440 likes | 601 Views
การใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี. อ.ดร.จีราภรณ์ อินทสาร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่. ธาตุอาหารหลัก. -ไนโตรเจน (Nitrogen-N) - ฟอสฟอรัส (Phosphorus-P) - โพแทสเซียม (Potassium-K). ธาตุอาหารรอง. -แคลเซียม (Ca) -แมกนีเซียม (Mg) -ซัลเฟอร์ (S). ธาตุอาหารเสริม.
E N D
การใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี อ.ดร.จีราภรณ์ อินทสาร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
ธาตุอาหารหลัก • -ไนโตรเจน (Nitrogen-N) • -ฟอสฟอรัส (Phosphorus-P) • -โพแทสเซียม (Potassium-K)
ธาตุอาหารรอง -แคลเซียม(Ca) -แมกนีเซียม(Mg) -ซัลเฟอร์(S)
ธาตุอาหารเสริม -สังกะสี -เหล็ก -ทองแดง -แมงกานีส -โบรอน -โมลิบดินัม -คลอรีน
ไนโตรเจน (Nitrogen) • -มีผลต่อการเจริญเติบโตและระบบราก • -ควบคุมทางสรีระและการติดดอกออกผล • -ควบคุมคุณภาพของผลผลิต • -ถ้ามีมากเกินไป เส้นใยขาด คุณภาพแป้งเสีย ระบบรากลดลง • -ถ้าขาด ต้นเตี้ย ใบล่างแสดงอาการเหลืองก่อน
N deficiency symptoms: corn N deficiency symptoms: tobacco
ฟอสฟอรัส (Phosphorus) -การงอกของเมล็ด -ความแข็งแรงของระบบราก(ต้นกล้า) -เป็นผลดีต่อการออกดอก -คุณภาพผลผลิต ต้านทานการเกิดโรค -ถ้าขาด ต้นแคระแกรน รากสั้น ใบเล็กร่วงเร็วกว่าปกติ ใบเข้มผิดปกติ สีม่วง
โพแทสเซียม (Potassium) • มีผลต่อการควบคุมปริมาณ น้ำหนัก และคุณภาพของผลผลิต • ปริมาณน้ำตาลของพืช • ถ้าขาด ขอบใบปลายใบจะไหม้ เนื้อใบไหม้ ขาดวิ่น
แคลเซียม (Ca) • ลดความเป็นพิษของธาตุอื่น เช่น เหล็ก แมงกานีส สังกะสี และ อลูมินัม แมกนีเซียม (Mg) • จำเป็นต่อขบวนการเจริญเติบโต ซัลเฟอร์(S) • -เพิ่มปริมาณน้ำมันในพืช และเร่งการเจริญเติบโต
ธาตุอาหารเสริม -มีผลต่อการเจริญเติบโต แม้จะต้องการใน ปริมาณที่เล็กน้อยเท่านั้น เช่นโบรอน มีผลต่อความหวานของผลไม้ โมลิบดินัม มีผลต่อพืชตระกูลถั่ว
ที่มาของธาตุอาหาร • มีอยู่ในดินทั่วไป • ได้จากการใส่ปุ๋ย • ติดมากับยาฆ่าแมลง หรือยากำจัดวัชพืช • ได้จากปุ๋ยอินทรีย เช่น มูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก
ปุ๋ย-Fertilizers • สารใดก็ตามที่มีธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีพของพืชและอยู่ในสภาพที่เหมาะสมที่ใส่ลงไปในดินหรือพืชโดยตรง • สารใดที่ใส่เพื่อจุดประสงค์อื่น เช่นเพื่อยกระดับ pH แม้จะมีธาตุอาหารเป็นองค์ประกอบ เราไม่ถือว่าเป็นปุ๋ย ยกตัวอย่างเช่น ปูน หรือ gypsum
สมบัติบางประการของปุ๋ยเคมีสมบัติบางประการของปุ๋ยเคมี • ปริมาณอาหารธาตุที่มีในปุ๋ย โดยส่วนมากจะเป็นการรับประกันระดับธาตุอาหารที่มีในปุ๋ย โดยปุ๋ยไนโตรเจนจะบอกในรูป total-N, ฟอสฟอรัส ในรูป available phosphoric acid(P2O5) และ โพแทสเซียมในรูป water soluble potash (K2O) โดยการเขียนสูตรปุ๋ยนั้นจะเรียงลำดับ N-P-K ไม่มีการสลับเป็นอันขาด เช่น 5-10-10 คือในปุ๋ยหนัก 100 กก. จะมี total-N 5 กก. มีP2O510 กก และ มี K2O 10 กก.
