630 likes | 1.35k Views
การจัดทำรายงานการเงิน เงินนอกงบประมาณ. การเบิกจ่ายเงินจากคลัง. องค์ประกอบของเงินแผ่นดิน เงินรายได้แผ่นดิน เงินงบประมาณรายจ่าย เงินนอกงบประมาณ. ความหมายของเงินนอกงบประมาณ. ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 ข้อ 4
E N D
การจัดทำรายงานการเงิน เงินนอกงบประมาณ
การเบิกจ่ายเงินจากคลังการเบิกจ่ายเงินจากคลัง องค์ประกอบของเงินแผ่นดิน • เงินรายได้แผ่นดิน • เงินงบประมาณรายจ่าย • เงินนอกงบประมาณ
ความหมายของเงินนอกงบประมาณ ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 ข้อ 4 เงินทั้งปวงที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการ นอกจาก • เงินงบประมาณรายจ่าย • เงินรายได้แผ่นดิน • เงินเบิกเกินส่งคืน • เงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืน
เงินนอกงบประมาณ นำฝาก รับเงินนอก งบประมาณ RP GL ลงบัญชี เก็บรักษา เอกสาร อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง RP GL ฝากคลัง ฝากธนาคาร
การจัดทำรายงานการรับและการใช้จ่ายเงิน ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2550 มาตรา 170 หนังสือ ตร. ที่ 0010.32/ว 34 ลง 8 เม.ย. 2554 หนังสือ ตร. ที่ 0010.32/ว 066 ลง 18 มิ.ย. 2555 หนังสือ สงป. ที่ 0010.323/3803 ลง 3 ก.ค. 2556
ความเป็นมา เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 170 กำหนดให้เงินรายได้ของหน่วยงานของรัฐที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ให้หน่วยงานนั้นทำรายงานการรับและ การใช้จ่ายเงินดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อสิ้นปีงบประมาณทุกปี และให้คณะรัฐมนตรีทำรายงานเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป โดยการใช้จ่ายเงินรายได้ดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังตามหมวดนี้ด้วย
หนังสือสั่งการ ตร. ที่เกี่ยวข้อง * หนังสือ ตร. ที่ 0010.32/ว 34 ลง 8 เม.ย. 2554 - ผู้มีหน้าที่จัดทำรายงาน - รูปแบบรายงาน - ระยะเวลาในการดำเนินการ จัดทำรายงานเป็นผลสะสมส่งเป็นรายไตรมาส * หนังสือ ตร. ที่ 0010.32/ว 066 ลง 18 มิ.ย. 2555 - วิธีการจัดทำรายงาน
หนังสือสั่งการ ตร. ที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) * หนังสือ ตร. ที่ 0010.323/3803 ลง 3 ก.ค. 2556 การจัดทำรายงานการเงินของเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินรายรับสถานศึกษา
ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 36 (เดิม) การเงินและบัญชี บทที่ 70/1 “ เงินรายได้สถานศึกษา” หมายความว่า บรรดารายได้ ผลประโยชน์ที่เกิดจากการจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุ ซึ่งได้ดำเนินการตามกฎหมายที่ราชพัสดุและเงินหรือผลประโยชน์อื่นที่สถานศึกษาได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ แต่ไม่รวมถึงเงินงบประมาณรายจ่าย
1.ผู้มีหน้าที่จัดทำรายงาน1.ผู้มีหน้าที่จัดทำรายงาน หน่วยงานที่มีเงินรายได้ที่ไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ดังนี้ 1. หน่วยงานที่มีทุนหมุนเวียนในการกำกับดูแล ตามนัยมาตรา 3 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 2. หน่วยงานที่มีเงินนอกงบประมาณไว้ในกำกับดูแล ตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ได้แก่
1. เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ 2. เงินบริจาค/เงินอุดหนุน 3. เงินรายรับสถานศึกษา 4. เงินรายรับสถานพยาบาล 5. เงินบูรณะทรัพย์สิน 6. เงินค่าใช้จ่ายเก็บภาษีท้องถิ่น 7. เงินรายได้จากการดำเนินงาน 8. เงินประกันสัญญา/เงินมัดจำ 9. เงินดอกเบี้ยกลางศาล/ค่าธรรมเนียมศาล/ค่าธรรมเนียม ในการบังคับคดี
