430 likes | 546 Views
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกและสนับสนุน และขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ. โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน. คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ ลักษณะโครงการที่สามารถเข้าร่วมได้ หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกโครงการและสนับสนุน ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ. เนื้อหา.
E N D
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกและสนับสนุนและขั้นตอนการดำเนินงานโครงการคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกและสนับสนุนและขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ • ลักษณะโครงการที่สามารถเข้าร่วมได้ • หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกโครงการและสนับสนุน • ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ • เนื้อหา
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ • กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือ กลุ่มสหกรณ์ ซึ่งมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล • กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) • กลุ่มผู้สนใจ อาทิเช่น อาสาสมัครพลังงานชุมชน (อส.พน.) เครือข่ายภาคประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นิคมสร้างตนเอง หรือพื้นที่พิเศษที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาพลังงาน โดยจะต้องจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ นิติบุคคลอย่างใดอย่างหนึ่ง
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ • ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องมีพื้นที่โครงการที่มีแหล่งทรัพยากรพลังงานทดแทนภายในชุมชนเพียงพอ สำหรับการดำเนินโครงการในระยะยาว สามารถจัดหาทรัพยากรได้โดยง่าย • ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องมีความพร้อมในด้านการลงทุน สามารถแสวงหาแหล่งทุนอื่นๆ ที่ให้การสนับสนุนนอกเหนือจากเงินสนับสนุนจากกองทุนฯได้
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ • ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมหรือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ • เมื่อโครงการดำเนินการก่อสร้างและทดสอบเดินระบบผลิตพลังงานทดแทนแล้วเสร็จจะต้องสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ดูงานให้แก่ผู้สนใจหรือชุมชนอื่นๆได้
ลักษณะโครงการที่สามารถเข้าร่วมได้ลักษณะโครงการที่สามารถเข้าร่วมได้ • เป็น “โครงการที่สามารถผลิตพลังงานจากพลังงานทดแทนได้” โดยมีแหล่งพลังงานทดแทนภายในชุมชนของตนเอง คือ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ขยะ และน้ำ • ไม่จำกัดรูปแบบของระบบหรือเทคโนโลยีเปลี่ยนรูปพลังงาน และจะต้องสามารถเปลี่ยนรูปพลังงานทดแทนมาให้อยู่ในรูปพลังงานเชิงพาณิชย์ ซึ่งได้แก่ พลังงานความร้อนหรือพลังงานไฟฟ้าได้
ลักษณะโครงการที่สามารถเข้าร่วมได้ลักษณะโครงการที่สามารถเข้าร่วมได้ • เมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ โครงการจะต้องสร้างรายได้หรือลดรายจ่ายให้แก่ชุมชน โดยจะต้องมีการบริหารการจัดการรายได้ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ในชุมชน
ตัวอย่างโครงการ 1: การผลิตก๊าซชีวภาพใช้ทดแทน LPG • วิสาหกิจชุมชน ก.(ข้อมูลสมมุติ) • ข้อมูลทั่วไป • มีครัวเรือนที่เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงวัว ประมาณ 50 ครัวเรือน • มูลวัวทำให้เกิดปัญหามลภาวะทางกลิ่น + แมลงวันรบกวน • การแก้ไข • นำมูลวัวไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตก๊าซชีวภาพ • ต่อท่อก๊าซชีวภาพจ่ายให้กับครัวเรือนทั้ง 50 ครัวเรือนภายในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง
