700 likes | 968 Views
ดอกไม้เซรามิกอายุหลายร้อยปี ที่วัดอรุณ กทม. ภาพโดย : Tavee Netisingha. 4.Marketing Mix การพัฒนาส่วนประสมการตลาด. Marketing Mix. ส่วนประสมการตลาด. เตาเผาทรงพระพิฆเนศวร์ บ้านผีดุ หน้าสารพัดช่าง ชม. 4.Marketing Mix การพัฒนาส่วนประสมการตลาด. หลัก 4 P : Product ,Price ,Place ,Promotion
E N D
ดอกไม้เซรามิกอายุหลายร้อยปีที่วัดอรุณ กทม.ภาพโดย : Tavee Netisingha 4.Marketing Mixการพัฒนาส่วนประสมการตลาด Marketing Mix ส่วนประสมการตลาด เตาเผาทรงพระพิฆเนศวร์บ้านผีดุ หน้าสารพัดช่าง ชม.
4.Marketing Mixการพัฒนาส่วนประสมการตลาด หลัก 4 P : Product ,Price ,Place ,Promotion • กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product) คือ การวิเคราะห์ ตัดสินใจและจัดการเกี่ยวกับสินค้าและบริการ • กลยุทธ์ราคา (Price) คือ การตัดสินใจในการกำหนดราคาสินค้าที่ลูกค้ายอมรับและทำให้บริษัทมีกำไร • กลยุทธ์การจัดจำหน่าย (Place) คือ การตัดสินใจเลือกช่องทางในการกระจายสินค้าถึงลูกค้าและอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า • กลยุทธ์การสื่อสารและการส่งเสริมการตลาด(Promotion) คือ การสื่อสาร ติดต่อให้ลูกค้าทราบข้อมูลข่าวสารทางการตลาดของบริษัท เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนส่งเสริมการขายด้วยการลด แลก แจก แถม หรือใช้พนักงานช่วยขาย Kulachatr C. Na Ayudhya
P : Product Strategy • กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ : เซรามิก • ผลิตภัณฑ์ คือ สิ่งที่ถูกนำเสนอแก่ตลาดเพื่อสร้างความสนใจ เพื่อใช้ในการบริโภคและเป็นกรรมสิทธิ์ สามารถสนองความจำเป็น ความต้องการ และกำลังซื้อได้ อาจเป็น วัตถุ บริการ กิจกรรม บุคคล สถานที่ องค์กรหรือความคิด • ผลิตภัณฑ์ เป็นรูปแบบสำคัญหรือสัญลักษณ์ที่ช่วยแยกแยะมนุษย์ในสังคมออกจากกัน และแสดงบทบาทที่แตกต่างกัน • ประเภทของผลิตภัณฑ์ • ผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสได้ (Tangible Products) เช่น นาฬิกา ตู้เย็น เสื้อผ้า เครื่องประดับตกแต่ง • ผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสไม่ได้ (Intangible Products) เช่น การบริการ การประกันภัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Kulachatr C. Na Ayudhya
องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ Core Core • Core Product (ผลิตภัณฑ์หลัก) ประโยชน์หลักที่ผู้บริโภคได้รับจากผลิตภัณฑ์ • Actual Product (ส่วนประกอบที่รับรู้ได้ของผลิตภัณฑ์) เช่น ชื่อผลิตภัณฑ์ ตราสินค้า หีบห่อ รูปร่าง คุณภาพ • Augmented Product (ผลิตภัณฑ์ควบ) คือส่วนที่ผู้บริโภคได้รับนอกเหนือไปจากผลิตภัณฑ์ เช่น การบริการหลังขาย การรับประกันสินค้า การติดตั้งฟรี การขนส่ง เป็นต้น Core Actual Product Augmented Product Kulachatr C. Na Ayudhya
อ่างล้างหน้า แนว Terra Cotta ตราKULACOTTA(นามสมมติ) ระบุคุณสมบัติพิเศษ : มาตรฐาน TIS ขนาด diameter 24 inches ผลิตภัณฑ์หลัก คือ กระเบื้องผนังเคลือบเซรามิก ขนาด 4x4 นิ้ว ผลิตภัณฑ์ที่เหนือความคาดหวัง คือ ติดตั้งฟรี 100 ตร.ม. Kulachatr C. Na Ayudhya
