1 / 68

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ. อาจารย์ศรีนวล ฟองมณี. ความหมายของระบบ.

gray-rhodes
Download Presentation

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ อาจารย์ศรีนวล ฟองมณี

  2. ความหมายของระบบ กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และ พนิดา พานิชกุล (2546:23) กล่าวว่า ระบบ หมายถึง การนำองค์ประกอบต่าง ๆ อันได้แก่ คน (People) ทรัพยากร (Resource) แนวคิด (Concept) และกระบวนการ (Process) ผสมผสานการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้วางแผนไว้ ซึ่งในโลกนี้มีระบบอยู่ด้วยกันมากมายหลายระบบ เช่น ระบบการเรียนการสอน ระบบบัญชี ระบบจัดซื้อ และระบบสารสนเทศ เป็นต้น โดยภายในระบบอาจประกอบไปด้วยระบบย่อยต่างๆ ที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน

  3. ความหมายของระบบ(ต่อ) ฝ่ายผลิตหนังสือตำราวิชาการคอมพิวเตอร์ (2551:12) กล่าวว่า ระบบ หมายถึง กลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน โดยความสัมพันธ์กันในที่นี้ยังสามารถเป็นความสัมพันธ์แบบบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้ ทั้งนี้แต่ละองค์ประกอบของระบบจะต้องประสานทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน

  4. ความหมายของระบบ(ต่อ) โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์ (2555:18) กล่าวว่า ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน แต่ละองค์ประกอบจะประสานการทำงานร่วมกัน เพื่อบรรลุสู่เป้าหมายเดียวกัน ระบบที่ดีจำเป็นต้องมีองค์ประกอบของระบบที่เรียกว่า ระบบย่อย (Subsystem) ที่สามารถประสานการทำงานร่วมกันภายในระบบได้เป็นอย่างดี เพื่อนำไปสู่สภาพใหญ่ของระบบให้สามารถทำงานได้บรรลุตามเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น ระบบงานทางคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยระบบย่อยอยู่ 3 ส่วนหลักๆ ด้วยกันคือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบุคลากร ส่วนประกอบทั้ง 3 เหล่านี้ จะต้องประสานการทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุถึงเป้าหมายเดียวกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ตรงตามความต้องการ หากมีส่วนใดขัดข้อง ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบโดยรวม และหลกผลกระทบได้พอกพูนมากขึ้น ก็อาจนำไปสู่ความล้มเหลวของระบบได้ในที่สุด

  5. ความหมายของระบบ(ต่อ) จากความหมายข้างต้นสรุปได้ว่า ระบบ (System) หมายถึง กลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน ทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน โดยแต่ละองค์ประกอบจะต้องประสานการทำงานร่วมกัน ระบบที่ดี จำเป็นต้องมีระบบย่อยที่สมบูรณ์ในตัว

  6. ส่วนประกอบภายในระบบจำเป็นต้องได้รับการประสานการทำงานที่ดี • ภาพรวมของระบบ จะถูกกำหนดด้วยขอบเขต(System Boundary) โดยขอบเขตเหล่านี้ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ของระบบ ที่เรียกว่าระบบย่อย • ระบบย่อยสามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ในระหว่างขั้นตอนการออบแบบระบบ โดยสิ่งต่างๆ ที่อยู่ภายนอกขอบเขตระบบ จึงเรียกว่า สภาพแวดล้อม (Environment) • ระบบที่ดีควรมีระบบย่อยต่าง ๆ ที่มีความสมบูรณ์ในตัว • ระบบย่อยจะมีการสื่อสารร่วมกัน การส่งผลป้อนกลับ(Feedback) ระหว่างกัน • มีระบบเฝ้าสังเกตการณ์ (Monitoring) เพื่อควบคุมให้ระบบดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ • ระบบที่ดีจะต้องได้รับการออกแบบระบบย่อยต่างๆ ให้มีความเป็นอิสระต่อกันมากที่สุด ด้วยการลดจำนวนเส้นทางการไหลของข้อมูล (Flows)ระหว่างกันเท่าที่จะเป็นไปได้

  7. ชนิดของระบบ 1. ระบบปิด(Closed System)เป็นระบบแบบโดดเดี่ยว ไม่มีการปฏิสัมพันธ์ใดๆ กับสิ่งแวดล้อม

