1 / 26

การโน้มน้าวใจเพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์

การโน้มน้าวใจเพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์. โดย นางจุฑารัตน์ โสดาศรี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์. การโน้มน้าวใจ คือการพยายามเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ทัศนคติการกระทำของบุคคลอื่นด้วยกลวิธีที่เหมาะสม ให้มีผลกระทบใจผู้นั้นจนเกิดการยอมรับ และเปลี่ยน ตามผู้โน้มน้าวใจ.

Download Presentation

การโน้มน้าวใจเพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การโน้มน้าวใจเพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์การโน้มน้าวใจเพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์ โดย นางจุฑารัตน์ โสดาศรี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์

  2. การโน้มน้าวใจ คือการพยายามเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ทัศนคติการกระทำของบุคคลอื่นด้วยกลวิธีที่เหมาะสม ให้มีผลกระทบใจผู้นั้นจนเกิดการยอมรับ และเปลี่ยน ตามผู้โน้มน้าวใจ

  3. วัตถุประสงค์ของการโน้มน้าวใจ 4 ประการ คือ 1. เพื่อชักนำ หรือโน้มน้าวใจให้เกิดความเชื่อถือ ศรัทธา เช่นโฆษณาคุณภาพของสินค้า,การประชาสัมพันธ์ คุณสมบัติผู้นำ 2. เพื่อกระตุ้น หรือเร้าใจให้เห็นความสำคัญของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การเขียนให้ประทับใจในการทำงานที่เสียสละของทหารที่อยู่ชายแดน, การทำงานที่เสียสละของแพทย์ชนบท

  4. เพื่อปลุกใจให้เกิดความสำนึก และปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การปลุกใจให้รักชาติ, การให้รักสถาบันการศึกษา • เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความคล้อยตามและนำไปปฏิบัติ เช่น การเชิญชวนให้ เลิกบุหรี่,เลิกดื่มสุรา,เลิกใช้ของนอก

  5. การพูดโน้มน้าวเพื่อการสื่อสารการประชาสัมพันธ์การพูดโน้มน้าวเพื่อการสื่อสารการประชาสัมพันธ์ เป็นพฤติกรรมการสื่อสารอย่างหนึ่งซึ่งเป็นการพยายาม เปลี่ยนความเชื่อ,ทัศนคติ,ค่านิยม และการกระทำของ บุคคลอื่น เช่น การใช้ภาษาในการโน้มน้าวใจซึ่งอาจ เป็นภาษาเชิงเสนอแนะ ขอร้อง วิงวอน หรือ เร้าใจ ต้องเลือกใช้คำที่สื่อความหมายตามที่ต้องการ มีจังหวะ และความนุ่มนวลในน้ำเสียง และผู้รับสารเข้าใจ เห็นความสำคัญ และยอมรับพร้อมที่จะปฏิบัติตาม

  6. หลักการเขียนโน้มน้าวใจ มีดังนี้ 1. การวิเคราะห์ผู้อ่าน มีลักษณะอย่างไร เช่น เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ ฐานะทางสัมคม และค่านิยม เป็นต้นเพื่อช่วยกำหนดเนื้อหา และกลวิธีการ นำเสนอได้อย่างเหมาะสม 2. การใช้หลักจิตวิทยา เข้าใจธรรมชาติ ความสนใจ และความต้องการของผู้อ่านว่าสนใจในทิศทางใด และ จึงนำมาเป็นประโยชน์ในการเขียน

  7. 3. การให้เหตุผล ต้องหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิด ของตน โดยต้องน่าเชื่อถือ มีน้ำหนักเพียงพอ และเป็น ไปได้ในทางปฏิบัติ • การใช้ภาษา ภาษาที่เร้าอารมณ์ และความรู้สึก ของผู้อ่านต้องมีศิลปะในการใช้ภาษา ที่สื่อความหมาย ได้ชัดเจนก่อให้เกิดภาพ และ กระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก ของผู้อ่าน

  8. ลักษณะของการใช้สารเพื่อโน้มน้าวใจ เช่น 1. คำเชิญชวน เป็นการแนะนำให้ช่วยกันกระทำการ อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วม เช่น เพลงปลุกใจ บทความปลุกใจ การเขียนคำขวัญ แถลงการณ์ ใบประกาศ แผ่นปลิว โปสเตอร์ คำพูดใน โอกาสต่าง ๆ หรือเป็นการบอกกล่าวทางวิทยุ และ โทรทัศน์ โดยผู้ส่งสารจะบอกจุดประสงค์อย่างชัดเจน