10.เงินกู้ 11.เงินผลพลอยได้ 12.เงินเพื่อประโยชน์การศึกษา 13. เงินสินบนรางวัล 14. เงินฝากต่าง ๆ 15. เงินรับฝากเพื่อรอจัดสรร/ถอนคืน 16. เงินนอกงบประมาณตามวัตถุประสงค์อื่น
เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ (หมวด 100) หมายถึง เงินที่ได้รับจากรัฐบาลต่างประเทศ องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษฯ องค์การระหว่างประเทศ หรือบุคคลใด ไม่ว่าจะเป็นเงินกู้หรือเงินให้เปล่า
เงินบริจาค/เงินอุดหนุน (หมวด 200) หมายถึง เงินซึ่งมีผู้มอบให้ส่วนราชการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ส่วนราชการใช้จ่ายในกิจการของส่วนราชการนั้น หรือเป็นเงินที่เกิดจากทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้ เพื่อหาดอกผลใช้จ่ายในกิจการของส่วนราชการนั้น
เงินรายรับสถานศึกษา (หมวด 300) หมายถึง เงินทั้งปวงที่สถานศึกษาได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ เพื่อบำรุงการศึกษานอกเหนือจากเงินงบประมาณรายจ่าย
เงินรายรับสถานพยาบาล (หมวด 400) หมายถึง เงินทั้งปวงที่สถานบริการการสาธารณสุขได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ เนื่องจากการดำเนินงานในกิจการของสถานบริการการสาธารณสุขตามหน้าที่ นอกเหนือจากเงินงบประมาณรายจ่าย
เงินบูรณะทรัพย์สิน (หมวด 500) หมายถึง เงินที่ได้รับในลักษณะชดใช้ความเสียหาย หรือสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์สิน และจำเป็นต้องจ่ายเพื่อบูรณะทรัพย์สินหรือจัดให้ได้ทรัพย์สินคืนมา
เงินค่าใช้จ่ายเก็บภาษีท้องถิ่น (หมวด 600) หมายถึง เงินที่กรมจัดเก็บรายได้ คือ กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต และกรมสรรพากร ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยรายได้เทศบาล รายได้สุขาภิบาล พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยรายได้จังหวัด ประกาศคณะปฏิวัติว่าด้วยภาษีสุราและภาษีเครื่องดื่ม ฯลฯ (เงินที่กรมจัดเก็บรายได้ต่าง ๆ สามารถหักไว้ใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน)
เงินรายได้จากการดำเนินงาน (หมวด 700) หมายถึง เงินรายได้จากการดำเนินงานที่ส่วนราชการได้รับไว้และกฎหมายหรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายอนุญาต ให้ส่วนราชการนั้นสามารถเก็บไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามภารกิจของส่วนราชการนั้น ๆ เช่น เงินค่าธรรมเนียมการสอบแข่งขันบุคคลเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เงินค่าธรรมเนียมข่าวสารของทางราชการ เงินรายได้สถานีวิทยุ เป็นต้น
เงินประกันสัญญา/เงินมัดจำ (หมวด 800) หมายถึง เงินที่ส่วนราชการได้รับจากผู้ขายหรือ ผู้รับจ้างเมื่อทำสัญญาจ้างเพื่อเป็นการประกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือเป็นหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญากันแล้ว
เงินดอกเบี้ยกลางศาล/ค่าธรรมเนียมศาล/ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี (หมวด 900) หมายถึง ค่าธรรมเนียมความและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของหน่วยงานศาลยุติธรรมต่าง ๆ เงินดอกผลที่เกิดจากเงินกลางศาล ซึ่งมีเฉพาะกระทรวงยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรม
เงินกู้ (หมวด 1000) หมายถึง เงินที่ได้รับตามสัญญากู้หรือได้รับจากการออกพันธบัตรหรือตราสารอื่น และนำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ในการกู้นั้น
เงินผลพลอยได้ (หมวด 1200) หมายถึง เงินที่ได้รับเป็นผลพลอยได้จากภารกิจ/หน้าที่ตามระเบียบ/ข้อบังคับ/กฎหมายของส่วนราชการนั้น
เงินเพื่อประโยชน์การศึกษา (หมวด 1300) หมายถึง เงินซึ่งส่วนราชการได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ เกี่ยวกับการศึกษานอกเหนือจากเงินงบประมาณรายจ่าย (เช่น เงินที่ได้รับจากการให้บริการ/การดำเนินการต่าง ๆ เพื่อการศึกษา) ของกรมและส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ แต่ไม่รวมถึง หน่วยงานที่เป็นสถานศึกษา
เงินสินบนรางวัล (หมวด 1500) หมายถึง เงินตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจที่กำหนดในระเบียบนั้น
เงินฝากต่าง ๆ (หมวด 1700) หมายถึง เงินนอกงบประมาณประเภทต่าง ๆ ที่ส่วนราชการได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ และระเบียบ/ข้อบังคับของเงินเหล่านั้นไม่มีข้อกำหนดให้หน่วยงานต้องเปิดบัญชีเงินฝากแยกเป็นการเฉพาะ ส่วนราชการจึงนำมารวมไว้เป็นยอดเดียวกัน โดยมิได้แจกแจงประเภทเงินไว้อย่างชัดเจน
เงินรับฝากเพื่อรอจัดสรร/ถอนคืน (หมวด 1800) หมายถึง เงินที่ส่วนราชการรวบรวมเก็บรักษาไว้ เพื่อรอการจัดสรรไปส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามข้อบังคับ/ระเบียบของเงินนั้น เช่น เงินฝาก อบจ.ประเภทภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากรเพื่อรอจ่ายคืน
เงินนอกงบประมาณตามวัตถุประสงค์อื่น (หมวด 1900) หมายถึง เงินนอกงบประมาณที่ไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มประเภทที่กล่าวมาข้างต้น
ประเภทเงินนอกงบประมาณที่จัดทำรายงานแยกต่างหากประเภทเงินนอกงบประมาณที่จัดทำรายงานแยกต่างหาก 1 กองทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (รายได้จากการดำเนินงาน) 2 เงินกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไป นอกราชอาณาจักร (เงินบริจาค/เงินอุดหนุน)
2. รูปแบบรายงาน รูปแบบรายงานทั้ง 4 แบบ ได้แก่ 2.1.รายงานแสดงฐานะการเงิน 2.2.รายงานแสดงผลการดำเนินงาน 2.3.รายงานการรับ-จ่ายเงิน เป็นรายงานที่แสดงผลการรับและ การใช้จ่ายเงิน 2.4.รายงานการรับ-จ่ายเงินและเงินคงเหลือเป็นรายงานที่แสดงผลการรับและการใช้จ่ายเงินโดยใช้เกณฑ์เงินสด **
กรณีการจัดทำรายงานการรับ-จ่ายเงิน ตามข้อ 2.4 การจัดทำรายงานการรับ-จ่ายเงิน เป็นการแสดงยอดการรับ และการจ่ายเงินของรอบระยะเวลาบัญชี โดยเก็บยอดจากบัญชีแยกประเภทเงินสดในมือ เงินฝากธนาคาร เงินฝากคลัง
3. ระยะเวลาในการดำเนินการ จัดทำรายงานเป็นผลสะสมโดยส่งเป็นรายไตรมาส ดังนี้ 3.1 ไตรมาสที่ 1 ผลสะสมข้อมูลตั้งแต่ 1 ต.ค.-31 ธ.ค. ส่งข้อมูลภายในวันที่ 31 ม.ค. 3.2 ไตรมาสที่ 2 ผลสะสมข้อมูลตั้งแต่ 1 ต.ค.-31 มี.ค. ส่งข้อมูลภายในวันที่ 30 เม.ย. 3.3 ไตรมาสที่ 3 ผลสะสมข้อมูลตั้งแต่ 1 ต.ค.-30 มิ.ย. ส่งข้อมูลภายในวันที่ 31 ก.ค. 3.4 ไตรมาสที่ 4 ผลสะสมข้อมูลตั้งแต่ 1 ต.ค.-30 ก.ย. ส่งข้อมูลภายในวันที่ 31 ต.ค.
4. วิธีการจัดทำรายงาน (หนังสือ ตร. ที่ 0010.32/ว 066 ลง 18 มิ.ย.2555) 4.1 ข้อมูลประจำไตรมาสที่ 1-3 ให้หน่วยงานผู้เบิกรวบรวมข้อมูลเงินนอกงบประมาณแยกตามประเภทเงิน ส่งข้อมูลให้ กช.สงป. เป็นผลสะสมตามแบบ บ 170 4.2 ข้อมูลไตรมาสที่ 4 ดำเนินการ ดังนี้