  8. ระบบปิด(Closed System)

  9. ชนิดของระบบ(ต่อ) 2. ระบบเปิด (Open System) เป็นระบบที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับระบบปิด โดยจะมีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม มีการโต้ตอบกับระบบอื่นๆ

  10. ระบบเปิด (Open System)

  11. ระบบธุรกิจ (Business System) ระบบธุรกิจ (Business System) ส่วนใหญ่ประกอบด้วยระบบย่อยพื้นฐานต่างๆ เช่น ระบบการผลิต ระบบการตลาด ระบบบัญชี ระบบสินค้าคงคลัง และระบบบริหารงานบุคคล แต่อาจมีระบบย่อยอื่นๆ เพิ่มขึ้นได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของธุรกิจนั้นๆ แต่ในพื้นฐานจะประกอบด้วยระบบย่อยดังกล่าว

  12. ระบบธุรกิจ (Business System)

  13. ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม(Environment)ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม(Environment) 1.ผลกระทบภายในระบบ(Internal Environment) 2.ผลกระทบภายนอกระบบ (External Environment)

  14. 1. ผลกระทบจากสภาพแวด้อมภายใน คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมภายในองค์กรเอง ตัวอย่างเช่น • - ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น • - ปัญหาความขัดแย้งของพนักงาน • - ปัญหาด้านการบังคับบัญชาในองค์กร • - ปัญหาการขาดแคลนพนักงานในบางตำแหน่ง • - ปัญหาการขาดงาน

  15. 2. ผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอก คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา โดยที่องค์กรไม่สามารถหลีกเลี่ยง และยากต่อการควบคุม หรือบางครั้งอาจควบคุมไม่ได้เลย ตัวอย่างเช่น • - คู่แข่งทางการค้า • - นโยบาย กฎระเบียบของรัฐบาลที่ประกาศบังคับใช้ • - ความต้องการของลูกค้า • - เทคโนโลยี • - ภัยจากธรรมชาติ • - ภัยจากการก่อการร้าย

  16. การศึกษาระบบ การที่จะศึกษาระบบใดระบบหนึ่งจะต้องตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้ • อะไร (What) วัตถุประสงค์ของระบบคืออะไร มีแผนงานขั้นตอนอะไรบ้าง ที่สามารถนำพาองค์กรให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ • อย่างไร (How) มีวิธีการทำงานอย่างไร จำเป็นต้องนำเครื่องมือใดมาใช้บ้าง เพื่อให้งานสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว • เมื่อไร (When) จะเริ่มดำเนินงานเมื่อไร และผลสำเร็จของงานจะสำเร็จลุล่วงได้เมื่อไร • ใคร(Who)บุคคลหรือทีมงานใดที่รับผิดชอบและบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนคืออะไร

  17. ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง การรวบรวมองค์ประกอบต่างๆ (ข้อมูล การประมวลผล การเชื่อมโยง เครือข่าย) เพื่อนำเข้า (Input) สู่ระบบใดๆ แล้วนำมาผ่านกระบวนการบางอย่าง (Process) ที่อาจใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเพื่อเรียบเรียง เปลี่ยนแปลง และจัดเก็บ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ (Output) ที่สามารถใช้สนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจได้

  18. แสดงกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศแสดงกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ

  19. กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ • Inputคือ การเก็บรวบรวมสมาชิกหรือองค์ประกอบของระบบ เช่น ข้อมูล (Data) หรือ สารสนเทศ (Information) เพื่อนำไปทำการประมวลผลต่อไป เช่น การเก็บข้อมูลที่เป็นคะแนนสอบของนักศึกษา เพื่อที่จะนำไปสู่การคำนวณให้เป็นเกรดต่อไป • การ Input ข้อมูลอาจจะกระทำได้โดยใช้มือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ขึ้นอยู่กับองค์กรนั้นๆ หรืออาจจะเป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device) อื่นๆ หรือ สแกนเนอร์ เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น