ปุ๋ยไนโตรเจน • 1.ปุ๋ยอินทรีย์ไนโตรเจน-organic nitrogen fertilizer -เลือดแห้ง N=8-12%, P2O5= 0.3-1.5% และ K2O=0.5-0.8% -เศษเนื้อพังผืดN=5-10%, P2O5= 1-3% และ K2O=1-1.5% -กากเมล็ดฝ้ายN=6-9%, P2O5= 2-3% และ K2O=1-2% -กากเมล็ดละหุงN=4-7%, P2O5= 1-1.5% และ K2O=1-1.5% -กากน้ำปลาN=2.54%, P2O5= 7.91% และ K2O=0.06%
2.ปุ๋ยอนินทรีย์ไนโตรเจนinorganic nitrogen fertilizer • 1.โซเดียมไนเตรต ได้มาจากแร่ธรรมชาติแหล่งใหญ่ในประเทศชิลี ซึ่งเป็นสารสีขาวหรืออาจจะมีสีต่างๆปะปนเช่น สีชมพู เหลือง เทา หรือ ม่วง ขึ้นกับสิ่งเจือปน เช่นถ้ามีแมงกานีสปนจะให้สีชมพู เป็นสารที่ดูดความชื้นได้ดีจึงกระจายได้เร็วในดิน และถูกชะล้างได้ง่าย เมื่อใส่ลงไปในดินที่ Cl สูงจะทำให้ดินเหนียวจัดเมื่อเปียกและแข็งมากเมื่อแห้งดินแน่นทึบ เพราะ Na ทำให้อนุภาคดินฟุ้งกระจายปัจจุบันมีการผลิตที่จำกัดและใช้กันน้อย
2.แอมโมเนีย 1)ในรูปผลิตผลพลอยได้ จากอุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค๊ก โดยการเผาถ่านหินบางชนิดในที่ไม่มีอากาศแล้วได้สารชนิดต่างๆระเหยออกมา ซึ่งจะมีกาซแอมโมเนียรวมอยู่ด้วย แล้วจึงทำการแยกออกมาภายหลัง 2) ได้จากการสังเคราะห์จากกาซไนโตรเจนและไฮโดรเจน ตามปฏิกิริยาของ Claude-Haber ammonia synthesis N2 + 3 H2 2NH3
+NH3 NH4NO3 -33%N HNO3 +NaCO3 NaNO3 -16%N +O2 + Phosphates Rock Nitrophosphates -12-20%N +H2SO4 (NH4)2SO4 -21%N NH3 +H3PO4 Ammonium Phosphates -11-21%N +CO2 Urea -45%N +NH4NO3, Urea & H2O Nitrogen Solutions -27-53%N +H2O Aqua Ammonia -20%N
3.ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปอนุพันธ์ของแอมโมเนีย3.ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปอนุพันธ์ของแอมโมเนีย • 1.ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต • 2.ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต • 3.ปุ๋ยยูเรีย • 4.ปุ๋ยแอมโมเนียมตลอไรด์ • 5.ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต • 6.ปุ๋ยแคลเซียมแอมโมเนียมไนเตรต • 7.ปุ๋ยแคลเซียมไซยานามิก • 8.ปุ๋ยน้ำในรูปสารละลายไนโตรเจนและอควาร์แอมโมเนีย • 9.ปุ๋ยไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอย่างช้าๆ