ตัวอย่างโครงการ 1: การผลิตก๊าซชีวภาพใช้ทดแทน LPG ชุมชนใกล้เคียงซื้อก๊าซชีวภาพมาใช้ทดแทน LPG ผลิตก๊าซชีวภาพ จ่ายก๊าซชีวภาพให้เกษตรกรใช้ทดแทน LPG เกษตกรผู้เลี้ยงวัวมีรายได้จากการขายมูลสัตว์ และเงินปันผล รับงินค่าก๊าซชีวภาพ วิสาหกิจชุมชน ก. จ่ายเงินค่ามูลสัตว์ ค่าดูแล + บำรุงรักษา
ตัวอย่างโครงการ 1: การผลิตก๊าซชีวภาพใช้ทดแทน LPG • การบริหารจัดการ • รายรับ => รับเงินค่าก๊าซชีวภาพจากเกษตรผู้เลี้ยงวัว • => รับเงินค่าก๊าซชีวภาพจากชุมชนใกล้เคียง • รายจ่าย => จ่ายเงินค่าซื้อมูลสัตว์จากเกษตรผู้เลี้ยงวัว 50 ครัวเรือน • => จ่ายเงินค่าจ้างคนงานดูแลระบบผลิตก๊าซชีวภาพ • => จ่ายเงินค่าบำรุงรักษาระบบผลิตก๊าซชีวภาพ • กำไรต่อปี => เงินปันผลภายให้กับสมาชิกของวิสาหกิจชุมชน
ตัวอย่างโครงการ 2:การผลิตก๊าซชีวภาพใช้ทดแทนไฟฟ้า • วิสาหกิจชุมชน ข.(ข้อมูลสมมุติ) • เกษตรกรปลูกพืชพลังงาน เช่น หญ้าเนเปียร์ เป็นต้น • นำพืชพลังงานที่เก็บเกี่ยวได้มาผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อปั่นไฟส่งขายให้กับการไฟฟ้า • ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่ออกจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพ • ขายให้เกษตรต่อไป ผลิตก๊าซชีวภาพ รับซื้อพืชพลังงานจากเกษตรกร ขายไฟให้ การไฟฟ้า ขายปุ๋ยให้เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ข.
ตัวอย่างโครงการ 2:การผลิตก๊าซชีวภาพใช้ทดแทนไฟฟ้า • การบริหารจัดการ • รายรับ => รับเงินค่าขายไฟจากการไฟฟ้า • => รับเงินค่าปุ๋ยอินทรีย์จากเกษตรกร • รายจ่าย => จ่ายเงินค่าพืชพลังงานให้เกษตรกร • => จ่ายเงินค่าจ้างคนงานดูแลระบบผลิตก๊าซชีวภาพ • => จ่ายเงินค่าบำรุงรักษาระบบผลิตก๊าซชีวภาพ • กำไรต่อปี => เงินปันผลภายให้กับสมาชิกของวิสาหกิจชุมชน
ตัวอย่างโครงการ 3: การผลิตกระแสไฟฟ้าจากชีวมวล • วิสาหกิจชุมชน ค.(ข้อมูลสมมุติ) • มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น แกลบ เศษไม้ ซังข้าวโพด ฯลฯ • นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลในการผลิตกระแสไฟฟ้า • ไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่งขายให้กับการไฟฟ้า รับซื้อชีวมวลจากเกษตรกร ขายไฟให้ การไฟฟ้า วิสาหกิจชุมชน ค.
ตัวอย่างโครงการ 3: การผลิตกระแสไฟฟ้าจากชีวมวล • การบริหารจัดการ • รายรับ => รับเงินค่าขายไฟจากการไฟฟ้า • รายจ่าย => จ่ายเงินค่าเชื้อเพลิงชีวมวลให้กับเกษตรกร • => จ่ายเงินค่าจ้างคนงานดูแลระบบไฟฟ้าจากชีวมวล • => จ่ายเงินค่าบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าจากชีวมวล • กำไรต่อปี => เงินปันผลภายให้กับสมาชิกของวิสาหกิจชุมชน
ตัวอย่างโครงการ 4: การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากชีวมวล • วิสาหกิจชุมชน ง.(ข้อมูลสมมุติ) • มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น แกลบ เศษไม้ ซังข้าวโพด ฯลฯ • นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเป็นผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง • เชื้อเพลิงอัดแท่งที่ผลิตได้ขายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมในบริเวณใกล้เคียงเพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตภายในโรงงานต่อไป • ษ ผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งส่งโรงงาน รับซื้อชีวมวลจากเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ง.