  20. กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ(ต่อ)กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ(ต่อ) • Processingคือ การเปลี่ยนแปลง หรือแปรสภาพ ข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบ (Input) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ (Output) ที่สามารถใช้ในการตัดสินใจได้ โดยการเปลี่ยนแปลง หรือแปรสภาพ นั้นอาจจะเป็นการคำนวณ เปรียบเทียบหรือวิธีการอื่น ๆ ก็ได้ เช่น จากคะแนนสอบของนักศึกษาเมื่อนำเข้าสู่ระบบแล้วทำการแปรสภาพคะแนนโดยการคำนวณให้เป็นเกรด และจัดเก็บไว้เพื่อใช้ในการออกรายงานผลการเรียนของนักศึกษาต่อไป

  21. กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ(ต่อ)กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ(ต่อ) • Output คือ ผลลัพธ์ที่ได้เนื่องจากการประมวลผลข้อมูลหรือสารสนเทศ แสดงอยู่ในรูปแบบของรายงาน (Report) หรือเป็นแบบฟอร์มต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานทางธุรกิจต่อไป เช่น รายงานผลการเรียนของนักศึกษาซึ่งได้จากการคำนวณเกรดจากคะแนนสอบทั้งหมดของนักศึกษา รายงานยอดการสั่งซื้อวัตถุดิบรายเดือน รายงานยอดค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดรายสัปดาห์ (Petty Cash) เป็นต้น

  22. กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ(ต่อ)กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ(ต่อ) • Feedbackคือ ผลลัพธ์ที่ทำให้เกิดการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ในการนำข้อมูลเข้า หรือ การประมวลผลข้อมูล เช่น ข้อผิดพลาดที่พบจากรายงานต่างๆ นั้น ทำให้ทราบได้ว่า ในขณะนำข้อมูลเข้า หรือการประมวลผลนั้น อาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นทำให้เกิดการปรับปรุงพฤติกรรมในการทำงานขององค์กรเพื่อให้มีความถูกต้องมากขึ้น ดังนั้น Feedback จึงมีความสำคัญอย่งยิ่งในการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นที่น่าพอใจ

  23. ชนิดของระบบสารสนเทศ 1. ระบบการประมวลผลข้อมูล (Transaction Processing Systems: TPS) 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems: MIS) 3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS) 4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems: ES) 5. ระบบสารสนเทศเพื่อสำนักงาน (Office Information Systems: OIS) 6. ระบบสารสนเทศส่วนบุคคลและสารสนเทศเพื่อการทำงานเป็นกลุ่ม (Personal and Work Group Information Systems)

  24. 1. ระบบการประมวลผลข้อมูล(Transaction Processing Systems: TPS) • เป็นระบบที่ช่วยในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากเหตุการณ์ประจำวันของธุรกิจ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Data Processing System เช่น การจัดซื้อวัตถุดิบ ยอดสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า ยอดขาย การส่งของ การจอง ลงทะเบียน การออกใบแจ้งรายการสินค้า (Invoice) ใบสำคัญจ่ายเงิน เป็นต้น

  25. แสดงการทำงานของวงจรการประมวลผลแสดงการทำงานของวงจรการประมวลผล

  26. คุณลักษณะของระบบการประมวลผลข้อมูลคุณลักษณะของระบบการประมวลผลข้อมูล 1. สามารถจัดเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นประจำวันของการดำเนินธุรกิจได้ เช่น ประวัติลูกค้า รายการสั่งซื้อสินค้าจาก ลูกค้า 2. สามารถสร้างข้อมูลเพื่อดำเนินธุรกิจได้ เช่น ออกใบกำกับภาษี ออกใบแจ้งหนี้ ออกใบรายการสินค้า 3. บำรุงรักษาข้อมูล (Data maintenance) โดยการปรับปรุงข้อมูล (เพิ่ม ลบ แก้ไข) ให้เป็นปัจจุบันมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ชื่อที่อยู่ของลูกค้า รหัสสินค้า เป็นต้น

  27. สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ในระบบการประมวลผลข้อมูลได้แก่ 1. เวลาที่ใช้ในการตอบสนองการทำงาน (Response time) ต้องมีความรวดเร็ว 2. ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก 3. ความถูกต้อง (Accuracy) 4. ความสอดคล้องของข้อมูล (Consistency) กรณีที่มีการประมวลผลพร้อมกันจากผู้ใช้หลายคน

  28. 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(Management Information Systems: MIS) • ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นระบบที่นำสารสนเทศมาช่วยในการจัดทำรายงานลักษณะต่างๆ วางแผน และควบคุมการดำเนินงานทางธุรกิจ

