1 / 98

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 1 บทนำ. หัวข้อนี้จะเป็นการแนะนำเกี่ยวกับ Competency Management, Knowledge Management, Learning Organization. สมมติว่า ผมจะเปิดร้านอาหาร จะคนมาทำอาหารซักคนหนึ่ง. ข้อกำหนดคุณลักษณะของผู้ทำงาน (Job Specification) 1) จบการศึกษาระดับ ม . 6 หรือ สูงกว่า 2) ใช้เครื่องมือเป็น 3) …….

ghita
Download Presentation

บทที่ 1 บทนำ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1 บทนำ หัวข้อนี้จะเป็นการแนะนำเกี่ยวกับ Competency Management, Knowledge Management, Learning Organization

  2. สมมติว่า ผมจะเปิดร้านอาหาร จะคนมาทำอาหารซักคนหนึ่ง • ข้อกำหนดคุณลักษณะของผู้ทำงาน (Job Specification) • 1) จบการศึกษาระดับ ม.6 หรือ สูงกว่า • 2) ใช้เครื่องมือเป็น • 3) ……. • คำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) • 1) ทำต้มยำกุ้ง • 2) …………. • 3) …………

  3. รายละเอียดของสินค้าที่เราจะผลิตทั่ว ๆ ไป(Product’s Description) • ต้มยำ (Tom Yum)เป็นอาหารประเภทแกง เป็นอาหารคาวที่รับประทานกับข้าวสวย รับประทานกันทั่วทุกภาคในประเทศ เน้นรสชาดเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก จะออกเค็มและหวานเล็กน้อย • ชาวต่างชาติ จะรู้จักต้มยำในรูปของ “ต้มยำกุ้ง” มากกว่าต้มยำชนิดอื่นๆ โดยต้มยำจะใส่เนื้อสัตว์อะไรก็ได้ เช่น กุ้งหมูไก่ปลา หัวปลา หรือจะไม่ใส่เนื้อสัตว์เลยก็ได้ • ผักที่นิยมใส่มากที่สุดในต้มยำได้แก่ ใบมะกรูดตะไคร้ข่าพริก ผักอื่นๆที่นิยมใส่รองลงมาได้แก่ มะเขือเทศเห็ดหูหนูเห็ดฟางเห็ดนางฟ้าหัวปลีใบผักชี ส่วนเครื่องปรุงที่จำเป็นต้องใส่คือ มะนาวน้ำปลาน้ำตาลน้ำพริกเผา • การใส่นม หรือกะทิลงไปนั้น บางที่ก็นิยมใส่เพื่อให้รสชาติกลมกล่อมขึ้น มักจะเรียกว่า ต้มยำน้ำข้น • ต้มยำกุ้งนั้น นิยมใส่มันกุ้งลงไปเพื่อเพิ่มกลิ่นกุ้ง

  4. ชื่อสินค้าที่ต้องการให้ผลิต: ต้มยำกุ้งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต (Raw Material) • เครื่องปรุง • 1.กุ้ง • 2.เห็ด • 3.ตะไคร้ ใบมะกรูด • 4.พริกสด • 5.ผักชี • 6.ซีอิ๊วขาว น้ำปลา • 7.น้ำมะนาว • 8.น้ำพริกเผา

