรามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากหรือน้อย เราสามารถตรวจวัด หาค่า LDL ได้โดยตรง หรือถ้าเรารู้ค่าของไขมันโคเลสเตอรอลรวม, ไขมันไตรกลีเซอไรด์, ไขมัน HDL เราก็สามารถหาค่า LDL ได้จากสูตร ตัวอย่าง ถ้าเราตรวจได้ โคเลสเตอรอล 240 มก./ดล. ไตรกลีเซอไรด์ 200 มก./ดล. HDL 50 มก./ดล. LDL= 240 – 50 – (200) = 150 มก./ดล. 5 ดังนั้น ถ้าหากเราต้องการรู้ว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน ต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เราจำเป็นจะต้องรู้ระดับไขมันที่ไม่ดี คือ LDL-Cholesterol
CHOLESTEROL โคเลสเตอรอล (CHOLESTEROL) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่พบในเลือด แม้ไม่สามารถให้พลังงานแก่ร่างกายได้ แต่ก็มีประโยชน์ในการสร้างกรดน้ำดีซึ่งช่วยในการย่อยอาหาร สร้างฮอร์โมนบางชนิด และวิตามินดี รวมทั้งเป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ ตับสร้างไขมันโคเลสเตอรอลได้ แต่เมื่อใดที่โคเลสเตอรอลในเลือดมีมากเกินความต้องการของร่างกาย คือ มากกว่า 200 mg/dl โคเลสเตอรอลเหล่านี้มีโอกาสไปสะสมใต้ผนังหลอดเลือดด้านในมากขึ้นทำให้หลอดเลือดตีบและอุดตันในที่สุด โคเลสเตอรอลในเลือดจึงให้ทั้งคุณและโทษ และจะเป็นการดีอย่างยิ่งหากวันนี้เรารู้ระดับโคเลสเตอรอลของตนเอง เพื่อทำการป้องกันปัญหาโรคหลอดเลือดแดงตีบตันในอนาคตตั้งแต่เนิ่นๆ นอกจากนี้ ยังมีไขมันอีกชนิดหนึ่งที่เราจำเป็นต้องทำความรู้จักให้ดีก็คือ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งทำหน้าที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยร่างกายรับไตรกลีเซอไรด์ได้โดยตรงจากการกินอาหารประเภทไขมัน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงจากอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่หากร่างกายสะสมไตรกลีเซอไรด์มากเกินไป จะเร่งการสะสมโคเลสเตอรอลใต้ผนังหลอดเลือด ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้
โคเลสเตอรอลในเลือดมาจากไหน ? หลายๆ ท่านคงคิดว่าปริมาณของโคเลสเตอรอลในเลือดจะสูงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะยังมีปัจจัยอื่นอีกที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโคเลสเตอรอลสูงได้ เรามาดูกันว่าโคเลสเตอรอลมากจากไหนได้บ้าง จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป โดยอาหารที่มีผลกระทบต่อปริมาณโคเลสเตอรอล ได้แก่ อาหารที่มีโคเลสเตอรอลร่วมอยู่ด้วย ซึ่งมีอยู่ในอาหารที่มาจากสัตว์ทุกประเภทโดยปริมาณโคเลสเตอรอลแตกต่างกันตามชนิดและอวัยวะ โดยเครื่องในสัตว์และไข่แดง (ทุกประเภท) จะมีปริมาณโคเลสเตอรอลสูงมาก จากการสร้างขึ้นเองของร่างกาย ร่างกายสามารถสังเคราะห์โคเลสเตอรอลขึ้นมาได้จากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, และไขมัน โดยเฉพาะจากไขมันอิ่มตัว อาจสรุปได้ว่าระดับโคเลสเตอรอลในเลือดจะเปลี่ยนแปลงได้จากการรับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอล และอาหารประเภทไขมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูงๆ รวมถึงผลทางอ้อมจากการรับประทานอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลเกินความต้องการของร่างกาย