  29. องค์ประกอบโดยรวมของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการองค์ประกอบโดยรวมของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

  30. รายงานที่ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสามารถจัดเตรียมไว้ได้แบ่งออกได้ดังนี้รายงานที่ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสามารถจัดเตรียมไว้ได้แบ่งออกได้ดังนี้ 1. รายงานตามกำหนดการ (Scheduled Reports) เป็นรายงานที่มีการกำหนดไว้แล้วตามแผนการดำเนินงานของธุรกิจว่าจะต้องมีการนำเสนอเป็นช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น รายงานรายสัปดห์ (Weekly Report) รายงานรายเดือน (Monthly Report) รายงานรายปี (Annual Report) 2. รายงานตามความต้องการ (Demand Reports) เป็นรายงานที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อต้งการใช้งาน เช่น การจัดเตรียมสารสนเทศที่เป็นยอดคงเหลือของวัตถุดิบคงคลัง เพื่อนำมาจัดทำรายงานวัตถุดิบคงคลัง สำหรับใช้ในการสั่งซื้อวัตถุดิบในการผลิตครั้งต่อไป การประมาณยอดขายที่เพิ่มขึ้นในปีถัดไป รายงานประมาณกำลังการผลิต เป็นต้น

  31. รายงานที่ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสามารถจัดเตรียมไว้ได้แบ่งออกได้ดังนี้รายงานที่ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสามารถจัดเตรียมไว้ได้แบ่งออกได้ดังนี้ 3. รายงานกรณีเฉพาะ (Exception Report) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นในกรณีพิเศษ ที่ไม่มีปรากฎในแผนงาน เช่น ในกรณีมีการหยุดงานของพนักงานมากผิดปกติจนทำให้กำลังการผลิตลดลง ผู้บริหารอาจจะต้องดูรายงานการลาหยุดเฉพาะพนักงานที่มีจำนวนวันลาหยุดมากเกินไป และสามารถดูรายงานกำลังการผลิตที่ลดลงด้วย จะเห็นว่ารายงานประเภทนี้มักจะมีเงื่อนไขในการจัดทำรายงานที่นอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว 4. รายงานพยากรณ์ (Prediction Report) เป็นรายงานที่เกิดจากการประมาณ คาดคะเน หรือพยากรณ์เหตุการณ์ล่วงหน้า เช่น รายงานการประมาณยอดขายที่เพิ่มขึ้นในปีถัดไป รายงานประมาณกำลังการผลิต เป็นต้น

  32. คุณลักษณะของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการคุณลักษณะของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ • 1. สามารถสร้างสารสนเทศที่อ้างอิงได้ตามหลักการด้านการจัดการ ด้านคณิตศาสตร์ หรือสถิติ ที่เป็นที่ยอมรับได้ • 2. โดยปกติแล้วสารสนเทศเพื่อการจัดการนี้ได้มากจากฐานข้อมูลที่มีการเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลมากมาย ซึ่งแหล่งข้อมูลนั้นหมายรวมถึงระบบการประมวลผลข้อมูลด้วย

  33. คุณลักษณะของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการคุณลักษณะของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ • 3. มีการเตรียมสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ได้ 4 ประการดังนี้ 3.1 สารสนเทศส่วนที่เป็นรายละเอียด (Detailed Information)ใช้เพื่อการจัดการการปฏิบัติงาน และเพื่อความต้องการการควบคุมการปฏิบัติงาน 3.2 สารสนเทศส่วนที่เป็นผลสรุป (Summary Information)เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มและความเป็นไปได้ที่จะเกิดปัญหาในด้านต่างๆ 3.3 สารสนเทศกรณีเฉพาะ (Exception Information)เกิดจากการกรองข้อมูลตามเงื่อนไขที่ผู้ใช้ต้องการแล้ว เพื่อนำไปสร้างเป็นรายงานกรณีเฉพาะ (Exception Report) ต่อไป 3.4 สารสนเทศเพื่อการพยากรณ์ (Prediction Information)เพื่อนำไปใช้ในการสร้างรายงานในการคาดคะเนผลประกอบการขององค์กรหรือการคาดคะเนปริมาณการผลิตที่แท้จริงของปีถัดไป

