260 likes | 691 Views
นักปรัชญาการศึกษา. นำเสนอโดย นายโกศล เลิศล้ำ รหัส 47064820 สาขาเทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษา. นักปรัชญาการศึกษา. ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี. ประวัติ ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี. เกิดวันที่ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2459 ที่ จังหวัดภูเก็ต
E N D
นักปรัชญาการศึกษา นำเสนอโดย นายโกศล เลิศล้ำ รหัส 47064820 สาขาเทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษา
นักปรัชญาการศึกษา • ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
ประวัติ ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี • เกิดวันที่ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2459 ที่ จังหวัดภูเก็ต • ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นที่จังหวัดภูเก็ต • มัธยมศึกษาตอนปลายที่รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย • 2476-2478 โรงเรียนฝึกหัดครูประถมพระนคร • 2478 - 2481 อักษรศาสตร์บัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • 2482 ประกาศนียบัตรครูมัธยม (ป.ม.) • 2491 - 2492 M.A. จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา • 2492 - 2496 PH.D จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา • 2506 จบหลักสูตร ว.ป.อ. จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร • ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2536 รวมอายุ 77 ปี 1 เดือน 13 วัน
บทบาททางการศึกษาไทยของ ศ.ดร.สาโรช บัวศรี • เป็นผู้บุกเบิกในการยกมาตรฐานวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง คือให้เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี โท เอก • เป็นผู้บุกเบิกในการยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ได้รับการยกฐานะเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2496 และมี พ.ร.บ. เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2497) • เป็นราชบัณฑิตในสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ประเภทวิชา ปรัชญาราชบัณฑิตยสถาน • เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมการศึกษาประเทศไทย และเป็นนายกสมาคมคนแรก และเป็นนายกสมาคม 2 สมัยติดต่อกัน เพื่อสนับสนุนอาชีพครูและเผยแพร่แนวคิดทางการศึกษา • เป็นผู้นำการศึกษาแผนใหม่หรือการศึกษาแบบพิพัฒนาการ( Progressive Education) มาใช้ในวิทยาลัยวิชาการศึกษา และเป็นผู้คิดตรา และสีประจำวิทยาลัย ตามแนวคิดเชิงปรัชญาการศึกษาแบบพิพัฒนาการ คือ การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม
ข้อคิดเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวคิดของ ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี “ปรัชญาการศึกษาเป็นเพียงหน่อซึ่งแตกออกจากปรัชญาเท่านั้นเอง” หมายความว่า ครั้งแรกต้องมีปรัชญาเสียก่อน แล้วต่อมานักการศึกษาเลือกเอาหลักการบางประการจากปรัชญาอันเป็นแม่บทนั้นมาดัดแปลงร้อยกรองขึ้นเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาโดยเฉพาะ แล้วเรียกระบบแห่งความคิดที่สร้างขึ้นนั้นว่า ปรัชญาการศึกษา
ความหมายของการศึกษา • การศึกษาคือ การเจริญงอกงามที่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน เนื่องจากได้รับประสบการณ์ ที่เลือกเฟ้นให้แล้วเป็นอย่างดี หรือ คำจำกัดความของการศึกษาสั้น ๆ คือ “การศึกษาคือการงอกงาม” นั่นเอง การศึกษาคือการงอกงามเนื่องจากได้พัฒนาขันธ์ทั้ง 5 ของแต่ละบุคคลเพื่อลดอกุศลมูลให้เหลือน้อยที่สุด เท่าที่จะทำได้
ขันธ์ 5 • รูป ซึ่งตีความหมาย ได้ว่า ร่างกาย • เวทนา ซึ่งอาจตีความหมายได้ว่า คือ ความรู้สึก • สัญญา ซึ่งอาจตีความหมายได้ว่า คือ ความจำ • สังขาร ซึ่งอาจตีความหมายได้ว่า คือ ธรรมารมณ์ทั้งปวง เช่น ความคิดเรื่องสิ่งใดดีหรือไม่ ดี เจตคติ เป็นต้น ซึ่งรวมเรียกว่า ด้านจริยะ • วิญญาณ ซึ่งอาจตีความหมายได้ว่า ความรู้ อกุศลมูล • โลภะ (อยากได้) • โทสะ (คิดประทุษร้าย) • โมหะ (หลงไม่รู้ความจริง) การศึกษาคือการงอกงามเนื่องจากได้พัฒนาขันธ์ทั้ง 5 ของแต่ละบุคคลเพื่อลดอกุศลมูลให้เหลือน้อยที่สุด เท่าที่จะทำได้
