460 likes | 1.02k Views
วิจัยในชั้นเรียน. วิทยา ใจวิถี ศึกษานิเทศก์ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ wit_ya@hotmail.com 082-890-7788. มาตรฐานที่ ๕ นวัตกรรมและการวิจัย (การประกันคุณภาพภายใน). J.Wittaya. ๓๕. จำนวนนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัยและโครงงาน
E N D
วิจัยในชั้นเรียน วิทยา ใจวิถี ศึกษานิเทศก์ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ wit_ya@hotmail.com 082-890-7788
มาตรฐานที่ ๕ นวัตกรรมและการวิจัย (การประกันคุณภาพภายใน) J.Wittaya
๓๕. จำนวนนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัยและโครงงาน สถานศึกษาสนับสนุนผู้สอน บุคลากร และผู้เรียน ในแต่ละหลักสูตร ทุกสาขาวิชา/สาขางาน ให้มีการสร้างและพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัยและโครงงานที่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอน หรือการประกอบอาชีพและ/หรือการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น และประเทศซึ่งนำไปสู่การแข่งขันระดับชาติ (ต่อภาคการศึกษา) ตามสาขางาน ๓๖. จำนวนนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัยและโครงงานที่มีประโยชน์ทางวิชาชีพ/หรือได้รับการเผยแพร่ระดับชาติ สถานศึกษาสนับสนุนผู้สอน บุคลากร และผู้เรียน ในแต่ละหลักสูตร ทุกสาขาวิชา/สาขางาน สร้างและพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัยและโครงงานที่มีประโยชน์ทางวิชาชีพ และ/หรือ สนับสนุนให้ผู้สอน ผู้เรียน เผยแพร่ผลงานในระดับชาติ J.Wittaya
๓๗. ร้อยละของงบประมาณที่ใช้ในการสร้าง พัฒนา และเผยแพร่นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย และโครงงานต่องบดำเนินการ งบประมาณที่ใช้จริงในการสร้าง และเผยแพร่นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย และโครงงานที่สาขาวิชา/สาขางานได้รับจัดสรรจากสถานศึกษา และหน่วยงานอื่น ต่องบดำเนินการ ๓๘. จำนวนครั้งและช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย และโครงงาน จัดการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัยและโครงงาน ด้วยวิธีการและช่องทางที่หลากหลาย เช่น วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ วารสาร นิทรรศการ ประชุม สัมมนาวิชาการ การนำเสนอผลงาน เป็นต้น J.Wittaya
ตัวบ่งชี้ การประกันคุณภาพภายนอกรอบสาม J.Wittaya
ผลงานที่เป็นนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์ หรือ • งานวิจัยของครูที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ • จำนวนนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์ งานวิจัยของครู ๓ ปีการศึกษา (ครูที่ปฏิบัติการสอนตั้งแต่ ๙ เดือนขึ้นไป) ที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ คำนวณต่อจำนวนครูประจำทั้งหมด โดยครอบคลุมกระบวนการดังนี้ • ๑. มีเป้าประสงค์ ๒. มีการระบุปัญหา ๓. มีวิธีดำเนินการ • ๔. มีการเก็บและบันทึกข้อมูล ๕. มีการวิเคราะห์และสรุปผล J.Wittaya
การบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้การบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการเรียนของผู้เรียน ๑. ผลการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ๑.๑ ..................... (จุดประสงค์ทั่วไป) - ระดับดี (ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป) ....... คน คิดเป็นร้อยละ....... - ระดับปานกลาง (ร้อยละ ๕๐ - ๗๐ ) .... คน คิดเป็นร้อยละ .. - ต้องปรับปรุง (ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐) ....... คน คิดเป็นร้อยละ..... J.Wittaya