  5. เครื่องมือและสถานที่ที่ใช้ในการผลิตเครื่องมือและสถานที่ที่ใช้ในการผลิต

  6. สมมติว่า กระบวนการผลิต (Manufacturing Process) เป็นแบบนี้ • 1. นำกุ้งและเห็ดมาล้างให้สะอาด ปอกเปลือกกุ้ง ผ่าหลังเอาเส้นดำออก ส่วนเห็ดนำมาผ่าเป็น 4 ส่วน • 2. นำตะไคร้ ใบมะกรูด พริกสด และผักชีมาล้างน้ำให้สะอาด สะเด็ดน้ำแล้วหั่นตะไคร้เฉียงๆ ฉีกใบมะกรูดเอาเส้นกลางใบออก ทุบพริกแล้วหั่นเป็นท่อน ส่วนผักชีนำมาหั่นหยาบๆ • 3. เปิดเตาที่ไฟแรงปานกลาง นำน้ำซุปใส่หม้อ รอจนเดือดจึงใส่ตะไคร้และใบมะกรูดลงไป เคี่ยวไปประมาณ 5 นาที • 4. ใส่เห็ดและกุ้งลงไป รอจนเดือดประมาณ 2-3 นาทีจึงปิดเตา • 5. ปรุงรสด้วยเครื่องปรุงต่างๆ คือ ซีอิ้วขาว ( น้ำปลา ) น้ำมะนาว น้ำพริกเผา และพริกทุบ ชิมรสตามใจชอบ ใส่ผักชีโรยหน้า คนให้เข้ากัน • 6.ตักต้มยำกุ้ง แล้วยกเสิร์ฟ

  7. คุณว่า ผลลัพธ์ของสินค้าจะออกมาเป็นอย่างไร ? • ครั้งที่ 1อาจ “ดู” แล้วไม่ทราบว่าเป็นต้มยำกุ้งหรือไม่ • อืม… ยังไม่คล่อง จึงยังไม่มีทักษะ • ครั้งที่ 2อาจ “ดู” ดีขึ้น แต่ยังดูแล้วไม่น่ากิน • ……….. • ครั้งที่ 20อืม….รสชาดยังแปลก ๆ • อืม…แต่ทักษะในการทำครัว มันก็ดูคล่องแล้วนะ • ……… • ครั้งที่ 50มันยังไม่อร่อย • ความรู้ก็มี ความเข้าใจ(ในกระบวนการผลิต)ก็มี ทักษะความชำนาญก็มี….แล้ว... ?!? อ๊วก...อ็อก… ตายแน่ตู

  8. แต่ …. • พ่อครัวคนนี้ทำต้นยำกุ้งได้หรือไม่ ?!? • ได้ …..แสดงว่า เขา “สมารถทำงานได้” • แต่ …..เราต้องการแค่ต้มยำ หรือ ต้มยำที่น่ากิน รสชาดอร่อยถูกปาก ?!? อ๊วก...อ็อก… ตายแน่ตู โอเช…เลย เอาไป 7 ดาว คุณต้องการ ให้ลูกค้าชม ร้านคุณแบบใด

  9. เราดูกันที่ขีดความสามารถหรือสมรรถนะ (Competency) • ความหมายของ Competency คือ บุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในปัจเจกบุคคลซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้น สร้างผลปฏิบัติงานที่ดีหรือตามเกณฑ์ที่กำหนด ในงานที่ตนรับผิดชอบ” องค์ประกอบของ Competency เป็นดังนี้ Skill Skill Knowledge มองเห็นชัดเจน Self Concept ระดับน้ำ Trait, Motive Self-concept Trait Motive ซ่อนอยู่ในแต่ละบุคคล Attitudes, Values Knowledge ภูเขาน้ำแข็ง

  10. ข้อมูลความรู้ที่บุคคลมีในสาขาต่างๆข้อมูลความรู้ที่บุคคลมีในสาขาต่างๆ ความเชี่ยวชาญชำนาญพิเศษในด้านต่างๆ องค์ความรู้และทักษะต่างๆ ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับเอกลักษณ์ และคุณค่าของตน บทบาทที่แสดงออกต่อสังคม (social Role) บทบาทที่บุคคลแสดงออกต่อผู้อื่น ภาพลักษณ์ภายใน(Self Image) จินตนาการ แนวโน้มวิธีคิดวิธีปฏิบัติตนอันเป็นไปโดยธรรมชาติของบุคคล อุปนิสัย (Traits) ความเคยชินพฤติกรรมซ้ำๆในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แรงผลักดันเบื้องลึก ( Motive) โมเดลภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg Model

