300 likes | 517 Views
คืนภาษีเงินได้ สำหรับผู้ใช้กระจก ประหยัดพลังงาน. โดย นายดนัย เอกกมล ผู้อำนวยการสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน นายสงวนศักดิ์ เกยุราพันธุ์ ที่ปรึกษาโครงการฯ. โครงการ ขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้น ภาษีเงินได้ จากกรมสรรพากร.
E N D
คืนภาษีเงินได้ สำหรับผู้ใช้กระจก ประหยัดพลังงาน
โดย นายดนัย เอกกมล ผู้อำนวยการสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน นายสงวนศักดิ์ เกยุราพันธุ์ ที่ปรึกษาโครงการฯ
โครงการขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้โครงการขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ จากกรมสรรพากร เป็นโครงการที่ให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษี เงินได้ให้กับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน 25% ของค่าใช้จ่ายนั้น ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ที่ผ่านมา
โครงการประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง โครงการประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง • พพ. ร่วมกับ กรมสรรพากร • ขอขยายระยะเวลาออกไปอีก 2-5 ปี • ครม. มีมติให้ขยายระยะเวลาออกไป • อีก 2 ปี • เริ่ม วันที่ 1 มกราคม 2554 • สิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2555 • ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำพระราชกฤษฎีกา
สิทธิประโยชน์จากโครงการฯ มีอะไรบ้าง
ผู้ขอรับสิทธิ์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายเพื่อได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร วัสดุ หรืออุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานซึ่งได้รับการรับรองจาก พพ. สิทธิประโยชน์ = 0.25 x ค่าใช้จ่ายวัสดุ อุปกรณ์ หรือ เครื่องจักร ที่มีผลต่อการ ประหยัดพลังงาน
กราฟแสดงตัวอย่างสิทธิประโยชน์ที่ได้รับกราฟแสดงตัวอย่างสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
ใคร ??? สามารถขอรับสิทธิ์ได้บ้าง
ผู้ขอรับสิทธิ์ต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ผู้ขอรับสิทธิ์ต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ • บุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้จาก • - การให้เช่าทรัพย์สิน (ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(5)*) • - วิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ • สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม • (ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(6)*) • - การรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วน • สำคัญนอกจากเครื่องมือ(ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(7)*) • - การธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การ • ขนส่ง หรือการอื่น • (มาตรา 40 (8)*นอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 40(1) ถึง (7)) • *ตาม ภ.ง.ด. 90 เฉพาะผู้มีเงินได้ ที่มีการหักค่าใช้จ่ายจริง • ตามความจำเป็นและสมควร
2) นิติบุคคล เฉพาะนิติบุคคลที่เป็น - บริษัทจำกัด - บริษัทมหาชนจำกัด - ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่สามารถรับสิทธิ์ได้ มีอะไรบ้าง
คุณสมบัติของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่ผู้มีสิทธิ์สามารถนำค่าใช้จ่ายไปขอรับสิทธิประโยชน์เป็นรายจ่ายทางภาษีเงินได้จากกรมสรรพากรได้ ต้อง • จัดซื้อและเป็นของใหม่ (ต้องบันทึกเป็นทรัพย์สิน) ตั้งแต่ 1 มกราคม 2554 ถึง 31 ธันวาคม 2555 • เป็นวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ที่ตรงตามรายการอุปกรณ์ที่ พพ. ให้การรับรอง (มีรายชื่อในเว็บ www.energy-tax.com) • ไม่เป็นวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่ได้รับ หรือ อยู่ระหว่าง การขอรับสิทธิ • ประโยชน์ จากส่วนราชการ เพื่อการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงาน • ไม่เป็นวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่นำไปใช้ในกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก BOI(ทั้งหมดหรือบางส่วน) • สรุปง่ายๆ . . . • วัสดุฯ ที่จะขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ • ชิ้นเดียวกัน ห้าม นำมาขอรับสิทธิประโยชน์ซ้ำซ้อน • นั่นคือ 1 ชิ้น รับได้เพียง 1 สิทธิ์ เท่านั้น !!!!
เงื่อนไขการขอรับสิทธิประโยชน์ “บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล” • คุณสมบัติของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่ผู้มีสิทธิ์สามารถนำค่าใช้จ่ายไปขอรับสิทธิประโยชน์เป็นรายจ่ายทางภาษีเงินได้จากกรมสรรพากรได้ ต้อง • ไม่เป็นวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่เกิดจากรายจ่ายซึ่งได้จ่ายไปเป็นค่าจ้างเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน • ไม่เป็นวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากมาตรการโครงการลงทุนในทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินธุรกิจหลักของกิจการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป) • คุณสมบัติ 2 ข้อนี้ เป็นการได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้จากกรมสรรพากร อยู่แล้ว • สรุปง่ายๆ . . . วัสดุฯ ที่จะขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ • ชิ้นเดียวกัน ห้าม นำมาขอรับสิทธิประโยชน์ซ้ำซ้อน • นั่นคือ 1 ชิ้น รับได้เพียง 1 สิทธิ์ เท่านั้น !!!!