ไขมันในเลือดมีกี่ชนิด ? มีอยู่หลายชนิด แต่ที่สำคัญและควรทราบมี 3 ชนิด คือ 1. แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล (LDL Cholesterol) ไขมันตัวนี้เปรียบเสมือน “ตัวผู้ร้าย” ถ้ามีปริมาณมากจะสะสมอยู่ในหลอดเลือดแดงเป็นต้นเหตุของหลอดเลือดแดงแข็ง ยิ่งระดับ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงมากเท่าไหร่ อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจยิ่งมากขึ้นเท่านั้น 2. เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL Cholesterol) เปรียบเสมือน “ตำรวจ” คอยจับผู้ร้าย เพราะเป็นตัวกำจัด แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล ออกจากหลอดเลือดแดง การมีระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ 3. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride : TG) เป็นไขมันอีกประเภทหนึ่งในกระแสเลือด เปรียบเสมือน “ผู้ช่วยผู้ร้าย” คนที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงพร้อมกับระดับ เอช ดี แอล โคเลสเตอรอลต่ำ หรือ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
โคเลสเตอรอล...สูงหรือต่ำ วัดกันอย่างไร? วิธีดูว่าใครมีโคเลสเตอรอลสูง ทางการแพทย์จะเทียบกับค่าที่พึงปรารถนาของระดับ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล ซึ่งค่าดังกล่าวขึ้นกับว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ถ้ายังไม่เป็น... ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ต้องคำนึงถึงนอกจาก แอล ดี แอล มีดังนี้ 1. อายุ : ชายมากกว่า 45 ปี หญิงมากกว่า 55 ปี 2. ญาติสายตรงป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนวัยอันควร (ชายก่อนอายุ 55 ปี หญิงก่อนอายุ 65 ปี) 3. ความดันโลหิตสูง 4. สูบบุหรี่ 5. เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล น้อยกว่า 40 mg/dl
ตารางแสดงค่าปัจจัยเสี่ยงตารางแสดงค่าปัจจัยเสี่ยง ชื่อ ค่าของ แอล ดี แอล • แอล ดี แอล • -เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือเบาหวาน • ไม่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและเบาหวาน • แต่มีปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป • -ไม่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและเบาหวาน • และมีปัจจัยเสี่ยงน้อยกว่า 2 ข้อ ควร < 100 mg/dl ควร < 130 mg/dl ควร < 160 mg/dl ไตรกลีเซอไรด์ ควร < 150 mg/dl เอช ดี แอล ควร > 40 mg/dl หากสามารถลดระดับโคเลสเตอรอลรวมลงได้ 1 % จะสามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจลงได้ 2 %
สาเหตุที่ทำให้โคเลสเตอรอลสูงสาเหตุที่ทำให้โคเลสเตอรอลสูง มีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ คือ อาหาร การบริโภคอาหารประเภทไขมันอิ่มตัวมากเกินไป การบริโภคอาหารที่มีโคเลสเตอรอลมากๆ การบริโภคอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย พันธุกรรม โรคและยา เช่น โรคไต เบาหวาน ยาบางชนิด เป็นต้น
ทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าโคเลสเตอรอลสูงทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าโคเลสเตอรอลสูง การรักษาเพื่อลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดนั้นสามารถทำได้หลายวิธี ในบางคนเพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็สามารถช่วยได้ ในขณะที่บางคนอาจต้องพิจารณาใช้ยาลดระดับโคเลสเตอรอลควบคู่กันไป ลดระดับโคเลสเตอรอลด้วยอาหาร การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการถือเป็นรากฐานสำคัญในการป้องกัน และรักษาโคเลสเตอรอลในเลือดสูงที่ดีที่สุด โดยมีหลักปฏิบัติสำคัญๆ ดังต่อไปนี้ 1.ลดปริมาณไขมันที่รับประทานให้น้อยลง 2.