4.2 รายงานประจำปีงบประมาณ (ประจำไตรมาสที่ 4 ) • เงินนอกงบประมาณฯ ประเภทที่ไม่มีการจัดทำงบการเงิน ให้ดำเนินการตามแบบ บ 170 เช่นเดียวกับไตรมาสที่ 1 – 3 • เงินนอกงบประมาณฯ ประเภทที่มีการจัดทำงบการเงิน ส่งข้อมูลดังนี้ - รายงานแสดงฐานะการเงิน - รายงานแสดงผลการดำเนินงาน - รายงานการรับ-จ่ายเงิน
4.2 รายงานประจำปีงบประมาณ (ประจำไตรมาสที่ 4 ) ต่อ • เงินนอกงบประมาณฯ ประเภทที่มีการจัดทำงบการเงิน - เงินรายรับสถานพยาบาล รพ.ตร. ดร.รพ.ตร. - เงินรายรับสถานศึกษา รร.นรต. ศฝร.ศชต.วพ.ตร. บก.ฝรก.บช.ศ. ศฝร.ภ.1-8 ศฝร.บชน. และ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน - กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา กง.สงป. จัดทำและนำส่งกรมบัญชีกลางโดยตรง
4.2 รายงานประจำปีงบประมาณ (ประจำไตรมาสที่ 4 ) • ให้หน่วยงานผู้เบิก เปรียบเทียบข้อมูลปีปัจจุบันกับปีก่อนทีละบรรทัด ยกเว้นในส่วนของรายละเอียดประกอบเรื่องเงินคงเหลือ หากพบว่ารายการใดมีผลต่างเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตั้งแต่ร้อยละ 20 ให้แจ้งสาเหตุการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว • หากเงินนอกงบประมาณใดมีผลการประเมินการดำเนินงานซึ่งอาจดำเนินการโดยบุคคลที่ 3 หรือบุคคลภายนอก ให้หน่วยงานผู้เบิกที่รับผิดชอบ ส่งผลประเมินดังกล่าวประกอบรายงาน เช่น กรณีทุนหมุนเวียนที่เข้าสู่ระบบประเมินผลจากกรมบัญชีกลางให้นำผลประเมินไปใช้ในรายงานด้วย
การคำนวณร้อยละของการเพิ่มขึ้น/ลดลง โดยมีวิธีการคำนวณ ดังนี้ “เพิ่มขึ้น/ลดลง ร้อยละ” = (จำนวนเงินของช่อง (ปีปัจจุบัน) - จำนวนเงินของช่อง (ปีก่อน) X100 จำนวนเงินของช่อง (ปีก่อน)
รายงานการรับและการใช้จ่ายเงินฯ เงินบูรณะทรัพย์สิน
การวิเคราะห์ เช่น เงินบูรณะทรัพย์สิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มียอดรายรับ ประเภทรายรับอื่นๆ จำนวน 5,000 บาท โดยลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 คิดเป็นร้อยละ 44.44 รายจ่ายจากการดำเนินงาน เป็นค่าจ้างเหมาทำความสะอาด จำนวนเงิน 3,000 บาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 คิดเป็นร้อยละ 50
การเรียกรายงาน เพื่อตรวจสอบบัญชีเงินฝากคลังที่หน่วยใช้งาน(เพื่อตรวจสอบบัญชีเงินฝากคลังที่หน่วยเปิดไว้) ใช้คำสั่งงาน ZGL_RPT015
ประเด็นนำเสนอ • ประโยชน์จากการยกเลิกการบันทึกบัญชีเกณฑ์คงค้างด้วยมือ (Manual) • หนังสือและแนวทางการปฏิบัติ • แบบฟอร์มการยกเลิกการบันทึกบัญชีเกณฑ์คงค้างฯ • ทะเบียนคุมการปฏิบัติงานด้านงบประมาณ การเงิน และบัญชี • ปัญหาอุปสรรค
การยกเลิกการบันทึกบัญชีตามเกณฑ์คงค้าง- หนังสือ สงป. ที่ 0010.323/5898 ลง 25 ก.ย.56-หนังสือ กรมบัญชีกลาง ที่ กค 0423.3/ว 384 ลง 18 ต.ค.56 - หนังสือ ตร.ด่วนที่สุด ที่ 0010.323/4728 ลง 5 พ.ย. 56 ให้ทุกหน่วยงานผู้เบิก จัดทำแบบฟอร์มการยืนยันข้อมูลรายการบัญชี ณ 30 ก.ย. 56 ส่งให้ กช.สงป.ภายในวันที่ 15 พ.ย. 56 เพื่อรวบรวมข้อมูลนำเรียน ตร. ก่อนขออนุมัติกรมบัญชีกลางยกเลิกฯ
1 . ดำเนินการบันทึกรายการและปรับปรุงข้อมูลงปม.2556 ในระบบ GFMIS ให้ครบถ้วนถูกต้อง ทุกรายการทุกบัญชี2. หากพบข้อผิดพลาดในปีงบประมาณก่อนและปีงบประมาณปัจจุบัน หน่วยงานต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง3. ดำเนินการปรับปรุงรายการทางบัญชี ณ สิ้นปีงบประมาณ - หน่วยงานผู้เบิกต้องดำเนินการตาม ข้อ 1-3 ให้ถูกต้องครบถ้วนก่อน จึงจะจัดทำแบบฟอร์มยืนยันข้อมูลฯ แนวทางการกรอกแบบฟอร์มการยืนยันข้อมูลฯ ณ 30 ก.ย.56
แบบฟอร์มแนบการยกเลิกการบันทึกบัญชีตามเกณฑ์คงค้างด้วยมือ(Manual)แบบฟอร์มแนบการยกเลิกการบันทึกบัญชีตามเกณฑ์คงค้างด้วยมือ(Manual)