ตราสินค้า ผู้ประกอบการใหม่ควรสร้างภาพพจน์ในตราสินค้า (Brand Image) ให้เป็นสมบัติของกิจการ ตราสินค้าประกอบด้วย • ชื่อตราสินค้า (Brand Name) : อ่านออกเสียงได้ • สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้า (Brand Mark or Trade Mark) • มองเห็นได้ แต่อ่านออกเสียงไม่ได้ รวมกันเรียกว่า : ตราสินค้าหรือยี่ห้อสินค้า (Brand) คุณค่าของตราสินค้า (Brand Equity) คือการที่ตราสินค้าของกิจการมีความหมายเชิงบวกในสายตาลูกค้า • ลูกค้ารู้จักตราสินค้า : ทำให้ลูกค้าเรียก อ้างสินค้าได้ง่ายขึ้น • ลูกค้ามีความรู้เกี่ยวกับตราสินค้านั้น : ลูกค้ามั่นใจในการใช้และบอกต่อได้ลูกค้ารู้สึกคุ้นเคย มีความรู้สึกที่ดี ต่อตราสินค้าอย่างมั่นคง • ลูกค้าจะจดจำตราสินค้านั้นได้ด้วยคุณลักษณะที่ไม่ซ้ำแบบใคร • ลูกค้าจะเข้าใจในหลักประกันสำหรับสินค้า เช่นการรับประกันหรือการรับรองมาตรฐาน Kulachatr C. Na Ayudhya
ตราสินค้าและโลโก้ กลุ่มของตราสินค้าประกอบด้วย Brand Nameและ Brand Mark กลุ่มของตราสินค้าที่มีแต่ Brand Mark เรียกอีกอย่างว่า LOGO Kulachatr C. Na Ayudhya
Products Concepts www.king-collection.com Kulachatr C. Na Ayudhya K-Narongsak Phajaroen
Products Concepts www.baanceladon.com Kulachatr C. Na Ayudhya K-Tasanee Yaja
Products / Brand Concepts • เริ่มต้นจากการผลักดันชื่อ แบรนด์ "ชะเลียง" ทั้งในและนอกประเทศ อย่างเต็มที่ เพราะกิจการลักษณะ Made to Orderเป็นกิจการที่ตีบตันในอัตราเร่ง • คุณประณีตจับงานด้านการตลาดเต็มตัว นอกจากเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยพอทเทอรี่ฯ แล้วยังได้ปัดฝุ่น บริษัท ซี.อาร์.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่จดทะเบียนนานแล้วมารับผิดชอบการตลาดแบรนด์ของตัวเอง • ลงทุนก่อสร้างโชว์รูมแห่งแรกด้านหน้าโรงงานติดถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่-ลำปาง และวางคอนเซ็ปต์ สินค้า เป็น Home Style Store เริ่มเปิดในปี 2540 Brand & Ceramic Home Style Concepts อ้างอิงคุณปราณีต เชิดจีราวัฒนานันท์ Kulachatr C. Na Ayudhya
Product Concept / Brand Concept / International Brand Kulachatr C. Na Ayudhya
“DoiDinDang” Contemporary Pottery Art ChiangRai: อ. สมลักษณ์ พันติบุญ Kulachatr C. Na Ayudhya
เกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับ Ceramic • “เซรามิกส์” (Ceramics)เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า “การเผา” (to burn) • ตรงกับภาษากรีกว่า “เครามอส” (Keramos) แปลว่า “สิ่งที่เผาแล้ว” (burn stuff) • ตรงกับภาษาเยอรมันว่า “เครามิกส์” (Keramik) • ฝรั่งเศสเรียกว่า เซรามิกส์ (Ceramiquc) • อิตาเลียนเรียกว่า “เซรามิกส์” (Cearmics) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เซรามิกส์หมายถึง การนำเอาอนินทรียสารที่เป็นอโลหะ ซึ่งได้แก่ สารจำพวกแร่ ดิน และหินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตโดยผ่านกระบวนการผลิตที่ใช้ความร้อนสูงเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความแข็งแรงสามารถนำไปใช้ได้ Kulachatr C. Na Ayudhya
