861 likes | 2.16k Views
แนวทางการจัดทำข้อสอบ. กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน. ภารกิจในการจัดทำแบบทดสอบปลายภาคเรียน. หลักสูตรกศ.พื้นฐาน 2544 ส่วนกลางและภาคจัดทำให้สถานศึกษา หลักสูตร กศน.51(นำร่อง) -วิชาบังคับ ส่วนกลางและภาคจัดทำ -วิชาเลือก สนง.กศน.จังหวัดจัดทำ
E N D
แนวทางการจัดทำข้อสอบ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
ภารกิจในการจัดทำแบบทดสอบปลายภาคเรียนภารกิจในการจัดทำแบบทดสอบปลายภาคเรียน • หลักสูตรกศ.พื้นฐาน 2544 ส่วนกลางและภาคจัดทำให้สถานศึกษา • หลักสูตร กศน.51(นำร่อง) -วิชาบังคับ ส่วนกลางและภาคจัดทำ -วิชาเลือก สนง.กศน.จังหวัดจัดทำ • หลักสูตรกศน.51(ทั่วประเทศ) -วิชาบังคับ ส่วนกลางและภาคจัดทำ -วิชาเลือก สนง.กศน.จังหวัดจัดทำ
การกำหนดตารางสอบปลายภาคเรียนการกำหนดตารางสอบปลายภาคเรียน • 1. ส่วนกลาง จัดทำกำหนดตารางการสอบปลายภาคเรียนทั่วประเทศ เฉพาะวิชาบังคับทุกหลักสูตร- พื้นฐาน 2544 - กศน.51(นำร่อง) - กศน.51(ทั่วประเทศ) • 2. สำนักงานกศน.จังหวัด จัดทำกำหนดตารางการสอบวิชาเลือกเอง ในภาพรวมของจังหวัด
กำหนดการสอบปลายภาคเรียนที่1/2553กำหนดการสอบปลายภาคเรียนที่1/2553 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
กำหนดการสอบปลายภาคเรียนที่1/2553 (ต่อ) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
แบบทดสอบที่สถานศึกษาใช้สอบแบบทดสอบที่สถานศึกษาใช้สอบ ก่อนเรียน ระหว่างภาคเรียน ปลายภาคเรียน - แบบปรนัยเลือกตอบ (สถานศึกษามอบหมายผู้ออกข้อสอบปลายภาคเรียน แล้วจัดส่งให้สำนักงาน กศน.ดำเนินการคัดเลือกและปรับแก้ไข) -สถานศึกษาดำเนินการ
การกำหนดตารางสอบ NT ส่วนกลาง จัดทำแผนตารางสอบดังนี้
การสร้างแบบทดสอบปลายภาคเรียนการสร้างแบบทดสอบปลายภาคเรียน • สถานศึกษามอบหมายผู้ออกข้อสอบตามผังข้อสอบที่สำนักงาน กศน. กำหนด ตามรายวิชาที่สถานศึกษาเปิดให้ลงทะเบียนเรียนใน แต่ละภาคเรียน • สำนักงาน กศน.จะมีหนังสือแจ้งกำหนดวันให้สถานศึกษาจัดส่งข้อสอบมาให้คัดเลือกทั้งหลักสูตรเก่า และหลักสูตรใหม่ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
ปัญหาที่พบในการคัดเลือกข้อสอบปัญหาที่พบในการคัดเลือกข้อสอบ 1. ข้อสอบที่หลายจังหวัดส่งมาซ้ำกันมาก คำถามและคำตอบ เหมือนกันทุกประการ 2. ส่งข้อสอบที่สำนักงาน กศน.เคยส่งให้สถานศึกษานำไปจัดสอบ ในภาคเรียนที่ผ่านมา ส่งกลับคืนมาให้สำนักงาน กศน.เจ้าของข้อสอบ 3. ข้อสอบที่ครูออกมา ส่วนใหญ่วัดความรู้ความจำกันมาก เช่น ถามว่า แบ่งเป็นกี่ประเภท กี่กลุ่ม กี่รูปแบบ ฯลฯ 4. คำตอบถูกมีหลายข้อ, คำตอบถูกผิดเด่นชัดมาก, เฉลยผิด. 5. คำถามชี้แนะคำตอบ ฯลฯ
ตัวอย่างข้อสอบที่ส่งมาตัวอย่างข้อสอบที่ส่งมา • 1. ประเภทของโครงงานแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท ก. 4 ประเภท ข. 2 ประเภท ค. 3 ประเภท ง. 5 ประเภท ควรปรับแก้ไขเป็น ข้อใดจัดเป็นโครงงานประเภทสำรวจ? หรือ การศึกษาสูตรเครื่องดื่มที่ผลิตจากธัญพืชจัดเป็นโครงงานประเภทใด?
