1.05k likes | 1.93k Views
กฎหมายและหลักเกณฑ์ใน การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA). สัญชัย สูติพันธ์วิหาร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 5 . หลักเกณฑ์และขั้นตอนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ. หัวข้อในการนำเสนอ+แลกเปลี่ยนเรียนรู้. 1 . รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 มาตรา 67.
E N D
กฎหมายและหลักเกณฑ์ในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) สัญชัย สูติพันธ์วิหาร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
5. หลักเกณฑ์และขั้นตอนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หัวข้อในการนำเสนอ+แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1. รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 มาตรา 67 2. พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 3. พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 4. กฎ ระเบียบ ประกาศต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 67 สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพและในการคุ้มครองส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม
รัฐธรรมนูญ 2550มาตรา 67(วรรค 2) “การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อนรวมทั้งได้ให้องค์การอิสระ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม หรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว”
รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 67 (วรรค 3) “สิทธิของบุคคลที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ย่อมได้รับความคุ้มครอง”
รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 67 วรรค 2 ศาลปกครอง สั่งชะลอโครงการ (ร่าง)พรบ.องค์การอิสระฯ คณะกรรมการ 4 ฝ่าย ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ - กำหนดหลักเกณฑ์ EHIA - กำหนดประเภทโครงการรุนแรง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประสานงานการให้ความเห็นฯ คณะกรรมการประสานงานการให้ความเห็นฯ คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) (ชุดเฉพาะกาล) = 13 คน
สรุปขั้นตอนของการดำเนินการสรุปขั้นตอนของการดำเนินการ โครงการ/กิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบรุนแรง 1. ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) 2. จัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็น 3. ต้องให้องค์การอิสระฯ ให้ความเห็น ก่อนมีการดำเนินการโครงการ
พรบ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 • มาตรา 10 บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิได้รับรู้ข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐ ก่อนการอนุญาต หรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของตนหรือของชุมชนและแสดงความเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว
พรบ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 • มาตรา 11 บุคคลหรือคณะบุคคล มีสิทธิร้องขอให้มีการประเมินและมีสิทธิร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ
พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ประเภทและขนาดโครงการที่ต้องทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • EIA ปกติ (ในปัจจุบันมี 35 ประเภทโครงการ) • EIA รุนแรง (ในปัจจุบันมี 11 ประเภทโครงการ)
ตัวอย่างประเภทและขนาดโครงการที่ต้องทำรายงาน EIA (ปกติ) • โรงไฟฟ้าพลังความร้อนขนาด10 เมกกะวัตต์ขึ้นไป • อุตสาหกรรมปิโตรเคมี, เคมี, กลั่นน้ำมัน, แปรสภาพก๊าซธรรมชาติ • การพัฒนาปิโตรเลียมและระบบท่อขนส่งปิโตรเลียมและน้ำมันเชื้อเพลิง • เหมืองแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ทุกขนาด • ท่าเทียบเรือพาณิชย์ รับเรือ ขนาด 500 ตันกรอสขึ้นไป • เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาด100,000,000 ลบ.ม. หรือ15ตร.กม. • การชลประทานพื้นที่ขนาด80,000ไร่ขึ้นไป • สนามบินพาณิชย์ทุกขนาด • โรงแรมหรือสถานที่พักตากอากาศ ขนาด 80 ห้องขึ้นไป • ทางพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการทางพิเศษ ฯลฯ