  11. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของบุคคล สมรรถนะ และผลงาน คุณลักษณะของบุคคล สมรรถนะ 1 องค์ความรู้และทักษะต่างๆ สมรรถนะ 2 ผลงาน 3 สมรรถนะ พฤติกรรมที่แสดง ให้เห็น ภาพลักษณ์ภายใน(Self Image) 4 สมรรถนะ อุปนิสัย (Traits) 5 มุ่งไปที่การทำงาน ตามที่กล่าวผ่านมาแล้ว แรงผลักดันเบื้องลึก ( Motive) สมรรถนะ

  12. Competency ก่อให้เกิด พฤติกรรม ผลงาน และผลลัพธ์ บุคคลมี Competency (ที่จำเป็นต่องานที่ทำ) มองแบบสหรัฐอเมริกา Competency ก่อให้เกิดพฤติกรรม (การกระทำและความคิด) พฤติกรรมก่อให้เกิดผลงาน (สินค้าและบริการ) เขาต้องมี Competency อะไรบ้าง และอยู่ในระดับใด จึงสามารถทำต้มยำกุ้งอร่อย กว่าคู่แข่ง ผลงานนั้นก่อให้เกิด ผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ ต้มยำกุ้งอร่อย “สิ่งที่เราต้องการคือ ดีกว่า เก่งกว่า คู่แข่ง”

  13. คำถามก็คือ • เราต้องมองย้อนกลับจากด้านท้ายไปหาต้นทาง ดังนั้น เราต้องสังเกตเอาจาก พฤติกรรมของเขา คุณลองบอกผมซิว่า ถ้าคุณไปยืนไปยืนดูพ่อครัวคนหนึ่งที่ทำต้มยำกุ้งอร่อย เขาควรมีพฤติกรรมแสดงออกมาให้คุณสังเกตได้อย่างไร (ว่าเขาทำต้มยำกุ้งได้อร่อย) • พฤติกรรมที่คุณมองเห็นนั่นแหละที่เราเรียกว่า Competency ซึ่งแปลว่า (ขีด)สมรรถนะ หรือ ความสามารถ ซึ่งแน่นอนว่า พ่อครัวของเราต้องมีหลายตัวประกอบกัน เช่น มีความรอบคอบ หลักอนามัย หลักการปรุงอาหาร หลักการเก็บรักษาถนอมอาหาร มีการสื่อสารที่ดี เป็นต้น

  14. องค์ประกอบของ Competency ในแต่ละเรื่อง • ความสามารถในการลงมือทำ ด้วยตนเอง ดูจาก • ความซับซ้อน • ความสม่ำเสมอ • ความหลากหลาย Skill • แบบแผนการแสดงออก (สไตล์/ลีลา) • ค่านิยม • แนวโน้มการแสดงออก • แรงจูงใจ Competency • ความสามารถในการอธิบายได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน • รู้ความหมาย • รู้ขั้นตอน • รู้ประยุกต์ใช้ Knowledge Attribute

  15. เอาละ … สมมติว่า • สมมติว่า Competency ตัวหนึ่ง คือ “ต้องมีความละเอียดรอบคอบ” • คำถามก็คือ คำว่า “ต้องมีความละเอียดรอบคอบ” นั้น ทุกคนแปลความหมายไปในทางเดียวกันหรือไม่ • ทางแก้ไขก็คือ ทำการให้นิยามให้ชัดเจน • แล้ว “ต้องมีความละเอียดรอบคอบ” นั้น มันมีระดับของการสังเกตมั๊ย เช่น คนนี้ไม่มีความละเอียดรอบคอบเลย คนนี้มีความละเอียดรอบคอบน้อย คนนี้มีความละเอียดรอบคอบปานกลาง คนนี้มีความละเอียดรอบคอบมาก คุณจะสังเกตอย่างไร ทำอย่างไรที่เวลาเราไปดู ไปสังเกตแล้ว จะใช้มาตรฐานเดียวกัน • ทางแก้ไขก็คือ เขียนออกมาให้ชัดเจนว่าแต่ละระดับนั้น เราจะมองเห็นอะไร