ปุ๋ยฟอสฟอรัส- Phosphorus Fertilizer • ปุ๋ย P ทุกชนิดจะบอกในรูป P2O5ซึ่งนิยมมากกว่าการบอกในรูป total-P นอกจากนี้ในการรับประกันปริมาณ P ในปุ๋ยก็นิยมใช้เปอร์เซ็น P2O5เป็นเกณฑ์ในการวัด • P2O5 มีหลายรูปเช่น water soluble P2O5 , citrate soluble P2O5 , citrate insoluble P2O5 , Available P2O5 and total P2O5 • พืชจะใช้ ฟอสเฟต ในรูป monophosphate and Diphosphate > triphosphate
ชนิดของปุ๋ยฟอสเฟต • 1.เบสิกสแลก (Basic slag) • 2.กระดูกป่น (Bone meal)-B.P.L • 3.หินฟอสเฟต (Rock phosphate) • 4.ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต
5.ปุ๋ยแคลเซียมฟอสเฟต • 6.ปุ๋ยแอมโมเนียม ซุปเปอร์ฟอสเฟต • 7.กรดฟอสฟอรัส • 8.กรดซุปเปอร์ฟอสฟอรัส
ปุ๋ยโพแทสเซียม • วัตถุดิบที่นำมาผลิตได้มาจากแร่โพแทสเซียมชนิดต่างๆที่มีความสามารถในการละลายน้ำต่างกัน เช่น แร่ที่มี KCl เป็นองค์ประกอบหลัก แร่ที่ละลายน้ำได้น้อย , แร่ที่ไม่ละลายน้ำ แร่เฟลสปาร์, แร่ไมกา โดยคิดเอา ปริมาณ K ในรูป %K2O • สินแร่เหล่านี้มักจะมีเกลือชนิดอื่นเจือปนอยู่ เช่น NaCl , MgCl2และเกลือ ของ Al ซึ่งการจะนำสินแร่เหล่านี้มาทำปุ๋ยโพแทสเซียมต้องนำมาแยกแยกเอาเกลือ KCl ในรูปที่บริสุทธิ์เสียก่อน เพราะอาจทำให้เกิดพิษของเกลือชนิดอื่นต่อพืชได้
ประเภทปุ๋ยโพแทสเซียมที่นิยม 6 ชนิด • 1. ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) ปุ๋ยชนิดนี้จะมีปริมาณ %K2O นอกจากนี้จะให้ Cl ด้วยแต่พืชมักจะใช้ในปริมาณที่ไม่มาก และอาจจะมีผลต่อผลิตพืชบางชนิดเช่น ยาสูบและ มันฝรั่ง แต่พืชบางชนิดจะชอบเช่น มะเขือเทศ ผักกาดหัว • 2.ปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟต (K2SO4) จะมีปริมาณ %K2O 48-50 ได้มาจากแร่ K2SO4.2MgSO4 + KCl หรือ การ นำ KCl+ H2SO4แล้วตกผลึกได้ K2SO4และมีราคาแพงกว่า KCl
3.ปุ๋ย Sulfate of potash-magnesia ปุ๋ยชนิดนี้มีปริมาณ K2O 22-23% และมี MgO 18-19% • 4. ปุ๋ย Manure Salt ปุ๋ยชนิดนี้มีองค์ประกอบที่เรียกว่า crude potassium salt ที่มี K2O 25-30% และมี NaCl ปะปนอยู่ในปริมาณมาก • 5.ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรต Potassium nitrate ปุ๋ยนี้จะมีไนโตเจน 13% และ K2O 46% • 6.ปุ๋ยโพแทสเซียมเมตาฟอสเฟต-Potassium metaphosphate เป็นปุ๋ยที่มีปริมาณ P2O5 55% และ K2O 35-36%
ปุ๋ยผสม-Mixed Fertilizer • ปุ๋ยผสมธาตุอาหารครบ-complete fertilizer ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักครบ 3 ตัว ปุ๋ยผสมตัวนี้จะนิยมกว้างขวางเช่นสูตร 15-15-15, 13-13-21 และ 12-24-12 • ปุ๋ยผสมธาตุอาหารไม่ครบ-incomplete fertilizer ปุ๋ยผสมที่มีธาตุอาหารไม่ครบ 3 ตัวและเกิดจากแม่ปุ๋ย 2 ชนิดมาผสมกัน โดยแม่ปุ๋ยมีธาตุต่างชนิดกันเช่น KNO3 หรือ ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต ( 18-46-0)
