1 / 10

สาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

สาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. โดย นายเกตพง ไชยเกตุ โรงเรียนบ้านหนองแคน. เมนูหลัก. จุดประสงค์การเรียนรู้. แบบทดสอบก่อนเรียน. แบบทดสอบหลังเรียน. เข้าสู่บทเรียน. ออกจากโปรแกรม. จุดประสงค์การเรียนรู้. นักเรียนสามารถ แยกแยะส่วนประกอบของปลาดุกได้

gefen
Download Presentation

สาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดย นายเกตพง ไชยเกตุ โรงเรียนบ้านหนองแคน

  2. เมนูหลัก จุดประสงค์การเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน เข้าสู่บทเรียน ออกจากโปรแกรม

  3. จุดประสงค์การเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้ • นักเรียนสามารถ แยกแยะส่วนประกอบของปลาดุกได้ • นักเรียนสามารถเลี้ยงปลาดุกได้ เข้าสู่บทเรียน ทดสอบก่อนเรียน เมนูหลัก ทดสอบหลังเรียน

  4. การเลี้ยงปลาดุก ปลาดุกเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด น้ำที่ค่อนข้างกร่อย หรือแม้แต่ในหนองน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อย เพราะว่าปลาดุกเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจเช่นเดียวกับปลาช่อนจึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนเพียงเล็กน้อย ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยนิยมรับประทาน ปลาดุกจะพบได้ทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบปลาดุกในคลอง หนอง บึง ต่างๆ ทั่วทุกภาค เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป ปลาดุกที่พบในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิดด้วยกัน แต่ที่เป็นที่รู้จักมีเพียง 2 ชนิด คือปลาดุกอุย และปลาดุกด้าน ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงคือ ปลาดุกด้าน เพราะเนื้อปลาดุกด้านค่อนข้างแข็ง ทำให้สามารถขนส่งได้ในระยะทางไกลๆ ประกอบกับปลาดุกด้านเลี้ยงง่าย โตเร็ว จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก แต่สำหรับผู้บริโภคแล้ว จะนิยมปลาดุกอุย เพราะให้รสชาติดี เนื้อปลานุ่ม ฟู กลิ่นดี ต่อไป จุดประสงค์ เมนูหลัก

  5. ประมาณปลายปี พ.ศ. 2530 เกษตรกรได้นำพันธุ์ปลาดุกชนิดหนึ่งจากประเทศลาวเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทย ซึ่งกรมประมงได้ให้ชื่อว่าปลาดุกเทศ (ปลาดุกยักษ์ หรือ ปลาดุกรัสเซีย) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา เป็นปลาที่มีการเจริญเติบใตรวดเร็วมาก สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด มีความต้านทานโรคและสภาพแวดล้อมสูงเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ แต่ปลาดุกชนิดนี้มีเนื้อเหลว และมีสีซีดขาว ไม่น่ารับประทาน ต่อมานักวิชาการไทยได้ประสบความสำเร็จในการผสมเทียมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศเมีย และปลาดุกยักษ์เพศผู้ ได้ปลาลูกผสมเรียกว่า ดุกอุยเทศ หรือ บิ๊กอุย ซึ่งผลที่ได้นั้นบิ๊กอุยเป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกร เนื่องจากเลี้ยงง่าย มีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว อีกทั้งทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าปลาดุกชนิดอื่น ทั้งยังเป็นที่นิยมบริโภคของประชาชน เนื่องจากมีรสชาติดีและราคาถูกทำให้ปัจจุบันปลาดุกบิ๊กอุยได้รับการนิยมและเข้ามาแทนที่ตลาดปลาดุกด้านไปโดยปริยาย ย้อนกลับ ต่อไป เมนูหลัก

  6. ภาพที่ 1เปรียบเทียบลักษณะหัวปลาดุก ส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยปลาดุกอุยมีลักษณะโค้งมน (ซ้าย) ส่วนในปลาดุกด้านกระดูกท้ายแหลม (ขวา) ภาพที่ 2เปรียบเทียบลักษณะปลาดุก, ก. แสดงความแตกต่างของลักษณะกระดูกท้ายทอยของปลาดุก 3 ชนิด (จากซ้ายไปขวา ปลาดุกด้าน ปลาดุกยักษ์ และปลาดุกอุย) ข. แสดงลักษณะของปลาดุกอุย (บน) ปลาดุกบิ๊กอุย (กลาง) และปลาดุกยักษ์ (ล่าง) ย้อนกลับ ต่อไป เมนูหลัก

  7. โรคของปลาดุก มักเกิดจากปัญหาคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากการให้อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เพราะปลาดุกมีนิสัยกินอาหารที่ให้ใหม่แล้วสำรอกอาหารเก่าทิ้ง ควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอในปริมาณ 20 -30 % ของน้ำในบ่อแล้วนำน้ำที่พักไว้เติมลงไปให้ได้ระดับเดิม เมื่อปลาเป็นโรคแล้วจะรักษาให้หายได้ยากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดจึงควรป้องกันไม่ให้เกิดโรค โดยวิธีต่างๆดังนี้ 1. ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีที่เหมาะสมก่อนการปล่อยลูกปลา 2. ซื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ลูกปลาแข็งแรงปราศจากโรค 3. ไม่ควรปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงหนาแน่นเกินไป 4. ควรหมั่นตรวจอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเห็นผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว 5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำเก่าออกปริมาณ 20 – 30 % ของน้ำในบ่อ และนำน้ำที่พักไว้เติมลงไปให้ได้ระดับเดิม 6. อย่าให้อาหารจนเหลือ ให้ปริมาณพอดีในแต่ละมื้อ และระวังอย่าให้อาหารตกค้างในบ่อ แบบทดสอบ ย้อนกลับ เมนูหลัก

  8. แบบทดสอบหลังเรียน จับคู่ 1 2 3 ปลาดุกด้าน ปลาดุกยักษ์ ปลาดุกอุย เมนูหลัก เข้าสู่บทเรียน

  9. แบบทดสอบก่อนเรียน จับคู่ ข ก 1. ปลาดุกด้าน 2. ปลาดุกอุย เข้าสู่บทเรียน เมนูหลัก

  10. แล้วพบกันใหม่นะครับ

More Related