1 / 17

กลุ่มของดิฉันขอนำเสนอ.... พระบรมมหาราชวัง

โครงการการงานอาชีพสัญจร ตอน เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่ความเป็นไทย ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรดา พระราชวังดุสิต และลัดเลาะรอบวัง. สมาชิกกลุ่ม นายติณณภพ สว่างรุ่ง เลขที่ 3 นายธนวัฒน์ แซ่ลิ้ม เลขที่ 24 นางสาวรัชนี เพ็ชรเจริญ เลขที่ 32 นางสาวศศินิภา การนา เลขที่ 34.

Download Presentation

กลุ่มของดิฉันขอนำเสนอ.... พระบรมมหาราชวัง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการการงานอาชีพสัญจรตอน เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่ความเป็นไทยในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรดา พระราชวังดุสิต และลัดเลาะรอบวัง

  2. สมาชิกกลุ่มนายติณณภพ สว่างรุ่ง เลขที่ 3นายธนวัฒน์ แซ่ลิ้ม เลขที่ 24นางสาวรัชนี เพ็ชรเจริญ เลขที่ 32นางสาวศศินิภา การนา เลขที่ 34

  3. กลุ่มของดิฉันขอนำเสนอ.... พระบรมมหาราชวัง

  4. ประวัติพระบรมมหาราชวังประวัติพระบรมมหาราชวัง ประวัติพระบรมมหาราชวัง พระบรมมหาราชวังช่วงปี พ.ศ. 2400 พระบรมมหาราชวังยามค่ำคืนเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกขึ้นเป็น ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระราชวังหลวงขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศและเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ การก่อสร้างพระราชวังหลวงเริ่มขึ้น พร้อมกับการสร้างพรนครเมื่อ พ.ศ. 2325โดยสร้างขึ้นในบริเวณที่เคยเป็นที่อยู่ของพระยาราชาเศรษฐีและชาวจีนทั้งหลาย ดังนั้น พระองค์จึง โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปอยู่สถานที่แห่งใหม่ตั้งแต่คลองใต้วัดสาปลื้มจนถึงคลองเหนือวัดสามเพ็ง เริ่มดำเนินการในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2325  หลังพระราชพิธียกเสาหลักเมือง 1 วัน และมีการเฉลิมพระราชมนเฑียรในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2325 แต่ขณะนั้นพระราชมนเฑียรสร้างด้วยเ ครื่องไม้และสร้างเสาระเนียดรายรอบพระราชวัง เพื่อประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกต่อมาใน พ.ศ. 2326 พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระ ราชมนเทียร พระมหาปราสาท เปลี่ยนเสาระเนียดจากเครื่องไม้เป็นก่อกำแพงอิฐ สร้างประตูรายรอบพระบรมมหาราชวังตลอดจนสร้างพระอาราม ในพระราชวังหลวง คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เมื่อสร้างพระราชนิเวศน์ มนเฑียรเป็นการถาวรแล้วโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเต็มตามแบบแผนราชประเพณีอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ. 2328 พระบรมมหาราชวังได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมขยายอาณาเขตและบูรณปฏิสังขรณ์มาในทุกรัชกาล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชอนุชา ขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระ ปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงบัญญัติให้เรียกพระราชวังหลวงว่า พระบรมมหาราชวัง นั่นคือ ทรงบัญญัติให้ใช้คำว่า “บรม” สำหรับฝ่ายวังหลวง และ “บวร” สำหรับฝ่ายวังหน้า พระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าจึงเรียกว่า “พระบวรราชวัง” เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตแล้ว พระราชวังหลวงก็ยังคงใช้ว่า พระบรมมหาราชวัง มาจนกระทั่งปัจจุบัน

  5. ที่ตั้งและอาณาเขต หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างราชธานีแห่งใหม่แล้วก็โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังไว้ด้วย ที่ตรงบริเวณพระบรมมหาราชวังในปัจจุบันนี้แต่เดิมเป็นชุมชนชาวจีนพระองค์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีนเหล่านี้อพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บริเวณสำเพ็งในปัจจุบัน ในปัจจุบันพระบรมมหาราชวังตั้ง อยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวังเขตพระนครกรุงเทพมหานครมีอาณาเขตติดต่อกับสถานที่สำคัญเรียงตามเข็ม นาฬิกาดังนี้ ทิศเหนือติดกับท้องสนามหลวง ทิศตะวันออกติดกับกระทรวงกลาโหม ทิศใต้ติดกับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ทิศตะวันตกติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ของพระบรมมหาราชวังในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อแรกสร้าง มีเนื้อที่ทั้งหมด 132 ไร่ ต่อมาใน รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ขยายเขตพื้นที่ออกไปเป็น 152 ไร่ 2 งาน จนถึงปัจจุบัน แผนผัง ของพระบรมมหาราชวังได้ยึดถือแบบของพระราชวังหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยาคือสร้างติดกับแม่น้ำ หันหน้าไปทางทิศเหนือโดย มีแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ทางทิศตะวันตก ให้กำแพงเมืองด้านข้างแม่น้ำเป็นกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นนอก และวัดพระศรีรัตน ศาสดารามพระอารามหลวงในพระราชวังตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ์ของกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก

  6. เขตพระราชฐาน พระบรมมหาราชวังสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็นบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดารามและเขตพระราชฐานอันเป็นพื้นที่สำหรับเป็นที่ประทับและบริหาร ราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ โดยเขตพระราชฐานสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ เขตพระราชฐานชั้นหน้า เขตพระราชฐานชั้น หน้านับตั้งแต่ประตูวิเศษไชยศรีถึงประตูพิมานไชยศรี (ไม่นับรวมบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) รวมทั้ง บริเวณรอบนอกกำแพงชั้นใน ของพระบรมมหาราชวังเป็นที่ตั้งของหน่วยราชการต่าง ๆ และที่ทำการของทหารรักษาพระราชวัง เช่น สำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิ การราชบัณฑิตยสถาน เขตพระราชฐานชั้นกลาง นับตั้งแต่ประตูพิมานไชยศรีถึงประตูสนามราชกิจ เป็นที่ตั้งของปราสาทราชมณเฑียรทั้งสถาปัตยกรรมไทยและตะวันตก ใช้ประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีฉัตรมงคล ประกอบไปด้วย 1.หมู่พระมหามณเฑียร เป็นหมู่พระที่นั่งที่สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เพื่อทรงใช้เป็นที่ประทับและเป็นพระราช พิธีมณฑลในพระราชพิธีปราบดาภิเษกตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน ปัจจุบัน ใช้เป็นพระราชพิธีมณฑลสำหรับประกอบพระราช พิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีสำคัญอื่น ๆ ในพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในราชวงศ์จักรีสืบเนื่องกันมา โดยพระที่นั่งที่สำคัญของพระ มหามณเฑียรได้แก่ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณ และพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน หมู่พระที่นั่งจักรีมหา ปราสาทสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อใช้เป็นสถานที่ออกว่าราชการและเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ตั้งอยู่ใน เขตพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน เดิมประกอบด้วยหมู่พระที่นั่ง 11 องค์ ปัจจุบัน พระที่นั่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอยู่ในสภาพที่ชำรุด จนเกินกว่าการบูรณะได้จึงมีการรื้อพระที่นั่งลงหลายองค์ อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่ นั่งขึ้นใหม่บนสถานที่เดิม พระที่นั่งที่สำคัญของหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ได้แก่ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ พระ ที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ และพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร

  7. 1.หมู่พระมหามณเฑียร พระที่นั่งสนามจันทร์

  8. พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อใช้เป็นสถานที่ออกว่าราชการ และเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน เดิมประกอบด้วย หมู่พระที่นั่ง 11 องค์ ปัจจุบัน พระที่นั่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอยู่ในสภาพที่ชำรุดจน เกินกว่าการบูรณะได้จึงมีการรื้อพระที่นั่งลงหลายองค์ อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวภูมิพลอดุลยเดชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่บนสถานที่เดิม พระที่นั่งที่สำคัญของ หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ได้แก่ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์  พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ และพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร

  9. 2.พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

  10. หมู่พระมหาปราสาท หมู่พระมหาปราสาท เป็นหมู่พระที่นั่งที่สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญและเป็นพระราชมณเฑียรที่ประทับ ตั้งอยู่ใน เขตพระราชฐานชั้นกลางและชั้นในปัจจุบันหมู่พระมหาปราสาทใช้เป็นสถานที่ประกอบพระ ราชพิธีสำคัญอาทิ พระราชพิธีฉัตรมงคล รวมทั้งเป็นสถานที่สำหรับสรงน้ำพระบรมศพ และประดิษฐานพระบรมศพของของพระบรมราชวงศ์ชั้นสูงพระที่นั่งที่สำคัญได้แก่ พระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท พระที่นั่งพิมานรัตยา พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาทและพระที่นั่งราช กรัณยสภา

  11. 3.หมู่พระมหาปราสาท

  12. พระที่นั่งบริเวณสวนศิวาลัยพระที่นั่งบริเวณสวนศิวาลัย สวนศิวาลัย หรือ สวนขวา เป็นสวนภายในพระบรมมหาราชวัง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวัน ออก ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของพระอภิเนาว์นิเวศน์อันเป็นพระราชมณเฑียรที่ประทับ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชมณเฑียรดังกล่าวได้ชำรุดทรุดโทรมจำต้องรื้อถอนไปเกือบหมด สิ้น คงแก่อาคารสำคัญ เช่น พระพุทธรัตนสถาน พระที่นั่งมหิศรปราสาท และได้สร้างพระ ที่นั่งเพิ่มอีก 2 องค์ คือพระที่นั่งบรมพิมาน และพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท และปรับ เป็นสวน ปัจจุบันเป็นเขตพระราชฐานส่วนพระองค์ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี โดยมีพระที่นั่งบรมพิมานเป็นที่ประทับเป็นการถาวรหลังจากทรง นิวัติประเทศไทย และอาคารรับรองด้านหลัง A และ B ใช้เป็นที่ทรงงานในทูลกระหม่อมหญิงอุบล รัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เพื่อเสด็จออกรับบุคคลที่ขอเข้าเฝ้า และใช้เป็นกองงานใน พระองค์ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