ความมุ่งหมายของการศึกษาความมุ่งหมายของการศึกษา พิจารณาได้ดังนี้ • เกี่ยวกับผู้เรียนมุ่งพัฒนา รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้เป็นไปในทางที่ดี • เกี่ยวกับสังคม เนื่องจากทุกคนเป็นสมาชิกของสังคม ดังนั้นต้องมุ่งให้เป็นพลเมืองที่ดี รู้หน้าที่ รู้รักร่วมมือ แบ่งปัน และเป็นส่วนหนึ่งของสังคม • เกี่ยวความคิด ให้คิดเป็น เพื่อปัญหาในชีวิตตนได้ • เกี่ยวกับความร่มเย็นของชีวิตในสังคม มุ่งก่อให้เกิดคุณธรรม ศีลธรรม เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขและร่มเย็น
หัวข้อในการคิดเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาหัวข้อในการคิดเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษา 1. การศึกษาระดับโรงเรียนหรืออุดมศึกษา นั้นตั้งอยู่บนรากฐานบางประการ 2. การศึกษามีปรัชญาเป็นรากฐานในแต่ละประเทศ 3. หลักบางประการของปรัชญา มาร้อยกรองเป็นระบบหรือโครงสร้าง 4. ประเทศที่มีปรัชญาอยู่แล้ว จะสร้างปรัชญาการศึกษาขึ้นใช้ในโรงเรียนของประเทศตน
หัวข้อในการคิดเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษา(ต่อ)หัวข้อในการคิดเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษา(ต่อ) • เกี่ยวกับ “ความหมายของการศึกษา” หรือ “การศึกษาคืออะไร” • เกี่ยวกับ “ ความมุ่งหมายพื้นฐานของการศึกษา” • เกี่ยวกับ “นโยบายพื้นฐานของการศึกษา” • เกี่ยวกับ “วิธีการของการศึกษา” • เกี่ยวกับ “ เนื้อหาของการศึกษา”
พุทธศาสนากับการศึกษาแผนใหม่พุทธศาสนากับการศึกษาแผนใหม่ • พุทธศาสนาเป็นรากฐานของการศึกษา ดังนี้ • ในฝ่ายเนื้อหาของการศึกษา อาจปรับมาจากมรรคมีองค์แปด • ในฝ่ายวิธีการของการศึกษา อาจปรับเอาไว้จากขั้น หรือวิธีการของ “อริยสัจสี่” • ในแง่ของจิตวิทยาแห่งการเรียนรู้อาจปรับเอาได้จากความคิดเรื่อง “ญาณ” ในระดับต่าง ๆ (ระดับสูงสุดของญาณก็คือ “ทศพลญาณ” ของพระพุทธองค์)
มรรคมีองค์ 8 - สัมมาทิฏฐิ - สัมมาสังกัปปะ - สัมมากัมมันตะ - สัมมาวาจา - สัมมาวายามะ - สัมมาอาชีวะ - สัมมสติ - สัมมาสมาธิ
ขั้นทุกข์ (ชีวิตนี้เป็นความทุกข์อย่างยิ่ง) ขั้นสมุทัย (สาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดทุกข์ได้) ขั้นนิโรธ (การดับทุกข์) ขั้นมรรค (จากการปฏิบัติสิ่ง ต่างๆ ด้วยตนเองแล้วก็ตกลงสรุปผล การกำหนดปัญหา พิจารณาเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อกำหนดปัญหาให้ถูกต้องและเหมาะสม การตั้งสมมติฐาน เมื่อเข้าใจในปัญหาโดยรอบแล้วถึงสาเหตุ ลองกำหนดหลักการในการแก้ไขได้ การทดลองและเก็บข้อมูล ทดลองตามที่ตั้งสมมติฐานจนสำเร็จ และจดหรือจดจำผลการปฏิบัติเพื่อจะได้พิจารณาต่อ การวิเคราะห์ข้อมูล จากผลต่าง ๆ ที่จดไว้ในขั้นการทดลองนั้นเพื่อจะได้รู้ว่า สิ่งใดแก้ปัญหาที่กำหนดไว้ดั่งเดิมนั้นได้ หรือไม่ประการใด สรุปผล อริยสัจสี่
ทศพลญาณ • หมายถึง ญาณที่เป็นกำลังของพระพุทธองค์ 10 อย่าง เช่น • ฐานาฐาณะญาณ ญาณที่รู้ว่าสิ่งใดเป็นไปได้ และสิ่งใดเป็นไปไม่ได้ • นานาธิมุตติกญาณ ญาณที่รู้อัธยาศัยของคนทั้งปวง • บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ • จุตูปปาตญาณ ญาณที่รู้จัก จุติ และปฎิสนธิ ของบุคคลทั้งปวง ฯลฯ
การศึกษาแผนใหม่ • ในเรื่องหลักสูตรการศึกษาแผนใหม่ • ในเรื่องวิธีการสอน • ในเรื่องการสอบ หรือการวัดผลการศึกษาแผนใหม่ • ในเรื่องการบริหารโรงเรียน ใช้การบริหารแบบ ประชาธิปไตย
บทสรุปที่น่าคิดด้านปรัชญาการศึกษาบทสรุปที่น่าคิดด้านปรัชญาการศึกษา ปรัชญาการศึกษาซึ่งเป็นแต่เพียงหน่อของลัทธิปรัชญาอันเป็นแม่บท ปรัชญาการศึกษาใด เมื่อสร้างขึ้นแล้วก็ต้องคอยปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมอยู่เสมอมิใช่ว่าสร้างขึ้นแล้วก็แล้วไป ดังนั้นการที่ช่วยคิด ช่วยเสนอ ช่วยติง ช่วยเสริม ฯลฯ ย่อมเป็นเรื่องที่ถูกต้องและน่าสรรเสริญอยู่เสมอ ไม่ถือว่าเป็นการ “ยื่นคอให้สับ” แต่ประการใด พุทธปรัชญาหรือพุทธศาสนา มีรากแผ่ซ่านลึกซึ้งลงไปเกือบทุกแห่งทุกมุมของชีวิตคนไทยแล้ว ก็ย่อมจะเกี่ยวพันกับพุทธปรัชญาอันเป็นแม่บทแน่นอน และก็จะเห็นชัดว่าเป็นปรัชญาที่อยู่ลึกในใจคนไทยส่วนใหญ่ ดังนั้นถ้าสร้างปรัชญาการศึกษาขึ้นจากพุทธปรัชญาก็ไม่น่าจะเป็นที่ขัดข้องหรือบกพร่องอะไรมากนัก
จบบริบูรณ์ ขอได้รับความขอบคุณ จากท่านผู้ที่รับฟังการนำเสนอทุกท่าน