1 / 35

สรุปการศึกษาดูงาน ประเทศมาเลเซีย

สรุปการศึกษาดูงาน ประเทศมาเลเซีย. ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๒ เมษายน ๒๕๔๗. บุคลากรที่ร่วมเดินทางจำนวน ๒๒ คน. กลุ่มผู้บริหาร ๑. ดร.ธงชัย ชิวปรีชา ๒ ดร.ธีรวัฒน์ มงคลอัศวรัตน์ ๓. นางพรรณิภา อาษาภา ๔. นายประเสริฐ วิวิธกุล. บุคลากรที่ร่วมเดินทางจำนวน ๒๒ คน. กลุ่มครูและเจ้าหน้าที่

gladys
Download Presentation

สรุปการศึกษาดูงาน ประเทศมาเลเซีย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สรุปการศึกษาดูงานประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๒ เมษายน ๒๕๔๗

  2. บุคลากรที่ร่วมเดินทางจำนวน ๒๒ คน • กลุ่มผู้บริหาร ๑. ดร.ธงชัย ชิวปรีชา ๒ ดร.ธีรวัฒน์ มงคลอัศวรัตน์ ๓. นางพรรณิภา อาษาภา ๔. นายประเสริฐ วิวิธกุล

  3. บุคลากรที่ร่วมเดินทางจำนวน ๒๒ คน • กลุ่มครูและเจ้าหน้าที่ ๑. นางนันทพร สุนันทวนิช ๒. นายสุชาติ จรรยาวุฒิวรรณ์ ๓. นางนฤนาท ธีรภัทรธำรง ๔. นางอัจฉรา เก่งบัญชา ๕. น.ส.จตุภรณ์ สวัสดิ์รักษา ๖. น.ส.ปราณี ช้างแก้ว ๗. น.ส.สมฤทัย หอมชื่น ๘. น.ส.นิธิกานต์ คิมอิ๋ง ๙. นายบุญนที ศักดิ์บุญญารัตน์ ๑๐. น.ส.ศิริพร บุญเปลี่ยนพล ๑๑. น.ส.เตือนใจ บุญมีพิพิธ ๑๒. น.ส.มนทกานต์ ทรัพย์แก้ว ๑๓. นายวีระวุฒิ เทียนขาว ๑๔. นางปาริชาต ปังสุวรรณ ๑๕. น.ส.จตพร ค้าฮั้ว ๑๖. น.ส.จีรนันท์ เกรียงธีรศักดิ์ ๑๗. น.ส.สายสมร ยมวชิราสิน ๑๘. น.ส.อรอุษา จันทคร ๑๙. น.ส.ศิริณี ภิรมย์รัตน์ ๒๐. น.ส.วริษา ทานัน ๒๑. นายพงษ์พันธ์ จึงวัฒนมงคล ๒๒. น.ส.ธวชินี โรจนาวี

  4. สถานที่ศึกษาดูงาน • การดูงานสถานศึกษา ๓ แห่งได้แก่ ๑. THE SAAD FOUNDATION COLLEGE ๒. SRI SEDEYA SCHOOL ๓. SEKOLAH MENAGA SERI BINTANG UTARA IN CHERAS

  5. THE SAAD FOUNDATION COLLEGE ประวัติ - ตั้งอยู่ที่ มะละกา ตั้งอยู่บนเนินเขา ลดหลั่นกันไปท่ามกลางธรรมชาติที่แวดล้อมไปด้วยป่าไม้ - ได้รับการก่อตั้งเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.๑๙๙๕ - โดย Mr.Halim Saad มหาเศรษฐีชาวมาเลเซียผู้หนึ่ง ซึ่งแต่เดิมเป็นคนยากจน ต่อเมื่อประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจร่ำรวยอย่างมหาศาล จึงตอบแทนประเทศชาติด้วยการสร้างโรงเรียนผู้นำแห่งนี้ เพื่อผลิตบุคลากรที่เป็นเด็กอัจฉริยะให้ศึกษาเล่าเรียนอย่างดี โดยปลูกฝังความเป็นผู้นำควบคู่ไปกับคุณธรรมจริยธรรม

  6. THE SAAD FOUNDATION COLLEGE วิธีการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียน คัดจากนักเรียนทั่วประเทศ มีจำนวนผู้สมัครในแต่ละปีเฉลี่ยประมาณปีละ ๑๐,๐๐๐ คน จะคัดเข้าเรียนเพียงรุ่นละ ๖๐ คนเท่านั้น จำนวนนักเรียนทั้งโรงเรียนต้องไม่เกิน ๓๕๐ คน รับนักเรียนตั้งแต่ระดับม.ต้น จัดการเรียนการสอนจนจบ ม.ปลาย โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกดังนี้ - นักเรียนต้องได้เกรด A ไม่ต่ำกว่า ๓ ตัว ในการสอบ UPSR และได้เกรด A ไม่ต่ำกว่า ๖ ตัว ในการสอบ PMR - ผลการเรียนในอดีตต้องดีเลิศ - ต้องมีความสามารถพิเศษด้านกีฬา มีสุขภาพแข็งแรง -ฐานะค่อนข้างยากจน (แต่ที่สนทนากับอาจารย์ใหญ่ทราบว่ารับทั้งคนรวยและคนจน)