หลีกเลี่ยงอาหารที่กรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน มันสัตว์ต่างๆ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม กะทิ นม เนยแข็ง ครีม ฯลฯ 3.รับประทานกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากขึ้น ซึ่งได้จากน้ำมันพืชต่างๆ เพราะน้ำมันพืชมีกรดไลโนเลอิกมาก สามารถลดโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ 4.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ กุ้ง ปลาหมึก หอย 5.รับประทานอาหารที่มีเส้นใยให้มากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชต่างๆ ลดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล 6.รับประทานอาหารที่มีโปรตีนอย่างเหมาะสม เช่น ปลาต่างๆ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
การออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นวิธีการหนึ่งที่มีส่วนช่วยทำให้ระดับโคเลสเตอรอลลดลง เพิ่ม HDL โคเลสเตอรอล และสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายอีกด้วย โดยวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมในการช่วยให้หัวใจและปอดแข็งแรง คือการออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น เดินเร็ว วิ่ง ว่าย น้ำ ขี่จักรยาน อย่างต่อเนื่องนาน 20-50 นาที สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง กีฬาบางประเภท เช่น กอล์ฟ เทนนิส แม้จะช่วยเผาผลาญพลังงาน แต่ไม่จัดเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิค
เมื่อต้องการเลือกใช้ยาลดโคเลสเตอรอลเมื่อต้องการเลือกใช้ยาลดโคเลสเตอรอล Bile Acid Sequestrans มีลักษณะเป็นผง เวลารับประทานต้องผสมกับน้ำ ยาชนิดนี้จะไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจึงไม่มีผลต่อตับ แต่รสชาติไม่อร่อยและมีผลแทรกซ้อนทางลำไส้บ่อย เช่น ท้องอืด ท้องผูก สามารถลดโคเลสเตอรอลได้ในระดับหนึ่ง แต่มีผลต่อไตรกลีเซอไรด์ และ เอช ดี แอล น้อย Statins ยากลุ่มนี้นอกจากลดโคเลสเตอรอลได้ดีมากแล้ว ยังเชื่อว่ามีผลดีต่อหลอดเลือดแดง โดยกลไกที่ไม่เกี่ยวข้องกับการลดไขมันด้วย ยานี้จึงสามารถใช้เป็นกลุ่มแรกสำหรับผู้ที่มีโคเลสเตอรอลสูง นอกจากนี้ยังสามารถลดไตรกลีเซอไรด์ได้พอสมควร และเพิ่ม เอช ดี แอลได้ด้วย แต่ก็มีผลแทรกซ้อนบ้างเล็กน้อยต่อการเกิดตับอักเสบและกล้ามเนื้ออักเสบรุนแรง ซึ่งพบในอัตราที่ต่ำมาก ยากลุ่มนี้ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคตับที่ยังดำเนินอยู่ (Active Liver Disease) Niacin แม้จะมีประสิทธิภาพลดโคเลสเตอรอลได้ดี แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้มากนักเนื่องจากมีผลแทรกซ้อนมาก อาทิ อาการร้อนวูบวาบเนื่องจากการขยายหลอดเลือดแดง ความดันโลหิตต่ำน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นหรือควบคุมได้ยากขึ้น กรดยูริคสูงขึ้น อาจทำให้ตับอักเสบรุนแรง Niacin รูปแบบที่ออกฤทธิ์นานอาจช่วยลดผลแทรกซ้อนดังกล่าวลงได้บ้าง Fibrates เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานที่มักจะมีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง และ HDL ต่ำ และไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคตับ
เขาว่า.....เชื่อได้แค่ไหนเขาว่า.....เชื่อได้แค่ไหน แค่หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก็เพียงพอในการป้องกันโคเลสเตอรอลสูงแล้ว ใช่ไหมครับ ? ไม่ถูกทั้งหมดครับ เพราะการเกิดโคเลสเตอรอลสูงอาจมาจากกรรมพันธุ์ก็ได้ Q: Q: ถ้าเราเลือกรับประทานแต่อาหารที่ไม่มีโคเลสเตอรอลเลย ก็ไม่มีทางเกิดโคเลสเตอรอลในเลือดสูงใช่มั้ยคะ ? ไม่จริงครับ อาหารบางชนิดแม้ไม่มีโคเลสเตอรอลเลย แต่ทำให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้นได้ เช่น อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง อาทิ อาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ เนยเทียม หรือครีมเทียมที่ทำจากน้ำมันพืช ไขมันอิ่มตัวเหล่านี้จะไปขัดขวางการเผาผลาญโคเลสเตอรอลที่ตับ ซึ่งก็จะทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นได้ รวมทั้งอาหารที่ให้แป้งและน้ำตาลมาก หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถ้ารับประทานในปริมาณมากๆ ก็จะทำให้ไขมันในเลือดอีกตัว คือ ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้ A: A: Q: จะสังเกตอาการได้อย่างไรว่าตัวเองโคเลสเตอรอลสูง ? เป็นเรื่องที่คนส่วนมากเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะโคเลสเตอรอลสูงไม่ได้ทำให้เกิดอาการหรือปัญหาโดยตรง เช่น โคเลสเตอรอลสูง 300 ไม่ได้ทำให้เวียนศีรษะหรือแน่นหน้าอก แต่การสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือดแดงนานๆ ต่างหากที่จะทำให้เกิดหลอดเลือดตีบตามมา พูดง่ายๆ ก็คือยิ่งปล่อยให้โคเลสเตอรอลสูงนานๆ การสะสมของไขมันก็มากตามไปด้วย จนเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดในอนาคตครับ A:
การตรวจสมรรถภาพการทำงานของตับการตรวจสมรรถภาพการทำงานของตับ (SGOT & SGPT) การตรวจสอบว่าตับมีการทำงานปกติหรือไม่ แพทย์จะสั่งตรวจในกรณีตรวจร่างกายประจำปี หรือตรวจในกรณีที่สงสัยว่ามีอาการที่เกิดจากโรคตับ เช่น ตัวเหลือง ตาเหลือง โดยสิ่งที่แพทย์ตรวจ ได้แก่ - ตรวจหาโปรตีนที่สร้างจากตับ - การตรวจว่ามีดีซ่านหรือไม่ - การตรวจระดับเอนไซม์จากตับ - การตรวจการทำงานของตับเมื่อมีการอุดตันของทางเดินน้ำดี - การตรวจทางรังสีวิทยา - การตรวจเลือดดูเชื้อไวรัสตับอักเสบ - การตรวจเลือดหามะเร็งตับ
การตรวจที่นิยมตรวจ และใช้ในการตรวจบ่อยที่สุด ก็คือ การตรวจระดับเอนไซม์จากตับ เอนไซม์ตับที่สำคัญ SGOT & SGPT SGOT เป็นเอนไซม์ที่พบในตับ ไต กล้ามเนื้อ หัวใจ SGPT เป็นเอนไซม์ที่พบมากในตับ พบน้อยในกล้ามเนื้อ หัวใจ ตับอ่อน เพราะฉะนั้นระดับเอนไซม์ SGPT จะมีความสำคัญและมีความจำเพาะในการประเมินโรคตับมากกว่าเอนไซม์ SGOT ซึ่งอาจสูงจากสาเหตุอื่น เช่น การออกกำลังกายมากเกินไป เมื่อตับเกิดโรคมีการทำลาย หรือการอักเสบของเนื้อตับ จะทำให้มีการหลั่งเอนไซม์ SGOT, SGPT ออกมาสู่กระแสเลือดมากขึ้น ทำให้ตรวจพบมีระดับสูงขึ้นกว่าปกติ ซึ่งระดับเอนไซม์ SGOT, SGPT จะผิดปกติ ให้พบได้ไวมาก โดยระดับ SGPT จะมีความสำคัญ และมีความจำเพาะมากกว่า
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นการตรวจที่มีความไวมาก จึงอาจพบผลผิดปกติได้เล็กน้อยบ้างในคนทั่วไป จึงควรมีการกรองผล ดังนี้ 1. ค่า SGOT, SGPT ที่สูงกว่าปกติ ไม่มากกว่า 1.5 เท่า อาจพบได้ในคนปกติ เพราะฉะนั้น ความผิดปกติเล็กน้อยในผู้ที่ไม่มีอาการ อาจไม่มีความสำคัญ 2. ค่า SGOT, SGPT อาจจะสูงกว่าปกติในคนที่อ้วนเนื่องจากคนอ้วนมักจะมีไขมันเกาะที่ตับ ซึ่งพบว่าเมื่อน้ำหนักลดลง ค่า SGOT และ SGPT ก็จะลดลง สำหรับโรคที่ทำให้ค่า SGOT, SGPT สูง ได้แก่ - ตับอักเสบจากไวรัส - ตับอักเสบจากการดื่มสุรา - ตับอักเสบจากยา หรือสมุนไพร - เนื้องอกในตับ - ไขมันพอกตับ
