110 likes | 201 Views
ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. ดร. ปรเมธี วิมลศิริ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนฯ 11. การประชุมวิชาการ 100 ปี ศาสตราจารย์บุญชนะ อัตถากร วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม 255 3 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรอบการนำเสนอ.
E N D
ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ดร. ปรเมธี วิมลศิริ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนฯ 11 การประชุมวิชาการ 100 ปี ศาสตราจารย์บุญชนะ อัตถากร วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม 2553 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
กรอบการนำเสนอ • กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 • การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายนอกและภายในประเทศ • ความเสี่ยงที่ผลต่อการพัฒนาประเทศ • ร่างทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11
ส.ค. 51 – ส.ค.52 ก.ย. 52 – ก.ย. 53 ก.ค. – ก.ย. 54 ต.ค. 53 – มิ.ย. 54 ร่างกรอบวิสัยทัศน์ และทิศทางของแผนฯ 11 การจัดทำร่างทิศทางการพัฒนาของแผนฯ 11 อนุมัติและประกาศใช้แผนฯ 11 ยกร่างแผนฯ 11 • ประชุมประจำปี 2551 “วิสัยทัศน์ประเทศไทย…สู่ปี 2570” • ประชุมประจำปี 2552 “จาก วิสัยทัศน์…สู่แผนฯ 11” • ยกร่างรายละเอียดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 • ระดมความเห็น 4 ภาค ปรับปรุงร่างแผนฯ 11 นำเสนอคณะกก.สศช.(ก.ค. 54) • ศึกษาวิจัยเฉพาะด้าน • นโยบาย ลศช.ในเรื่องทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 • ประเมินผลการพัฒนาในช่วงแผนฯ 10 • ประชุมระดมความคิดเห็นระดับชุมชน/หมู่บ้าน ระดับภาค และผู้ทรงคุณวุฒิ • ประชุมระดมความเห็น กลุ่มผู้สูงอายุ เยาวชนและสื่อมวลชน • เสนอร่างทิศทางแผนฯ 11 ต่อ กก.สศช. พิจารณา (12 ก.ค. 53) กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) เสนอร่างแผนฯ 11 ให้ค.ร.ม. พิจารณาโดยส่งให้ สภาที่ปรึกษาฯ พิจารณาก่อน (ส.ค. 54) คณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติ (ก.ย. 54) ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) (1 ตุลาคม 2554) จัดประชุมประจำปี 2553 “ทิศทางของแผนฯ 11” (6 สิงหาคม 2553) จัดประชุมประจำปี 2554 “ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11” (มิ.ย.54) ร่างกรอบวิสัยทัศน์ 2570 และแนวคิดทิศทางแผนฯ 11 (ก.ค. 52) เสนอทิศทางและประเด็นยุทธศาสตร์ของแผนฯ 11 ต่อ ค.ร.ม.(ก.ย. 53)
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ การเปลี่ยนแปลงของโลก • กฎ กติกาใหม่ของโลกในการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น การค้าและการลงทุน การเงิน สิ่งแวดล้อม • การปรับตัวเข้าสู่หลายศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ • การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ • ภาวะโลกร้อน • ปัญหาในด้านอาหารและพลังงาน • ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ (ต่อ) การเปลี่ยนแปลงภายในประเทศ ด้านเศรษฐกิจ การเงินเข้มแข็ง การคลังขาดสมดุล เกษตรต้นทุนสูง พื้นที่/แรงงานจำกัด อุตสาหกรรมพึ่งต่างประเทศ บริการ/ท่องเที่ยวมีโอกาส ด้านสังคม ความสัมพันธ์กันในสังคมน้อยลง วัฒนธรรมไทยมีความหลากหลาย ได้รับการศึกษาและสุขภาพดีขึ้น แต่พัฒนาการด้าน IQ EQ ของเด็ก รวมทั้งผลิตภาพแรงงาน และการดูแลผู้สูงอายุยังเป็นปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม โลกร้อนกระทบภาคเกษตร ปัญหาความยากจน/ย้ายถิ่น บุกรุกป่าเพิ่มขึ้น และพึ่งพลังงานจากต่างประเทศ
ความเสี่ยงที่ผลต่อการพัฒนาประเทศความเสี่ยงที่ผลต่อการพัฒนาประเทศ • กระบวนการบริหารภาครัฐอ่อนแอ : ไม่สามารถขับเคลื่อนการบริหารของรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรม ในมิติเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ระบบยุติธรรม เกิดความขัดแย้งแตกแยกและวิกฤตสังคมการเมือง ความเชื่อถือต่อประเทศไทยเสียหาย • โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน:การพึ่งฐานเศรษฐกิจเดิม (ส่งออก/แรงงานราคาถูก) เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก และกฎ กติกาการกีดกันทางการค้า สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน คุณภาพชีวิตลดลง • โครงสร้างประชากรไม่สมดุล : ใน 3 มิติ คือ ในด้านอายุ คุณภาพ และความรู้และทักษะ ส่งผลต่อการขาดประชากรวัยแรงงาน ความเสี่ยงภาระการคลังในการจัดสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุ • การเสื่อมสลายของค่านิยมของไทย: ขาดความสามัคคี-เอื้อเฟ้อเผื่อแผ่-เคารพสิทธิผู้อื่น-ยึดประโยชน์ส่วนรวม กระแสโลกาภิวัฒน์กระทบต่อวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม • การเปลี่ยนแปลงในฐานทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ: ที่เปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการใช้ประโยชน์ กายภาพ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ทำให้เกิดปัญหาน้ำแล้ง คุณภาพดิน ปัญหาสุขภาวะและคุณภาพชีวิต
กรอบแนวคิดและหลักการของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 วิสัยทัศน์ “สังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง” เป้าหมายหลัก • ยึดระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข • ยึดภาคเกษตรเป็นฐานรองรับของรายได้และความมั่นคงอาหาร และสังคมชนบท • ยึดการพัฒนาประเทศบนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย • ส่งเสริมและรักษาค่านิยมของวัฒนธรรมไทย • ยึดชุมชนเป็นฐานที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสามารถเชื่อมโยงกับสังคมสวัสดิการ • รักษาความเป็นเอกราช ความเป็นกลางในเวทีโลกและความเป็นผู้นำในเวทีอาเซียน • สังคมไทยมีความสงบสุข อย่างมีธรรมาภิบาล • หลักประกันทางสังคมที่มีคุณภาพครอบคลุมประชากรไทยทุกคน • โครงสร้างเศรษฐกิจมีความสมดุล เข้มแข็งและพึ่งพาตนเอง • ความสามารถในการแข่งขันของประเทศสูงขึ้น • ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และคุณภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้น ภายใต้ภูมิคุ้มกัน
ร่างยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 • การสร้างสังคมให้เป็นธรรม • การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
ร่างยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 • การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้และการสร้างปัจจัยแวดล้อม • การสร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในภูมิภาค
ร่างยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน • การสร้างความสมดุลและมั่นคงของอาหารและพลังงาน