๑.๒ ............... (จุดประสงค์ทั่วไป) - ระดับดี (ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป) ......... คน คิดเป็นร้อยละ....... - ระดับปานกลาง (ร้อยละ ๕๐ - ๗๐ ) ..... คน คิดเป็นร้อยละ ..... - ต้องปรับปรุง (ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐) ....... คน คิดเป็นร้อยละ..... ๒. ผลการประเมินพฤติกรรมที่ต้องการเน้น เช่น ๒.๑ ความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนรู้และความรับผิดชอบ - ระดับดี ....................... คน คิดเป็นร้อยละ .......... - ระดับปานกลาง ........... คน คิดเป็นร้อยละ .......... - ต้องปรับปรุง ................ คน คิดเป็นร้อยละ ......... J.Wittaya
๒.๒ กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล- ระดับดี (ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป) ......... คน คิดเป็นร้อยละ....... - ระดับปานกลาง (ร้อยละ ๕๐ - ๗๐ ) ..... คน คิดเป็นร้อยละ ..... - ต้องปรับปรุง (ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐) ....... คน คิดเป็นร้อยละ..... ๒.๓ ค้นคว้าได้ด้วยตนเอง - ระดับดี ....................... คน คิดเป็นร้อยละ..... - ระดับปานกลาง ........... คน คิดเป็นร้อยละ ......... - ต้องปรับปรุง ................ คน คิดเป็นร้อยละ.......... J.Wittaya
การวิจัยในชั้นเรียน “การวิจัยในชั้นเรียนแตกต่างจากการวิจัยในสถานศึกษา ตรงที่กลุ่มตัวอย่างและเป้าหมาย : การวิจัยในชั้นเรียนจะใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก มักศึกษาในห้องเรียนใดห้องเรียนหนึ่ง และมีเป้าหมายคือการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน” J.Wittaya
การวิจัยในชั้นเรียน • เป็นการวิจัยจากปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนเกี่ยวกับการเรียนการสอน • ทำการวิจัยเพื่อนำผลวิจัยไปพัฒนาการเรียนการสอน • ทำการวิจัยควบคู่กับการเรียนการสอน แล้วนำผลการวิจัยไปใช้แก้ปัญหาในชั้นเรียนและเผยแพร่ให้กับผู้อื่น • มีกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง J.Wittaya
การคิดค้นนวัตกรรม J.Wittaya
ขอบเขตการทำวิจัยในชั้นเรียนขอบเขตการทำวิจัยในชั้นเรียน ขอบเขตการทำวิจัยในชั้นเรียน ให้ความสำคัญกับการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม มี ๒ ประเภท ๑. สื่อการเรียนการสอนที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ (Invention) ๒. กิจกรรมการพัฒนา หรือเทคนิควิธีสอน (Instruction) J.Wittaya
การวิเคราะห์ปัญหาในชั้นเรียนเพื่อนำไปสู่การวิจัยการวิเคราะห์ปัญหาในชั้นเรียนเพื่อนำไปสู่การวิจัย • ปัญหาในขั้นผลสัมฤทธิ์และคุณลักษณะของผู้เรียนที่พึงประสงค์ • ความสามารถและคุณลักษณะที่คาดหวัง ๓ ด้าน ความรู้ ทักษะ และเจตคติ • ปัญหาในขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน • จิตวิทยาการสอน เทคนิคการสอนที่หลากหลาย ใช้สื่อเหมาะสม ดารวัดประเมินผลต่อเนื่อง • ปัญหาในขั้นการเตรียมการสอน • ความพร้อมของครู แผนการสอน อุปกรณ์ สื่อการสอน J.Wittaya
กรอบแนวคิด การวิจัยในชั้นเรียน J.Wittaya
วางแผนการเรียนการสอน แสวงหาแนวทางใหม่ๆ มาแก้ปัญหา บทเรียนสำเร็จรูป, e-learning, วีดิทัศน์ จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ศึกษาปัญหา ได้ประเด็นปัญหา สังเกต, ซักถาม, ทดสอบ, ตรวจผลงาน เน้นกระบวนการ, ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ประเมินผล รายงานการวิจัยในชั้นเรียน สรุป-เขียนรายงาน J.Wittaya
กระบวนการ จัดทำการวิจัยในชั้นเรียน J.Wittaya