ปุ๋ยอินทรีย์-organic Fertilizer • 1.ปุ๋ยคอก -ชนิดของสัตว์จะทำให้ได้ปริมาณธาตุอาหารแตกต่างกัน เช่นปริมาณ N, P, K หรือ จุลธาตุ • 2.ปุ๋ยหมัก -ชนิดของเศษอินทรีย์สารที่นำมาหมัก และระยะเวลาในการหมักปุ๋ย • 3.ปุ๋ยพืชสด - พืชสดที่ปลูกในพื้นที่แล้วทำการไถกลบลงไปในดิน โดยปริมาณธาตุอาหารขึ้นอยู่กับชนิดพืชเช่นพืชตระกูลถั่ว
หลักการใช้ปุ๋ยเคมี • 1.ใช้ชนิดปุ๋ยที่ถูกต้อง • 2.ใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ • 3.ใส่ให้กับพืชในระยะที่เหมาะสม • 4.ใส่ให้พืชโดยวิธีการที่ถูกต้องเพื่อพืชจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด
วิธีการใส่ปุ๋ยแบบต่างๆวิธีการใส่ปุ๋ยแบบต่างๆ • 1.การใส่แบบหว่าน-broadcasting • 2.การใส่แบบเฉพาะจุดหรือเป็นแถบ-localized placement • 3.การใส่แบบฉีดพ่นให้กับพืชโดยตรงทางใบ- foliar application • 4.การใส่ปุ๋ยในระบบชลประธาน-fertigation
สภาพที่เหมาะสมบางประการต่อการเลือกใช้วิธีการใส่ปุ๋ยแบบต่างๆสภาพที่เหมาะสมบางประการต่อการเลือกใช้วิธีการใส่ปุ๋ยแบบต่างๆ • 1.การใส่แบบหว่าน -ลักษณะของพืชที่ปลูกแบบหว่านหรือไม่เป็นแถว -พืชมีระบบรากฝอยมากเช่นหญ้า -เมื่อดินมีระดับธาตุอาหารเพียงพอและต้องการชดเชยส่วนที่หายไป -ปุ๋ยมีราคาถูกและต้องใช้ในปริมาณมากๆ -เป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำได้น้อย เช่น หินฟอสเฟต และเบสิกสเล๊ก -เหมาะกับดินเนื้อหยาบ เช่นดินทราย ดินร่วนปนทราย
2.การใส่แบบเฉพาะจุด หรือเป็นแถบ • เหมาะสมสำหรับปุ๋ยเคมีที่มีการเคลื่อนย้ายในดินน้อย เช่นฟอสเฟต • เหมาะกับพืชที่ปลูกเป็นแถวเป็นแนว • เมื่อใส่ปุ๋ยฟอสเฟตและโพแทสเซียมที่ละลายน้ำง่าย • เมื่อพืชมีระบบรากจำกัดหรือไม่แพร่กระจายทั่วไปในดินชั้นบน • เมื่อดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
3.การใส่ปุ๋ยทางใบ • เมื่อพืชแสดงอาการขาดและการใส่ปุ๋ยทางดินช้าเกินไป • เมื่อการเกิดอาการขาดธาตุอาหารเสริมและปัญหาการตรึงธาตุอาหารในดิน • เป็นการต้องการธาตุอาหารเสริมในปริมาณเพียงเล็กน้อย • เมื่อจำเป็นต้องฉีดยาป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชสามารถทำในเวลาเดียวกัน • เมื่อต้องการเสริมปริมาณธาตุอาหารจากการใส่ทางดิน