การตรวจสมรรถภาพการทำงานของไตการตรวจสมรรถภาพการทำงานของไต (BUN & Creatinine) เป็นการตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของไต ว่ายังคงสามารถทำงานในการกรองของเสียออกจากร่างกายหรือไม่ โดยตรวจวัดสาร 2 ตัว คือ Blood Urea Nitrogen (BUN) และ Creatinine (Cr) ซึ่งสารทั้ง 2 ตัวนี้ เป็นสารซึ่งเกิดขึ้นในร่างกายตลอดเวลา จากขบวนการ การเผาผลาญทางชีวเคมีในเลือด ซึ่งไตจะทำหน้าที่ในการขับถ่ายสารเหล่านี้ออกจากร่างกาย ทำให้ไม่มีการสะสมอยู่ในเลือด เพราะฉะนั้น ถ้าตรวจพบระดับของ BUN และ Cr สูงขึ้นกว่าระดับปกติ แสดงว่าไตไม่สามารถทำงานขับถ่ายของเสียได้ตามปกติแล้ว และเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีภาวะไตวายเรื้อรังเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การตรวจพบระดับ BUN, Cr สูงกว่าปกติ มักจะตรวจพบเมื่อไตมีความเสื่อมมากแล้ว ซึ่งโดยมากมักจะมีการทำงานลดลงมากกว่า 50 % แล้ว และมักจะเป็นระยะที่ไตไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาปกติได้ จึงเป็นการตรวจที่ไม่สามารถตรวจพบโรคไตในระยะแรกได้ควรเสริมด้วยการตรวจปัสสาวะร่วมด้วย
การตรวจระดับกรดยูริค (Uric Acid) การมีกรดยูริค (Uric Acid) สูงในเลือด อาจทำให้เกิดโรคข้ออักเสบ ที่เรียกว่า เก๊าท์ (Gout) ซึ่งเกิดจากกรดยูริคมีการสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อของข้อในรูปของผลึกยูเรต นอกจากนั้นการมีกรดยูริคสูง ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ด้วย ค่าปกติของกรดยูริคในเลือด อยู่ที่ประมาณ 2.7-8.0 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในกรณีที่ตรวจเลือดแล้วตรวจพบกรดในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่มีอาการของโรคข้ออักเสบ(เก๊าท์) เราไม่ถือว่าเป็นโรคเก๊าท์ เป็นเพียงแค่มีภาวะกรดยูริคในเลือดสูงเท่านั้น ผู้ที่ตรวจพบภาวะกรดยูริคในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ หน่อไม้ กระถิน กะหล่ำดอก ชะอม
การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี (Hepatitis B Surface Antigen : HBsAg) ประเทศไทย เป็นประเทศที่เป็นถิ่นระบาดของ ไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี (Hepatitis B Virus) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคตับอักเสบ โรคตับแข็ง และมะเร็งตับ จากการศึกษา พบว่า การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ในผู้ที่มีอายุไม่มาก ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 90 ไม่มีอาการเหลืองชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าตนเองมีเชื้อ หรือเคยมีการติดเชื้อมาก่อน วิธีการตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ที่สำคัญ คือ การตรวจหา Hepatitis B surface Antigen (HBsAg) ในเลือด ซึ่งเป็นแอนติเจน (ตัวกระตุ้นปฏิกิริยาภูมิต้านทานของร่างกาย) อยู่ที่ผิวของเชื้อไวรัส สถิติในประเทศไทย ตรวจพบ HBsAg เป็นผลบวก ร้อยละ 6-10 ในผู้ที่ตรวจเลือด พบว่า มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี ในเลือด (HBsAg Positive) เพียงครั้งเดียว หรือตรวจพบเป็นครั้งแรก อาจจะเป็นผู้ที่เพิ่งได้รับเชื้อมาใหม่ๆ ซึ่งอาจจะหาย และตรวจไม่พบเชื้อในเวลาต่อมา เพราะฉะนั้นถ้าตรวจพบเชื้อไวรัสในเลือด ให้ตรวจเลือดติดตามดูอีกอย่างน้อย 1 ครั้ง ถ้าหลังจาก 6 เดือน นับจากตรวจพบเชื้อครั้งแรกแล้ว ยังคงตรวจพบเชื้อในเลือดอยู่อีก จึงจะถือว่า ผู้ป่วยรายนี้อยู่ในกลุ่มที่เป็นพาหะเรื้อรังของไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี และส่วนใหญ่จะพบเชื้อในเลือดตลอดไป