“ดินน้ำลม ไฟ” Production of Ceramics น้ำ ลมและไฟ ดิน RM Preparing Raw Material Molding / Shaping Body Firing800 C “Earth Wind &Fire” “ดินน้ำลมไฟ” S.E.A.Lอรินทราชย์ USA Finish Product Glaze Firing1,250 C Painting/ Glazing Kulachatr C. Na Ayudhya
Product Strategies of Ceramic ประเภทของเซรามิกส์ (Kind of Ceramic) 1. เซรามิกส์ประเภทเครื่องเคลือบดินเผา (Pottery)อาทิ ชุดอาหาร (Table ware) เครื่องครัว (Kitchen ware) เครื่องสุขภัณฑ์ (Sanitary ware) เครื่องใช้ในห้องปฏิบัติการ (Chemical porcelain) และฟันปลอม (Dental porcelain) เครื่องประดับตกแต่ง (Art ware) ได้แก่ แจกัน รูปปั้น เข็มกลัด ตุ้มหู และกำไล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ • 1.1 Earthen ware • 1.2 Stoneware • 1.3 Porcelain ware • 1.3.1 Soft Porcelain ; Silica>alumina • 1.3.2 Hard Porcelain ; Silica<alumina • 1.3.3 Bone China : with bone ash Kulachatr C. Na Ayudhya
Pottery ; earthenware , Terra cotta Kulachatr C. Na Ayudhya
Stoneware Kulachatr C. Na Ayudhya
Porcelain Kulachatr C. Na Ayudhya
Sanitary Ware& Tile Kulachatr C. Na Ayudhya
Product Strategies of Ceramic ประเภทของเซรามิกส์ (Kinds of Ceramic) 2. เซรามิกส์ ประเภทเครื่องแก้ว (Glasses)เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำ จากอนินทรียสารคือ ทรายแก้ว นำไปเผาให้หลอมตัวรวมกัน แล้วปล่อยให้เย็นตัวจนกระทั่งแข็ง โดยไม่มีการตกผลึก มีทั้งชนิดโปร่งใส (Transparent) โปร่งแสง (Translucent) และทึบแสง (Opaque) แก้วใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้มากมาย ได้แก่ 2.1 Glass for science 2.2 Fluorescent 2.3 Glass for construction 2.4 Safety or Bullet proof glass 2.5 Glass Fibers 2.6 Art Glass 2.7 Household Glass 2.8 Electronic Glass Kulachatr C. Na Ayudhya
Product Strategies of Ceramic ประเภทของเซรามิกส์ (Kinds of Ceramic) 3. ซีเมนต์ ปูนขาว และปูนพลาสเตอร์3.1 ซีเมนต์ เป็นวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้าง ส่วนประกอบที่สำคัญในการผลิตซีเมนต์ได้แก่ แคลเซียม (Calcium) ซิลิกา (Silica) อะลูมินา (Alumina) เหล็กออกไซด์ (Ferric oxide) และดินมาล (Marl) การผลิตซีเมนต์ทำได้โดยผสมวัตถุดิบดังกล่าวตามสัดส่วนและเผาให้ถึงจุดหลอมเริ่มต้น (Incipient fusion) เพื่อให้มีความหนาแน่นสูง ที่อุณหภูมิประมาณ 1,300 องศาเซลเซียส จะได้เม็ดปูน(Clinker) แล้วใช้ลมเป่าให้เย็น จากนั้นนำไปบดผสมกับยิปซั่มประมาณ 2-3 % ก็จะได้ ซีเมนต์ตามต้องการ3.2 ปูนขาว ได้จากการเผาแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate) ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น หินปูน (Lime Stone) นำไปเผาที่อุณหภูมิประมาณ 895 องศาเซลเซียส ก็จะได้ปูนขาว 3.3 พลาสเตอร์ (Plasters)เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นผงละเอียด สีขาว สามารถดูดซับน้ำได้ดี ได้จากการเผาไล่น้ำ (Calcine) แร่ยิปซัม (Gypsum rock) หรือเกลือจืดที่อุณหภูมิ 120-180 องศาเซลเซียส แล้วนำไปบดให้ละเอียด พลาสเตอร์เป็นวัสดุที่สำคัญในการทำต้นแบบ และทำแบบพิมพ์สำหรับการทำอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา Kulachatr C. Na Ayudhya
