1 / 6

สถานที่ท่องเที่ยว ในจังหวัดนครนายก

สถานที่ท่องเที่ยว ในจังหวัดนครนายก. เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

Download Presentation

สถานที่ท่องเที่ยว ในจังหวัดนครนายก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สถานที่ท่องเที่ยว ในจังหวัดนครนายก

  2. เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากที่เกิดกับประชาชนชาวนครนายก และจังหวัดใกล้เคียง ตัวเขื่อน ประกอบด้วยเขื่อนหลักและเขื่อนรองสร้างด้วยคอนกรีตบดอัด ปัจจุบันเป็น เขื่อนคอนกรีตบดอัดที่มีความยาว ที่สุดในโลก มีความยาวรวม 2,720 เมตร ความสูง ( สูงสุด ) 93 เมตร รับน้ำที่ไหลจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ผ่านน้ำตกเหวนรกลงสู่อ่างเก็บน้ำมีความจุ 224 ล้าน ลบม.ประโยชน์ มีน้ำในการทำเกษตรกรรม การอุปโภคบริโภค แก้ปัญหาดินเปรี้ยว เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา และบรรเทาอุทกภัย เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของนครนายก นักท่องเที่ยวสามารถชมอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้จากบริเวณสันเขื่อน จะเห็นทิวทัศน์ด้านหน้าเขื่อนและชมทิวทัศน์เมืองนครนายกด้านหลังเขื่อน

  3. ศาลหลักเมือง ศาลหลักมืองเดิมเป็นเสาหลักยาวประมาณ 1 เมตรเศษปลายเสาแกะสลักเป็นรูปดอกบัวตั้งอยู่บริเวณกำแพงเมืองเก่าต่อมาประมาณ พ.ศ. 2453ทางราชการเห็นว่าศาลหลักเมือง เดิมชำรุดมากจึงได้ย้ายหลักเมือง ไปประดิษฐานที่ตึกแดงในโรงเรียนสตรีประจำจังหวัด คือ โรงเรียนศรีนครนายกภายหลังได้ย้ายมาสร้างใหม่ริมแม่น้ำนครนายก ภายในสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 9 โดยสร้างเป็นศาลาจตุรมุข เพื่อความสง่างาม และเป็นมงคลคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดนครนายกจนทุกวันนี้

  4. วัดใหญ่ทักขิณาราม วัดใหญ่ทักขิณาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านใหญ่ อำเภอเมืองนครนายกริมแม่น้ำนครนายก วัดใหญ่ทักขิณารามเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งกล่าวกันว่า ชาวเวียงจันทน์ได้อพยพมาเมื่อครั้งเกิดสงครามลาวกับฝรั่งเศส ชาวเวียงจันทน์พ่ายแพ้สงคราม จึงพากันอพยพ มาทางใต้มีกลุ่มหนึ่งมาตั้งวัดใหญ่ทักขิณาราม หลักแหล่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองนครนายก เรียกว่า บ้านใหญ่ลาวและได้สร้างวัดขึ้นในปี พ.ศ. 2323 เรียกวัดใหญ่ลาว ในปี พ.ศ. 2484 วัดใหญ่ลาวถูกเปลี่ยนชื่อ เป็นวัดใหญ่ทักขิณารามสิ่งสำคัญในวัดใหญ่ทักขิณาราม คือ พระอุโบสถซึ่งมีขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 10.15 เมตร สูง 10 เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ สร้างโดยฝีมือช่างชาวเวียงจันทน์ ลักษณะของพระอุโบสถแบบเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ก่ออิฐถือปูนบานประตูเป็นไม้แกะสลัก กรอบด้านขวามือเป็นรูปยักษ์ยืนถือกระบองชูขึ้น และเท้าบั้นเอว หน้าบันเป็นไม้แกะสลักรูปเทพพนม กำแพงแก้วมีซุ้มประตูโค้งเลียนแบบศิลปตะวันออก มีทหารสวมหมวกถือกระบองแต่งกายแบบยุโรป เป็นทวารบาลประตูละ2คน ด้านนอกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตกมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองแบบทรงเครื่อง ลักษณะเจดีย์ย่อมุม

  5. พระแก้วมรกตองค์จำลอง จังหวัดนครนายก ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารบนยอดเขา ณ วัดคีรีวัน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี อยู่บนถนนสายนครนายก – ท่าด่านอำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ห่างจากตัวเมืองประมาณ 9 กิโลเมตร พระแก้วองค์จำลองนี้มีเนื้อเป็นเรซิ่น ขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้ว สูง 32.9 นิ้ว หนัก 1 ตัน และมีเครื่องทรงครบทั้ง 3 ฤดู ประดับตกแต่งด้วยเพชรแท้ 7 กะรัตพลอยแท้2,000กว่าเม็ดและทับทิมอีกนับไม่ถ้วน

  6. อนุสรณ์สถานกองพลทหารญี่ปุ่นที่ 37 อยู่ที่วัดพราหมณี ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก ตรง กม .5 ถนนไปน้ำตกสาริกา–นางรองจัดสร้างโดย สมาคมทหารสหายสงครามกองพลญี่ปุ่นที่ 37 เมื่อปี พ . ศ .2535เพื่อเป็นที่ระลึก ถึงดวงวิญญาณของบรรดาทหาร ซึ่งสังกัดในอดีตกองพลญี่ปุ่นที่ 37 จำนวน 7,920 นาย ซึ่งสูญเสียชีวิตในระหว่างสงคราม เอเชียบูรพา เมื่อปี พ.ศ. 24822488โดยทำการนำอัฐิที่ฝังอยู่ในบริเวณวัดมาบรรจุในแท่นที่จัดสร้างขึ้น นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังมีสวนสัตว์จำลอง ทำจากปูนปั้นมากมายเช่น ช้าง โค กระบือ กระทิงเก้ง กวาง และยังมีพระพุทธ รูปเก่าแก่ (หลวงพ่อปากแดง)ที่ชาวลาวอพยพ ได้อัญเชิญมาสมัย เวียงจันทน์แตก ขณะนี้ได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้

More Related