ผู้ที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะตับอักเสบเรื้อรังเกิดขึ้น และมีสุขภาพดีเหมือนคนทั่วไป จะมีส่วนน้อยเท่านั้นที่มีตับอักเสบเรื้อรังร่วมด้วย ซึ่งจะทราบได้จากการตรวจเลือด พบว่ามีเอนไซม์ SGOT และ SGPT สูงกว่าปกติ ซึ่งกลุ่มนี้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ต่อไป แพทย์จะวินิจฉัยว่ามีการอักเสบเรื้อรังของตับจะต้องมีหลักฐานว่า การอักเสบมีต่อเนื่องกัน ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน โดยดูจากผลการตรวจเอนไซม์ตับ SGOT, SGPT พบว่าสูงกว่าปกติมากกว่า 2 เท่าขึ้นไป นานกว่า 6 เดือน ซึ่งกรณีนี้อาจจำเป็นต้องให้การรักษาเฉพาะเพิ่มเติมต่อไป ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบ ควรปฏิบัติตัวดังนี้ 1. ไม่ดื่มเหล้า (คือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด รวมทั้งไวน์, เบียร์) 2. พักผ่อนให้เพียงพอ นอกให้พอ ไม่ใช่นอน ตี 1 – ตี 2 ทุกคืน คือ อย่าให้ร่างกายโทรม 3. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เช่น เดิน 3-5 กิโลเมตร สัปดาห์ละ 3-4 วัน หรือ ว่ายน้ำ เล่นกีฬา เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ถ้าแข็งแรงความต้านทานโรคจะดีแน่ 4. เลี่ยงอาหารที่มีเชื้อรา เพราะสารอัลฟาร์ทอกซินของเชื้อรา ทำให้เกิดมะเร็งตับในสัตว์ทดลอง เชื้อนี้มักพบในอาหารจะเก็บไว้ในที่ชื้นนานๆ พบมากในถั่วลิสง พริกป่น 5. หลีกเลี่ยงยา หรือสารที่เป็นอันตรายต่อตับ เมื่อจะรับประทานยา ควรปรึกษาแพทย์ 6. ป้องกันการแพร่เชื้อสู่คนใกล้ชิด
ไวรัสอับอักเสบ ติดต่อสู่บุคคลอื่น ทางเลือด น้ำเหลือง และเพศสัมพันธ์เท่านั้น แต่ไม่ติดต่อจากการรับประทานอาหารร่วมกัน พูดคุยกัน หรือจับมือกัน เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีเชื้อไวรัส บี ในเลือดสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ เหมือนคนปกติทุกประการ แต่สำหรับผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เช่น ภรรยา บุตร ถ้ายังไม่มีภูมิต้านทานก็ควรจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันให้ครบถ้วน
การตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี (Hepatitis B Surface Antibody : HBsAb) การตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี คือ ตรวจ Hepatitis B surface Antibody : HBsAb (ถ้าตรวจหาเชื้อไวรัสจะตรวจหา Hepatitis B surface Antigen : HBsAg) ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันแล้ว จะพบ HBsAb ให้ผลบวก ผู้ตรวจพบมีภูมิคุ้มกันแล้ว แสดงว่า เคยได้รับเชื้อมาก่อน และหายเรียบร้อยดี หรือเคยได้รับการฉีดวัคซีนมาครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว เมื่อตรวจพบว่า มีภูมิคุ้มกันแล้ว ถือว่าสามารถป้องกัน ตับอักเสบจากเชื้อไวรัส ชนิด บี ได้ตลอดชีวิต แต่ในผู้ที่ฉีดวัคซีน อาจจะมีระดับภูมิคุ้มกันขึ้นไม่สูงนัก และระดับภูมิคุ้มกัน อาจจะค่อยลดลงจนอาจตรวจไม่พบในระยะเวลาต่อมาได้ แต่ถึงแม้จะตรวจให้ผลลบ ในทางการแพทย์ พบว่า ยังมีคุ้มกันเพียงพอที่จะป้องกันโรคตับอักเสบจากไวรัส บี ได้ เพราะภูมิคุ้มกันในระดับต่ำจนตรวจไม่พบนี้ จะเพิ่มระดับขึ้นอย่างรวดเร็วทันที ถ้ามีเชื้อไวรัส บี เข้าสู่ร่างกาย อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่ตรวจสอบ พบว่าระดับภูมิคุ้มกันของตนเอง ลดต่ำลงตามที่กล่าวมาแล้ว อาจเพิ่มความมั่นใจ ด้วยการฉีดวัคซีนกระตุ้นเพิ่มอีก 1 เข็ม ก็ได้