Product Strategies of Ceramic ประเภทของเซรามิกส์ (Kinds of Ceramic) 4. ผลิตภัณฑ์ประเภทโลหะเคลือบ (Enamel)เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะและเคลือบด้วยสารเคลือบโดยผ่านการเผาที่อุณหภูมิประมาณ 300-900 องศาเซลเซียส ใช้ทำภาชนะเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่งมากมายหลายชนิด อาทิ ถ้วยชาม จาน ปิ่นโต และเข็มกลัด เป็นต้น ภาชนะเหล่านี้สามารถทนต่อกรด ด่าง และความร้อนได้ดี 5. ผลิตภัณฑ์ประเภทวัสดุขัดถู (Abrasives)เป็นวัสดุที่มีความแข็งพอที่จะใช้ขัดถูให้วัสดุอีกชนิดหนึ่งสึกกร่อนได้ ได้แก่ กระดาษทราย และเครื่องมือขัดต่างๆ ทำจากวัสดุธรรมชาติ อาทิ ทราย (Sand) และหินจำพวกหินเขี้ยวหนุมาน (Quartz) คอรันดัม (Corundum) และเพชร (Diamond) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีประเภทที่สังเคราะห์ขึ้น ได้แก่ ซิลิกอน คาร์ไบด์ (Silicon Carbide) ฟิวส์อะลูมินา (Alumina Alumina) และเพชรสังเคราะห์ (aunthetic diamond)เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดนี้มีเทคนิคการผลิตที่แตกต่างกันในเรื่องของเครื่องมือเครื่องจักร และวัตถุดิบ แต่ทุกชนิดจะต้องผ่านกระบวนการเผาที่อุณหภูมิสูงเหมือนกัน Kulachatr C. Na Ayudhya
Product Strategies of Ceramic ประเภทของเซรามิกส์ (Kinds of Ceramic) 6. ผลิตภัณฑ์ประเภทวัตถุทนไฟ (Refractories)เป็นวัตถุที่สามารถทนความร้อนได้ไม่ต่ำกว่า 1,500องศาเซลเซียส โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเสียรูป มีความแข็งแกร่ง ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์สำคัญในการทำเตาเผา แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ 6.1 วัตถุทนไฟที่มีสมบัติเป็นกรด (Acid refractory) วัตถุทนไฟชนิดนี้สามารถรับน้ำหนักได้ดี และทนอุณหภูมิได้ถึง 1,650 องศาเซลเซียส ไม่มีการหดตัว ขยายตัวที่อุณหภูมิสูง ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างกระทันหัน ตั้งแต่ 600 องศาเซลเซียส ถึงจุดหลอมละลายและทนต่อตะกรันชนิดกรดอีกด้วย จึงนิยมใช้ทำเตาหลอมแก้ว 6.2 วัตถุทนไฟที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง (Basic refractory) ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมโลหะต่างๆ เช่น เตาถลุงตะกั่ว และเตาถลุงดีบุก เป็นต้น 6.3 วัตถุทนไฟที่มีสมบัติเป็นกลาง (Neutral refractory) ส่วนมากใช้เฉพาะจุดสำคัญๆ ของเตาเผา เพราะมีราคาแพงมาก ใช้ทำเตาถลุงโลหะทุกชนิด เช่น ทองแดง นิกเกิล และตะกั่ว เป็นต้น 6.4 อิฐทนไฟ (Insulating Bricks) หรืออิฐเบา มีอิฐที่เป็นฉนวนความร้อนได้ดี มีความพรุนตัวสูง และมีน้ำหนักเบา ใช้ทำเตาเผาเครื่องเคลือบดินเผา Kulachatr C. Na Ayudhya
Refractories Kulachatr C. Na Ayudhya