ขั้นที่ ๑ การกำหนดประเด็นของการแก้ปัญหาหรือพัฒนา • เป็นปัญหาที่เกิดจากความแตกต่างระหว่างสภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่คาดหวังหรือเกิดจากความไม่สอดคล้องระหว่างสภาพที่เกิดขึ้นกับสภาพที่ควรจะเป็น • ปัญหาการวิจัยในชั้นเรียน ควรเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน หรือสิ่งที่ควรพัฒนาที่สามารถหาคำตอบได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้กระบวนการวิจัยที่ซับซ้อนและใช้เวลาไม่นาน • บันทึกหลังสอน เป็นข้อมูลสำคัญที่จะนำไปสู่การวิจัยในชั้นเรียน • กำหนดชื่อเรื่องที่วิจัย • กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย J.Wittaya
ขั้นที่ ๒ การศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง • ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัย รูปแบบ วิธีการ เพื่อแสดงความต่อเนื่องทางวิชาการ ที่จะทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น • ครูผู้สอนได้ศึกษา คิดค้นทางเลือกในการแก้ปัญหา J.Wittaya
ขั้นที่ ๓ การกำหนดรูปแบบ หรือวิธีการใช้ในการแก้ปัญหา (การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา) การวางแผนการวิจัยเป็นกระบวนการที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ล่วงหน้าว่า • กลุ่มเป้าหมาย, จำนวนเท่าใด • พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา (สื่อเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเทคนิควิธีสอน) • เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต ฯลฯ • กำหนดแผนการดำเนินการ ระบุว่า จะทำอะไร เมื่อไร J.Wittaya
ขั้นที่ ๔ การออกแบบการทดลอง • เป็นจุดเริ่มต้นของการไขปัญหาโดยใช้นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเป็นเครื่องมือในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา • วัดผลก่อนการใช้นวัตกรรม, ใช้นวัตกรรม, วัดผลหลังใช้นวัตกรรม • กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง • วัดและประเมินผลการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการเก็บรวบรวมขั้นมูล J.Wittaya
ขั้นที่ ๕ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัด • แบบทดสอบ (Test) • แบบสอบถาม (Questionnaires) • แบบสัมภาษณ์ (Interview) • แบบสังเกต (Observation) J.Wittaya
แบบทดสอบ (Test) • แบบทดสอบแบบอัตนัย หรือแบบความเรียง • แบบทดสอบแบบปรนัย ได้แก่ • แบบถูกผิด (True-False) • แบบเติมคำ (Completion) • แบบจับคู่ (Matching) • แบบเลือก (Multiple Choice) J.Wittaya
แบบสอบถาม (Questionnaires) • กำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้าง • ระบุเนื้อหาหรือประเด็นที่ครอบคลุมวัตถุประสงค์ • กำหนดประเภทของคำถาม (ปลายเปิด.ปลายปิด) • ร่างแบบสอบถาม • ตรวจสอบให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ • ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงเนื้อหาและภาษาที่ใช้ • ทดลองใช้เพื่อดูปรนัย ความเที่ยง เวลาที่ใช้ • ปรับปรุงแก้ไข • จัดพิมพ์ J.Wittaya
แบบสัมภาษณ์ (Interview) • แบบสัมภาษณ์ที่มีคำถามแน่นอน • แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีคำถามที่แน่นอน J.Wittaya
แบบสังเกต (Observation) • การสังเกตโดยเข้าไปร่วม (Participant Observation) • การสังเกตโดยไม่เข้าไปร่วม (Non-Participant Observation) J.Wittaya
