140 likes | 238 Views
ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่มีต่อเขื่อน ในประเทศญี่ปุ่น. ข้อมูลจาก : Professor Tatsuo Ohmachi, Center for Urban Earthquake Engineering Tokyo Institute of Technology. ohmachi@envng.titech.ac.jp. ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่มีต่อเขื่อน ในประเทศญี่ปุ่น
E N D
ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่มีต่อเขื่อน ในประเทศญี่ปุ่น ข้อมูลจาก: Professor Tatsuo Ohmachi, Center for Urban Earthquake Engineering Tokyo Institute of Technology. ohmachi@envng.titech.ac.jp
ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่มีต่อเขื่อน ในประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2547 เวลาท้องถิ่น 17.56 น. เกิดแผ่นไหวที่ประเทศญี่ปุ่น เรียกว่า แผ่นดินไหว Niigata-ken Chuetsu ขนาด 6.8 Mj เป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือน ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนรอบพื้นที่แผ่นดินไหว มีผู้เสียชีวิต 40 คน มีเขื่อนผลิตไฟฟ้าที่อยู่ใกล้เคียงได้รับความเสียหาย จำนวน 3 เขื่อน ได้แก่ เขื่อน Asagawara, เขื่อน Yamamoto และเขื่อน Shin-yamamoto แผ่นดินไหวครั้งนี้ ก่อให้เกิดอัตราเร่งสูงสุดที่วัดได้ด้วยเครื่องวัดอัตราเร่ง เป็น 1501 gal (1.530 g) และ 1750 gal (1.783 g) ที่ระยะประมาณ 8 กิโลเมตร และ 20 กิโลเมตร จากจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหว 1
เขื่อน Asagawara สร้างปี พ.ศ.2488 เป็นเขื่อนถมแบบแบ่งโซนแกนดินเหนียว สูง 37 เมตร ยาว 292 เมตร 3
เขื่อนได้รับความเสียหายโดยเกิดรอยร้าวตามแนวยาวของเขื่อนตลอดสันเขื่อน ที่บริเวณช่วงลึกของเขื่อนมีรอยแตกเปิดกว้างและลึก รอยแตกยุบลงไปทางเหนือน้ำ 4
การยุบตัวของสันเขื่อนวัดได้ 20-50 เซนติเมตร เมื่อขุดร่องสำรวจ พบว่า รอยร้าวไม่ผ่านแกนเขื่อนแต่ผ่านไปในชั้นเปลือก 5
เขื่อน Yamamoto สร้างปี พ.ศ.2497 เป็นเขื่อนถมแบบแบ่งโซนแกนดินเหนียว สูง 28 เมตร ยาว 927 เมตร 6
การวัดการทรุดตัวของสันเขื่อน พบว่า มีการทรุดตัวไป 10-20 เซนติเมตร ทางด้านเหนือน้ำ และมีรอยแยกแสดงการทรุดตัวของหินทิ้งลาดหน้าเขื่อนเป็นแนวยาว และมีลักษณะทรายเดือด (Sand boil) 7
เขื่อน Shin-yamamoto สร้าง พ.ศ.2533 เป็นเขื่อนถมแบบแบ่งโซนแกนดินเหนียว สูง 42.4 เมตร ยาว 1,392 8
สันเขื่อนมีความโค้งรูปครึ่งวงกลมสันเขื่อนมีความโค้งรูปครึ่งวงกลม 9
เขื่อนมีรอยร้าว และยุบตัวอยู่ทั่วสันเขื่อน มีการทรุดตัววัดได้ 10 - 40 เซนติเมตร ในฝั่งขวาซึ่งเป็นส่วนที่ตั้งอยู่บนหินฐานรากและทรุดตัว 50 - 90 เซนติเมตร ในฝั่งซ้ายที่ฐานรากเขื่อนตั้งอยู่บนชั้นดิน สันเขื่อนฝั่งขวาเคลื่อนไปทางเหนือน้ำ 3 - 10 เซนติเมตร ฝั่งซ้ายเคลื่อนไป 20 - 40 เซนติเมตร 10
ลาดเขื่อนเหนือน้ำ ฝั่งซ้ายมีทรายเดือดเกิดขึ้นทั่วไปจำนวนมาก 10
ข้อสรุป 1. เขื่อนที่สร้างได้มาตรฐานอาจได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวที่ รุนแรงมาก แต่ไม่ก่อให้เกิดการทรุดตัวจนเกิดปัญหาน้ำระบายจากเขื่อนอย่างควบคุมไม่ได้ จึงไม่เป็นอันตรายต่อชุมชนท้ายเขื่อน 2. ความเสียหายส่วนใหญ่สามารถทำการซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้ 3. ความเสียหายมีความแตกต่างกันไปตามแบบขนาด และระยะห่างของเขื่อนจากจุดเกิดแผ่นดินไหว 4. ปัญหาที่ควรให้ความระมัดระวังเพิ่มเติม คือ การป้องกันการเกิดทรายเดือดในวัสดุกรองที่ได้ออกแบบไว้ในตัวเขื่อน 5. ระดับน้ำที่เก็บกักในอ่างเป็นองค์ประกอบสำคัญของความรุนแรงหรือความเสียหาย 11