1 / 16

การวิจัยในชั้นเรียน (แบบง่าย)

การวิจัยในชั้นเรียน (แบบง่าย). โดย นันทิพา กงวิไล. 1.ครูผู้สอนจะเริ่มต้นทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างไร.

gerek
Download Presentation

การวิจัยในชั้นเรียน (แบบง่าย)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวิจัยในชั้นเรียน (แบบง่าย) โดย นันทิพา กงวิไล

  2. 1.ครูผู้สอนจะเริ่มต้นทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างไร1.ครูผู้สอนจะเริ่มต้นทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างไร ครูผู้สอนควรสอนไปสังเกตไป ว่านักเรียนคนไหนมีจุดเด่น จุดด้อยตรงไหน ในชั้นเรียนมีกลุ่มเก่งกี่คน กลุ่มอ่อนกี่คน ใครบ้างที่เรียนอ่อน อ่อนในเรื่องอะไร หรือปัญหาการเรียนการสอนมีอะไรบ้างแล้วครูบันทึกไว้ในบันทึกหลังสอน เพื่อจะได้คิดหานวัตกรรมที่เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือ/พัฒนา นักเรียนเหล่านี้

  3. 2. ลักษณะของการวิจัยในชั้นเรียน 1. ครูยังคงทำงานตามปกติของตน 2.ไม่มีข้อมูลจำนวนมาก และไม่ต้องใช้สถิติหรือใช้เพียงสถิติพื้นฐาน 3.ใช้เวลาทำวิจัยไม่นาน ขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหาและจำนวนนักเรียน ที่ต้องแก้ไข 4.ไม่ต้องทบทวนงานวิจัย/วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 5. ความยาว 2 – 3 หน้า ต่อเรื่อง 6.ไม่ต้องสร้างเครื่องมือวิจัย/เป็นสิ่งที่ครูใช้ปกติ เช่น แผนการสอน แบบฝึกหัด แบบสังเกตพฤติกรรม เป็นต้น หรืออาจสร้างนวัตกรรมขึ้นใหม่ 7. นักเรียนได้รับการแก้ไขหรือพัฒนา 8.ไม่มีการระบุประชากร กลุ่มตัวอย่าง จะใช้คำว่า กลุ่มเป้าหมาย

  4. 3. ประเภทของการวิจัย 1. การวิจัยเชิงสำรวจ 2. การวิจัยหาความสัมพันธ์ 3. การวิจัยเชิงทดลอง 4. การวิจัยเปรียบเทียบ 5. การวิจัยและพัฒนา

  5. 1. การวิจัยเชิงสำรวจเช่น • - สำรวจว่านักเรียนแต่งกายไม่เรียบร้อยมีกี่คน ร้อยละเท่าไร • - สำรวจจำนวนนักเรียนทำผิดกฎระเบียบของโรงเรียน • - สำรวจเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ต่อวิชาสังคมศึกษา • - สำรวจปัญหาด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชา คณิตศาสตร์ • - สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรายการอาหาร ของโรงเรียน

  6. 2. การวิจัยหาความสัมพันธ์เช่น • นักเรียนกลุ่มเก่งกับกลุ่มอ่อนมีความสัมพันธ์กับ อาชีพผู้ปกครองหรือไม่ • ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ มีความสัมพันธ์ กับ วิชาภาษาไทยหรือไม่ • การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์กับ • การเรียนวิชาคณิตศาสตร์

  7. 3. การวิจัยเชิงทดลอง • เน้นการศึกษาผลอันเกิดจากการปฏิบัติ การใช้เครื่องมือ วิธีการ หรือการจัดกระทำ เช่น • - การให้รางวัล/การเสริมแรงที่มีผลต่อความตั้งใจในการเรียนของนักเรียน • - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษโดยการคัดสรรกลวิธีการสอน

  8. 4. การวิจัยเปรียบเทียบเช่น • - การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์วิชาสังคมศึกษา เรื่อง “การเลือกตั้ง” ระหว่างการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติ กับ การสอนแบบบรรยาย ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 • - การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การแก้โจทย์สมการโดย การสอนซ่อมเสริมด้วยแบบฝึกกับการสอนซ่อมเสริมปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

  9. 5. การวิจัยและพัฒนา • เน้นการศึกษาค้นคว้าเพื่อประดิษฐ์ พัฒนาสื่ออุปกรณ์ สร้างนวัตกรรมแล้วนำไปทดลองใช้เพื่อตรวจสอบผลการใช้ วิธีนี้ใช้กับนักเรียนกลุ่มเดียวไม่ต้องเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม คือ เมื่อครูคิดรูปแบบ/วิธีสอนแบบใหม่ก็นำไปใช้ได้เลย หรือพัฒนาสื่ออุปกรณ์มาใช้สอนก็นำไปสอนนักเรียนได้เลยจะสอนนักเรียน 1ห้อง หรือ 5 ห้องก็ได้ เช่น • - ผลการใช้ชุดกิจกรรมวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “สารชีวโมเลกุล” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 • - การศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกคณิตคิดเร็ว • - การใช้ชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง “การบวกลบเศษส่วน” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

  10. 4. ขั้นตอนของการทำวิจัยในชั้นเรียน ☻ ขั้นคิด กำหนดปัญหาและชื่อเรื่องวิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย (กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย) ☻ขั้นทำ เตรียมการ – สร้างเครื่องมือ ดำเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล ☻ขั้นเขียน เขียนรายงานการวิจัย

  11. 5. ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย • - แผนการสอน • - รูปแบบ / วิธีการเรียนการสอน • แบบบันทึกพฤติกรรม / แบบสังเกต / • แบบประเมินผลงาน • - แบบฝึก / แบบทดสอบ • - ชุดการเรียนการสอน • สื่อโปรแกรม power point / CAI เป็นต้น

  12. 6. สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล - ค่าเฉลี่ยเลขคณิต - ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D ) - ร้อยละ

  13. 7. การเขียนรายงานการวิจัย • ประกอบด้วย • 1. ชื่อเรื่อง • 2. ความสำคัญของปัญหา / สภาพปัญหา / สาเหตุ • 3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย • 4. วิธีดำเนินการวิจัย(ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และ การวิเคราะห์ข้อมูล ) • 5. สรุปผลการวิจัย

  14. 8. บทคัดย่อ

  15. บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง………………………............................................................... ชื่อครูผู้สอน............................................................................................ กลุ่มสาระการเรียนรู้............................................................................... ปีการศึกษา.............................................................................................. วัตถุประสงค์ของการวิจัย....................................................................... วิธีดำเนินการวิจัย ระบุกลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย.............................................................................................. หมายเหตุ บทคัดย่อควรมีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4

  16. ตัวอย่างบทคัดย่อ ชื่อเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการใช้แบบฝึกหัดเสริมทักษะ ชื่อครูผู้สอน นางอวยพร แสงหิรัญ กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2552 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย โดยการใช้แบบฝึกหัดเสริมทักษะ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้คะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบฝึกหัดเสริมทักษะ เรื่องความเท่ากันทุกประการ จำนวน 6 ชุด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อน-หลังเรียน โดยครูจัดการ-เรียน การสอนและฝึกให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดเสริมทักษะ จำนวน 6 คาบ หลังจากนั้นให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนแล้วนำคะแนนก่อน-หลังการใช้แบบฝึกหัดมาเปรียบเทียบกัน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.96 คะแนน

More Related