490 likes | 776 Views
วิชา SSC 290 สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา การบรรยายครั้งที่ 8 หัวข้อ นโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย. สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย 1. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ► ระบบและกลไกลการบริหารงานไม่เอื้อและไม่เหมาะสมต่อการดำเนินงาน
E N D
วิชา SSC 290 สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา การบรรยายครั้งที่ 8 หัวข้อ นโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย 1. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ► ระบบและกลไกลการบริหารงานไม่เอื้อและไม่เหมาะสมต่อการดำเนินงาน ● องค์กรในการบริหารจัดการ : กระจายตามกระทรวงต่างๆเกิดความซับซ้อน ไม่ชัดเจน ขัดแย้งและขาดประสิทธิภาพในการประสานงาน ● กฎหมาย : การบังคับใช้ยังไม่มีประสิทธิภาพ และมีลักษณะต่างคนต่างทำงานตามนโยบายของตนมีการแสวงหาผลประโยชน์จากช่องว่างของกฎหมาย
► ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่เป็นเรื่องสำคัญในกระบวนการทางการเมือง ► มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ► ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการนำเรื่องสิ่งแวดล้อมมาเป็นเงื่อนไขการกีดกันทางการค้า ► การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมยังไม่มีประสิทธิภาพ ► ระบบการศึกษาไม่เอื้อต่อการสร้างความรับผิดชอบต่อสาธารณะและการมีส่วนร่วม
2. ทรัพยากรธรรมชาติ ► ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน ● การใช้ที่ดินไม่ตรงตามสมรรถนะ ● การใช้ที่ดินโดยขาดการบำรุงรักษา ● ความเสื่อมโทรมของดิน ● การแพร่กระจายของดินเค็ม ► ทรัพยากรป่าไม้ ● การลดลงของพื้นที่ป่าไม้เนื่องจากการบุกรุกทำลาย
► ทรัพยากรน้ำ● การบริหารจัดการเป็นแบบแยกส่วน ● ปัญหาน้ำท่วมและการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ● ขาดกติกา/กลไกลในการจัดสรรน้ำไปใช้ ● เกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำ ● การใช้น้ำบาดาลเกินสมดุลธรรมชาติ ► ทรัพยากรแร่● การใช้ประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อม ● ความขัดแย้งระหว่างการพัฒนาทรัพยากรแร่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรอื่นๆ ● พื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแล้ว ไม่ได้รับการฟื้นฟู
► ทรัพยากรพลังงาน● ข้อจำกัดในการเพิ่มกำลังผลิต ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ● การได้มาซึ่งพลังงานขาดการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ● การใช้พลังงานฟุ่มเฟือยและขาดความระมัดระวัง ● ขาดประสิทธิภาพในการกำจัดมลพิษ ► ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ● ความเสื่อมโทรมของป่าชายเลน และทรัพยากรชายฝั่ง ● การใช้ทรัพยากรประมงเกินศักยภาพของแหล่งธรรมชาติ ► ความหลากหลายทางชีวภาพ ● การใช้ประโยชน์อย่างไม่ยั่งยืน ● มีการทำลายและเปลี่ยนแปลงสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย
3. สิ่งแวดล้อมมนุษย์ • การขยายตัวของคนเมืองเป็นไปตามยถากรรม • เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมชุมชนทั้งในชนบทและเมือง • การพัฒนาการท่องเที่ยวไม่สอดคล้องกับการอนุรักษ์และศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว • แหล่งศิลปะ วัฒนธรรม โบราณคดี และสิ่งแวดล้อมโดยรอบเสื่อมโทรม
4. ภาวะมลพิษ ► มลพิษทางน้ำ ● คุณภาพของแหล่งน้ำเสื่อมโทรม เช่น แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ► มลพิษทางอากาศ ● ปริมาณฝุ่นละอองลดลงเล็กน้อย เนื่องจากการดำเนินมาตราการ ต่างๆ และการถดถอยของภาวะเศรษฐกิจ ● ปริมาณความเข้มข้นของโอโซนสูงขึ้น ● สารตะกั่วลดลง เพราะการลดสารตะกั่วในน้ำมันเบนซิน ● การเผาหญ้า เผาป่า หมอกควัน ส่งผลต่อการจราจรและสุขภาพ
► ขยะมูลฝอย ● การจัดเก็บมีประสิทธิภาพมากขึ้น ● การกำจัดขยะยังขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากขาดงบประมาณ บุคลากร ● การหาสถานที่กำจัดขยะมักได้รับการต่อต้านจากคนในพื้นที่ ► มลพิษจากสารอันตราย ● ปริมาณการใช้สารเคมีสูงขึ้น และขาดการควบคุมที่ดี ► มลพิษจากของเสียอันตราย ● ปริมาณการเกิดของเสียอันตรายเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ● สถานที่รับกำจัดของเสียอันตรายยังมีไม่เพียงพอ ● มีการลักลอบทิ้งสารอันตรายอย่างต่อเนื่อง
นโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยนโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ●รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ● นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2540-2559 ● แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2549 ในส่วนของยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ● แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม (พ.ศ.2545-2549)
นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 1.สิทธิในการอนุรักษ์และมีส่วนร่วมในการจัดการ บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 46
มาตรา 46 ► บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อม มีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟู จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมี ส่วนร่วมในการจัดการการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและ ยั่งยืน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
2. สิทธิที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการบำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และการรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 56 มาตรา 56 ► สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุง รักษาและได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลาย ทางชีวภาพและในการคุ้มครองส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงอยู่ได้อย่างปกติ และต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ก่อให้ เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
3. สิทธิที่จะได้รับข้อมูล คำชี้แจ้ง และเหตุผลจากหน่วยราชการก่อนดำเนินโครงการที่มีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 59 มาตรา 59 ► บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจ้ง และเหตุผลจาก หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนอนุญาต หรือดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตหรือส่วนได้เสียสำคัญ อื่นที่เกี่ยวกับตนเองหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็น ของตนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ตามกระบวนการรับความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ
4. หน้าที่ของบุคคลในการป้องกันประเทศ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสาน ศิลป วัฒนธรรม และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 69 มาตรา 69 ► บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับราชการศึกษาอบรม พิทักษ์ปกป้อง และ สืบสานศิลปะวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
5. การกำหนดให้รัฐ ต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตลอดจนควบคุมและกำจัดภาวะมลพิษ ตามมาตรา 79
มาตรา 79 ► รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวนบำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล รวมทั้งมีส่วนร่วมในการส่งเสริมบำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการ การพัฒนาที่ ยั่งยืน ตลอดจนควบคุมกำจัดภาวะมลพิษ ที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยสวัสดิภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน
นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2540-2559 • ประกอบด้วยนโยบายหลัก 6 ประการดังนี้ • นโยบายทรัพยากรธรรมชาติ • นโยบายลดมลพิษ • นโยบายแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม • นโยบายสิ่งแวดล้อมชุมชน • นโยบายการศึกษาและประชาสัมพันธ์เพื่อสิ่งแวดล้อม • นโยบายเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม
1. นโยบายทรัพยากรธรรมชาติ ●เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ ลดปัญหาความขัดแย้ง และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรม ● เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการ โดยการกระจายอำนาจ และเสริมสร้างพลังความร่วมมือ ● สนับสนุนการใช้หลักการทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม
● ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อสนับสนุนการบริหารและการจัดการ การรองรับสิทธิและหน้าที่การเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ ● สนับสนุนการศึกษาวิจัย และเสริมสร้างโครงข่ายพื้นฐานระบบข้อมูล ● ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกและจิตวิญญาณด้านการอนุรักษ์
2. นโยบายลดมลพิษ ● ลดและควบคุมปัญหามลพิษเพื่อคุณภาพชีวิต ฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน ● สนับสนุนให้มีการจัดการของเสียและสารอันตรายอย่างเป็นระบบ ● พัฒนาระบบการบริหารและการจัดการให้เกิด เอกภาพ
