340 likes | 1.14k Views
การสืบพยานล่วงหน้า. หัวข้อบรรยาย. 1. การสืบพยานล่วงหน้าในคดีแพ่ง (ป.วิ.พ.มาตรา 101, 101/1 และ 101/2) 2. การสืบพยานล่วงหน้าในคดีอาญา (ก่อนฟ้องคดีตาม ป.วิ.อ มาตรา 237 ทวิ) 3. การสืบพยานล่วงหน้าในคดีอาญา (หลังฟ้องคดีต่อศาลแล้วตาม ป.วิ.อ มาตรา 55/1 และ มาตรา 173/2)
E N D
หัวข้อบรรยาย 1. การสืบพยานล่วงหน้าในคดีแพ่ง (ป.วิ.พ.มาตรา 101, 101/1 และ 101/2) 2. การสืบพยานล่วงหน้าในคดีอาญา (ก่อนฟ้องคดีตาม ป.วิ.อ มาตรา 237 ทวิ) 3. การสืบพยานล่วงหน้าในคดีอาญา (หลังฟ้องคดีต่อศาลแล้วตาม ป.วิ.อ มาตรา 55/1 และ มาตรา 173/2) 4. การสืบพยานล่วงหน้ากรณีพยานผู้เชี่ยวชาญและพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (มาตรา 237 ตรี)
1. การสืบพยานล่วงหน้าในคดีแพ่ง (ป.วิ.พ.มาตรา 101) กรณีที่ 1 ยังไม่มีการฟ้องคดีต่อศาล เกรงว่าพยานที่จะต้องอ้างอิงภายหน้า จะสูญหาย / ยากแก่การนำมาสืบ กรณีที่ 2 มีการฟ้องคดีแล้ว 1) พยานจะสูญหายเสียก่อนที่จะนำมาสืบ 2) เป็นการยากที่จะนำมาสืบภายหลัง
วิธีการ ทำเป็นคำร้องสองฝ่าย 1. ถ้าเป็นกรณีที่ยังไม่มีการฟ้องคดีต่อศาล ศาลจะหมายเรียกผู้ขอมาสอบถาม 2. ถ้าเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ศาลก็จะเรียกคู่ความ หรือ บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องมาสอบถาม
ข้อสังเกต (1) หากศาลอนุญาตให้ฝ่ายใดสืบพยานล่วงหน้าแล้ว ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว คู่ความฝ่ายตรงข้ามมีสิทธิที่จะซักค้านพยานเช่นนั้นได้เช่นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามปกติทุกประการ แต่ถ้ายังไม่มีการฟ้องคดี ศาลก็อาจใช้ดุลพินิจถามพยานเพิ่มเติมเพื่อให้คำเบิกความสมบูรณ์และกระจ่างชัดได้ (2) กรณีที่ยังไม่มีการฟ้องคดีผู้ที่จะนำพยานมาสืบล่วงหน้ามีสิทธิที่จะแต่งทนายว่าคดีแทนได้ เพราะถือว่าการสืบพยานล่วงหน้าเป็นกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่ง
การสืบพยานล่วงหน้าในคดีแพ่งโดยขอให้ศาลสั่งให้ยึดหรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานต่อศาลที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานที่ขอสืบไว้ก่อนได้ “มาตรา 101/1 ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินซึ่งจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานใดเป็นการเร่งด่วนและไม่สามารถแจ้งให้คู่ความฝ่ายอื่นทราบก่อนได้ เมื่อมีการยื่นคำขอตามมาตรา 101 พร้อมกับคำฟ้องหรือคำให้การหรือภายหลังจากนั้น คู่ความฝ่ายที่ขอจะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องรวมไปด้วยเพื่อให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าก็ได้ และถ้าจำเป็นจะขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยึดหรือให้ส่งต่อศาลซึ่งเอกสารหรือวัตถุที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานที่ขอสืบไว้ก่อนด้วยก็ได้