Product Strategies of Ceramic ประเภทของเซรามิกส์ (Kinds of Ceramic) 7. ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องฉนวน (Insulation)แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ7.1 เครื่องฉนวนไฟฟ้า (Electrical Insulator)คือวัสดุที่เป็นสื่อนำไฟฟ้าได้น้อยที่สุด หรือไม่ยอมให้พลังงานไฟฟ้าผ่านไปได้ใช้สำหรับป้องกันมิให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านถึงกันระหว่างตัวนำที่อยู่ใกล้กัน ได้แก่ ลูกถ้วย มุกประดับ สะพานไฟ และลูกถ้วยล้อ เป็นต้น7.2 เครื่องฉนวนความร้อน (Thermal Insulator)คือวัสดุที่เป็นสื่อนำความร้อนได้น้อยที่สุด หรือไม่ยอมให้ความร้อนผ่านไปได้ ใช้สำหรับบุด้านหลังของอิฐทนไฟในเตาเผา เพื่อป้องกันความร้อนผ่านออกนอกเตา และช่วยประหยัดเชื้อเพลิงในการเผาอีกด้วย 8. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในงานก่อสร้าง ได้แก่ อิฐมอญ (Common brick) อิฐปูพื้น (Paving brick) ท่อน้ำ (Sewer pipe) ท่อร้อยสาย (Conduits) กระเบื้องมุงหลังคา (Roofing Tile) และกระเบื้องปูพื้น (Floor Tile) ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ทำมาจากดินแต่บางชนิด อาทิ อิฐปูพื้น และท่อน้ำอาจทำมาจากดิน หรือซีเมนต์ได้เช่นกัน Kulachatr C. Na Ayudhya
Capacitor E-Insulator Thermal Insulator Water Filter Kulachatr C. Na Ayudhya
อิฐ กระเบื้อง ตกแต่ง Kulachatr C. Na Ayudhya
อิฐ กระเบื้อง ตกแต่ง Kulachatr C. Na Ayudhya ภาพจาก ภราดรอุตสาหกรรม
9. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในโครงการอวกาศและงานวิจัยวัสดุระดับสูง ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความแข็งแกร่งเป็นพิเศษ ทนต่อกรดด่าง ทนต่อการเสียดสี และทนต่อความร้อนสูง ใช้ในส่วนท้ายของจรวดที่มีเปลวไฟร้อนแรงพ่นออกมา ซึ่งไม่มีโลหะใดจะสามารถทนความร้อนขนาดนั้นได้ และการนำนาโนเทคโนโลยีวัสดุ เข้ามาใช้กับงานเซรามิก เช่น สาร Abrasive ขัดรถระดับนาโน Product Strategies of Ceramic Kulachatr C. Na Ayudhya
Product Strategies of Ceramic Pottery Art Earthen ware Stone ware Porcelain wareBone ChinaDental Porcelain Glass Dressing Cement/Plaster Decoration Enamel Household Abrasive Science/Health อิฐมอญ(Common brick) อิฐปูพื้น(Paving brick) กระเบื้องมุงหลังคา(Roofing Tile) กระเบื้องปูพื้น(Floor Tile) Refractory Insulator Construction Construction Hi-tech Kulachatr C. Na Ayudhya
Art Souvenir Decoration Household Science/Health Construction Kulachatr C. Na Ayudhya
กลยุทธ์ราคา การตั้งราคาสินค้าเป็นปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดส่วนเดียวที่ก่อให้เกิดรายได้และกำไรสิ่งที่เกี่ยวข้องกับราคาที่พบเห็นเสมอ คือ • การตั้งราคาสินค้า ขายปลีก / ขายส่ง • การตั้งราคาจากต้นทุนบวกกำไร • การตั้งราคาด้วยจุดคุ้มทุน • การตั้งราคาตามความพอใจของลูกค้า • การตั้งราคาเชิงกลยุทธ์ (เน้นตั้งราคาเพื่อการแข่งขัน) • ส่วนลด ; ส่วนลดปริมาณ ส่วนลดเงินสด • ส่วนลดคนกลาง (Trade Discount) • ระยะเวลาในการชำระเงิน (Credit Term) • การตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา • การตั้งราคาเพื่อการส่งเสริมการขาย เช่น ราคาช่วงเทศกาลพิเศษ รายการนาทีทอง ราคาสมาชิก Kulachatr C. Na Ayudhya