ขั้นที่ ๖ การทดลอง รวบรวม วิเคราะห์และสรุปผล • ดำเนินการตามที่ได้ออกแบบการทดลองโดยใช้นวัตกรรมที่ได้พัฒนาขึ้น • รวบรวมข้อมูลจากการใช้เครื่องมือวัดผลในรูปแบบต่างๆ • วิเคราะห์ข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่สามารถแปลความและสื่อความหมายได้ มีความชัดเจน กะทัดรัด เข้าใจง่าย ตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย • สถิติที่ใช้ของการวิจัยควรไม่ซับซ้อน อาจนำเสนอในรูปของกราฟ ตาราง แผนภูมิ พร้อมทั้งอธิบายความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายได้ถูกต้อง J.Wittaya
ข้อมูลมี ๒ ลักษณะ • ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นตัวเลข เช่น คะแนนจากการทดสอบ • ข้อมูลเชิงคุณภาพ หรือคุณลักษณะ เป็นข้อมูลที่บรรยายหรืออธิบายคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องศึกษา โดยได้ข้อมูลจากการสังเกต การสอบถาม หรือการสัมภาษณ์เชิงสนทนากับกลุ่มเป้าหมายแล้วจดบันทึกเหตุการณ์หรือพฤติกรรมที่สังเกตเอาไว้ เช่น บรรยายความสามารถที่เกิดขึ้นภายหลังการใช้นวัตกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย J.Wittaya
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล • ร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ (Percentage) • ค่าเฉลี่ย (Average) • ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) J.Wittaya
ขั้นที่ ๗ สรุปผลและเขียนรายงานการวิจัย รายงานการวิจัยควรเขียนในลักษณะของผลงานที่จะใช้นำเสนอในที่ประชุมวิชาการ หรือผลงานที่จะใช้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ ซึ่งควรประกอบด้วย ๓ ตอน ตอนที่ ๑ ส่วนประกอบตอนต้น ตอนที่ ๒ ส่วนเนื้อเรื่องหรือตัวรายงาน ตอนที่ ๓ ส่วนอ้างอิง J.Wittaya
ตอนที่ ๑ ส่วนประกอบตอนต้น • ปกหน้า ปกหลัง • ใบรองปก • หน้าปกใน • คำนำ • สารบัญ • บัญชีตาราง (ถ้ามี) • บัญชีภาพ (ถ้ามี) J.Wittaya
ตอนที่ ๒ ส่วนเนื้อเรื่องหรือตัวรายงาน ประกอบด้วย ๕ บท โดยประมาณ ดังนี้ J.Wittaya
บทที่ ๑ บทนำ ๑. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เป็นการกล่าวถึงสภาพการทั่วไป ปัญหาทั่วไป แล้วโยงมาเป็นปัญหาที่จะต้องทำการวิจัย เพื่อแก้ปัญหา เป็นการเขียนจากสภาพกว้างๆ แล้วสรุปเป็นปัญหาที่เล็ก ๒. วัตถุประสงค์การวิจัย เป็นการเขียนเพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าเราต้องการจะทำวิจัยเพื่อตอบคำถามใด วัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องสอดรับกับปัญหาการวิจัยและหัวเรื่อง ๓. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการเขียนให้ทราบว่าการวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อใคร อย่างไร J.Wittaya
๔. นิยามศัพท์ เป็นการให้ความหมายของตัวแปรต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิจัย โดยเขียนให้เป็นนิยามเชิงพฤติกรรม ซึ่งมีตัวชี้วัด เพื่อประโยชน์ในการวัดตัวแปรนั้น ๕. ขอบเขตของการวิจัย เป็นการบอกให้ทราบว่า การวิจัยนี้มีขอบเขตของประชากรเพียงใดหรือ เป็นการศึกษาเฉพาะรายกรณีเนื้อหาวิชามีมากน้อยเพียงใดระยะเวลานานเพียงใดในการศึกษาทดลอง ๖. สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) เป็นการคาดเดาคำตอบปัญหาการวิจัยที่ผู้วิจัยได้ศึกษามาอย่างรอบคอบจากเอกสารเกี่ยวข้อง J.Wittaya
บทที่ ๒ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัย การค้นคว้าเอกสารเป็นการแสดงถึงศักยภาพทางวิชาการของผู้วิจัย ผู้เขียนต้องจัดหัวข้อให้เกี่ยวเนื่องกัน แล้วสรุปในทุกหัวข้อ ทุกประเด็น เพื่อเขียนกรอบความคิดในการวิจัย หลักการและแนวทางของนวัตกรรมที่ใช้แก้ปัญหาหรือทดลอง นอกจากนี้ยังสามารถสรุปเลือกตัวแปรต่างๆ ที่ใช้ในการวิจัยได้อย่างเป็นวิชาการ และที่สำคัญที่สุด สามารถตั้งสมมติฐานการวิจัยได้อย่างเหมาะสม J.Wittaya