  34. 3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support Systems: DSS) • เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเตรียมสารสนเทศที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ระบบ โดยสารสนเทศนี้มักเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Decisions) หรือ แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Decisions) ที่เป็นการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าหรือคาดการณ์ได้ยาก

  35. 3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support Systems: DSS) • ระบบ DSS ที่ส่งเสริมให้ผู้ใช้ระบบสามารถกระทำการตัดสินใจได้ด้วยความชาญฉลาด แต่ทั้งนี้ไม่ได้ใช้ระบบ DSS เพื่อการตัดสินใจแทน ดังนั้น เมื่อผู้ใช้ระบบต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ผู้ใช้ระบบก็จะทำการป้อนข้อมูลที่เป็นตัวแปรต่าง ๆ ของเหตุการณ์นั้นเข้าสู่ระบบ DSS จากนั้นระบบจะทำการประมวลผลลัพธ์ต่าง ๆ แล้วรายงานออกมาเป็นทางเดลือกให้ผู้ใช้ระบบได้เห็นและรับทราบถึงข้อเปรียบเทียบ โดยผลลัพธ์ที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับตัวแปรที่แตกต่างกันของสถานการณ์นั้นๆ และสุดท้ายจึงเป็นหน้าที่ของผู้ตัดสินใจว่าจะปฏิบัติตามแนวทางหรือไม่อย่างไรจึงจะดีที่สุด

  36. ส่วนประกอบของ DSS

  37. ในกรณีที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจนี้ ถูกนำไปใช้โดยผู้บริหารระดับสูง (Executive managers) ระบบนี้จะถูกเรียกว่า ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System: EIS)

  38. คุณลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจคุณลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ • 1. จัดเตรียมสารสนเทศซึ่งได้ทำการประมวลผลแล้วจากระบบประมวลผลข้อมูล (TPS) เพื่อช่วยในการตัดสินใจ • 2. สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Decisions) หรือแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Decisions)

  39. คุณลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจคุณลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ • 3. สนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 3.1 ระบุถึงปัญหาหรือโอกาสในการทำการตัดสินใจ 3.2 ระบุถึงความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาหรือการตัดสินใจนั้น ๆ 3.3 เตรียมสารสนเทศที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหานั้นหรือที่จำเป็นต่อการกระทำการตัดสินใจ 3.4 ทำการวิเคราะห์ทางเลือกในการตัดสินใจที่เป็นไปได้ 3.5 เลียนแบบทางเลือกและผลลัพธ์ของการตัดสินใจที่เป็นไปได้

  40. นอกจากคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้นแล้ว จะเห็นว่าการทำงานของ DSS นั้นต้องอาศัยสารสนเทศจากฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมีการเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสำหรับการตัดสินใจไว้โดยเฉพาะ เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการดึงสารสนเทศนั้นมาใช้งาน จึงได้มีการแยกฐานข้อมูลของสารสนเทศที่เตรียมไว้สำหรับ DSS และระบบอื่นที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ เราเรียกฐานข้อมูลนั้นว่า “คลังข้อมูล (Data Warehouse”

  41. คลังข้อมูล (Data Warehouse) • คือ ฐานข้อมูลที่ได้มีการเตรียมสารสนเทศเพื่อระบบสนับสนุนการตัดสินใจไว้โดยเฉพาะมีลักษณะดังนี้ • DSS สามารถอ่านสารสนเทศจากคลังข้อมูลได้อย่างเดียว (Read-only) ไม่สามารถแก้ไขสารสนเทศภายในคลังข้อมูลได้ • เก็บสารสนเทศไว้ 3 ประเภท ได้แก่ สารสนเทศที่เป็นส่วนรายละเอียด (Details) ส่วนที่เป็นผลสรุป (Summary) และส่วนที่เป็นสารสนเทศกรณีเฉพาะ (Exception) • สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งผู้ใช้ลำดับสุดท้าย (End-users) และผู้บริหาร (Managers) • เตรียมเครื่องมือ (Tools) ที่สนับสนุนการตัดสินใจ เช่น โปรแกรมด้าน Spreadsheet (Excel) โปรแกรมทางด้านการจัดการฐานข้อมูล (Access) เครื่องมือในการสร้างรายงาน (Focus) และโปรแกรมวิเคราะห์งานทางสถิติ (SAS,SPSS)