คำร้องตามวรรคหนึ่งต้องบรรยายถึงข้อเท็จจริงที่แสดงว่ามีเหตุฉุกเฉินซึ่งจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานใดโดยเร่งด่วนและไม่สามารถแจ้งให้คู่ความฝ่ายอื่นทราบก่อนได้ รวมทั้งความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการที่มิได้มีการสืบพยานหลักฐานดังกล่าว ส่วนในกรณีที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยึดหรือให้ส่งต่อศาลซึ่งเอกสารหรือวัตถุที่จะใช้เป็นพยานหลักฐาน คำร้องนั้นต้องบรรยายถึงข้อเท็จจริงที่แสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องยึดหรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุนั้นว่ามีอยู่อย่างไร ในการนี้ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำร้องนั้น เว้นแต่จะเป็นที่พอใจของศาลจากการไต่สวนว่ามีเหตุฉุกเฉินและมีความจำเป็นตามคำร้องนั้นจริง แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิคู่ความฝ่ายอื่นที่จะขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานดังกล่าวมาศาลเพื่อถามค้านและดำเนินการตามมาตรา 117 ในภายหลัง หากไม่อาจดำเนินการดังกล่าวได้ ศาลต้องใช้ความระมัดระวังในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน”
โดยมีบทบัญญัติในเรื่องการวางประกันความเสียหายเนื่องจากการยึดหรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุไว้ในมาตรา 101/2 ดังนี้ “ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอให้ยึดหรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุที่จะใช้เป็นพยานหลักฐาน ศาลอาจกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควร และจะสั่งด้วยว่าให้ผู้ขอนำเงินหรือหาประกันตามจำนวนที่เห็นสมควรมาวางศาลเพื่อการชำระค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่บุคคลใด เนื่องจากศาลได้มีคำสั่งโดยมีความเห็นหลงไปว่ามีเหตุจำเป็นโดยความผิดหรือเลินเล่อของผู้ขอก็ได้ ให้นำความในมาตรา 261 มาตรา 262 มาตรา 263 มาตรา 267 มาตรา 268 และมาตรา 269 มาใช้บังคับแก่กรณีตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม และในกรณีที่ทรัพย์ซึ่งศาลสั่งยึดนั้นเป็นของบุคคลที่สาม ให้บุคคลที่สามมีสิทธิเสมือนเป็นจำเลยในคดี และเมื่อหมดความจำเป็นที่จะใช้เอกสารหรือวัตถุนั้นเป็นพยานหลักฐานต่อไปแล้ว เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อผู้มีสิทธิจะได้รับคืนร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคืนเอกสารหรือวัตถุนั้นแก่ผู้ขอ”
2. การสืบพยานล่วงหน้าในคดีอาญา(ก่อนฟ้องคดีตาม ป.วิ.อ มาตรา 237 ทวิ) หลักการ 1. ก่อนฟ้องคดีต่อศาลมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า 1.1 พยานบุคคลซึ่งจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร 1.2 พยานบุคคลไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง 1.3 พยานบุคคลเป็นบุคคลที่ถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากศาลที่พิจารณาคดี 1.4 จะมีการยุ่งเหยิงกับพยานนั้นไม่ว่าโดยทางตรง หรือ ทางอ้อม 1.5 มีเหตุจำเป็นอื่นอันเป็นการยากแก่การนำพยานนั้นมาสืบในภายหน้า
2. พนักงานอัยการต้องเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีการสืบพยานนั้นไว้ทันที โดยพนักงานอัยการเอง โดยได้รับการร้องขอจากผู้เสียหาย โดยได้รับการร้องขอจากพนักงานสอบสวน 3. ถ้ารู้ตัวผู้กระทำผิดและผู้นั้นถูกควบคุมอยู่ให้นำตัวหรือเบิกตัวผู้นั้นมาศาล ข้อสังเกต ดู ฎ.2980/2547 แม้ผู้ต้องหาจะไม่ถูกจับกุมและถูกควบคุมตัวอยู่ ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้สืบพยานบุคคลล่วงหน้าตาม ป.วิ.อ.มาตรา 237 ทวิได้