  7. THE SAAD FOUNDATION COLLEGE วิธีการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียน (ต่อ) - ต้องทำข้อสอบคัดเลือกของโรงเรียนได้ผลยอดเยี่ยมอันได้แก่ การทดสอบความแข็งแรง ความฉลาด ความเป็นผู้นำ ความสามารถทางกีฬา และการทดสอบอื่นๆ เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้ว นักเรียนจะได้เรียนฟรี พร้อมเงินค่าใช้จ่ายให้เป็นรายเดือน(Allowance) ให้อีกคือ - ระดับม.ต้นจะได้รับ ๔๐ ริงกิตต่อเดือน - ระดับม.ปลายจะได้รับ ๖๐ ริงกิตต่อเดือน

  8. THE SAAD FOUNDATION COLLEGE อุดมการณ์และเป้าหมายของโรงเรียนมี ๕ ประการซึ่งมาจากแนวคิดของ Mr.Halim Saad ดังนี้ ๑. วิชาการเป็นเลิศ ๒. ผลการเรียนภาษาอังกฤษเยี่ยม ๓. นักเรียนได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพ ๔. มีวง Orchestra ที่ดีที่สุด ๕. เป็นเลิศในกีฬา Rugby

  9. THE SAAD FOUNDATION COLLEGE ศูนย์กีฬา ประกอบไปด้วยสนามฟุตบอล สนามรักบี้ สนามฮอกกี้ ลู่วิ่ง สระว่ายน้ำซึ่งมีถึง ๒ สระได้แก่ สระขนาดมาตรฐานโอลิมปิก และสระที่มีความยาวถึง ๓๐๐ เมตร

  10. THE SAAD FOUNDATION COLLEGE หอพัก หอพักชาย – หญิง จะแยกกันห่างมากจะเรียกว่าคนละเนินเขา ลักษณะหอพักจะเป็นอาคาร ๒ ชั้น มีห้องใหญ่ บรรจุนักเรียนประมาณ ๑๐ คน ทุกคนจะนอนเตียงเดี่ยวเป็นระเบียบเรียบร้อย ใกล้ห้องพักจะมีห้อง study – room ซึ่งด้านหน้าจะมีตู้ลิ้นชักสำหรับนักเรียนแต่ละคนเก็บอุปกรณ์การเรียน

  11. THE SAAD FOUNDATION COLLEGE โรงอาหาร มี ๒ แห่ง คือ Cafeteria ซึ่งจะมีร้านค้าจำหน่ายอาหารต่างๆ คล้ายโรงอาหารที่โรงเรียนของเรา และโรงอาหารที่ทางโรงเรียนจัดบริการอาหารให้นักเรียนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ที่นี่คณะผู้ศึกษาดูงานได้มีโอกาสรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับนักเรียนด้วย

  12. THE SAAD FOUNDATION COLLEGE Resource Center ประกอบไปด้วย ห้องอินเตอร์เน็ตและห้องสมุด

  13. THE SAAD FOUNDATION COLLEGE ห้องเรียนดนตรี เป็นห้องเก็บเสียงที่นักเรียนใช้เรียนและฝึกซ้อม

  14. THE SAAD FOUNDATION COLLEGE ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ จะมีลักษณะเหมือนห้องทดลองตามโรงเรียนต่างๆโดยทั่วไป

  15. SRISEDEYASCHOOL โรงเรียน SRI SEDEYA มีสถานภาพเป็นโรงเรียนราษฏร์ อีกแห่งหนึ่งของมาเลเซีย จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถม และมัธยมศึกษาตอนต้น ที่นี่จะเน้นการเรียนการสอน ๓ ภาษา ได้แก่ ภาษามาเลเซีย ภาษาจีนกลาง และภาษาอังกฤษ รายวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ต้องสอนด้วยภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับของรัฐบาลมาเลเซียให้ทุกโรงเรียนปฏิบัติ สถานที่ที่ทางโรงเรียนจัดให้เยี่ยมชมมีดังนี้

  16. SRISEDEYASCHOOL ห้องเรียนเด็กระดับประถม

  17. SRISEDEYASCHOOL โรงฝึกงานจะมีอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ สำหรับให้นักเรียนประดิษฐ์วัสดุที่ต้องการ