  16. ความละเอียดรอบคอบ (Attention to Detail) • ความหมาย (Definition) • การทำงานอย่างตั้งใจ ใส่ใจ ระมัดระวัง รู้จักป้องกันปัญหา แสวงหากระบวนการควบคุมเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า • พฤติกรรมหลัก (Key Behavior) • การจัดทำใบควบคุมหรือใบตรวจสอบงาน • การตรวจสอบความละเอียดในทุกขั้นตอน • ความถูกต้องของข้อมูลหรือเนื้องาน • การตรวจสอบย้อนกลับของข้อมูล • การตั้งข้อสงสัยกับข้อมูลที่ไม่ชัดเจน

  17. ระดับความเชี่ยวชาญ (Proficiency Level)

  18. ทำไมต้องมีหลายระดับ • ก็เพราะว่า แต่ละตำแหน่งงานต้องการความเชี่ยวชาญไม่เท่ากัน โดยทั่วไปเรามักแบ่งเป็น 4-5 ระดับ เช่น พ่อครัว ต้องมีความเชี่ยวชาญตั้งแต่ 1 – 4 (อยู่ในระดับใด ต้องเชี่ยวชาญระดับที่อยู่ต่ำกว่าด้วยเสมอ)

  19. Competency Dictionary • ถ้าเรานำ Competency ทุกตัวมาเขียนเอกสารดังที่แสดงไว้แล้ว จากนั้นนำมารวมเข้าด้วยกัน เราเรียกว่า Competency Dictionary

  20. การกำหนดสมรรถนะของบุคลากร มีอยู่ด้วยกัน 3 แนวทาง

  21. ใครจะช่วยปรับ Competency ของผมให้สูงขึ้นล่ะครับ • การเลื่อนตำแหน่งงานแต่ละระดับ เช่น ผู้ช่วยพ่อครัว ไปเป็นพ่อครัว จำเป็นต้องเพิ่มระดับความเชี่ยวชาญขึ้นไปด้วย • เราต้องสร้าง Competency Development Roadmap ขึ้นมา (หรือ สร้างคอร์ส ในการอบรมและพัฒนาขึ้นมานั่นเอง)

  22. องค์ประกอบของ Competency Development Roadmap ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ • ส่วนที่ 1ระดับความเชี่ยวชาญ (Proficiency Level: PL) เราพบว่า ขีดความสามารถที่เหมือนกันไม่จำเป็นที่ระดับความเชี่ยวชาญจะเหมือนกัน สำหรับการกำหนดระดับความเชี่ยวชาญมักจะแบ่งเป็น 4-5 ระดับ (ในการเรียนนี้ จะใช้ 5 ระดับ) ได้แก่

  23. ส่วนที่ 2รายละเอียดพฤติกรรม (Behavior Indicators: BI) หมายถึงพฤติกรรมการแสดงออกที่กำหนดขึ้นในแต่ละระดับความเชี่ยวชาญ ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้กำหนด BI มีรายละเอียดดังนี้ • พฤติกรรมบ่งชี้ต้องสามารถสังเกตเห็นได้ • พฤติกรรมบ่งชี้ต้องวัดและประเมินได้ • พฤติกรรมบ่งชี้ต้องตรวจสอบได้จากบุคคลอื่น ๆ • พฤติกรรมบ่งชี้ต้องเป็นสิ่งที่ผู้บังคับบัญชาคาดหวัง • พฤติกรรมบ่งชี้ต้องมีผลต่อความสำเร็จในการทำงาน