ตัวอย่างโครงการ 4: การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากชีวมวล • การบริหารจัดการ • รายรับ => รับเงินค่าขายเชื้อเพลิงอัดแท่งจากโรงงานต่างๆ • รายจ่าย => จ่ายเงินค่าเชื้อเพลิงชีวมวลให้กับเกษตรกร • => จ่ายเงินค่าจ้างคนงานดูแลระบบผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง • => จ่ายเงินค่าบำรุงรักษา ระบบผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง • กำไรต่อปี => เงินปันผลภายให้กับสมาชิกของวิสาหกิจชุมชน
ตัวอย่างวิสาหกิจชุมชนด้านพลังงานทดแทน 1 วิสาหกิจชุมชนแม่คำปอง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ • เป็นพื้นที่ป่าชุมชนต้นน้ำ • เดิมไม่มีระบบไฟฟ้าใช้ในชุมชน แต่ปัจจุบันมีไฟฟ้าเข้าบางส่วน • มีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำเพื่อใช้ในชุมชน • ได้รับการสนับสนุนจาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
ตัวอย่างวิสาหกิจชุมชนด้านพลังงานทดแทน 2 วิสาหกิจชุมชนบ้านผาปัง อ.แม่พริก จ.ลำปาง • มีเครือยข่ายวิสาหกิจชุมชนย่อยๆ 15 วิสาหกิจร่วมกัน • วิสาหกิจชุมชนผาปัง => เชื่อมโยงเครือข่ายทั้ง 15 วิสาหกิจ • คณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนผาปัง => กำกับทิศทางการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทั้งระบบ • มูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง => หน่วยอำนวยการบริหารจัดการ
ตัวอย่างวิสาหกิจชุมชนด้านพลังงานทดแทน 2 วิสาหกิจชุมชนบ้านผาปัง อ.แม่พริก จ.ลำปาง • ปลูกไผ่เพื่อนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ตะเกียบ ตะเกียบส่งขาย Hot Pot และวิสาหกิจครัวชุมชน นำมาฆ่าเชื้อโดยระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ไม้จิ้มฟัน ไผ่ ไม้เสียบ ไม้ก้านธูป ถ่านอัดแท่ง ข้อไผ่ + ขี้เลื่อย ไฟฟ้า เชื้อเพลิงผลิต Gasification เศษตะเกียบ
ตัวอย่างวิสาหกิจชุมชนด้านพลังงานทดแทน 3 วิสาหกิจชุมชนบ้านไร่ป่าคา อ.ป่าซาง จ.ลำพูน • ผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว • การทดลองปลูกพืชพลังงานชนิดทานตะวัน ตั้งเป้าเพื่อผลิตไบโอดีเซลออกมาใช้ • ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อสูบน้ำบาดาลเก็บไว้ในถังเก็บ ก่อนส่งเข้าเครื่องผลิตน้ำ และน้ำในขั้นตอนสุดท้ายจะถูกนำมาขายผ่านตู้ขายแบบหยอดเหรียญในชุมชน • นำพลังงานชีวมวล หรือพลังงานจากของเหลือในอุตสาหกรรมและชุมชน มาใช้จ่ายความร้อนให้แก่เครื่องอบลำไยแทนการใช้ก๊าซหุงต้ม
หลักเกณฑ์การพิจารณาให้คะแนนหลักเกณฑ์การพิจารณาให้คะแนน
การประเมินทางด้านเทคนิคการประเมินทางด้านเทคนิค
เทคโนโลยีที่เลือกใช้ในโครงการ (15 คะแนน) จะพิจารณาจาก ร้อยละของ มูลค่าอุปกรณ์ที่สามารถผลิตได้ในประเทศไทย ต่อ มูลค่าอุปกรณ์ทั้งหมด 80%