4. คำร้องของพนักงานอัยการจะต้องระบุถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิด 5. ผู้ต้องหาจะซักค้าน หรือตั้งทนายความซักค้านพยานนั้นได้ 6. มาตรา 237 ทวิ ให้สิทธิผู้ต้องหาที่จะขอสืบพยานบุคคลได้ล่วงหน้าเช่นกัน แต่ในทางปฏิบัติไม่ค่อยมีการร้องขอเช่นนี้
7. ถึงแม้ว่ามาตรา 237 ทวิ จะให้สิทธิในการสืบพยานบุคคลเท่านั้น แต่ในการนำสืบพยานบุคคลนั้นย่อมนำสืบรับรองพยานเอกสารและพยานวัตถุและอ้างส่งพยานเอกสารและพยานวัตถุได้ แต่จะส่งพยานเอกสารและพยานวัตถุโดยไม่มีการนำสืบพยานบุคคลไม่ได้ 8. คำพยานนั้นรับฟังได้เมื่อผู้ต้องหาถูกฟ้องเป็นจำเลยในภายหลัง การฟ้องคดีนั้นต้องเป็นการฟ้องผู้ต้องหาเป็นจำเลยในการกระทำความผิดอาญานั้นเท่านั้น ถ้าไปฟ้องในความผิดฐานอื่นก็ไม่เข้าองค์ประกอบตามบทบัญญัตินี้
ข้อสังเกต การรับฟังการสืบพยานบุคคลไว้ล่วงหน้านี้ เป็นข้อยกเว้นของหลักที่ว่า การพิจารณาคดีนั้นต้องทำต่อหน้าจำเลย และคำพยานนั้นจะต้องอ่านให้พยานฟังต่อหน้าจำเลย เมื่อกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 237 ทวิ ศาลก็ต้องรับฟังคำพยานเช่นนี้
อย่างไรก็ตาม คำพยานดังกล่าวจะมีน้ำหนักเพียงใดเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ศาลต้องพิจารณาชั่งน้ำหนักคำพยานนั้นจากการตอบคำถามของพยาน ถ้าคำพยานนั้นมีน้ำหนักให้เชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิด และจำเลยนำสืบหักล้างคำพยานนี้ไม่ได้ ศาลก็ต้องพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องโจทก์
ฎ.9412/2539 ป.วิ.อ.มาตรา 237 ทวิ ที่ให้ศาลซักถามพยานนั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ต้องหาต้องการทนายความและศาลเห็นว่าไม่สามารถตั้งทนายความได้ทัน เมื่อจำเลยไม่ต้องการทนายความ หากแม้ศาลจะมิได้ซักถามพยานนั้นให้แทนจำเลย การสืบพยานก็ชอบ และรับฟังคำเบิกความของพยานในการพิจารณาคดีเมื่อจำเลยถูกฟ้องได้
ฎ. 757/2545ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ เป็นเรื่องของการสืบพยานผู้เสียหายไว้ก่อนเพราะจะต้องเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรอันเป็นการยากแก่การนำมาสืบ ซึ่งอยู่ในหมวด 2 พยานบุคคล การสืบพยานผู้เสียหายดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 172 วรรคสอง เพราะมิใช่การพิจารณาหลังฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามว่าจำเลยกระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู่อย่างไร
ส่วนการสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดี แม้จะมีการพิมพ์ข้อความแทรกระหว่างบรรทัดในรายงานกระบวนพิจารณาว่า “ก่อนสืบพยานได้สอบถามผู้ต้องหาแล้วแถลงว่าไม่ต้องการทนายความ” แต่จำเลยมิได้ยืนยันว่าศาลชั้นต้นมิได้ถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ แต่กลับบอกว่าจำไม่ได้ว่าศาลถามหรือไม่ จึงต้องฟังว่าศาลชั้นต้นได้ถามจำเลยในเรื่องทนายความแล้ว การสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีต่อศาลจึงเป็นไปโดยชอบ