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 29 ธ.ค.2552)
หลักการในการทำ EHIA • หลักประชาธิปไตย (สิทธิ การมีส่วนร่วม) • หลักความเป็นธรรมและเสมอภาค (ข้อมูลจากทุกกลุ่ม) • หลักการใช้ข้อมูลหลักฐานอย่างเหมาะสม (ปริมาณ+คุณภาพ) • หลักเปิดเผยและโปร่งใส (บันทึกข้อมูล เพื่อตรวจสอบได้) • หลักความเหมาะสมในทางปฏิบัติ (เวลา, ทรัพยากร, บริบท) • หลักการองค์รวม (สัมพันธ์ เชื่อมโยง บูรณาการ) • หลักความยั่งยืน(หลักการป้องกันไว้ก่อน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)
ขั้นตอนการทำEHIA EHIA
กระบวนการกลั่นกรองโครงการ เข้าข่ายทำรายงาน EHIA (Screening)
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนดประเภทและขนาดโครงการและกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพจะต้องจัดทำรายงาน EIA(ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 67 วรรค 2)= 11ประเภทและขนาดโครงการ(ประกาศราชกิจจานุเบกษา31 ส.ค.53 + 29 พ.ย.53)
กระบวนการกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบ (Public Scoping)
ขอบเขตการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) (Public Scoping) • ระบุปัจจัยกำหนดสุขภาพ 9 ปัจจัย • ระบุผลกระทบต่อสุขภาพที่มีศักยภาพและนัยสำคัญ • ระบุข้อห่วงกังวลจากผู้มีส่วนได้เสีย • กำหนดขอบเขตเชิงพื้นที่(รัศมีจากโครงการ 5 กิโลเมตร) • ประชากรกลุ่มเสี่ยง(คนงานก่อสร้าง,ประชาชน,พนักงาน) • กำหนดระยะเวลา
ปัจจัยกำหนดสุขภาพ 1. การเปลี่ยนแปลงสภาพและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ + ระบบนิเวศ2.การผลิต ขนส่ง และการจัดเก็บวัตถุอันตราย (ชนิด ปริมาณ วิธีดำเนินการ)3.การกำเนิดและการปล่อยของเสียและสิ่งคุกคามสุขภาพ4.การรับสัมผัสต่อมลพิษและสิ่งคุกคามต่อสุขภาพ5. การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่ออาชีพ การจ้างงาน และสภาพการทำงาน6. การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของประชาชนและชุมชน7. การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ที่มีความสำคัญ/มรดกศิลปวัฒนธรรม8. ผลกระทบเฉพาะ/รุนแรงต่อประชาชนกลุ่มที่มีความเปราะบาง9. ทรัพยากรและความพร้อมของภาคสาธารณสุข (สร้างเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู)
การกำหนดขอบเขตผลกระทบสุขภาพการกำหนดขอบเขตผลกระทบสุขภาพ • สิ่งคุกคามสุขภาพ • ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • ปัจจัยต่อการรับสัมผัส • ลักษณะผลกระทบต่อสุขภาพ • ผลกระทบต่อระบบสุขภาพ • ผลกระทบต่อสังคมและชีวิตความเป็นอยู่
การจำแนกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 7 กลุ่ม ผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งผู้ที่อยู่ในและนอก รัศมี 5 กิโลเมตร หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดทำรายงาน EHIA หน่วยงานพิจารณารายงาน EHIA หน่วยงานราชการในระดับ ต่างๆ และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง เอกชน/องค์กรพัฒนาเอกชน/สถาบันการศึกษา/นักวิชาการอิสระ สื่อมวลชน ประชาชนทั่วไป
กระบวนการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในขั้นตอน Public Scoping ก่อนจัด วันจัด หลังจัด
ใครทำ : เจ้าของโครงการ (consult) ทำอะไร : จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ทำอย่างไร : กำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิน จัดให้ใคร : ประชาชน+ผู้มีส่วนได้เสีย+หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่ออะไร : เพื่อให้การประเมินผลกระทบฯ มีความครบถ้วน ค1. การกำหนดขอบเขตการประเมินฯ(Public Scoping)
ค1.ก่อน การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น (Public Scoping) เงื่อนไข • ไม่น้อยกว่า 1 เดือน • ไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง ภารกิจ • แจ้งล่วงหน้าให้ สผ./สช./ปชช. • ผ่านสื่อ • ไม่น้อยกว่า 15 วัน • ไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง • เปิดเผยข้อมูลโครงการ + ปัจจัยกำหนดสิ่งแวดล้อม/สุขภาพ + ร่างขอบเขต/แนวทางการประเมิน • จัดลงทะเบียนล่วงหน้า • ได้โดยสะดวก • จัดระบบการลงทะเบียน ให้ผู้ที่จะเข้าร่วมการให้ความเห็น