  9. ชี้ให้เห็นประโยชน์รวมทั้งบอกวิธีปฏิบัติด้วย ที่เห็นได้ อย่างชัด คือการพูดปลุกใจให้ประชาชนรักชาติ การพูดโน้มน้าวใจให้ประชาชนรักษาสิ่งแวดล้อม 2. โฆษณาสินค้า หรือ โฆษณาบริการ - การใช้ถ้อยคำที่แปลกใหม่ สะดุดหู สะดุดตา ผู้รับสาร • ใช้ประโยค หรือวลีสั้นๆ ที่ทำให้ผู้อื่นรับรู้ได้อย่างเฉียบ พลัน - ใช้กลวิธีโน้มน้าวใจโดยชี้ให้เห็นประโยชน์ของสินค้า

  10. กลวิธีการสื่อสารและการโน้มน้าวใจกลวิธีการสื่อสารและการโน้มน้าวใจ กลวิธีการสื่อสารโน้มน้าวใจจาก www. Youtube.com ข้อความจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช กลวิธีการโน้มน้าวใจเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้บุคคลที่ พูดด้วย เขียนถึงพร้อมที่จะฟังและทำตามโดยสะดวกใจ ขั้นที่ 1 - ทำตนให้มีคุณสมบัติดังกล่าวจริง อธิบายได้ ละเอียดลออ ถูกต้อง แม่นยำ แสดงความรู้ได้ลุ่มลึก ชัดเจน

  11. ขั้นที่ 2 - หาวิธีจะทำให้บุคคลที่ต้องการโน้มน้าวใจ ประจักษ์ในคุณลักษณะดังกล่าว • การแสดงว่ามีคุณธรรม โดยการเล่าประสบการณ์ ตัวอย่าง • การแสดงความปรารถนาดีต่อผู้อื่น อาจทำได้โดยการ ให้คำมั่นสัญญาที่อยู่ในวิสัยที่ปฏิบัติได้ โดยชี้ให้เห็นถึง ความห่วงใย และแนวทางปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ ปฏิบัติ

  12. แสดงให้เห็นถึงความหนักแน่นของเหตุผล มีค่าควร แก่การยอมรับ • แสดงออกให้เห็นถึงความมีอารมณ์ร่วมกัน นิยมเชื่อถือ ในสิ่งเดียวกัน เคารพต่อบุคคล หรือสถาบันเดียวกัน การ เคารพต่อหัวหน้าที่ทำงานและพร้อมที่จะเชื่อถือในการ ประพฤติปฏิบัติตน

  13. เทคนิคการพูดจูงใจ นพ.พงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา กับ Talkshowการให้น้ำเสียง ในการพูดชวนฟัง น่าค้นหา และคิดถึงตอนจบว่าจะ เป็นอย่างไร มีการสร้างพลังในการติดตาม มีน้ำเสียง ที่พูดน่าฟัง ระรื่นหู มีการเตรียมเอกสารประกอบการ บรรยายซึ่งแสดงถึงการเตรียมตัวที่ดี การพูดได้อย่าง ทะลุใจคนฟัง

  14. การฬฒนาบุคลิกาภาพเพื่อความเป็นผู้นำการฬฒนาบุคลิกาภาพเพื่อความเป็นผู้นำ เริ่มจากการพัฒนาตนเอง การปรับบุคลิกภาพสู่โลก การทำงาน การติดอาวุธให้เป็นนักขายความคิดมือ อาชีพ โดยการพัฒนาตนเองทั้งด้านวาจา และกาย บุคลิกภาพและการแต่งกาย ตัวอย่างสถาบันพัฒนา บุคลิกภาพ John Robert Powers การอบรมในหลัก สูตรต่าง ๆ ซึ่งเป็นหลักสูตรพัฒนาบุคลิกภาพ The Best Training

  15. กลยุทธ์การรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์ www.blesscon.com. กลยุทธ์การรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์ มี 2 ลักษณะ 1. การให้คำนิยามตามวัตถุประสงค์ ใช้การสื่อสารเป็นตัวสร้างความสนใจ และโน้มน้าว ใจ โดยเฉพาะเรื่องที่กำลังเป็นที่น่าสนใจในสังคม ก่อให้ เกิดความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมแก่สาธารณชน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Refrom) โดยการรณรงค์ กับสาธารณะที่มีส่วนผลกระทบต่อโครงสร้างของสังคม

  16. การให้คำนิยามตามลักษณะของวิธีการ เป็นการ รณรงค์ตามกระบวนการ คือการสื่อสารรณรงค์ที่ถูกวาง แผนไว้ล่วงหน้า และได้การออกแบบขึ้นมาเพื่อเข้าถึง และจูงใจประชาชนด้วยการใช้สารที่มีความเฉพาะและ การรณรงค์ใช้ในเวลาสั้น ๆ ใช้สื่ออย่างหลากหลาย อาจ ต้องใช้กลยุทธ์การให้ความรู้ (Conscious Thought) ร่วมด้วย

  17. การประยุกต์ใช้ในงานประชาสัมพันธ์การประยุกต์ใช้ในงานประชาสัมพันธ์ องค์ประกอบทางจิตวิทยาที่มีผลต่อการโน้มน้าวใจที่ใช้ ในงานประชาสัมพันธ์ได้อย่างดี คือ 1. การเรียนรู้และจิตสำนึก เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างมาก ซึ่งอาจจะเป็นการสร้างความหรรษา แก่ผู้รับสาร โดย สามารถเปลี่ยนความสำนึกในเชิงกว้างขึ้น

  18. 2. อารมณ์ และความรู้สึก เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางจิตซึ่งเกิดขึ้นโดยมี สิ่งเร้าอารมณ์ หรือสิ่งที่มากระทบกระเทือนจิตใจนั่นเอง 3. การแสดงให้เห็นถึงด้านดี และด้านเสีย เพื่อชี้ให้เห็นถึงทางเลือกหลายทาง เพื่อให้ผู้ถูกโน้ม น้าวใจมีโอกาสใช้วิจารณญาณของตนเองเปรียบเทียบ จนประจักษ์ว่าทางที่ชี้แนะมีด้านดีมากกว่าด้านเสีย ซึ่งถือว่า เกิดผลสัมฤทธิ์

  19. ตัวอย่างการเขียนหัวข้อข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์จากหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ปีที่ 65 ฉบับที่ 20435 วันพฤหัสบดีที่ 2 ม.ค. 2557 หัวข้อข่าว.........โน้มน้าวใจชวนอ่าน ป๋าเปรมแนะ น้อมนำพระราชดำรัส ทำให้ “บ้านเมือง” สุขสงบ นายกฯ เข้าอวยพรชื่นมื่น

  20. จาก โพสทูเดย์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 3,983 วันพฤหัสบดีที่ 2 ม.ค. 2557 ตลาดหุ้น...........เซียนผวาการเมือง ลงทุนปีม้า.........เหนื่อย ม้าทอง 2557 ต้นปีตลาดหุ้นไม่ได้คึกคะนองให้สอด คล้องกับปีม้าแต่ดัชนีปิดต่ำกว่า 1,300 จุด

  21. จาก..โพสทูเดย์ วิเคราะห์.......เศรษฐกิจ 2557 ยืนอยู่บนเส้นด้าย เริ่มปีใหม่ 2557 สำนักพยากรณ์ทางเศรษฐกิจฟันธง ว่า เศรษฐกิจปีหน้าสาหัสยิ่งกว่านี้ เนื่องจากไม่มีแรงส่ง จากเศรษฐกิจปี 2556 ที่ขยายตัวได้ต่ำกว่า 3% ต่อปี เนื่องจากเครื่องยนต์ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจดับสนิททุกตัว

  22. แนะนำหนังสือ เรื่อง การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ ผู้แต่ง ผศ.ดร.ณัฎฐ์ชดา วิจิตรจามรี ภาควิชานิเทศศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  23. เนื้อหาโดยย่อ การโน้มน้าวใจ มีเทคนิคที่น่าสนใจ องค์ประกอบที่ สำคัญต่อความสำเร็จในการโน้มน้าวใจ ตั้งแต่ผู้ส่งสาร สื่อ ผู้รับสาร ทฤษฎีเกี่ยวกับการโน้มน้าวใจ เนื้อหาสาระ เชิงทฤษฎีประกอบด้วยการวิจัย และตัวอย่างมากมาย ในหนังสือเล่มนี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เข้าใจและนำไป ประยุกต์ใช้ กับการทำงาน และ ชีวิตประจำวันได้อย่างดี

  24. ยังช่วยให้เป็นผู้รับสารที่มีคุณภาพ ไม่คล้อยตามการ โน้มน้าวใจโดยปราศจากการพิจารณาใคร่ครวญอย่าง รอบคอบ ซึ่งเป็นทักษะที่ขาดไม่ได้เลยในสังคมปัจจุบัน

  25. สวัสดี

  26. โดย นางจุฑารัตน์ โสดาศรี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ 09-2246-8302 Email: Jutarat_2499@hotmail.com

More Related