บทที่ ๓ วิธีการดำเนินการวิจัย ๑. ประชากร เป็นการบอกว่าประชากรที่ศึกษาคือคนกลุ่มใด เช่น นักเรียนชั้น ปวช. ๓ สาขางานยานยนต์ วิทยาลัย...........หรือ นักศึกษาชั้น ปวส. ๒/๑ สาขางานโยธา วิทยาลัย.................. ๒. กลุ่มตัวอย่าง เป็นการเขียนเพื่อจะบอกว่า กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนเท่าใด ได้มาจากประชากรกลุ่มใด ๓. เครื่องมือวัดตัวแปร หรือเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้เขียนต้องเขียนบอกให้ชัดเจนว่า เครื่องมือมีกี่ชุด อะไรบ้าง มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมืออย่างไร J.Wittaya
๔. การเก็บรวบรวมข้อมูล (หรือวิธีการทดลองในกรณีทำการวิจัยเชิงทดลอง) ให้เขียนบอกให้ชัดเจนว่ามีวิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร หรือมีวิธีการทดลองและวัดผลอย่างไร ๕. การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการเขียนเพื่อบอกให้ทราบว่าในการวิเคราะห์ข้อมูล หรือทดสอบสมมติฐานใช้สถิติใด หรือใช้วิธีการอย่างใด J.Wittaya
บทที่ ๔ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล หรือผลการพัฒนาการเรียนการสอน หรือผลการทดลอง • เป็นการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ หรือคุณภาพ หรือข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดย • เรียงลำดับตามวัตถุประสงค์การวิจัย • ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาทางสถิติ • หากมีตารางหรือกราฟให้อธิบายอย่างชัดเจนว่าต้องการนำเสนออะไร J.Wittaya
บทที่ ๕ สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ เป็นการเขียนสรุปรวมการวิจัยตั้งแต่บทที่ ๑ ถึง ๔ มาไว้ด้วยกัน ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้ ๑. วัตถุประสงค์การวิจัย นำวัตถุประสงค์ในบทที่ ๑ มาเขียน ๒. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ๓. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ๔. สรุปวิธีดำเนินการวิจัยอย่างย่อ เขียนเป็นข้อความต่อเนื่องกันได้ไม่จำเป็นต้องแยกเป็นหัวข้อ เป็นการเกริ่นนำก่อนขึ้นหัวข้อ J.Wittaya
๕. สรุปผลการวิจัย เป็นการเขียนผลการวิจัยตามจุดมุ่งหมายทีละข้อ (ไม่ต้องมีตาราง) โดยนำผลจากบทที่ ๔ มาสรุปรวม ๖. อภิปรายผลการวิจัย เป็นการชี้แจงให้ผู้อ่านทราบว่าผลการวิจัยสอดคล้องกับผลการวิจัยของใคร สอดคล้องกับทฤษฎีใด ขัดแย้งกับผลการวิจัยของใคร หรือขัดแย้งกับทฤษฎีใด ผู้วิจัยสามารถสอดแทรกความคิดของตนเองเข้าไปได้อย่างเต็มที่ในการอภิปรายผล ๖. ข้อเสนอแนะ เป็นการเขียนแนะนำผู้อ่านให้ทราบว่า จากผลการวิจัยนี้สามารถนำผลไปประยุกต์ใช้ภาคปฏิบัติอย่างไร และสามารถจะวิจัยต่อในประเด็นใดได้บ้าง J.Wittaya
ตอนที่ ๓ ส่วนอ้างอิง บรรณานุกรม เป็นการแสดงให้ทราบว่าผู้วิจัยได้ค้นคว้าหามวลความรู้ เพื่อการทำการวิจัยครั้งนี้มากน้อยเพียงใด ภาคผนวก อาจนำเสนอภาพกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ อุปกรณ์ เป็นต้น ประวัติผู้เขียน (ถ้ามี) J.Wittaya
การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัด (๕) การทดลอง รวบรวม วิเคราะห์และสรุปผล (๖) การสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอน (๑) การออกแบบการทดลอง (๔) การกำหนดรูปแบบ หรือวิธีการใช้ในการแก้ปัญหา (การพัฒนานวัตกรรม) (๓) การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน (๗) การศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (๒) J.Wittaya
Hello ! J.Wittaya