  18. SRISEDEYASCHOOL โรงยิม จะใช้ในการเล่นกีฬาและการแสดงต่างๆ

  19. SRISEDEYASCHOOL ห้องเรียนดนตรี ลักษณะเหมือนห้องเรียนอื่นๆ แต่เสียงจะไม่รบกวน เนื่องจากเป็นห้องติดเครื่องปรับอากาศ

  20. SRISEDEYASCHOOL ชมการสาธิตการสอนวิชาฟิสิกส์

  21. SEKOLAH MENAGA SERI BINTANG UTARA IN CHERAS เป็นโรงเรียนรัฐบาลระดับมัธยมศึกษา และเป็นหนึ่งในจำนวน Smart School ทั้งหมด๙๐ แห่งของมาเลเซีย ซึ่งจัดการเรียนการสอนด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่นี่จะเน้นภาษามาเลเซียและภาษาอังกฤษ และใช้ภาษาอังกฤษในการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ตามข้อบังคับของรัฐบาลมาเลเซียเช่นกัน

  22. SEKOLAH MENAGA SERI BINTANG UTARA IN CHERAS การรับนักเรียนจะมี ๒ วิธี คือ ส่วนหนึ่งจะรับจากโรงเรียนSEKOLAH MENAGA SERI BINTANG UTARA IN CHERAS ฝ่ายประถม และจากการสอบคัดเลือกโดยกระทรวงศึกษาธิการ นักเรียนที่นี่จะต้องเสียค่าลงทะเบียนคนละ ๗๐ลิงกิต /ปี (ประมาณ ๗๐๐ บาท) ส่วนงบประมาณที่ได้รับจากกระทรวงศึกษานั้นจะขึ้นอยู่กับจำนวนนักเรียน และรายวิชา รายวิชาที่ได้รับงบประมาณมากได้แก่ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ ส่วนกลุ่มวิชาภาษาจะใช้งบประมาณน้อยกว่า ทั้งนี้เพราะค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ต่างกัน

  23. SEKOLAH MENAGA SERI BINTANG UTARA IN CHERAS ห้องคอมพิวเตอร์

  24. SEKOLAH MENAGA SERI BINTANG UTARA IN CHERAS ชมการสาธิตการสอนวิชาชีววิทยา แบบนักเรียนเป็นศูนย์กลางโดยใช้ I.Tโดยครูจะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ตั้งหัวข้อให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าโดยใช้สื่อ I.T กำหนดเวลาและให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผลการค้นคว้า โดยใช้อุปกรณ์ I.T

  25. SEKOLAH MENAGA SERI BINTANG UTARA IN CHERAS ห้องสมุด

  26. SEKOLAH MENAGA SERI BINTANG UTARA IN CHERAS ชมการสาธิตการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ด้วยSmartSchool Program

  27. SEKOLAH MENAGA SERI BINTANG UTARA IN CHERAS ห้องสมุด

  28. การศึกษาสภาพภูมิทัศน์ และสถานที่ทางประวัติศาสตร์ เมืองประวัติศาสตร์ของมะละกาได้ชมสภาพเมืองประวัติศาสร์เกี่ยวกับที่ครั้งหนึ่งมะละกาแห่งนี้เคยตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส

  29. การศึกษาสภาพภูมิทัศน์ และสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ภูมิทัศน์ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ภูมิทัศน์ในกรุงภาพ แม่น้ำสายหลัก น้ำอันเป็นที่มาของชื่อกัวลาลัมเปอร์ แปลว่าเมือง ที่ตั้งอยู่บนแม่น้ำแห่งโคลน (Muddy River)กัวลาลัมเปอร์

  30. การศึกษาสภาพภูมิทัศน์ และสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ภาพ จัตุรัส เมอร์เดก้า เป็นอนุสรณ์สถานจากการที่มาเลเซียได้รับอิสรภาพคืนจากอังกฤษ(ขวา) และสุลต่าน อับดุล ซามัด (ซ้าย)

  31. การศึกษาสภาพภูมิทัศน์ และสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ภาพ บนหอคอย KL Towerที่กรุงกัวลาลัมเปอร์และภาพถ่ายตึกแฝด KLCCลงจากหอคอย

  32. การศึกษาสภาพภูมิทัศน์ และสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ภาพ มัสยิดใหญ่มี่สุดในเอเชียอาคเนย์ และทำเนียบรัฐบาล ในเมืองปุตระจายา (เมืองใหม่ของมาเลเซียที่สร้างเพื่อเป็น ศูนย์กลางการบริหารประเทศ เมืองนี้จะเป็นที่ตั้งของกระทรวงต่างๆ พระราชวัง และบ้านพักนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของI.T.ด้วย )

  33. การศึกษาสภาพภูมิทัศน์ และสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ภาพ มัสยิดใหญ่มี่สุดในเอเชียอาคเนย์ และทำเนียบรัฐบาล ในเมืองปุตระจายา (เมืองใหม่ของมาเลเซียที่สร้างเพื่อเป็น ศูนย์กลางการบริหารประเทศ เมืองนี้จะเป็นที่ตั้งของกระทรวงต่างๆ พระราชวัง และบ้านพักนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของI.T.ด้วย )

  34. ขอขอบคุณ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ท่านผู้อำนวยโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เพื่อนครูโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ทุกท่าน

More Related