3.นโยบายแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม3.นโยบายแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม ป้องกัน สงวนรักษา อนุรักษ์ และฟื้นฟูแหล่งธรรมชาติ และแหล่งศิลปกรรมให้มีศักยภาพที่เหมาะสมเป็นมรดกทางธรรมชาติ และวัฒนธรรมของประเทศ 4. นโยบายสิ่งแวดล้อมชุมชน เป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่สีเขียวเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสอดคล้องกับระบบนิเวศทางธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี
5. นโยบายการศึกษาและประชาสัมพันธ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างสมรรถนะของชุมชนในทุกระดับให้มีความเข้มแข็งและ เกิดขบวนการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อม อย่างมีประสิทธิภาพ 6. นโยบายเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
นโยบายรัฐบาล • บริหารและจัดการสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพแบบบูรณาการ • ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน ในการควบคุมและกำจัดภาวะมลพิษ • สนับสนุนให้นำต้นทุนทางสังคมมาพิจารณาในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีดความ สามารถของไทย • กำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ โดยคำนึงถึง ความเหมาะสมและสอดคล้องกับระดับของการพัฒนา • สร้างมาตรการในการควบคุมการนำเข้าของสารเคมี สารพิษ และวัตถุอันตราย
แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมพ.ศ. 2545 - 2549 • ประกอบด้วยยุทธศาสตร์หลักรวม 4 ยุทธศาสตร์คือ • ยุทธศาสตร์ที่ 1: การบริหารจัดการ • ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ • ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมนุษย์ • ยุทธศาสตร์ที่ 4: การป้องกันและแก้ไขภาวะมลพิษ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การบริหารจัดการ ประกอบด้วย 8 กลยุทธ์ คือ 1. ผลักดันเรื่องสิ่งแวดล้อมในกระบวนการทางการเมือง 2. ดำเนินการให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด 3. สร้างระบบและกลไกการกระจายอำนาจที่เหมาะสม 4. ประสานนโยบายระดับชาติและนานาชาติ
5. เพิ่มประสิทธิภาพด้านการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 6. ใช้กลไกการศึกษาของชาติทุกระดับเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจของประชาชน 7. พัฒนาศักยภาพด้านสิ่งแวดล้อมของพลเมืองเพื่อการผลิตและ การบริโภคที่ไม่ทำลายสมดุลของระบบนิเวศ 8. ปรับโครงสร้างองค์กรให้มีการตรวจสอบและการถ่วงดุลอำนาจ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ดังนี้ 1. อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนตามหลัก พื้นที่ -หน้าที่ - การมีส่วนร่วม 2. ฟื้นฟูและบูรณะทรัพยากรในเชิงระบบนิเวศ 3. เสริมสร้างประสิทธิภาพการประสานการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. เสริมสร้างจิตสำนึกในการมีส่วนร่วม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมนุษย์ ประกอบด้วยเรื่องหลัก 4 เรื่อง คือ ● เมืองใหญ่ ● เมืองและชุมชนทั่วไป ● แหล่งท่องเที่ยว ● แหล่งศิลปกรรม วัฒนธรรม และโบราณคดี
เมืองใหญ่ กลยุทธ์ คือ ● ปรับปรุงกลไกระบบบริหารจัดการ การพัฒนาภาคและเมือง และการบริหาร การผังเมือง โดยการให้มีส่วนร่วม เมืองและชุมชนทั่วไปกลยุทธ์ คือ ส่งเสริมการตั้งถิ่นฐานชุมชนขนาดเล็กที่มีเครือข่ายกิจกรรม ทางเศรษฐกิจ ไม่กระจุกตัวแต่สามารถใช้สาธารณูปโภคร่วมกัน
ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์คือ แหล่งท่องเที่ยว ● ให้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นนโยบายหลัก ในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ● พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยคำนึงถึงศักยภาพ ความสามารถในการรองรับของพื้นที่ ● สร้างศักยภาพการบริหารจัดการให้ท้องถิ่นและ ประชาคม
แหล่งศิลปกรรม วัฒนธรรม และโบราณคดี ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ คือ ● ปกป้อง คุ้มครอง และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรมตามหลักการอนุรักษ์ ● สร้างองค์ความรู้โอกาส และกระบวนการสืบทอดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรมและโบราณคดี
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การป้องกันและแก้ไขภาวะมลพิษ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์คือ 1. ปรับปรุงกฎหมายและเพิ่มประสิทธิภาพด้าน การปฏิบัติตามและการบังคับใช้กฎหมายด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมจากสังคม ควบคู่กับการใช้เครื่องมือ ทางเศรษฐศาสตร์
2. ฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการจัดการเทคโนโลยีเฉพาะด้าน และการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจและการผลิตที่สะอาด 3. การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการมลพิษให้สอดคล้อง กับมาตราฐานสากล 4. ปรับโครงสร้างองค์กรให้เอื้อต่อการประสานการจัดการและตรวจสอบมลพิษ