ตัวอย่างข้อสอบ (ต่อ) • 1. การป้องกันและต่อต้านยาเสพติด ควรทำโดยวิธีใดบ้าง ก. ป้องกันตนเอง ค. ป้องกันชุมชนให้ปลอดภัย ข. ป้องกันและแก้ไขในครอบครัว ง. ถูกทุกข้อ 2. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการชุมชน ก. วิเคราะห์ชุมชน ค. วิถีประชาธิปไตย ข. ประสานแหล่งงบประมาณ ง. สร้างทีมงานหมู่บ้าน
ทบทวนวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนทบทวนวิธีการวัดและประเมินผลการเรียน • สัดส่วนการวัดและประเมินผล - ระหว่างภาคเรียน 60 - ปลายภาคเรียน 40
วิธีการประเมินระหว่างภาคเรียนวิธีการประเมินระหว่างภาคเรียน • ใช้วิธีการที่หลากหลาย - การทำแบบฝึกหัด,รายงาน - การนำเสนอผลงาน - ทำแฟ้มผลงาน,โครงงาน - ทดสอบย่อย - การประเมินการปฏิบัติจริง ฯลฯ
ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินแฟ้มผลงานตัวอย่างเกณฑ์การประเมินแฟ้มผลงาน • 1. เกณฑ์ทางกายภาพ ได้แก่ การจัดรูปเล่ม การเรียงลำดับเนื้อหา ความน่าสนใจ ความสวยงามเรียบร้อย ฯลฯ (10 คะแนน) • 2. กระบวนการทำงาน (20 คะแนน) • 3. ผลงาน , ชิ้นงาน หรือเอกสารรายงาน (20 คะแนน) ตัวอย่างชิ้นงาน เช่น การประดิษฐ์ การทดลอง การศึกษาค้นคว้า การสำรวจ ฯลฯ
วิธีการประเมินปลายภาคเรียนวิธีการประเมินปลายภาคเรียน • เพื่อทราบผลการเรียนรู้โดยรวมของผู้เรียนตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของแต่ละรายวิชา โดยอาจใช้เครื่องมือที่หลากหลาย ดังนี้ - แบบทดสอบปรนัย - แบบทดสอบอัตนัย - แบบประเมินการปฏิบัติจริง
การตัดสินผลการเรียนรายวิชาการตัดสินผลการเรียนรายวิชา • ให้นำคะแนนระหว่างภาคเรียนมารวมกับคะแนนปลายภาคเรียน และต้องได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จึงจะถือว่าผ่าน การเรียนในรายวิชานั้น แล้วนำคะแนนไปให้ค่าระดับผลการเรียน ซึ่งกำหนดเป็น 8 ระดับดังนี้
การตัดสินผลการเรียนรายวิชาการตัดสินผลการเรียนรายวิชา ได้ 80% -100 %ให้ระดับ 4 หมายถึง ดีเยี่ยม ได้ 75% - 79 %ให้ระดับ 3.5 หมายถึง ดีมาก ได้ 70 % - 74 % ให้ระดับ 3 หมายถึง ดี ได้ 65 % - 69 % ให้ระดับ 2.5 หมายถึงค่อนข้างดี ได้ 60 % - 64 %ให้ระดับ 2 หมายถึงปานกลาง ได้ 55 % - 59 %ให้ระดับ 1.5 หมายถึงพอใช้ ได้ 50 % - 54 %ให้ระดับ 1 หมายถึงผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด ได้ 0 % - 49 % ให้ระดับ 0 หมายถึงต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด
เกณฑ์การจบหลักสูตร กศน.2551 1. ผ่านเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรายวิชาครบตามโครงสร้าง หลักสูตรในแต่ละระดับการศึกษา ดังนี้ 1.1 ประถม ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต(บังคับ36เลือก12) 1.2 ม.ต้น ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต(บังคับ40เลือก16) 1.3 ม.ปลาย ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต(บังคับ44เลือก32) 2. ผ่านเกณฑ์การประเมิน กพช. ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง 3. ผ่านการประเมินคุณธรรม ในระดับพอใช้ขึ้นไป(ผู้เรียนมีพฤติกรรม ตามตัวบ่งชี้ ร้อยละ50 – 69 ของพฤติกรรมบ่งชี้ในแต่ละคุณธรรม) 4. เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ
หลักการวัดและประเมินผลการเรียนหลักการวัดและประเมินผลการเรียน • 1. วัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายที่ต้องการวัด • 2. กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการวัดให้ชัดเจน • 3. ใช้แบบทดสอบที่มีคุณภาพ วัดจุดประสงค์และ เนื้อหาได้ครบถ้วน • 4. วัดได้ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ
หลักการวัดและประเมินผลการเรียน(ต่อ)หลักการวัดและประเมินผลการเรียน(ต่อ) • 5. มีความยุติธรรมในการวัด • 6. แปลผลของการวัดและประเมินผลได้ถูกต้อง • 7. ควรเน้นการวัดผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ • 8. นำผลการวัดและประเมินผลไปใช้อย่างคุ้มค่า
คำถามก่อนสร้างข้อสอบ 1. จะวัดผลในแต่ละมาตรฐานและเนื้อหามากน้อยเพียงใด 2. จะวัดผลโดยวิธีใด - การทดสอบ - การวัดภาคปฏิบัติ - การทำแฟ้มผลงาน, แบบฝึกหัด, รายงาน ฯลฯ 3. จะสร้างข้อสอบอย่างไร
คำถามก่อนสร้างข้อสอบ(ต่อ)คำถามก่อนสร้างข้อสอบ(ต่อ) 4. คำถามในข้อสอบควรวัดพฤติกรรมใดบ้าง 5. จะสร้างคำถามที่ดี ตัวเลือกที่ดีอย่างไร 6. จะตรวจให้คะแนนอย่างไร 7. จะนำคะแนนมาประเมินผลอย่างไร
ขั้นตอนการสร้างข้อสอบขั้นตอนการสร้างข้อสอบ • 1. กำหนดจุดมุ่งหมายในการวัด • 2. วิเคราะห์เนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการวัด(จัดทำตารางวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหาวิชาและพฤติกรรมที่ต้องการวัดตามที่หลักสูตรต้องการ) • 3. เลือกแบบของข้อสอบ
ขั้นตอนการสร้างข้อสอบ(ต่อ)ขั้นตอนการสร้างข้อสอบ(ต่อ) • 4. เขียนร่างข้อสอบ • 5. พิมพ์จัดชุดทั้งฉบับ • 6. นำไปทดสอบปลายภาคเรียน • 7. วิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ(รายข้อ, ทั้งฉบับ)
คุณสมบัติของผู้สร้างข้อสอบคุณสมบัติของผู้สร้างข้อสอบ • 1. ต้องมีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่จะสร้างข้อสอบ • 2. ต้องรู้เทคนิคการสร้างข้อสอบ - การเขียนคำถาม - การเขียนตัวเลือก ตัวถูก(เฉลย) - รู้หลักการสร้างข้อสอบ คุณสมบัติที่ดีของ ข้อสอบ
ตัวอย่างผังข้อสอบ ผังการออกข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียน หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระทักษะการเรียนรู้ ระดับ ประถม ม.ต้น ม.ปลาย รายวิชา การวิจัยอย่างง่าย มาตรฐานที่ 1.5 ให้มีความรู้ความเข้าใจในงานวิจัยอย่างง่าย
บัตรข้อสอบ • การส่งข้อสอบให้สำนักงาน กศน.เพื่อคัดเลือก ให้สถานศึกษาส่งโดยการพิมพ์หรือเขียนลงบนบัตรข้อสอบตามแบบฟอร์มที่สำนักงาน กศน. กำหนด
บัตรข้อสอบ บัตรข้อสอบ กศน.อำเภอ/เขต..................................................สำนักงาน กศน. จังหวัด/กทม. ................................................................... ระดับ ประถมศึกษา ม.ต้น ม.ปลาย สาระ.....................................................................รายวิชา................................................................รหัสวิชา........................ มาตรฐานที่.............................................................................................................................................................................. มาตรฐานการเรียนรู้................................................................................................................................................................ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง........................................................................................................................................................... หัวเรื่อง....................................................................................................................... ............................................................ พฤติกรรมที่วัด จำ เข้าใจ นำไปใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า ข้อที่...................... ………………………………………………………………………………………………………………………………………………..…………………………… ………………………………………………………………………………..…………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………… เฉลย........................ ............................................ผู้ออก ...........................................ผู้ตรวจ1
พฤติกรรม 1.ด้านพุทธิพิสัย (วัดความสามารถด้านสติปัญญา) 2.ด้านเจตพิสัย (วัดด้านอารมณ์ ความรู้สึก จิตใจ) 3.ด้านทักษะพิสัย (วัดความสามารถในการปฏิบัติงาน) เครื่องมือวัด 1.ใช้แบบทดสอบชนิดต่าง ๆ 2.ใช้แบบสังเกต แบบสำรวจรายการ แบบสอบถาม 3.ใช้แบบทดสอบปฏิบัติ แบบสังเกต แบบสำรวจรายการ เครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรม
☺ปรนัย ☻แบบเติมคำ ☻แบบถูกผิด ☻แบบจับคู่ ☻แบบเลือกตอบ ☺ อัตนัย แบบทดสอบ
ข้อสอบแบบเลือกตอบ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1.ตัวคำถาม 2.ตัวเลือก -ตัวถูก - ตัวลวง
รูปแบบการสร้างข้อสอบแบบเลือกตอบรูปแบบการสร้างข้อสอบแบบเลือกตอบ 1.แบบคำถามเดี่ยว 2. แบบตัวเลือกคงที่ 3. แบบสถานการณ์
ตัวอย่าง ข้อสอบเลือกตอบแบบคำถามเดี่ยว • คำถามวันที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา คือวันสำคัญใด ก. วันอัฐมีบูชา ข. วันวิสาขบูชา ค. วันมาฆะบูชา ง. วันอาสาฬหบูชา
ตัวอย่าง ข้อสอบเลือกตอบแบบตัวเลือกคงที่ • คำชี้แจง ใช้ตัวเลือก ก. – ง. ตอบคำถามข้อ1-3 ก. วันขี้น 15 ค่ำเดือน 3 ข. วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ค. วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 ง. วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 1. วันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ตรงกับวันใด 2. วันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานหลักโอวาทปาฏิโมกข์ตรงกับวันใด 3. วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ตรงกับวันใด