  24. ส่วนที่ 3 Trainingการฝึกอบรมในชั้นเรียน หมายถึงเครื่องมือการพัฒนาความสามารถของพนักงาน ด้วยการออกแบบหลักสูตรฝึกอบรมที่กำหนดขึ้นแตกต่างกันออกไปตามรายละเอียดพฤติกรรมที่คาดหวังในแต่ละระดับของขีดความสามารถ ทั้งนี้ลักษณะทั่วไปของการจัดฝึกอบรมในชั้นเรียน ได้แก่ • เกิดขึ้นภายในช่วงเวลาและสถานที่ที่จำกัด • ฝ่ายบุคคลเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดฝึกอบรม • ความรู้ที่เกิดขึ้นในผู้เรียนเป็นความรู้ระยะสั้น (Short Term Learning) • ความรู้จะอยู่ติดตัวผู้เรียนไม่มากนัก ประมาณ 1-2 สัปดาห์

  25. ส่วนที่ 4 Non-Trainingการพัฒนาที่นอกเหนือจากการฝึกอบรมในชั้นเรียนอันหมายถึงเครื่องมือการพัฒนาความสามารถของพนักงานนอกเหนือจากการฝึกอบรมในชั้นเรียน แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ • 1) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Learning)เป็นการพัฒนาความสามารถที่เน้นให้ผู้เรียนศึกษาจากตำรา หนังสือ CD VCD Tape ด้วยตนเอง สื่อข้างต้นจะต้องกำหนดชื่อเรื่องที่เกี่ยวข้อง พร้องทั้งชื่อผู้แต่งหรือผู้จัดทำเอาไว้ให้ชัดเจนและเรียงตามระดับพฤติกรรมที่คาดหวังในแต่ละ Competency • 2) เครื่องมือพัฒนาอื่น ๆ เป็นเครื่องมือการพัฒนาที่ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้รับผิดชอบเครื่องมือพัฒนานี้ พบว่า เครื่องมือพัฒนาอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการฝึกอบรมในห้องเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระยะยาว (Long Term Learning) เครื่องเหล่านี้ได้แก่

  26. 1) การฝึกอบรม (ให้แก่ผู้อื่น) 2) การสอนงาน 3) การฝึกอบรมในขณะทำงาน (OJT) 4) การมอบหมายโครงการให้ทำ 5) การเพิ่มปริมาณงาน 6) การเพิ่มคุณค่าในงาน 7) การเรียนรู้ด้วยตนเอง 8) การให้คำปรึกษาแนะนำ 9) การติดตาม/สังเกตผู้เชี่ยวชาย 10) การทำกิจกรรม 11) การประชุมกลุ่ม

  27. เพื่อให้ชัดเจนขึ้นมาอีกหน่อยเพื่อให้ชัดเจนขึ้นมาอีกหน่อย • คุณเป็นนักศึกษา ผมเป็นผู้สอน • เราลองมาดูเล่น ๆ กันก่อนว่า Competency ของคุณและของผม ควรจะเป็นอย่างไร

  28. ลองมาดูในแง่ของกระบวนการเรียนการสอนกันบ้างลองมาดูในแง่ของกระบวนการเรียนการสอนกันบ้าง ป้อนกลับ ความเข้าใจ ถ่ายทอด ผู้สอน วิธีการสอน ผู้เรียน รู้เรื่องที่เรียน เตรียมการสอน สังเกตนะ ผมเอากระบวนการ (Process) เป็นตัวตั้ง) เรื่องที่สอน

  29. กระบวนการเรียนการสอน (ดูที่ผู้สอนก่อน) มีมนุษย์สัมพันธ์ ป้อนกลับ ความเข้าใจ มีความคิดริเริ่ม กระตือรือร้น ถ่ายทอด ผู้สอน วิธีการสอน ผู้เรียน สื่อสารได้เข้าใจ รู้เรื่องที่เรียน เตรียมการสอน ละเอียดรอบคอบ เรื่องที่สอน รู้เรื่องที่สอน

  30. กระบวนการเรียนการสอน (ดูที่ผู้เรียน) มีการแก้ปัญหา ปรับปรุงวิธีการสอน มีการตัดสินใจ ป้อนกลับ ความเข้าใจ ร่วมมือกับผู้เรียน ถ่ายทอด ผู้สอน วิธีการสอน ผู้เรียน รู้เรื่องที่เรียน เตรียมการสอน เรื่องที่สอน

  31. กระบวนการเรียนการสอน มีการแก้ปัญหา มีมนุษย์สัมพันธ์ ปรับปรุงวิธีการสอน มีการตัดสินใจ ป้อนกลับ ความเข้าใจ มีความคิดริเริ่ม ร่วมมือกับผู้เรียน กระตือรือร้น ถ่ายทอด ผู้สอน วิธีการสอน ผู้เรียน สื่อสารได้เข้าใจ รู้เรื่องที่เรียน เตรียมการสอน ละเอียดรอบคอบ เรื่องที่สอน รู้เรื่องที่สอน

  32. Competency • 1.ความรู้เฉพาะสาขาอาชีพ (Technical Knowledge) • 2.การสื่อสาร (Communication) • 3.การให้ความร่วมมือ (Collaboration) • 4.การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) • 5.การตัดสินใจ (Decision Making) • 6.กระตือรือร้น (Energetic) • 7.ความคิดริเริ่ม (Initiative) • 8.มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) • 9.การแก้ปัญหา (Problem Solving) • 10.ความละเอียดรอบคอบ (Attention to Detail)

  33. 1.ความรู้เฉพาะสาขาอาชีพ (Technical Knowledge) • ความหมาย (Definition) • มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความชำนาญในสาขาวิชาชีพที่ตนทำงานจนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล • พฤติกรรมหลัก (Key Behavior) • ความสามารถในการเรียนรู้งานในตำแหน่งนั้นๆ • การเข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนและผลที่เกิดจากงานนั้นๆ • เข้าใจถึงข้อจำกัดและปัญหาของงานในตำแหน่งงาน • มีความรู้ในระดับที่สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ • การแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่างๆ

  34. ระดับความเชี่ยวชาญ (Proficiency Level)

  35. 2.การสื่อสาร (Communication) • ความหมาย (Definition) • ความสามารถในการสื่อสารให้ได้รับความเชื่อถือ ไว้วางใจ เชื่อใจ และเข้าใจได้อย่างถูกต้อง • พฤติกรรมหลัก (Key Behavior) • การวิเคราะห์ลักษณะของผู้รับสารเช่นเพศ วัย การศึกษา และความต้องการ • การใช้คำพูดและอากัปกิริยาประกอบคำพูด • การตรวจสอบความเข้าใจกับผู้อื่น • การเปิดโอกาสให้ซักถามและแสดงความคิดเห็น • ความต่อเนื่องและราบรื่นในการพูดและแสดงความคิดเห็น • การใช้ศัพท์ในการพูดให้เหมาะสม

  36. ระดับความเชี่ยวชาญ (Proficiency Level)

  37. ความรู้ ทักษะ ความชำนาญ พฤติกรรมที่แสดงออก พฤติกรรมที่แสดงออก ความชำนาญ เราต้องการพฤติกรรมตามที่กำหนด 1) เราต้องฝึกอบรม (ความรู้) อะไรบ้าง 2) เราต้องพัฒนา (ทักษะ) อะไรบ้าง 3) เราต้องสร้างสภาพแวดล้อมอะไร ให้เขาทำงาน เขาจึงจะเกิดความชำนาญ ทักษะ ความรู้

  38. Competency • 1.ความรู้เฉพาะสาขาอาชีพ (Technical Knowledge) • 2.การสื่อสาร (Communication) ยกเป็นตัวอย่างแค่ตัวเดียว • 3.การให้ความร่วมมือ (Collaboration) • 4.การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) • 5.การตัดสินใจ (Decision Making) • 6.กระตือรือร้น (Energetic) • 7.ความคิดริเริ่ม (Initiative) • 8.มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) • 9.การแก้ปัญหา (Problem Solving) • 10.ความละเอียดรอบคอบ (Attention to Detail)