พรบ. ส่งเสริมละรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 กำหนดให้จังหวัด มีหน้าที่ในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของจังหวัด บทบาทหนึ่งคือให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัดซึ่งต้องมีคำขอจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดิน จึงให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมมี หน้าที่ในการรวบรวม และวิเคราะห์แผนปฏิบัติการ เพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด เพื่อเสนอขอตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้เพื่อการนี้โดยเฉพาะ และอุดหนุนให้จังหวัดต่อไป http://www.onep.go.th/provplan/index.html
ขอบเขตของแผนงานขอบเขตของแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ 4 เรื่องคือ1. คุณภาพน้ำ 2. คุณภาพอากาศเสีย3. กากของเสีย4. วัตถุอันตรายในการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าวรวมไปถึงการดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติในด้านต่าง ๆ ได้แก่- ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน- ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า- ทรัพยากรประมงและชายฝั่งทะเล- แหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม http://www.onep.go.th/provplan/index.html
การแบ่งกลุ่มโครงการ/แผนงานการพิจารณาแผนงาน/โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯ มี 4 กลุ่มโครงการ1. แผนงานสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก2. แผนงานเฝ้าระวังและป้องกัน3. แผนงานบำบัดและฟื้นฟู4. แผนงานศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติ http://www.onep.go.th/provplan/index.html
หน่วยดำเนินการหน่วยดำเนินการที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามแผนฯ ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ1. ส่วนราชการระดับจังหวัด อำเภอ ในสังกัดกระทรวงที่เกี่ยงข้อง ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม- กระทรวงมหาดไทย- กระทรวงสาธารณสุข- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - กระทรวงอุตสาหกรรม - กระทรวงศึกษาธิการ- กระทรวงคมนาคม2. หน่วยราชการส่วนท้องถิ่น- เทศบาล- องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)- สุขาภิบาล- องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) http://www.onep.go.th/provplan/index.html
กระบวนการของแผนปฏิบัติการฯ ระดับจังหวัดในกระบวนการของแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด มีขั้นตอนที่สำคัญ คือ • ขั้นตอนการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ • ขั้นตอนการปฏิบัติตามโครงการ • ขั้นตอนการติดตามประเมินผล
ขั้นตอนการจัดทำแผน 1. กระทรวงฯ มีหนังสือให้จังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมประจำปี2. คณะอนุกรรมการบริหารและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมจังหวัด กำหนดกรอบหรือแนวทางการ จัดการสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด3. คณะกรรมการพัฒนาจังหวัด พิจารณาให้ความเห็นชอบแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมพร้อมแจ้ง ให้ส่วนราชการระดับจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่นใช้เป็นแนวทาง การจัดทำแผนงาน/โครงการ4. ส่วนราชการในระดับจังหวัด อำเภอ ท้องถิ่นจัดทำแผนงาน/โครงการให้สอดคล้องกับ แนวทางที่กำหนด5. สำนักงานจังหวัด รวบรวมและส่งแผนงาน/โครงการ ให้คณะอนุกรรมการบริหารและจัดการคุณภาพ สิ่งแวดล้อม พิจารณากลั่นกรองเบื้องต้นเพื่อเสนอไปยังคณะกรรมการพัฒนาจังหวัด6. คณะกรรมการพัฒนาจังหวัดให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการฯ และส่งแผนดังกล่าวให้ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม7. กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงบประมาณ วิเคราะห์และ กลั่นกรอง แผนปฏิบัติการ เบื้องต้น เพื่อเสนอคณะอนุกรรมการกำกับการจัดทำ แผนปฏิบัติการฯ8. คณะอนุกรรมการกำกับการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ พิจารณากลั่นกรองและให้ ความเห็นเพื่อ เสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ9. คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการฯ10. สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม จะเสนอขอตั้งเป็นงบประมาณรายจ่าย ประจำปีของ สำนักงานฯ เพื่อสนับสนุนแผนปฏิบัติการฯ http://www.onep.go.th/provplan/index.html