ฎ. 2980/2547 ก่อนฟ้องคดีต่อศาล เมื่อมีเหตุดังที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ วรรคแรก พนักงานอัยการย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลมีคำสั่งสืบพยานนั้นไว้ทันทีก็ได้ โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นกรณีที่ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่หรือไม่ ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ วรรคสี่ ก็ให้ศาลสามารถมีคำสั่งอนุญาตให้สืบพยานและอ่านคำเบิกความของพยานให้พยานนั้นฟังได้ แม้ผู้ต้องหาจะไม่ถูกจับกุมหรือถูกควบคุมตัวอยู่
ฎ.3541-3542/2550 ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้พนักงานอัยการมีสิทธิขอให้สืบพยานไว้ก่อนฟ้องคดีต่อศาล การสืบพยานดังกล่าวจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 172 วรรคสอง คดีนี้ปรากฏว่าในวันนัดสืบพยานปากผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีต่อศาล พนักงานอัยการได้แจ้งวันนัดสืบพยานให้จำเลยที่ 3 ทราบแล้ว แต่จำเลยที่ 3ไม่มาศาลและไม่แต่งตั้งทนายความ แสดงว่าจำเลยที่3 ไม่ติดใจจะถามค้านผู้เสียหาย การสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีต่อศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย 19
3. การสืบพยานล่วงหน้าในคดีอาญา(หลังฟ้องคดีต่อศาลแล้ว) มาตรา 237 ทวิ เป็นเรื่องการสืบพยานล่วงหน้าก่อนฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งเดิมถ้าต้องการสืบพยานล่วงหน้าหลังจากฟ้องคดีต่อศาลแล้ว น่าจะดำเนินการตาม ป.วิ.พ.มาตรา 101 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่บทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่ชัดเจน จึงได้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติให้มีการสืบพยานล่วงหน้าได้หลังจากฟ้องคดีต่อศาลแล้วเมื่อมีกรณีเกิดขึ้นตาม ป.วิ.อ มาตรา 55/1 และมาตรา 173/2 จึงต้องถือว่าไม่อาจนำ ป.วิ.พ มาตรา 101 มาใช้ได้อีกแล้ว
1. การสืบพยานล่วงหน้าตาม ป.วิ.อ.มาตรา 55/1 “ในคดีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าศาลมีคำสั่งให้ออกหมายเรียกพยานโจทก์โดยมิได้กำหนดวิธีการส่งไว้ ให้พนักงานอัยการมีหน้าที่ดำเนินการให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่เป็นผู้จัดส่งหมายเรียกแก่พยานและติดตามพยานโจทก์มาศาลตามกำหนดนัดแล้วแจ้งผลการส่งหมายเรียกไปยังศาลและพนักงานอัยการโดยเร็ว หากปรากฏว่าพยานโจทก์มีเหตุขัดข้องไม่อาจมาศาลได้หรือเกรงว่าจะเป็นการยากที่จะนำพยานนั้นมาสืบตามที่ศาลนัดไว้ ก็ให้พนักงานอัยการขอให้ศาลสืบพยานนั้นไว้ล่วงหน้าตามมาตรา 173/2 วรรคสอง”
หลักการ การสืบพยานล่วงหน้าตามมาตรา 55/1 พนักงานอัยการโจทก์อาศัยเหตุ 2 ประการ คือ (1) พยานโจทก์ (พยานบุคคล) มีเหตุขัดข้องไม่อาจมาสืบพยานตามกำหนดฟ้องของศาลได้ หรือ (2) เป็นการยากที่จะนำพยานโจทก์มาสืบพยานตามกำหนดนัดของศาล
ข้อพิจารณาและข้อสังเกตข้อพิจารณาและข้อสังเกต 1. การสืบพยานล่วงหน้าตามมาตรา 55/1 ใช้เฉพาะกับพนักงานอัยการโจทก์เท่านั้น กรณีที่ศาลเห็นสมควรก็ดี ราษฎรเป็นโจทก์ก็ดี จำเลยก็ดี อาจขอสืบพยานหลักฐานไว้ล่วงหน้าได้ตามมาตรา 173/2 วรรคสอง