  42. 4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert Systems: ES) • เป็นระบบที่ช่วยแก้ปัญหาหรือทำการตัดสินใจแทนผู้ใช้ โดยทำการลอกเลียนแบบเหตุผลและความคิดนั้นจากสารสนเทศที่เก็บรวบรวมมาจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาจริง และนำมาเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาหรือตัดสินใจ

  43. องค์ประกอบของระบบผู้เชี่ยวชาญองค์ประกอบของระบบผู้เชี่ยวชาญ

  44. คุณลักษณะของระบบผู้เชี่ยวชาญคุณลักษณะของระบบผู้เชี่ยวชาญ • 1. ES จะทำการเลียนแบบวิธีการคิดและเหตุผลของผู้เชี่ยวชาญจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาจริงในด้านต่าง ๆ • 2. อาจนำ ES มาใช้ร่วมงานกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เรียกการทำงานร่วมกันว่า “Expert System Shells” • 3. มีการดึงสารสนเทศจากคลังข้อมูลเช่นเดียวกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)

  45. คุณลักษณะของระบบผู้เชี่ยวชาญคุณลักษณะของระบบผู้เชี่ยวชาญ • จะเห็นได้ว่าระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) กับระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) จะมีลักษณะคล้ายกัน แตกต่างกันตรงที่ DSS เป็นระบบที่เสนอทางเลือกในการแก้ปัญหาหรือตัดสินใจเพื่อให้ผู้ใช้ได้ตัดสินใจเอง ส่วน ES นั้นเป็นระบบที่ตัดสินใจแทนผู้ใช้โดยอาศัยสารสนเทศที่รวบรวมจากเหตุผลและประสบการณ์จริง

  46. 5. ระบบสารสนเทศเพื่อสำนักงาน (Office Information Systems: OIS) • เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems) เป็นระบบสนับสนุนกิจกรรมการทำงานในสำนักงานที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งช่วยในการติดต่อสื่อสารของบุคลากรไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่เดียวกันหรือไม่ก็ตาม

  47. การรวมชุดสำนักงานในอนาคตการรวมชุดสำนักงานในอนาคต

  48. คุณลักษณะของระบบสารสนเทศเพื่อสำนักงานคุณลักษณะของระบบสารสนเทศเพื่อสำนักงาน • คุณลักษณะของระบบสารสนเทศเพื่อสำนักงาน • 1.มีการเก็บรวบรวมสารสนเทศต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลทุกกลุ่มไว้เพื่อการใช้งาน • 2.ช่วยการทำงานอัตโนมัติด้านต่าง ๆ ได้แก่ - การประมวลผลคำ (Word Processing) - ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ - การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Work Group Computing) - การกำหนดการทำงานร่วมกัน (Work Group Scheduling) - การจัดการกระแสการทำงาน (Work Flow Management)

  49. คุณลักษณะของระบบสารสนเทศเพื่อสำนักงาน(ต่อ)คุณลักษณะของระบบสารสนเทศเพื่อสำนักงาน(ต่อ) • 3. มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีร่วมกันระหว่าง OIS กับ TPS อันได้แก่ - เทคโนโลยีการสร้างแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Form Technology) เป็นการช่วยสร้างแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกับฐานข้อมูลของระบบประมวลผลข้อมูล - เทคโนโลยีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม (Work Group Technology) เช่น โปรแกรม Lotus Note เพื่อเตรียมวิธีการสำหรับการทำงานที่มีการใช้งานของผู้ใช้หลายคนเพื่อเข้าถึง และปรับปรุงข้อมูลร่วมกันจากการทำงานที่เกิดขึ้นประจำวัน

  50. คุณลักษณะของระบบสารสนเทศเพื่อสำนักงาน(ต่อ)คุณลักษณะของระบบสารสนเทศเพื่อสำนักงาน(ต่อ) • 3. มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีร่วมกันระหว่าง OIS กับ TPS(ต่อ) - เทคโนโลยีข้อความอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Messing Technology) พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ด้วยการส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ - เทคโนโลยีชุดโปรแกรมสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Suite Technology) นำโปรแกรมที่ใช้ในสำนักงานมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน - เทคโนโลยีรูปภาพ (Imaging Technology) เป็นการผสมผสานกันระหว่างรูปภาพและแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการทำงาน หรือ เป็นการสแกนรูปภาพนั่นเอง

More Related