580 likes | 1.13k Views
เอกสารประกอบการอบรม การต่ออายุใบอนุญาตตัวแทน และ นายหน้า ครั้งที่ 4 เป็นต้นไป โดย นายชัชวาลย์ วยัมหสุวรรณ ผู้อำนวยการส่วนกำกับมาตรฐานบุคลากรประกันภัย. เสนอขายถูกหลัก ประกันภัยเติบโต. 1. พระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับและ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550.
E N D
เอกสารประกอบการอบรม การต่ออายุใบอนุญาตตัวแทน และ นายหน้า ครั้งที่ 4 เป็นต้นไป โดย นายชัชวาลย์ วยัมหสุวรรณ ผู้อำนวยการส่วนกำกับมาตรฐานบุคลากรประกันภัย เสนอขายถูกหลัก ประกันภัยเติบโต 1
พระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับและพระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับและ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 2 2
คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายยรรยง พวงราช 3
กำกับและพัฒนาธุรกิจประกันภัยให้มีความเข้มแข็ง มั่นคงและ ยั่งยืน ส่งเสริม และพัฒนาให้ธุรกิจประกันภัยเพิ่มบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย 4 4
โครงสร้างของสำนักงาน คปภ. The structure of the Office iof Insurance Commission 5 5
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) สายกำกับ มุ่งมั่นสู่แนวทางการกำกับตามระดับความเสี่ยง สายตรวจสอบ การตรวจสอบแนวใหม่ที่มีประสิทธิภาพ และมีความเป็นธรรม โดยใช้สัญญาณเตือนภัยที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ทั่วประเทศ สายส่งเสริมและบริหาร ให้บริการอย่างมีคุณภาพ ยุติธรรม เสมอภาคคุ้มครองสิทธิ์ ติดอาวุธทางปัญญา นำคุณค่าประกันภัยสู่สังคม สายกฎหมาย พัฒนาและบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ธุรกิจประกันภัย มีความมั่นคงและสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้เอาประกันภัย 6 6
ตารางสรุปการจัดงาน “ประกันภัยสัญจร” ปี 2553 7
ตารางสรุปการจัดงาน “ประกันภัยสัญจร” ปี 2553 8
ตารางสรุปการจัดงาน “ประกันภัยสัญจร” ปี 2553 9
Money Expo 2010 1 วันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ 2553 จ.ชลบุรี ณ ศูนย์ประชุมบีช โรงแรมรอยัลคลิฟบีชรีสอร์ท 2.วันที่ 6-9 พฤษภาคม 2553 กรุงเทพฯ ณ. ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์ 3.วันที่ 8-10 ตุลาคม 2553 จ.นครราชสีมา ณ Mcc hall the mallโคราช 4.วันที่ 12-14 พฤศจิกายน 2553 จ.เชียงใหม่ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อาจมีการเปลี่ยนแปลง) 10
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง • พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่2) พ.ศ.2551 11
โครงสร้างธุรกิจประกันภัยไทยโครงสร้างธุรกิจประกันภัยไทย คนกลางประกันภัย ตัวแทนประกันชีวิต ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าบุคคลธรรมดา นายหน้านิติบุคคล บริษัทประกันชีวิต 24 บริษัท บริษัทประกันวินาศภัย 70 บริษัท 12
เปรียบเทียบจำนวนเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงของธุรกิจประกันภัยปี 2548-2551 และแนวโน้มปี 2552-2553 หน่วย : ล้านบาท ประเภทของประกันภัย 2548 2549 2550 2551 2552 2553(ต่ำ) 2553(สูง) ปีพ.ศ.
ตารางเปรียบเทียบผลผลิตเบี้ยประกันชีวิตระหว่างตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิตตารางเปรียบเทียบผลผลิตเบี้ยประกันชีวิตระหว่างตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต หน่วย ล้านบาท
ตารางเปรียบเทียบจำนวนตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต บุคคลธรรมดา หน่วย : คน
ตารางเปรียบเทียบผลผลิตเบี้ยประกันชีวิตต่อคนระหว่างตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต บุคคลธรรมดา
ประกาศ คปภ. เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันชีวิต และธนาคาร พ.ศ.๒๕๕๑ตามความในมาตรา ๓๘(๕) และมาตรา ๗๐/๒ แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.๒๕๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๑
ในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านตัวแทนประกันชีวิต บริษัทจะต้องจัดการให้ตัวแทนประกันชีวิตหรือนายหน้าประกันชีวิตปฏิบัติ หรือ ละเว้นการปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ 1. ห้ามชักชวนให้ผู้เอาประกันภัยยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยอื่น เพื่อมา ซื้อกรมธรรม์ประกันภัยใหม่ 2. ห้ามให้ข้อความที่เป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้ง เพื่อมุ่งหวังให้มีการประกันภัย
3. ห้ามให้คำแนะนำซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือละเว้นการเปิดเผยข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด 4. ให้อธิบายหลักการเปิดเผยข้อความจริงในใบคำขอเอาประกันภัยและผลที่ จะเกิดขึ้นหากมีการแถลงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริง 5. แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล บริษัทที่ตนสังกัด(ถ้ามี) พร้อมทั้งแสดงใบอนุญาต เป็นตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต
6. แจ้งวัตถุประสงค์ในการติดต่อกับผู้มุ่งหวัง ซึ่งต้องแสดงให้ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้น ในการนี้ให้หลีกเลี่ยงการใช้คำว่าฝากหรือฝากเงินแทนการชำระเบี้ยประกันภัย 7. หากผู้มุ่งหวังแสดงเจตนาอย่างชัดเจนว่าไม่ประสงค์จะซื้อ ไม่ว่าการ แสดงเจตนานั้นจะเกิดขึ้นในขั้นตอนใด ให้ยุติการขายทันที
8. เมื่อได้รับอนุญาตให้เสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยจากผู้มุ่งหวัง ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิตจะต้องอธิบายเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยที่เสนอขาย โดยใช้เอกสารประกอบการเสนอขายที่ได้รับความเห็นชอบจากบริษัทเท่านั้น 9. แนะนำให้ผู้มุ่งหวังทำประกันชีวิตให้เหมาะสมกับความเสี่ยงและ ความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย (Suitability Requirement)
10. เมื่อผู้มุ่งหวังประสงค์จะทำประกันชีวิต ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิตจะต้องส่งมอบใบคำขอเอาประกันภัยให้แก่ผู้มุ่งหวังและให้ผู้มุ่งหวังกรอกรายละเอียดลงในใบคำขอเอาประกันภัยและลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขอเอาประกันภัยด้วยตนเอง
11.หากตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิตเป็นผู้กรอกรายละเอียดให้ตามคำร้องขอของผู้มุ่งหวัง ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิตจะต้องกรอกรายละเอียดให้ถูกต้องตามที่ได้รับข้อมูลจากผู้มุ่งหวัง หรือจากที่ตนทราบข้อมูล ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิตจะต้องอ่านรายละเอียดใบคำขอเอาประกันภัยที่กรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว ให้ผู้มุ่งหวังฟังก่อนและให้ผู้มุ่งหวังลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขอเอาประกันภัย
12. เมื่อได้รับชำระเบี้ยประกันภัย ตัวแทนประกันชีวิตจะต้องออกเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัทประกันชีวิตทุกครั้งที่มีการรับเบี้ยประกันภัยในนามบริษัท 13. เมื่อได้รับคำขอเอาประกันภัยและรับเบี้ยประกันภัยจากผู้มุ่งหวังแล้ว ให้ตัวแทนประกันชีวิตส่งมอบเอกสารประกอบการเสนอขายที่ลงรายการ ครบถ้วนให้แก่ผู้มุ่งหวังพร้อมเอกสารการรับเงินของบริษัทด้วย
14. นับแต่วันที่ผู้มุ่งหวังส่งมอบคำขอพร้อมเบี้ยประกันภัยให้แก่ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิตจะต้องแจ้งระยะเวลาซึ่งผู้มุ่งหวังจะได้รับกรมธรรม์ประกันภัยจากบริษัท หรือได้รับการติดต่อจากบริษัทเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัย
15. ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิตจะต้องแจ้งให้ ผู้มุ่งหวังทราบว่าเมื่อผู้มุ่งหวังได้รับกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว ผู้มุ่งหวังมีสิทธิตรวจสอบเนื้อหาตามกรมธรรม์ประกันภัย หากไม่เป็นที่พอใจ ผู้มุ่งหวังมีสิทธิเลิกสัญญาภายใน ๑๕ วันนับตั้งแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยได้รับกรมธรรม์ประกันภัยจากบริษัท หรือมากกว่า ๑๕ วัน ทั้งนี้ ขึ้นกับแนบกรมธรรม์ประกันภัยที่มีการเสนอขาย
16. การเสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนผ่านตัวแทนประกันชีวิตหรือนายหน้าประกันชีวิต บริษัทต้องดำเนินการดังนี้ 16.1 จัดการให้ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิตผู้เสนอขาย ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก หรือ ข ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และเป็นผู้ผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนตามหลักสูตรที่สำนักงานประกาศกำหนด และได้รับการขึ้นทะเบียนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่นายทะเบียนประกาศกำหนด
16.2 จัดการให้ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิตดังกล่าวปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วยเป็นอย่างน้อย (1) อธิบายเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยที่เสนอขายโดยใช้เอกสารประกอบการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทจัดทำขึ้น ประกอบกับหนังสือชี้ชวนซื้อหน่วยลงทุนที่เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(2) ให้คำแนะนำตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับ โดยมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนรวมและมีเอกสารหลักฐานที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้ (3) ให้คำแนะนำโดยอธิบายให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงลักษณะความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการประกันชีวิตควบการลงทุนและหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ประกันชีวิต
(4) ไม่นำข้อมูลของผู้เอาประกันภัยไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่น (5) ห้ามมิให้ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิตเรียกเก็บหรือรับค่าธรรมเนียม หรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนและหน่วยลงทุน ควบคู่กรมธรรม์ประกันชีวิตจากผู้เอาประกันภัย นอกเหนือจากผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ต้องชำระตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน หรือตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
ประกาศนายทะเบียนเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนและนายหน้าประกันชีวิตขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit-Linked Life Policy)พ.ศ.๒๕๕๑
1. “กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน” หมายความว่า กรมธรรม์ประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย เพื่อเป็นหลักฐานว่าผู้เอาประกันภัยและบริษัทประกันชีวิตได้มีการทำสัญญาประกันชีวิตควบการลงทุน โดยมีข้อตกลงว่าผู้เอาประกันภัยจะชำระเบี้ยประกันภัยในส่วนของความคุ้มครองตามสัญญาประกันชีวิต และรวมถึงเบี้ยประกันภัยในส่วนของการลงทุนด้วย คำจำกัดความ
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิตขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน 2. ห้ามมิให้ผู้ใดขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน เว้น แต่เป็นผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต 3. ผู้ขอความเห็นชอบเป็นตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้า ประกันชีวิตขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ 3.1 เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกัน ชีวิต และได้รับอนุญาตให้ขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนของบริษัท
3.2 เป็นผู้ได้รับความเห็นชอบตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนประเภท ก. หรือ ข. 3.3 เป็นผู้ผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน ตามหลักสูตรที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบ
4. ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิตขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน นอกจากต้องมีคุณสมบัติตามข้อ ๗ แล้ว ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ด้วย 4.1 ต้องไม่มีประวัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ภายในระยะเวลา ๓ ปี ก่อนวันที่ยื่นคำขอรับความเห็นชอบ
4.2 ต้องไม่เคยถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เพิกถอนการปฏิบัติงานใดๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์ตามที่ได้รับความเห็นชอบการขึ้นทะเบียน หรือการอนุญาตใดๆ ภายในระยะเวลา ๓ ปีก่อนวันที่ยื่นคำขอรับความเห็นชอบ 4.3 ต้องไม่มีประวัติการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการฟอกเงินและการอุดหนุนทางการเงินแก่ผู้ก่อการร้าย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
4.4 ต้องไม่มีประวัติดังต่อไปนี้ภายในระยะเวลา ๓ ปี ก่อนวันที่ยื่นขอรับความเห็นชอบ 4.4.1 เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต 4.4.2 เคยต้องคำพิพากษาหรือถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากการกระทำโดยทุจริต 4.4.3 เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน อันเนื่องจากการกระทำโดยทุจริต
4.4.4 เคยมีการทำงานที่มีลักษณะอันเป็นการหลอกลวงหรือไม่ซื่อสัตย์สุจริต หรือแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบ ไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า หรือขาดความรอบคอบ หรือสะท้อนถึงการทำงานที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่น่าเชื่อถือ 4.4.5 เคยถูกนายทะเบียนเพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต
ประกาศ คปภ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทน และนายหน้าขายกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ (Universal Life Insurance)พ.ศ.๒๕๕๒
1.“กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์” หมายความว่า กรมธรรม์ประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย เพื่อเป็นหลักฐานว่าผู้เอาประกันภัยและบริษัทประกันชีวิตได้มีการทำสัญญาประกันชีวิต โดยมีข้อตกลงว่าผู้เอาประกันภัยจะชำระเบี้ยประกันภัยที่ระบุในสัญญา รวมถึงเบี้ยประกันภัยในส่วนที่เป็นเงินออม (top-up)และบริษัทจะหักค่าธรรมเนียมต่างๆ และค่าความคุ้มครองต่อการมรณกรรมจากกรมธรรม์หรือความคุ้มครองอื่นๆ และจะจ่ายผลตอบแทนเป็นคราวๆ (Crediting interest)ตามที่ระบุในเอกสารประกอบการเสนอขาย โดยมีการรับประกันผลตอบแทนขั้นต่ำ คำจำกัดความ
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิตขายกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ 2. ห้ามมิให้ผู้ใดขายกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ เว้นแต่เป็นผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนประกันชีวิตหรือนายหน้าประกันชีวิตขายกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ 3. ผู้ขอความเห็นชอบเป็นตัวแทนประกันชีวิตหรือนายหน้าประกันชีวิตขายกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 3.1 เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิตหรือนายหน้าประกันชีวิตไม่น้อยกว่า 6 เดือน
3.2 เป็นผู้ขายประกันชีวิตแบบรายบุคคลรายใหม่ ประเภทสามัญหรือประเภทอุตสาหกรรม ไม่ต่ำกว่าสิบห้าราย หรือจำนวนเงินเอาประกันภัยไม่ต่ำกว่าสองล้านบาท ทั้งนี้ไม่รวมการประกันภัยกลุ่มและการประกันภัยแบบชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว 3.3 เป็นผู้ผ่านการอบรมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ ตามหลักสูตรที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบ ไม่เกินสองปีก่อนวันขอขึ้นทะเบียน