เทคโนโลยีที่เลือกใช้ในโครงการ (15 คะแนน) ตัวอย่าง เช่น เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก เทคโนโลยีนี้ ใช้อุปกรณ์จากไทยทั้งหมด 104,790 บาท คิดเป็น 81% ได้ 15 คะแนน
การประเมินทางด้านเทคนิคการประเมินทางด้านเทคนิค
ศักยภาพพลังงาน (20 คะแนน) • จะพิจารณาจาก ร้อยละของ ปริมาณของวัตถุดิบที่มีในพื้นที่ ต่อ ขนาดของระบบที่ต้องการขอรับเงินสนับสนุน 0% 40% 60% 80% 100%
ศักยภาพพลังงาน (20 คะแนน) • ตัวอย่างการคำนวณ 1 เชื้อเพลิงชีวมวล(กรณีใช้เป็นความร้อน) ปริมาณ 10,000 กิโลกรัมต่อปี ค่าความร้อน 10 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ประสิทธิภาพการเผาไหม้ 70% ในหนึ่งวันระบบทำงาน 8 ชั่วโมงและเดินระบบทุกวัน ขนาดสูงสุดที่โครงการสามารถติดตั้งได้ คือ กำลังการผลิต = ปริมาณต่อปี x ค่าความร้อน x ประสิทธิภาพการเผาไหม้ 3.6 x จำนวนวันเดินระบบในหนึ่งปี x จำนวนชั่วโมงเดินระบบต่อวัน กำลังการผลิต = 10,000 x 10x 0.7 = 6.6 กิโลวัตต์ 3.6 x 365 x 8 ถ้าเสนอระบบขนาด 10 กิโลวัตต์ (นำชีวมวลมาจากพื้นที่อื่นเพิ่มเติม) ศักยภาพพลังงานคือ 66% ได้รับ 10 คะแนน ถ้าเสนอระบบขนาด 6 กิโลวัตต์ ศักยภาพพลังงานคือ 110% ได้รับ 20 คะแนน
ศักยภาพพลังงาน (20 คะแนน) • ตัวอย่างการคำนวณ 2 ชุมชนเลี้ยงวัว จำนวน 60 ตัว ซึ่งมูลวัวรวมทั้งหมดสามารถนำมาผลิต ก๊าซชีวภาพได้ประมาณ 40 ลูกบาศก์เมตร/วัน ถ้าเสนอระบบผลิตก๊าซชีวภาพขนาด 50 ลูกบาศก์เมตร/วัน ศักยภาพพลังงานคือ 80% ได้รับ 15 คะแนน ถ้าเสนอระบบผลิตก๊าซชีวภาพขนาด 40 ลูกบาศก์เมตร/วัน ศักยภาพพลังงานคือ 100 % ได้รับ 20 คะแนน
แหล่งเงินทุน (30 คะแนน) เงินลงทุน เงินทุนของตนเองหรือจากการสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ เงินทุนจากการกู้ยืม
แหล่งเงินทุน (30 คะแนน) • หากอยู่ระหว่างการอนุมัติเงินกู้ 5 คะแนน • หากยังไม่ได้ดำเนินการกู้ยืม/ยังไม่มีแหล่งเงินทุน 0 คะแนน
สัดส่วนเงินที่ขอรับการสนับสนุน 15 คะแนน • จะพิจารณาจาก สัดส่วนของ ร้อยละของเงินที่ขอรับการสนับสนุน ต่อ ร้อยละของวงเงินสูงสุดที่กำหนดไว้
การประเมินทางด้านเศรษฐศาสตร์การประเมินทางด้านเศรษฐศาสตร์ • กระแสเงินสดที่เกิดขึ้นรายปี (Cash Flow) ระยะเวลาคืนทุนและ IRR • คำนวณใน 2 กรณี คือ • ลงทุนเองทั้งหมด: เงินลงทุน = มูลค่าโครงการ • ได้รับการสนับสนุนบางส่วน:เงินลงทุน = มูลค่าโครงการ-วงเงินสนับสนุน
ระยะคืนทุน (Payback Period : PB) 10 คะแนน • หลังจากได้รับการสนับสนุนแล้ว หากระยะคืนทุนเกินอายุการใช้งานระบบ จะไม่ได้รับคะแนน
อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (IRR) 10 คะแนน • หลังจากได้รับการสนับสนุนแล้ว r หมายถึง อัตราผลตอบแทนที่ต้องการเพื่อให้การดำเนินโครงการคุ้มค่าต่อการลงทุน หรือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ IRR > 9%