ค1.ระหว่าง การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น Public Scoping เงื่อนไข • ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง • ไม่น้อยกว่า ครึ่งหนึ่งของเวลาในการจัดเวทีทั้งหมด ภารกิจ • จัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็น • ต้องจัดช่วงเวลาที่เหมาะสม • เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้นำเสนอประเด็นห่วงกังวลและข้อมูล
ค1. หลัง การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น Public Scoping เงื่อนไข • ไม่น้อยกว่า 15วัน • อย่างน้อย 2 ช่องทาง ภารกิจ • เปิดช่องทางในการรับฟังความคิดเห็น • อย่างต่อเนื่อง
สื่อประชาสัมพันธ์ที่ใช้ในการเผยแพร่ / เชิญเข้าร่วมเวที • จดหมายเชิญ • เว็ปไซต์โครงการ • ป้ายบอร์ดประชาสัมพันธ์ ที่เป็นจุดสังเกตได้ง่าย+ชัดเจน • สถานีวิทยุ / วิทยุชุมชน • สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น (เคเบิล) • หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น • หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อบต. / เทศบาล • ฯลฯ
ช่องทางที่ใช้ในการรับฟังความคิดเห็นช่องทางที่ใช้ในการรับฟังความคิดเห็น • เวทีการจัดรับฟังความคิดเห็น • กล่องรับความคิดเห็น • แบบสอบถาม • โทรศัพท์ • โทรสาร • อีเมล • ไปรษณียบัตร ฯลฯ
กระบวนการประเมินผลกระทบ + จัดทำรายงานEHIA (Assessment + Reporting)
ใครทำ : เจ้าของโครงการ consult ทำอะไร :เปิดเผยข้อมูล + รับฟังความคิดเห็น ทำอย่างไร :ตามแนวทางการมีส่วนร่วม+HIAใน EIA จัดให้ใคร :ประชาชน + ผู้มีส่วนได้เสีย เพื่ออะไร :เพื่อเปิดการมีส่วนร่วมอย่างรอบด้าน ค2. การประเมินผลกระทบและจัดทำรายงานฯ(Assessment+Reporting)
ค2.ก่อน การมีส่วนร่วมในการประเมินและจัดทำรายงานฯ เงื่อนไข • ข้อมูลโครงการ พื้นที่ • ข้อมูลมลพิษ แหล่งน้ำ ที่ดิน/ที่รองรับของเสีย • ปัจจัยกำหนดสุขภาพ • แนวทางการทำ EHIA • ระยะเวลาเริ่มดำเนินโครงการ • วัน เวลาสถานที่รับฟังความเห็น ภารกิจ • เปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการที่กำลังทำ EHIA • โดยทำป้ายแสดงข้อมูล ติดตั้งในสถานที่ และขนาดที่สามารถเข้าถึงและอ่านได้สะดวก
ค2.ระหว่าง การมีส่วนร่วมในการประเมินและจัดทำรายงาน เงื่อนไข • แสดงชื่อโครงการ+ วัตถุประสงค์+ เป้าหมาย + • ประเด็นที่จะสำรวจ/รับฟังความคิดเห็น ภารกิจ • สำรวจและรับฟังความคิดเห็น • ให้ความสำคัญกับการเก็บรวบรวมข้อมูล • ทำความเข้าใจวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมของชุมชน
วิธีการสำรวจและรับฟังความคิดเห็นวิธีการสำรวจและรับฟังความคิดเห็น • การสัมภาษณ์รายบุคคล • ผ่านทางไปรษณีย์/Tel./Fax/ระบบเครือข่ายสารสนเทศ • เปิดโอกาสให้มารับข้อมูล + แสดงความคิดเห็นต่อหน่วยงานรัฐ • การสนทนากลุ่มย่อย (Focus group) • การประชุมเชิงปฏิบัติการ • การประชุมตัวแทนกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง • ฯลฯ
ค2. หลัง การมีส่วนร่วมในการประเมินและจัดทำรายงาน เงื่อนไข • ภายใน 15 วัน • ไม่น้อยกว่า 15 วัน ภารกิจ • สรุปผลการสำรวจความคิดเห็น ทั้งในแง่ + , - • แสดงรายงานผลฯ ที่ ทสจ. สสจ. อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สถานีอนามัย (ที่ประชาชนเข้าถึง + เห็นได้ง่าย)
กระบวนการทบทวนร่างรายงาน EHIA (Public Review)
ค3. การทบทวนร่างรายงานการประเมินฯ(Public Review) ใคร :เจ้าของโครงการ ทำอะไร :จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ทำอย่างไร :ทบทวนร่างรายงานการประเมินผลกระทบฯ จัดให้ใคร :ประชาชน+ผู้มีส่วนได้เสีย+หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่ออะไร :เพื่อให้การประเมินผลกระทบฯ ครบถ้วน
ค3. ก่อน การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น Public Review เงื่อนไข • ไม่น้อยกว่า 1 เดือน • ไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง ภารกิจ • แจ้งล่วงหน้าให้ สผ./สช./ปชช. • ผ่านสื่อ • ไม่น้อยกว่า 15 วัน • ไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง • เปิดเผย (ร่าง) รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ฉบับสมบูรณ์