ขั้นตอนการปฏิบัติตามโครงการ1. สผ. จะแจ้งแผนงาน/โครงการ/วงเงิน เมื่อ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่าย ผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎร2. จังหวัดจัดทำรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณ โดยเฉพาะโครงการที่มี รายละเอียดงบประมาณไม่เพียงพอ แจ้งกลับไปยัง สผ.3. สผ. ขออนุมัติวงเงินไปยังสำนักงบประมาณ4. สำนักงบประมาณอนุมัติงวดเงิน5. สผ. แจ้งงวดเงินไปยังจังหวัด6. จังหวัดแจ้งหน่วยดำเนินการ7. ส่วนราชการ/ราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ/ กิจกรรมที่ กำหนด8. สำนักงานจังหวัดจะเป็นผู้เบิกงบประมาณแทนกัน โดยหน่วยดำเนิน โครงการแต่ละ หน่วยจะเบิกผ่านสำนักงาน จังหวัด ซึ่งจะเบิกต่อสำนักคลังจังหวัดเป็นลำดับไป http://www.onep.go.th/provplan/index.html
ขั้นตอนการติดตามประเมินผล1. ระดับจังหวัด- หน่วยดำเนินการ รายงานแผนและผลการปฏิบัติงาน ปัญหา/อุปสรรค เมื่อได้ดำเนินการไปแล้วระยะหนึ่ง ตามแบบฟอร์มที่กำหนด เช่น แบบฟอร์มสผ. 1- จังหวัด ประมวลการรายงานผลของหน่วยดำเนินการ แจ้งต่อ สผ.2. ระดับชาติ- สผ. ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการโดยประมวลจากจังหวัด เพื่อประโยชน์ ในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ และ เพื่อรายงานการติดตาม การใช้จ่ายภาครัฐ http://www.onep.go.th/provplan/index.html
องค์ประกอบของแผนปฏิบัติการคุณภาพสิ่งแวดล้อมแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด มีองค์ประกอบ • ซึ่งสำคัญ ดังนี้ • สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของชาติ • วัตถุประสงค์ของแผนการ • เป้าหมายของแผน • แนวทางการแก้ไขปัญหา • แผนงานและโครงการ http://www.onep.go.th/provplan/index.html
1. สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของจังหวัดระบุปัญหาและสาเหตุของสิ่งแวดล้อมที่กำลังเผชิญอยู่ให้ชัดเจนในแต่ละประเภทโดยแสดง ข้อมูลสถิติตัวเลขประกอบ บรรยายสภาพปัญหา แนวโน้มของปัญหา ระบุผลการดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมทั้งระบุให้ทราบว่าสามารถจัดการกับปัญหาได้เพียงใด รวมทั้งอุปสรรคในการดำเนินการ 2. วัตถุประสงค์ของแผนกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของแผนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรให้ชัดเจน และสอดคล้องกับ สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของจังหวัด 3. เป้าหมายของแผนกำหนดเป้าหมายของการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ว่าจะสามารถดำเนินการ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม หรือลดปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่ได้มาตรฐาน และ ไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษแก่ชุมชน พร้อมทั้งกำหนดช่วงระยะเวลาที่ดำเนินการที่เหมาะสม 4. แนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมระบุแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด ไว้โดยเป็นแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งสามารถปฏิบัติได้รัฐ http://www.onep.go.th/provplan/index.html
4. แนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ระบุแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ โดยเป็นแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสามารถปฏิบัติได้รัฐ 5. แผนงานและโครงการแผนงานภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย 4 แผนงาน- แผนงานสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก- แผนงานเฝ้าระวังและป้องกัน- แผนงานบำบัดและฟื้นฟู- แผนงานศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติ http://www.onep.go.th/provplan/index.html
6. ลักษณะของแผนงานและโครงการ- แผนงานโครงการจะต้องสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรของจังหวัดและท้องถิ่น - ประชาชนและองค์กรเอกชนมีส่วนร่วม และเป็นประโยชน์โดยส่วนรวม - แผนงาน/โครงการ ควรมีการจัดการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง - แผนงาน/โครงการ ไม่ซ้ำซ้อน หรือได้รับงบประมาณจากแหล่งอื่น - สำหรับแผนงาน/โครงการ ด้านการจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดขยะมูลฝอย จะต้องดำเนินตาม ขั้นตอน คือ การศึกษาความเหมาะสมของโครงการ การจัดหา ที่ดิน การออกแบบรายละเอียดการก่อสร้าง และดำเนินการก่อสร้างตามลำดับ 7. การเสนอแผนงานและโครงการ - กำหนดชื่อโครงการให้สอดคล้องกับวิธีการแก้ปัญหา - กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ - กำหนดสถานที่ดำเนินการให้ชัดเจน รวมถึงการดำเนินการที่ครอบคลุม หลายพื้นที่ - กำหนดกิจกรรมและระยะเวลาดำเนินการ - กำหนดรายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับโครงการ - กำหนดที่มาของแหล่งงบประมาณ http://www.onep.go.th/provplan/index.html