หลักเกณฑ์ในการสนับสนุนโครงการหลักเกณฑ์ในการสนับสนุนโครงการ • ให้การ สนับสนุนไม่เกินร้อยละ 70 ของมูลค่าโครงการ หรือสูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาท • ไม่สนับสนุนในส่วนของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัตถุดิบเพื่อผลิตพลังงานทดแทน • การจ่ายเงินสนับสนุนจะจ่ายงวดเดียวเมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จเท่านั้น • การดำเนินงานของผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการจะต้องดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดไว้ • ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด และจะต้องมีการเดินระบบเพื่อทดสอบการผลิตพลังงานทดแทนไม่น้อยกว่า 1 เดือน ก่อนที่จะขอเบิกจ่ายเงินสนับสนุนโครงการ • หมายเหตุ : • การพิจารณาให้การสนับสนุนโครงการต่างๆให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะทำงานฯ • คณะทำงานฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนตัวผู้รับการสนับสนุน กรณีที่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกไม่สามารถเริ่มดำเนินงานได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้
ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ : การสมัครเข้าร่วมโครงการ => การจ่ายเงินสนับสนุน
ขั้นตอนดำเนินงาน : การสมัครเข้าร่วมโครงการ ผู้สนใจส่งข้อเสนอโครงการ มช.ตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสาร ไม่ครบ ติดต่อผู้สมัครเพื่อขอเอกสารเพิ่มเติม ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน ครบ มช.พิจารณากลั่นกรองเอกสารเบื้องต้นและจัดทำสรุปผลการคัดเลือกตามลำดับคะแนนและประเภทพลังงาน ภายในวันที่ 20 ของทุกเดือน ภายในวันที่ 25 ของทุกเดือน มช. จัดส่งเอกสารเสนอต่อคณะทำงานฯ คณะทำงานฯพิจารณาอนุมัติโครงการ ไม่ผ่าน ภายในวันที่ 30 ของทุกเดือน แจ้งผลต่อผู้ยื่นข้อเสนอโครงการ ผ่าน มช.แจ้งผล+จัดทำบันทึกข้อตกลงให้ผู้เข้าร่วมโครงการลงนาม
ขั้นตอนดำเนินงาน : การจ่ายเงินสนับสนุน ผู้ร่วมโครงการดำเนินการตามแผนงาน พนจ. + มช. ติดตามคืบหน้าและประเมินผล ผู้ร่วมโครงการดำเนินงานแล้วเสร็จ + ทดสอบการใช้งานของระบบไม่น้อยกว่า 1 เดือน ผู้ร่วมโครงการจัดส่งรายงานสรุปผลการดำเนินงาน + หนังสือขอเบิกเงินสนับสนุน สนย + พนจ + มช. ร่วมตรวจสอบหน้างานเพื่อทำการตรวจรับงาน มช.จัดทำสรุปผลการตรวจรับงานเสนอต่อคณะทำงานฯ คณะทำงานฯพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินสนับสนุน สนย.ดำเนินการจ่ายเงินสนับสนุนให้ผู้ร่วมโครงการ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ “โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน” ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ชั้น 8 อาคาร 30 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ 053-944904, 084-1775525 โทรสาร 053-217118 http://escofund.ete.eng.cmu.ac.th/www.ete.eng.cmu.ac.th