200 likes | 424 Views
ชื่อหัวข้อวิจัย. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน CIPPA Model เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานของนักเรียนระดับชั้น ปวช .1 / 4 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางาน สัตว ศาสตร์ วิทยาลัย เกษตรและเทคโนโลยี พะเยา
E N D
ชื่อหัวข้อวิจัย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน CIPPA Model เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานของนักเรียนระดับชั้น ปวช.1/4 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานสัตวศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา จัดทำโดย:วิลาวรรณ์ วงศ์ขัติย์ รหัสนักศึกษา 542132032 สาขาการจัดการความรู้
1.ที่มาและความสำคัญของปัญหา1.ที่มาและความสำคัญของปัญหา วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกยุคปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคน ทั้งในการดำรงชีวิตประจำวันและในงานอาชีพต่างๆ เครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนผลผลิตต่างๆ ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตและในการทำงาน ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ และศาสตร์อื่นๆ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมาก ซึ่งวิทยาศาสตร์ทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้ (knowledge based society) เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ กลไกธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น และนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ มีคุณธรรม (กรมวิชาการ. 2544: 18 อ้างถึงในรชาดา บัวไพร.2552)
ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ กำหนดไว้ดังนี้ ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ผู้เรียนควรได้รับการพัฒนาและสร้างความเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์เป็นทั้งความรู้และกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ผู้เรียนทุกคนควรได้รับการกระตุ้นส่งเสริมให้สนใจและกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีความมุ่งมั่นที่จะศึกษาค้นคว้าสืบเสาะหาความรู้เพื่อรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผลนำไปสู่คำตอบของคำถาม สามารถตัดสินใจด้วยการใช้ข้อมูลอย่างมีเหตุผล สามารถสื่อสารคำถามคำตอบ ข้อมูลและสิ่งที่ค้นพบจากการเรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้(อาภรณ์ ล้อสังวาลย์.2545)
การจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นการเรียนรู้เพื่อเข้าใจ และเห็นความสำคัญของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของโลก สิ่งแวดล้อม ตลอดจนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้และสื่อสารซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ สามารถเชื่อมโยงองค์ประกอบทั้งหมดแบบองค์รวม สร้างความรู้เป็นของตนเองเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์สิ่งต่างๆโดยอาศัยความรู้วิทยาศาสตร์ จินตนาการและศาสตร์อื่นๆร่วมด้วยสามารถตัดสินใจอย่างมีเหตุผล สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต(อาภรณ์ ล้อสังวาลย์.2545)
คุณภาพของผู้เรียน การจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์สำหรับหลักสูตรการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวนการไปสู่การสร้างองค์ความรู้เพื่อให้การศึกษาวิทยาศาสตร์บรรลุผลตามที่มุ่งหวังไว้(อาภรณ์ ล้อสังวาลย์.2545) ในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สามารถจัดได้หลายรูปแบบโดยทุกรูปแบบมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ มุ่งหวังให้มีการเตรียมการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดระบบการเรียนการสอนจะช่วยให้ครูมีความเข้าใจความเกี่ยวเนื่องของระบบการสอนโดยตลอด จึงทำให้รู้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียน
การสอนให้กับนักเรียนได้อย่างเหมาะสมตามความสามารถในลักษณะต่างๆ ที่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนจะส่งเสริมให้นักเรียนเข้าใจวัตถุประสงค์และขอบเขตเนื้อหาของการเรียนโดยได้รับรู้พัฒนาการ การเรียนรู้ของตนเองจึงทำให้มีความกระตือรือร้นที่จะปรับปรุงตนเองตลอดเวลา ส่งผลให้ผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น(กรมวิชาการ. 2545 ข:98 อ้างถึงใน จำนง ทองช่วย:2551)
หลักการหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางคือ การเรียนการสอนแบบ CIPPA Model ซึ่งเป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก CIPPA นี้สามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย ได้มีการนำไปทดลองใช้แล้วได้ผลดี ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้นตอนดังนี้ (ทิศนา แขมมณี.2552:86-88) ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตนซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการอย่างหลากหลาย
ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่ ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่างๆซึ่งครูอาจจัดเตรียมมาให้กับผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้ ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล ความรู้ที่หามาได้ ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล ประสบการณ์ใหม่ๆโดยใช้กระบวนการต่างๆด้วยตนเอง เช่น ใช้กระบวนการคิดและกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความรู้เดิม
ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตน รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้นซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรูความเข้าใจของตนแก่ผู้อื่น ขั้นที่ 5 การสรุปจัดระเบียบความรู้และวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมดทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่และจัดสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบเพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่ายรวมทั้งวิเคราะห์การเรียนรู้ทั้งหลายที่เกิดขึ้น