โครงการฯ ในระยะที่ 2 พพ. ได้ประกาศรายชื่อวัสดุฯ แล้ว 19 ประเภท รวมทั้งสิ้น 230 ยี่ห้อ 3,892 รุ่น สังเกตได้จาก
ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ • เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ได้แก่ อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของ กฟผ. (จำนวน 9 ประเภท) เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า และกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า • เตาแก๊ส • วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ได้แก่ กระจก และฉนวนใยแก้ว • วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรประหยัดพลังงานในอาคาร/โรงงาน ได้แก่ อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ และมอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟสที่มีประสิทธิภาพสูง • วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรประหยัดพลังงาน สำหรับระบบปรับอากาศ/ทำความร้อน/ทำความเย็น ได้แก่ เครื่องทำน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศ(Chiller) หม้อไอน้ำ (Boiler) และเครื่องทำน้ำร้อนชนิดฮีตปั๊มแบบใช้อากาศเป็นแหล่งพลังงาน (Heatpump)
ต้องการขอรับสิทธิ์ จะต้องทำอย่างไร
ผู้ขอรับสิทธิ์จะต้อง 1.ซื้อวัสดุฯ ที่ตรงตามรายการที่ พพ. ให้การรับรอง 2.เก็บ ใบเสร็จที่ระบุชื่อ ยี่ห้อ รุ่น พร้อมจัดทำรายงานแสดงรายละเอียดการซื้อวัสดุฯ 3. บันทึก เป็นรายจ่ายทางภาษี 25% ของมูลค่าทรัพย์สิน ในแบบ ภ.ง.ด. 90 (สำหรับบุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (5) (6) (7) และ (8))หรือแบบ ภ.ง.ด. 50 (สำหรับนิติบุคคล)ในคราวที่ยื่นชำระภาษีประจำปี
ตัวอย่าง การกรอกแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา (แบบ ภ.ง.ด.90)
บันทึกข้อมูลในแบบ ภ.ง.ด.90 ตามประเภทของรายการเงินได้พึงประเมินของท่าน โดยเลือก หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร • ทำเครื่องหมายในช่อง“จริง” • บันทึกข้อมูลสิทธิประโยชน์ 25% ของมูลค่าอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน (รวมค่าติดตั้ง) ในรายการค่าใช้จ่ายจริงที่ขอหักตามความจำเป็นและสมควร สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(5) (6) (7) หรือ (8) ในหน้าที่ 3 ของแบบ ภ.ง.ด.90
ตัวอย่างที่ 1 บุคคลธรรมดา นาย A มีเงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ 4,000,000 บาท มีค่าใช้จ่ายจริงคือ 1. ค่าซื้อวัสดุก่อสร้าง 2,100,000 บาท 2. เงินเดือนค่าจ้างแรงงาน 1,043,000 บาท 3. ค่าเครื่องเขียนสำนักงาน 22,000 บาท 4. ค่าเสื่อมราคา 20,000 บาท 5. ค่าซื้ออุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน 25,000 บาท (25% ของมูลค่าอุปกรณ์รวมค่าติดตั้ง 100,000 บาท)
2. เลือก หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร ( ) 1 2 *ค่าใช้จ่ายจริง = 2,100,000 + 1,043,000 + 22,000 + 20,000 + 25,000 = 3,300,000 1 . บันทึกข้อมูลในแบบ ภ.ง.ด.90 รายการเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ 4,000,000 บาท
3. บันทึกข้อมูลในรายการค่าใช้จ่ายจริงที่ขอหักตามความจำเป็นและสมควร สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(5) (6) (7) หรือ (8) ในแบบ ภ.ง.ด.90 ในส่วน “สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (7)” ดังนี้ ค่าซื้อวัสดุก่อสร้าง 2,100,000 บาท เงินเดือนค่าจ้างแรงงาน 1,043,000 บาท ค่าเครื่องเขียนสำนักงาน 22,000 บาท ค่าเสื่อมราคา 20,000 บาท ค่าซื้ออุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน 25,000 บาท 3
บันทึกค่าใช้จ่ายในแบบ ภ.ง.ด. 90 เสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าลืม !!! ยื่นชำระภาษีบุคคลธรรมดา ภายในระยะเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ นะครับ
ตัวอย่าง การกรอกแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร (แบบ ภ.ง.ด.50)
ทำการบันทึกข้อมูลในแบบ ภ.ง.ด.50 ในรายการที่ 10 รายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้หรือรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่มขึ้น ข้อ 2.1 รายจ่ายค่าอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน โดยบันทึกข้อมูลสิทธิประโยชน์ 25% ของมูลค่าอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน (รวมค่าติดตั้ง) ในช่องที่ 3
ตัวอย่างที่ 2 นิติบุคคล บริษัท B ได้ซื้ออุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานที่ พพ. ประกาศรับรอง คือ เครื่องทำน้ำเย็นประสิทธิภาพสูง ยี่ห้อ B รุ่น B1 มูลค่า 500,000 บาท (รวมค่าติดตั้งแล้ว) บริษัท B จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการหักค่าใช้จ่ายเพิ่มได้อีกเป็นจำนวน 125,000 บาท (25% ของมูลค่าวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรนั้น รวมค่าติดตั้ง 500,000 บาท)
บันทึกข้อมูลเป็นรายจ่ายค่าอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน 125,000 บาท ในรายการที่ 10 ข้อ 2.1 ในช่องที่ 3 ในแบบ ภ.ง.ด.50
บันทึกค่าใช้จ่ายในแบบ ภ.ง.ด. 50 เสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าลืม !!! ยื่นชำระภาษีนิติบุคคล ภายในระยะเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ นะครับ
ดูรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ www.energy-tax.com
ศูนย์อำนวยการโครงการ ขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ จากกรมสรรพากร อาคาร 8 ชั้น 2 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เลขที่ 17 เชิงสะพานกษัตริย์ศึก ถ.พระราม 1 รองเมือง ปทุมวัน กทม. 10330 โทร.022224485-6 โทรสาร 022224487 Email : info@energy-tax.com