130 likes | 251 Views
วงจรการประยุกต์ความรู้. ความรู้ ( knowledge) เทคโนโลยี (technology) นวัตกรรม (innovation) 1. ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ (medical products) 2. บริการทางการแพทย์ (medical services). * คริสต์ศตวรรษที่ 16-17 พื้นฐานของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
E N D
วงจรการประยุกต์ความรู้วงจรการประยุกต์ความรู้ ความรู้ (knowledge) เทคโนโลยี (technology) นวัตกรรม (innovation) 1. ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ (medical products) 2. บริการทางการแพทย์ (medical services)
* คริสต์ศตวรรษที่ 16-17พื้นฐานของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ * คริสต์ศตวรรษที่ 18-20การแตกแขนงและการประยุกต์กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผลิตภัณฑ์และบริการอันหลากหลาย * คริสตศตวรรษที่ 21 เป็นต้นไปการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยอัตราที่ไม่เคยมีมาก่อน เกิดการประยุกต์
ความรู้ทางการแพทย์ สร้างหลักสูตร เพื่อสร้างนักวิชาชีพ เกิดนักวิชาชีพหลายแขนง อาชีพแต่ละแขนงมีหลายระดับ ความรู้ฯ รุดหน้าไปไม่หยุดยั้ง
ปัจเจกบุคคล ศึกษา (หลักสูตร) (สอบ) จบหลักสูตร (สอบ) เข้าสู่วิชาชีพ กระบวนการติดตามความรู้และสร้างความรู้ใหม่
นักวิชาชีพ ความมั่นใจ 3 ระดับ 1. ความมั่นใจใน ความรู้ ความสามารถ และจริยธรรมของตนเอง ต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ* 2. ความไว้วางใจในมวลสมาชิกวิชาชีพมีกระบวนการพัฒนาความรู้ของสมาชิกอย่างต่อเนื่อง* 3.ความไว้วางใจของประชาชนต่อนักวิชาชีพมีการกำหนดคุณภาพและมาตรฐานของนักวิชาชีพเพื่อให้สาธารณชนมั่นใจในวิชาชีพนั้น*
* ทั้งสามประการนี้ คือ วัตถุประสงค์หลักของ “การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์” * จึงเป็นหน้าที่ของสภาวิชาชีพ และสมาชิกของวิชาชีพทุกแขนง ที่จะต้องสร้างระบบการศึกษาต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพ – โปร่งใส – ตรวจสอบได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นทั้งแก่สมาชิกนักวิชาชีพและแก่สาธารณชนทั่วไป
“หน้าที่ของแต่ละบุคคลจะมีสิ่งสำคัญ 2 อย่างคือ จะต้องสร้างตัวเองให้มีความเจริญรุ่งเรือง สามารถที่จะทำงานทำการ ในแนวของตัว เพื่อที่จะเลี้ยงชีวิต และอีกด้านหนึ่ง ก็คือ ช่วยส่วนรวมได้อยู่ดีกินดี” (พระบรมราโชวาทเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2525)
“คนไม่มีความสุจริต คนไม่มีความมั่นคง ชอบแต่มักง่าย ไม่มีวันจะสร้างสรรค์ ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริตและมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็น คุณประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ...” (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 12 กรกฎาคม 2522)
“...การทำสิ่งที่ดีงามนั้น ไม่ใช่ของที่พ้นสมัยหรือ ที่น่ากระดากอาย หากเป็นของที่ทุกคนทำได้ไม่ยากและให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า เพราะความดีนั้นทรงค่า และทรงผลดีอยู่ตลอดกาลมิได้เปลี่ยนแปลงมีแต่ค่านิยมในความดีเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป...” (พระราชดำรัสพระราชทานเพื่ออัญเชิญไปอ่าน ในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 วันที่ 13 เมษายน 2516)
พระราชดำรัส ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโครงการ ที่โรงเรียนร่มเกล้า บ้านคลองทราย อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี 2 กรกฎาคม 2524 “...การพัฒนานี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ ทั้งสองอย่าง คือจิตใจที่หวงแหนที่ดินทำกินของเรา หวงแหนผืนแผ่นดินของเรา และจิตใจที่จะต้องช่วยเหลือกัน เพราะทุกคนเป็นสมาชิกของประเทศคือเป็นชาวไทยทุกคน...”
พระบรมราโชวาท พระราชทานสามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเชิญไปอ่านในการประชุมใหญ่ประจำปี ครั้งที่ 56 2-10 สิงหาคม 2512 “...ความสามัคคีและความถือตัวว่าเป็นไทยเป็นสมบัติมีค่าสูงสุด เพราะเป็นมรดกที่เราได้รับสืบต่อจากบรรพบุรุษและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราดำรงชาติประเทศและเอกราชสืบมาได้ ทุกคนจะต้องรักษาความเป็นไทยและความสามัคคีนี้ไว้ให้มั่นคง...”
พระบรมราโชวาท ปิดทองหลังพระ “...การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมากไม่ค่อย่ชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้...” (พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 25 กันยายน 2506)
“ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกัน ในการทำประโยชน์แก่ผู้อื่น” (พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)