ขั้นที่ 6 การปฏิบัติและ/หรือการแสดงผลงาน จะเป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับรู้เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความเข้าใจของตนและช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์ ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้ ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้นๆ
การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล (CIPPA Model) หมายถึง รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้โดยการฝึกคิด ฝึกค้นคว้ารวบรวมข้อมูลและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง ตลอดจนฝึกตนเองให้มีวินัยและรับผิดชอบในการทำงาน (ทิศนา แขมณี. 2542 : 14-15 อ้างถึงในกัสมัสห์ อาแด.2548) C ย่อมาจาก construct คือ การให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ทำความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ แปลความ ตีความ สร้างความหมาย สังเคราะห์ข้อมูล และสรุปเป็นข้อความรู้
I ย่อมาจาก interaction คือ การให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน แลกเปลี่ยน และเรียนรู้ ข้อมูล ความคิด ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน P ย่อมาจาก participation คือ การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ ปัญญาและสังคม ในการเรียนรู้ให้มากที่สุด P ย่อมาจาก process and product คือ การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการ และมีผลงานจากการเรียนรู้ A ย่อมาจาก application คือ การให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์หรือใช้ในชีวิตประจำวัน
จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ที่ผ่านมาพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าโรงเรียนมีกิจกรรมค่อนข้างเยอะทำให้การจัดการเรียนการสอนไม่ได้เต็มที่ ครูอาจมีพฤติกรรมการสอนที่ไม่น่าสนใจ บรรยากาศการเรียนเฉื่อยชา เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ สารเคมี มีจำนวนไม่เพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นต้น นักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดความกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมในการเรียนน้อย อย่างไรก็ตามในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนก็พบปัญหาและอุปสรรคบางประการที่ทำให้การเรียนการสอนยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์
ที่ตั้งไว้โดยมีสาเหตุมาจากหลายประการซึ่งสามารถวิเคราะห์จากสภาพปัจจุบัน พบว่าสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆพอสรุปได้ดังนี้ 1.ด้านตัวครู พบว่า การจัดการเรียนรู้ของครูยังไม่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน มุ่งเน้นสอนเนื้อหามากกว่ากระบวนการคิด ขาดเทคนิควิธีในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน อันได้แก่ การเตรียมการสอน การเลือกใช้สื่อการสอน 2.ด้านตัวผู้เรียน พบว่า นักเรียนยังขาดความสนใจในกิจกรรมการเรียนการสอน มีความกระตือรือร้นน้อย มองไม่เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหา ขาดทักษะการคิดและทักษะกระบวนการกลุ่มส่งผลให้นักเรียนส่วนมากมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำและมีปัญหาทางการสื่อสารเพราะนักเรียนส่วนใหญ่เป็นชาวเขา
3.ด้านหลักสูตร พบว่า เนื้อหาบางส่วนมีความซับซ้อนยากแก่การเข้าใจ จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน CIPPA Model เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชั้นเรียนให้มากที่สุดและตรวจสอบว่าจะสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้มากน้อยเพียงใดรวมถึงจะสามารถนำมาใช้กับนักเรียนซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนชาวเขาให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ดีขึ้นมากน้อยเพียงใด
2.โจทย์วิจัยโจทย์หลัก: รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ CIPPA Model ช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร โจทย์รอง: 1.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานต่ำเป็นเพราะสาเหตุใด 2.รูปแบบการจัดการเรียนการสอน CIPPA Model เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนลักษณะใด อย่างไรและจะสามารถช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร 3.จะพัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานดีขึ้นได้อย่างไร
3.วัตถุประสงค์การวิจัย3.วัตถุประสงค์การวิจัย 3.1เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นปวช.1/4 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานสัตวศาสตร์ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ CIPPA Model 3.2เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานอยู่ในเกณฑ์ที่สูงขึ้น 3.3เพื่อศึกษาความคิดเห็น แบบประเมินความพึงพอใจในการสอนของครูโดยใช้รูปแบบการสอน CIPPA Model
4.ผลที่คาดว่าจะได้รับ 4.1ช่วยแก้ไขปัญหานักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานได้ดีขึ้น 4.2เพื่อให้ได้แนวทางในการปรับปรุงหรือพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น 4.3ช่วยให้ครูผู้สอนเลือกใช้รูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับนักเรียนมากขึ้น
อ้างอิง(Reference) อ.พุทธวรรณ ขันต้นธง.หลักการการวิจัยการจัดการความรู้.วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.2554. ทิศนา แขมมณี(2552).รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย.พิมพ์ครั้งที่ 6.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จำนง ทองช่วย(การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้การสอนรูปแบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิทยบริการปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๑. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา. อาภรณ์ ล้อสังวาล(2545).วิทยาศาสตร์พื้นฐาน.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ:พัฒนาวิชาการ รชาดา บัวไพร(2552).การศึกษาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Model CIPPA ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.สารนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. กัสมัสห์ อาแด(2548).การสร้างชุดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA Model เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยทักษิณ.
จบการนำเสนองาน ขอบคุณค่ะ