สมรรถภาพการการได้ยิน (Audiometry)
การทำงานอาจมีผลทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน ในการทำงานโดยทั่วไป การสูญเสียการได้ยินสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การบาดเจ็บที่ศีรษะ การเกิดแผลไฟไหม้บริเวณหู การเกิดการฉีกขาดของแก้วหูจากความกดอากาศสูงๆ การสูญเสียการได้ยินจากการทำงาน แต่สาเหตุการสูญเสียการได้ยินจากการทำงานที่พบบ่อยที่สุด คือ การสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดังที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน(Noise – Induced Hearing Loss) การสูญเสียการได้ยินจากเสียงดัง เสียงที่ดังจะก่อให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ประสาทรับฟังเสียง ซึ่งอยู่ในหูชั้นใน โดยเซลล์จะถูกทำให้ผิดรูป หรือหลุดลอกออกเมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือนจากเสียงที่เข้ามา เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นจาการสัมผัสเสียงดัง ในระยะแรกการสูญเสียการได้ยินจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว หลังจากได้พักหูจากเสียงดัง การสูญเสียการได้ยินจะสามารถฟื้นคืนกลับมาสู่การรับฟังปกติได้ ซึ่งการสูญเสียการได้ยินชั่วคราวเช่นนี้ อาจจะเป็นอยู่เพียงไม่กี่ชั่วโมง หรืออาจจะนานหลายชั่วโมงจนเป็นวันก็ได้ เช่น ผู้ที่ทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง จะมีการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินเมื่อเลิกงาน หลังจากกลับไปพักผ่อนที่บ้าน วันรุ่งขึ้นการได้ยินจะกลับมาเป็นปกติ เรียกภาวะดังกล่าวว่า “การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว”(Temporary Threshold Shift : TTS)
หลังจากเกิดสภาวะการสูญเสียการได้ยินชั่วคราวแล้ว ถ้าไม่ได้มีการป้องกันและแก้ไข ยังคงรับสัมผัสเสียงดังต่อเนื่องไปเรื่อยๆ การสูญเสียการได้ยิน จะรุนแรงขึ้นจนเกิด”การสูญเสียการได้ยินแบบถาวร”(Permanent Threshold Shift) และจะไม่กลับมาได้ยินปกติได้อีกเลย ซึ่งเกิดจากการที่เซลล์ประสาท (Sensory Cells) ในหูที่เสียหายจากความสั่นสะเทือนของเสียงมีการหลุดลอกหรือผิดรูปไป และมีเซลล์ใหม่งอกขึ้นมาทดแทน โดยเซลล์ใหม่ที่งอกขึ้นมานั้นไม่สามารถทำงานรับสัญญาณเสียงได้อีกต่อไป (Non Functioning Scar Tissue) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะสูญเสียการได้ยินจากการทำงาน 1. ระดับความเข้มของเสียง (Intensity) คือ ระดับความดังของเสียง มีหน่วยวัดเป็น “เดซิเบล (db)” แน่นอนว่าเสียงที่ดังมากย่อมก่ออันตรายต่อหูมากกว่าเสียงที่ดังน้อย 2. ความถี่ของเสียง (Frequency) มีหน่วยวัดเป็น “เฮิรตซ์ (Hz)” เสียงที่มีความถี่สูง คือ เสียงแหลม จะทำลายประสาทหูได้มากกว่าเสียงชนิดความถี่ต่ำ 3. ระยะเวลาที่สัมผัสเสียงดัง ผู้ที่สัมผัสเสียงดังมานานย่อมมีโอกาสเกิดหูเสื่อมมากกว่า ซึ่งจะขึ้นกับจำนวนชั่วโมงที่รับเสียงต่อวัน และจำนวนปีที่ทำงานมา 4. ลักษณะของเสียง เสียงชนิดที่กระแทกไม่เป็นจังหวะ จะทำลายประสาทหูได้มากกว่าเสียงชนิดที่ดังต่อเนื่องสม่ำเสมอ 5. ความไวต่อการเสื่อมของหูของแต่ละบุคคลเอง เป็นลักษณะเฉพาะของคนที่ไม่เหมือนกัน บางคนโชคดีทนต่อเสียงได้ดี แต่บางคนจะมีความไวต่อการเสื่อมของประสาทหูมาก ก็จะเกิดปัญหาเร็วกว่า