  13. 4.พระที่นั่งสวนศิวาลัย

  14. เขตพระราชฐานชั้นใน เขตพระราชฐานชั้นใน เป็นพื้นที่ที่มีพระตำหนักของเจ้าจอมมารดาพระมเหสี  พระชายาต่างๆ เขตนี้ผู้ชายห้ามเข้าหากจะเข้าต้องมีโขลนคอยดูแลอยู่ตลอด ส่วน แถวเต๊งเป็นตึกแถวยาวที่เคยเป็นกำแพงวังสมัยรัชกาลที่ 1โดยมีประตูช่องกุดเป็น ช่องทางเข้าออกของชาววังซึ่งอยู่ใกล้ประตูศรีสุดาวงศ์ซึ่งเป็นประตูชั้นในที่จะต่อ กับแถวเต๊งบริเวณนั้นมีสวนขวาอันเป็นพระราชอุทยานซึ่งรัชกาลที่ 4 ทรงสร้าง เป็นพระอภิเนาว์นิเวศน์และมีสวนเต่า พวกเจ้านายจะทรงพระสำราญที่นี่และเวลา ไว้พระศพเจ้านายชั้นสูงก็จะไว้ที่หอธรรมสังเวชซึ่งอยู่ทางตะวันตกของพระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท

  15. พระตำหนักกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร เมื่อแรกสร้างเป็นพระตำหนักหมู่ใหญ่ ประกอบด้วยตำหนักที่ประทับ 2 หลังเชื่อมถึงกันหลังนี้มี 2ชั้นอีกหลังมี 3 ชั้นมีเรือนข้าหลวงและห้องเครื่องอยู่โดยรอบ ทางเข้าอยู่ทางทิศเหนือใกล้กับพระที่นั่งอมรพิมาณมณีในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทหลังจากกรมพระยาสุดารัตนราชประยูรสวรรคตได้ 13 ปี พ.ศ. 2452 ได้มีการสำรวจพระตำหนักหมู่นี้พบบางหลังและเรือนข้าหลวงทรุดโทรมมากจึงรื้อพระตำหนัก 2 ชั้นเรือนข้าหลวงด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออก เหลือแต่เรือนข้าหลวงด้านทิศตะวันตกและตำหนัก 3 ชั้นตราบจนปัจจุบันลักษณะเป็นตำหนักตะวันตกทอดยาวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกหลังคาเดิมมุงกระเบื้องแบบจีนปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกระเบื้องลอนคู่ผนังตกแต่งด้วยลวดบัวทั้งหลังพระบัญชร(หน้าต่าง)แต่ละชั้นตกแต่งไม่เหมือนกันพระตำหนักหลังนี้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร พระราชธิดาในรัชกาลที่ 3

  16. พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเป็นพระตำหนักเดี่ยวขนาดใหญ่ ก่ออิฐถือปูน มีลานหว้างทั้งด้านหน้าและ ด้านหลังตำหนัก ตัวพระตำหนักทอดยาวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ทางเข้าพระตำหนักอยู่ทางทิศเหนือ ซุ้มพระทวารทำด้วยเหล็กหล่อ ตอนบนประดิษฐานตราจุลมงกุฎ 3 ชั้น ซึ่งเป็นตราประจำพระองค์สมเด็จพระ บรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หลังคามุงกระเบื้อง ชั้นล่างเป็นที่ก็บของและที่อยู่ ของข้าหลวง ชั้นสองเป็นที่ประทับประกอบด้วยห้องต่างๆหลายห้อง ซึ่งตกแต่งไว้งดงามเป็นพิเศษ ชั้นสาม เป็นที่บรรทม และมีห้องแยกเป็นปีกหนึ่งของพระตำหนักเป็นพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิ ราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและทรงเป็น พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระตำหนักสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ตั้งอยู่หลังหมู่พระมหามณเฑียรตรงประตูสนามราชกิจ บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของตำหนักแดงที่ประทับ ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีพระมเหสีในรัชกาลที่ 2 ลักษณะเป็นอาคารแบบอิตาลีตอนใต้ ก่ออิฐปูน สูงสองชั้น ทาสีชมพู ตัวอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หักศอกเป็นรูปตัวอี(E) หลังคาทรงปั้นหยา มุงด้วยกระ เบื้องว่าว ฝาผนังตกแต่งด้วยการฉาบปูนแต่งผิวให้มีลักษณะเหมือนอาคารก่อด้วยหินรูปสี่เหลี่ยมแท่งใหญ่ เน้นขอบมุมของตำหนักทุกด้าน โครงสร้างเป็นไม้ทั้งหลัง ฉาบปูนทับตามกรรมวิธีพระตำหนักหลังนี้เป็นที่ประ ทับของสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ประทับร่วมกับพระราชธิดาและพระขนิษฐา

  17. รวมภาพกิจกรรม

More Related