ข้าว • -ไนโตนเจน ตอบสนองดีที่สุด • -ระยะเวลาการใส่ปุ๋ย และ ฤดูกาล • -วิธีการใส่ ลึกลงไป 10 ซม. ปุ๋ยเม็ดที่ผ่านการเคลือบ • -ฟอสฟอรัส ช่วยในการแตกกอ ถ้ามีมากกว่า 15 ppm ก็น่าจะเพียงพอ • -โพแทสเซียมช่วยในการต้านทานโรคและส่งเสริมการแตกกอได้ดี • 50-75 ppm
ข้าวโพด+ข้าวฟ่าง • N,P,K กินมาก และ sensitive กับ Mg and Zn สูง • N-120 kgN/H, P-15 ppm, K 70-80 ppm, Mg-1.2-1.5 me/100g Zn >2 ppm • ปุ๋ยที่ใช้ 15-15-15, 13-13-21 • การเก็บตัวอย่างใบเพื่อตรวจสอบควรเก็บในช่วง 30-35 วันนับจากยอด • ข้าวฟ่างจะทนเกลือ และตอบสนองกับธาตุ Fe • ผลผลิตข้าวโพด 400 kg/rai ข้าวฟ่าง 300 kg/rai
อ้อย • ต้องการ N สูง 120 kg/H , P-20-30 ppm , K 80-100 ppm • ผลข้างเคียงของ lime เช่น Ca, Si, Mg เช่น Basic slag • ปุ๋ยที่ใช้ 15-15-15, 13-13-21, 12-12-17-2, 12-8-24 • การใส่ปุ๋ย K ทุกๆ 10 ppm ที่เพิ่มขึ้น จะเท่ากับ 4.5 kg K2O/rai
ถั่วเหลือง • N 3-5 kg/rai ดินทราย >5 kg/rai • P 15 ppm and K 40-50 ppm • Liming ทนกรดไม่ค่อยได้ ต้องยกระดับ pH ให้เหมาะสม • Sensitive Mg (0.8 meq/100 g) and S เพราะ %โปรตีน และน้ำมันน้อย • สายพันธ์ที่มีเมล็ดใหญ่จะกิน B มากสูง > 2 ppm • Mo ~ 2.5-5.0gm Mo/rai
ถั่วลิสง • N ~5 kg/rai • P 15 ppm and K 40-50 ppm • ข้อจำกัดจะทนกรดได้ดีกว่าถั่วเหลือง แต่ต้องการ Ca มากกว่าถั่วเหลืองมักจะใส่ปูนในรูป CaSO4.5H2O ~ 20 kg • ตอบสนองต่อ Mg ( 0.8 me/100g) and S เพราะ %โปรตีน และน้ำมันน้อย • ต้องการ B มาก เพราะจะก่อให้เกิด hallo heart • ปุ๋ยสูตรเสมอ หรือ 3-9-9
ยาสูบ • N- ขึ้นกับฤดูกาล เรียกตามชนิดยาสูบที่ได้ เช่น ยาฝน 5.0-5.6 ยาดอ 7.2 ยานา 7.2-7.8 ยารอฝน 5.0-5.6 • ปุ๋ยที่นิยม 6-18-24-4-0.5 or Nitro-magnesia (20-0-0-8) เลี่ยงการใช้ Cl ซึ่งจะทำให้ใบอมน้ำ และได้ใบสีน้ำตาลแดง อบแล้วคุณภาพไม่ดี • P มีผลต่อ ความมันวาว ถ้าดินมี 15-20 ppm ถ้าขาดจะได้สีน้ำตาลอมเขียว • K มีผลต่อ ความยืดหยุ่น กลิ่น และความสามารถในการติดไฟถ้าขาด ถ้าพบในดินมี 60-70 ppm ก็พอ ต้องระวังไม่ให้มีส่วนประกอบของ KCl 2%
ส้มเขียวหวาน • ปุ๋ยอินทรีย์ 10-20 กก./ต้น/ปี • ปูนโดโลไมท์และยิมซัมอัตราส่วน 1:1 จำนวน 2-3 กก/ต้น/1-2ปี • ตรวจสอบ P 150-200 ppm • K 60-90 ppm • ฉีดพ่นธาตุอาหารเสริมเพิ่มเติมโดยเฉพาะ Zn และ B • จัดการด้านความชื้นและการให้น้ำโดยใช้วัสดุคุลมดิน