2. การสืบพยานล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และรายละเอียดดังเช่นมาตรา 237 ทวิ ดังนั้น จึงน่าจะถือว่าเป็นกรณีสืบพยานตามปกติเพียงแต่ร่นเวลามาสืบเร็วขึ้น จึงต้องปฏิบัติตามวิธีการสืบพยานในกรณีปกติทุกประการ เช่น ต้องสืบพยานต่อหน้าจำเลย เว้นแต่จะเข้าด้วยข้อยกเว้น ดังนั้น จึงไม่น่าจะนำ ฎ.2980/2547 มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้
2. การสืบพยานล่วงหน้าตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173/2 วรรคสอง “ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อศาลเห็นสมควรหรือคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดร้องขอ ศาลจะมีคำสั่งให้สืบพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีไว้ล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดวันนัดสืบพยานก็ได้”
หลักการ 1. การสืบพยานหลักฐานล่วงหน้าตามมาตรา 173/2 วรรคสองกว้างขวางมากเพราะรวมไปถึงพยานหลักฐานทุกประเภท 2. คู่ความทุกฝ่ายมีสิทธิขอและศาลมีดุลพินิจในการสั่งให้สืบพยานหลักฐานล่วงหน้า 3. เงื่อนไขสำคัญที่จะมีการสืบพยานหลักฐานล่วงหน้าตามมาตรา 173/2 วรรคสอง คือ คดีนั้นต้องมีการตรวจพยานหลักฐาน โดยศาลกำหนดให้มีวันตรวจพยานหลักฐานตามมาตรา 173/2
ข้อพิจารณาและข้อสังเกตข้อพิจารณาและข้อสังเกต การสืบพยานหลักฐานล่วงหน้าตามมาตรานี้ เป็นกรณีเดียวกับการสืบพยานล่วงหน้าตามมาตรา 55/1 ดังนั้นน่าจะถือว่าเป็นกรณีสืบพยานตามปกติเพียงแต่ร่นเวลามาสืบเร็วขึ้น จึงต้องปฏิบัติตามวิธีการสืบพยานหลักฐานในกรณีปกติทุกประการ เช่น ต้องสืบพยานต่อหน้าจำเลย เว้นแต่เข้าด้วยข้อยกเว้น ดังนั้น ไม่น่าจะนำ ฎ.2980/2547 มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้
การสืบพยานล่วงหน้ากรณีพยานผู้เชี่ยวชาญและพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์การสืบพยานล่วงหน้ากรณีพยานผู้เชี่ยวชาญและพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มาตรา 237 ตรี “ให้นำความในมาตรา 237 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กรณีการสืบพยานผู้เชี่ยวชาญ และพยานหลักฐานอื่น และแก่กรณีที่ได้มีการฟ้องคดีไว้แล้วแต่มีเหตุจำเป็นที่ต้องสืบพยานหลักฐานไว้ก่อนถึงกำหนดเวลาสืบพยานตามปกติตามมาตรา 173/2 วรรคสองด้วย ในกรณีที่พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จะสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงอันสำคัญในคดีได้ หรือมีเหตุอันควรเชื่อว่า หากมีการเนิ่นช้ากว่าจะนำพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อันสำคัญมาสืบในภายหน้าพยานหลักฐานนั้นจะสูญเสียไปหรือเป็นการยากแก่การตรวจพิสูจน์ ผู้ต้องหาหรือพนักงานอัยการโดยตนเองหรือเมื่อได้รับคำร้องจากพนักงานสอบสวนหรือผู้เสียหาย จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้ทำการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ตามความในมาตรา 244/1 ไว้ก่อนฟ้องก็ได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 237 ทวิมาใช้บังคับโดยอนุโลม”