กลยุทธ์การจัดจำหน่าย ผู้ผลิต ลูกค้า 1 Level • Channel of Distribution ใช้พนักงานขายตรง เหมาะสำหรับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น ceramic art ผู้ผลิต 2 Level ลูกค้า ผู้ค้าปลีก ขายผ่านห้างสรรพสินค้า ต้องการกระจายตัวสูง สินค้ามีมูลค่าสูง กลุ่มเป้าหมายมีกำลังซื้อและรสนิยมสูง ผู้ผลิต ลูกค้า 3 Level ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก เซรามิกที่ต้องขายผ่านร้านค้าปลีกจำนวนมาก ที่มีการกระจายตัวทั่วไป ผู้ผลิตไม่สามารถเข้าถึงได้ ต้องอาศัยพ่อค้าส่งในการกระจายสู่ภูมิภาคต่างๆ Kulachatr C. Na Ayudhya
กลยุทธ์การจัดจำหน่าย ผู้ผลิต ลูกค้า 4 Level ตัวแทนขาย ผู้ค้าปลีก • Channel of Distribution ผู้ผลิตไม่สามารถขายเองได้ เพราะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากตัวแทน เช่นการส่งสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศ ต้องอาศัย Trader หรือขายเซรามิกเข้าพื้นที่ที่ผู้ผลิตไม่ชำนาญลูกค้าในพื้นที่ ผู้ผลิต 5 Level ลูกค้า ตัวแทน ขาย ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ผู้ผลิตไม่สามารถจำหน่ายเองได้ ต้องอาศัยตัวแทนขายที่มีความเชี่ยวชาญในพื้นที่ และลูกค้ามีจำนวนมาก กระจายตัวสูง ผู้ผลิตไม่มีทุนในการจำหน่ายด้วยตนเอง และขาดประสบการณ์ ในช่องทางการจัดจำหน่าย เช่น เซรามิกกลุ่มก่อสร้าง Kulachatr C. Na Ayudhya
Marketing Channel ช่องทางการจำหน่ายและกระจายสินค้า จะวางขายที่ไหน? (ช่องทางการกระจายสินค้า) เส้นทางที่เซรามิกจะถูกเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตผ่านคนกลางไปยังผู้บริโภค ผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้า ผู้จัดจำหน่าย ผู้บริโภค ตัวแทนจำหน่าย , Modern Trade เปิดหน้าร้านขายเอง ขายผ่าน Web , Catalog แล้วส่งด้วยไปรษณีย์ (EMS) ออกงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศเพื่อพบปะ Trader Kulachatr C. Na Ayudhya
ช่องทางการกระจายสินค้าช่องทางการกระจายสินค้า • Supported (ผู้สนับสนุน) • Government Exhibition • Department of Export Promotion (DEP) • BIG+BIH , • Department of Industrial Promotion (DIP) • Department of Internal Trade (DIT) • การรวมกลุ่มกันทางอุตสาหกรรม การรวมกลุ่มกันขาย รวมกลุ่มกันซื้อ (สหกรณ์) หรือการจัดทำ Cluster • การจัดกิจกรรมทางการตลาดในหน่วยงานราชการระดับเล็กและเอกชน เช่น การจัดกิจกรรมสินค้าชุมชนของ อบต. หรือการจัดงาน EXPO ของกลุ่มต่างๆ • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเซรามิกของไทย • ศูนย์ทรัพยากรเซรามิกส์ ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • สมาคมเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดลำปาง , ฯลฯ Kulachatr C. Na Ayudhya
http://www.thaitradefair.com Kulachatr C. Na Ayudhya
http://www.thaitradefair.com/fairin/big08/ Kulachatr C. Na Ayudhya
http://www.thaitradefair.com/fairin/bigoct08/ Kulachatr C. Na Ayudhya
www.thaitradefair.com/fairin/big08/ appointment .asp Kulachatr C. Na Ayudhya
http://www.thaitradefair.com/fairin/mit08/ Kulachatr C. Na Ayudhya
สมาคมเซรามิกส์ไทย Kulachatr C. Na Ayudhya