  39. ตัวอย่าง การสื่อสาร

  40. จากตัวอย่างที่ผ่านมา จะเห็นว่า พอเรากำหนด Competency ขึ้นมา 1 ตัวแล้ว เราต้องกำหนดหัวข้อการอบรม (ให้ความรู้)และแนวทางการพัฒนา (ทักษะ) ที่สอดรับกับ Competency นั้น ๆ ขึ้นมาด้วย • การเรียนรู้ได้จาก ในห้องเรียน และ การศึกษาด้วยตนเอง (หนังสือและCD/VDO/Tape) • การพัฒนาคือการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เช่น ที่แสดงไว้ในหัวข้อเครื่องมืออื่น ๆ อันจะทำให้ทั้งได้ความรู้และเป็นการพัฒนาทักษะตนเองให้ดีขึ้น • จากนั้นก็กำหนดเวลาที่จะเปิดการอบรมทั้งปีขึ้นมา

  41. Expected Competencies

  42. จากนั้นก็เอาไปประเมิน …. ใครต่ำกว่าที่คาดหวังก็ส่งไปเข้าคอร์ส

  43. สังเกต … • เมื่อคุณอบรมแบบนี้จนครบถ้วน ความรู้ที่ได้มันจะอยู่แค่นั้น มันเป็นความรู้ที่พอเพียงที่จะทำงานได้สำเร็จ (หรือเก่งกว่าคนอื่น) เท่านั้น • ทำอย่างไร จึงจะเพิ่มองค์ความรู้ให้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ได้เปรียบองค์กรอื่น ๆ ความรู้ที่เราจะชนะคนอื่น ?!? ความรู้ที่พอเพียงที่จะทำงานได้สำเร็จ หรือ เก่งกว่าคนอื่น CM

  44. ขยาย Knowledge ออกไป Skill Competency Knowledge Attribute

  45. Leader in Market Position Mega Opportunity New + Current Competency KM Current Competency Current Market Position New Market New market Old market

  46. ดูต่อไปครับ …ขอให้นึกถึงห้องสมุด • ให้สมมติว่า องค์ความรู้ 1 เรื่องคือหนังสือ 1 เล่ม • ถ้าบริษัทที่ผมทำงานอยู่จะทำห้องสมุดขึ้นมา ผมเตรียมชั้นวางหนังสือไว้แล้ว • คำถามก็คือ เริ่มต้นนั้น อย่างน้อยห้องสมุดต้องมีหนังสือด้านใดบ้าง ?!? • ถ้าคุณใช้ Competency เป็นตัวกำหนด คุณจะรู้ทันทีว่า ในช่วงเริ่มต้นนั้นคุณต้องซื้อหนังสืออะไรมาใส่บ้าง

  47. เวลาผ่านไปคุณไม่หาหนังสือใหม่ ๆ เข้าห้องสมุดบ้างหรือ ? • เมื่อคุณมีความรู้ (Knowledge) แล้ว คุณเอาไปแบ่งปันให้เพื่อน จากนั้นคุณและเพื่อนก็นำประยุกต์ใช้งาน มันก็อาจเกิดองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา เพื่อน ๆ ทั้งหลายก็นำมาแบ่งปันกันอีก เอาไปประยุกต์ใช้อีก มันก็เพิ่มขึ้นอีก • ความรู้แบ่งเป็นสองแบบ คือ Explicit Knowledge (ความรู้ชัดแจ้ง เช่น เอกสาร ตำรา หนังสือ) กับ Tacit Knowledge (ความรู้แฝงเร้น เช่น ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์การทำงาน มันจะอยู่ในหัวของคุณ) • การแบ่งปันความรู้นั้น ถ้าเป็น Explicit มันง่าย แต่ถ้ามันเป็น Tacit แล้วมันยุ่ง เราให้เขาเขียนหนังสือแล้วนำเข้าไปเก็บไว้ในห้องสุมดได้ไหม คนอื่น ๆ จะได้มาอ่าน เมื่ออ่านแล้วจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

More Related