ตัวอย่าง ข้อสอบเลือกตอบแบบสถานการณ์ คำชี้แจง ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 1 – 2 “ แล้วตรัสบอกลูกน้อยกลอยสวาท เจ้าหน่อเนื้อเชื้อชาติดังราชสีห์ อันรักษาศีลสัตย์กัตเวที ย่อมเป็นที่สรรเสริญเจริญคน “ (จากเรื่อง พระอภัยมณี) 1. ใครเป็นผู้พูด 2. บทร้อยกรองข้างต้นเป็นคำประพันธ์ชนิดใด ก. อุศเรน ก. กลอนแปด ข. นางเงือก ข. กาพย์ยานี 11 ค. พระอภัยมณี ค. โคลงสี่สุภาพ ง. นางสุวรรณมาลี ง. กาพย์ฉบัง 16
ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบ • 1. กำหนดเนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการวัด • 2. เลือกชนิดของแบบทดสอบ • 3. จัดทำผังข้อสอบ • 4. เขียนข้อสอบ • 5. จัดชุดแบบทดสอบ(ชุดที่ 1, ชุดที่2)และจัดพิมพ์ • 6. ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบและปรับปรุงแก้ไข • 7. จัดพิมพ์แบบทดสอบฉบับนำไปใช้จริง
ตัวอย่างการสร้างตารางวิเคราะห์เนื้อหาตัวอย่างการสร้างตารางวิเคราะห์เนื้อหา
การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านสติปัญญาการเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านสติปัญญา 1. ความรู้–ความจำ(Knowledge) 2. ความเข้าใจ(Comprehension) 3. นำไปใช้(Application) 4. วิเคราะห์(Analysiss) 5. สังเคราะห์(Synthesis) 6. ประเมินค่า(Evaluation)
พฤติกรรมการวัดด้านสติปัญญาพฤติกรรมการวัดด้านสติปัญญา • 1. ความรู้ – ความจำ (Knowledge) เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงการระลึกเรื่องราว ข้อความ เนื้อหานั้นออกมาได้
1. ความรู้-ความจำ(Knowledge) 1.1 ความรู้ในเนื้อเรื่อง ☺ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และนิยาม ☺ ความรู้เกี่ยวกับสูตร กฎ และความจริง 1.2 ความรู้ในวิธีดำเนินการ ☺ ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน ☺ ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม
1.ความรู้-ความจำ (ต่อ) 1.2 ความรู้ในวิธีดำเนินการ(ต่อ) ☺ ความรู้เกี่ยวกับการจัดประเภท ☺ ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ ☺ ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ 1.3 ความรู้รวบยอดในเนื้อเรื่อง ☺ ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชา ☺ ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง
2. ความเข้าใจ(Comprehension) ความสามารถในการแปลความ ตีความและขยายความ ☺ แปลความ ☺ ตีความ ☺ ขยายความ
3. การนำไปใช้(Application) ☺ นำหลักการความรู้ไปใช้ในสถานการณ์จริงได้
4.การวิเคราะห์(Analysis) ความสามารถในการจำแนกความสำคัญ ความสัมพันธ์และหลักการของเรื่องราว ข้อความ บทความ ฯลฯ ☺ วิเคราะห์ความสำคัญ ☺ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ☺ วิเคราะห์หลักการ
5. การสังเคราะห์(Synthesis) ความสามารถในการนำเนื้อหาความรู้ต่าง ๆมาผสมผสานให้เกิดเป็นข้อความใหม่ บทความใหม่ แผนปฏิบัติงาน องค์ประกอบใหม่หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ดีกว่าเดิม ☺ สังเคราะห์ข้อความ ☺ สังเคราะห์แผนงาน ☺ สังเคราะห์ความสัมพันธ์
6. ประเมินค่า(Evaluation) ความสามารถในการวินิจฉัย สรุป ตีค่าอย่างมีหลักเกณฑ์ ☺ ประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายใน ☺ ประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายนอก