E N D
ANGKANA Data Management Chapter 3
ANGKANA บทนำ กล่าวถึงส่วนการจัดการกับข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยการสร้างความเข้าใจในคำว่า “ข้อมูล สารสนเทศ และองค์ความรู้” ก่อน เนื่องจากเป็นวัตถุดิบสำคัญของระบบ จากนั้นจะกล่าวถึงเทคโนโลยีที่จะใช้ในการจัดการกับข้อมูลนั่นก็คือ “ฐานข้อมูล” และ “ระบบจัดการฐานข้อมูล”
หัวข้อการเรียนรู้ • ข้อมูล สารสนเทศ และองค์ความรู้ • แหล่งข้อมูล • การเก็บรวบรวมข้อมูลและปัญหาที่เกิดขึ้น • ฐานข้อมูล • ระบบจัดการฐานข้อมูล • เทคโนโลยีฐานข้อมูล • การแสดงผลข้อมูลในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ข้อมูล ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ซึ่งอาจเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ข้อมูลอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร หรือข้อความ นอกจากนี้ข้อมูลยังอาจอยู่ในลักษณะของภาพและเสียง ข้อมูลจึงต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และน่าเชื่อถือ
สารสนเทศ และองค์ความรู้ สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล และจัดการให้มีความถูกต้อง ทันสมัย และสามารถนำไปใช้งานได้ตามที่ต้องการได้ องค์ความรู้ คือ สารสนเทศที่ถูกคัดเลือกเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตามต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์ความรู้ต้องอาศัยประสบการณ์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเลือกสารสนเทศมาใช้ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
องค์ความรู้ โดยขั้นตอนการประมวลผลเพื่อเปลี่ยนแปลงให้ข้อมูลกลายเป็นองค์ความรู้ คือ การประมวลผลและจัดการเตรียมเรียงข้อมูล ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้รับจากขั้นตอนนี้ คือ สารสนเทศซึ่งอยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และเมื่อผู้ใช้ต้องการแก้ไขปัญหา ก็จะทำการคัดเลือกสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งผู้ใช้แต่ละคนอาจมีวิธีการคัดเลือกสารสนเทศสำหรับแก้ไขปัญหาได้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และการฝึกฝน โดยสารสนเทศที่ถูกคัดเลือกจะเรียกว่าองค์ความรู้ เพื่อนำไปใช้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ต่อไป
องค์ความรู้ ประมวลผล ข้อมูล กระบวนการคัดเลือก สารสนเทศ องค์ความรู้ นำไปใช้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ
แหล่งข้อมูล แหล่งข้อมูล จะรวมไปถึง สถานที่ บุคคล ห้องสมุด นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ บทความ ผลการวิจัย หรือแม้กระทั่งฐานข้อมูลอื่น ๆ ฯลฯ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ดังนั้น จึงได้มีการจัดกลุ่มแหล่งข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. แหล่งข้อมูลภายในองค์กร 2. แหล่งข้อมูลภายนอกองค์กร
แหล่งข้อมูลภายในองค์กรแหล่งข้อมูลภายในองค์กร แหล่งข้อมูลภายในองค์กร คือ แหล่งข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กร เช่น แฟนกต่างๆ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการ หัวหน้างาน สินค้าและบริการ เครื่องจักร พนักงาน หรือขั้นตอนการทำงาน สำหรับข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลภายใน ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลที่เกิดจากการดำเนินงานในแต่ละวัน ข้อมูลพนักงาน ข้อมูลสินค้าและบริการ ข้อมูลของบริษัท ข้อมูลคลังสินค้า โดยข้อมูลภายในองค์กรอาจถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลเดียวกันหรือไม่ก็ได้
แหล่งข้อมูลภายนอกองค์กรแหล่งข้อมูลภายนอกองค์กร แหล่งข้อมูลภายนอกองค์กร คือ แหล่งของข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น หน่วยงานรัฐบาล เอกชน สถาบันการเงิน กระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัย ห้องสมุด สำหรับข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลภายนอกองค์กร เช่น กฎหมาย พระราชกำหนด ผลการสำรวจจากรัฐบาลหรือสถาบันอื่น ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
การเก็บรวบรวมข้อมูล และปัญหาที่เกิดขึ้น การที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่ดี ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และตรงประเด็นเพื่อนำเข้าสู่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจนั้น ในกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลเหล่านั้นจะต้องมีการคัดเลือก เรียบเรียง และกลั่นกรองให้ตรงประเด็นในแต่ละเรื่องเสียก่อน จึงจะสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในเรื่องนั้น ๆ ได้
วิธีการรวบรวมข้อมูล 1. การศึกษาเกี่ยวกับเวลาในการปฏิบัติงานต่าง (Time Study) ซึ่งต้องรวบรวม ข้อมูลโดยการสังเกตการณ์ 2. การสำรวจ (Survey) เช่น การสำรวจความต้องการใช้งานคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในหน่วยงานต่าง ๆ โดยเครื่องมือที่ช่วยในการทำสำรวจ คือแบบสอบถาม (Questionnaire) 3. การสังเกตการณ์ (Observation) คือ การเฝ้าดูการทำงาน เพื่อรวบรวมข้อมูล ต่าง ๆ ในการทำงานจริง ๆ 4. การสัมภาษณ์ (Interview) คือการสอบถาม พูดคุยกับบุคคลต่าง ๆ หรือ ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรวบรวมข้อมูลที่ต้องการ
ปัญหาของข้อมูล 1. ข้อมูลไม่มีความถูกต้อง อาจเนื่องจากความผิดพลาดจากแหล่งข้อมูล หรือการ ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบเกิดผิดพลาดแล้วนำเข้าสู่ระบบโดยไม่ได้ตรวจสอบ ความถูกต้อง 2. ข้อมูลไม่ทันต่อการใช้งาน อาจมีสาเหตุมาจากในกระบวนการรวบรวมข้อมูล หรือค้นหาข้อมูลมีความล่าช้า อาจแก้ไขได้ด้วยการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อ การประมวลผลข้อมูล 3. ข้อมูลที่ได้ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน อาจมีสาเหตุมาจากข้อมูลที่เก็บรวบรวม มานั้นไม่ได้รับการคัดเลือกเอาเฉพาะข้อมูลที่มีความสอดคล้องกับการใช้งาน 4. ข้อมูลที่ต้องการไม่มีอยู่ในระบบ อาจมีสาเหตุเนื่องมาจากไม่เคยมีใครเก็บ ข้อมูลเหล่านั้นไว้ หรือข้อมูลที่ต้องการใช้นั้นไม่เคยมีมาก่อนเลยในองค์กร
คุณภาพของข้อมูล 1. คุณภาพโดยทั่วไปของข้อมูล ได้แก่ เรื่องของความสอดคล้องของข้อมูล 2. คุณภาพโดยธรรมชาติของข้อมูล ได้แก่ ความถูกต้อง และน่าเชื่อถือ 3. คุณภาพของข้อมูลในมุมมองการเข้าถึง ได้แก่ ความสามารถในการเข้าถึง และ ความปลอดภัยของข้อมูล 4. คุณภาพของข้อมูลในมุมมองของการนำเสนอ ได้แก่ การสื่อความหมาย ง่ายต่อ การเข้าใช้
ข้อแนะนำเกี่ยวกับข้อมูลก่อนนำเข้าสู่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจข้อแนะนำเกี่ยวกับข้อมูลก่อนนำเข้าสู่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 1. ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล ควรตรวจสอบว่าข้อมูลที่ได้มาอยู่ในรูปแบบที่ ถูกต้องตามต้องการหรือไม่หากไม่ใช่ควรจัดให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ 2. เนื่องจากบางครั้งข้อมูลบางอย่างอาจต้องได้รับการปรับปรุงอยู่เสมอ ดังนั้นเมื่อ รวบรวมข้อมูลมาได้ จึงควรตรวจสอบว่าข้อมูลที่ได้มานั้นเป็นข้อมูลที่ได้รับ การปรับปรุงล่าสุด (ทันสมัย) หรือไม่ หากไม่ใช่ควรปรับปรุงให้ถูกต้องเป็น ข้อมูลที่ใหม่ล่าสุด 3. ควรตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลก่อน เช่น ตัวเลขผลรวมของข้อมูลนั้น ถูกต้องจริง และต้องตรวจสอบว่าได้แหล่งที่มาของผลรวมนั้นมาด้วย 4. ควรตรวจสอบปริมาณข้อมูลที่ได้มาว่าเพียงพอหรือไม่ในแต่ละเรื่อง
ฐานข้อมูล • ฐานข้อมูล หมายถึง กลุ่มของแฟ้มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันและถูกนำมารวมกัน
ข้อดีของการใช้ระบบฐานข้อมูลข้อดีของการใช้ระบบฐานข้อมูล 1. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Data Redundancy)2. สามารถหลีกเลี่ยงความไม่สอดคล้องของข้อมูล(Data Inconsistency)3. สามารถกำหนดให้ข้อมูลมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกันได้4. สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยให้กับข้อมูลได้ (Data Security)5. สามารถรักษาความถูกต้องของข้อมูลได้ (Data Integrity)6. ข้อมูลที่เก็บอยู่ภายในฐานข้อมูลสามารถนำเสนอในรูปแบบของรายงานได้ง่าย (Easy Reporting)
ระบบจัดการฐานข้อมูล(Database Management System: DBMS) ระบบจัดการข้อมูลที่มีการนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คือ “ระบบจัดการฐานข้อมูล” ระบบจัดการฐานข้อมูล คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงการทำงานระหว่างผู้ใช้งานฐานข้อมูลกับฐานข้อมูล เป็นการช่วยอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ฐานข้อมูลในการสร้าง ลบ ปรับปรุง สืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลในฐานข้อมูล โดยใช้คำสั่งง่าย ๆ ผ่านระบบจัดการฐานข้อมูล
แสดงโครงสร้างการทำงานของระบบจัดการฐานข้อมูลแสดงโครงสร้างการทำงานของระบบจัดการฐานข้อมูล
ประโยชน์ของระบบจัดการฐานข้อมูลประโยชน์ของระบบจัดการฐานข้อมูล • การนำระบบจัดการฐานข้อมูลมาใช้กับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ มีประโยชน์ดังต่อไปนี้ • ช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับงานประเภทต่าง ๆ ในด้านการจัดการข้อมูลในฐานข้อมูล รวมถึงช่วยให้การพัฒนาโปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจสามารถนำข้อมูลและองค์ความรู้ที่จัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูลมาใช้ประกอบการตัดสินใจแก้ไขปัญหาประเภทต่าง ๆ • ช่วยให้ผู้สนับสนุนการตัดสินใจสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ • ช่วยให้สามารถสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว
ประโยชน์ของระบบจัดการฐานข้อมูลประโยชน์ของระบบจัดการฐานข้อมูล 4. ช่วยควบคุมเกี่ยวกับความถูกต้อง และความสอดคล้องของข้อมูลในระบบ สนับสนุนการตัดสินใจ 5. ช่วยลดความซ้ำซ้อนของการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลระบบสนับสนุนการ ตัดสินใจ
เทคโนโลยีฐานข้อมูล จะเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการในการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ตัดสินใจซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นการตัดสินใจเชิงธุรกิจ การกำหนดแผนกลยุทธ์เพื่อนำไปสู่แผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน ดังนั้นนักพัฒนาจึงได้คิดค้นหลักการหรือเทคโนโลยีทางด้านการเข้าถึงข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดเก็บและจัดการข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนผู้ตัดสินใจให้สามารถจัดการกับข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ
คลังข้อมูล (Data Warehouse) ปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว คือ องค์กรจำเป็นต้องเก็บบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวกับกิจกรรมและผลที่เกิดจากการทำกิจกรรมขององค์กรไว้ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์หาแรนวทางในการดำเนินกิจกรรมขององค์กรในอนาคต ด้วยเหตุนี้ทุก ๆ องค์กรจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี ระบบเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล คลังข้อมูล หมายถึง หลักการหรือวิธีการเพื่อการรวมระบบสารสนเทศเพื่อการประมวลผลรายการข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละวันแต่ละสายงาน มารวมเข้าเป็นหน่วยเดียวกัน เพื่อสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจของผู้ตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
คลังข้อมูล (Data Warehouse) คลังข้อมูล เป็นหลักการ วิธีการ และแนวทางแก้ปัญหา ข้อมูลที่เก็บไว้ในคลังข้อมูล จะถูกเก็บไว้เพื่อใช้งานไปอีก 5-10 ปี เพื่อการทำนายแนวโน้มที่เป็นไปในแต่ละปี หรือการเปรียบเทียบค่าข้อมูลตามช่วงเวลาต่าง ๆ เพื่อให้เห็นถึงความแตกต่าง การใช้งานในลักษณะเช่นนี้ ข้อมูลในคลังทั้งหมดจึงต้องมีความถูกต้องอยู่เสมอไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเวลาใดก็ตาม
ข้อดีของคลังข้อมูล • ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูง ถึงแม้ว่าจะมีการลงทุนที่สูงก็ตาม • ทำให้องค์กรเกิดความได้เปรียบคู่แข่งขันในแง่ของการได้รับข้อมูลและสารสนเทศก่อนคู่แข่ง ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อกำหนดเป็นแผนกลยุทธ์ กำหนดทิศทางในการดำเนินงานได้ก่อนคู่แข่งขัน • เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผู้ตัดสินใจ
ข้อเสียของคลังข้อมูล • ขั้นตอนในการกลั่นกรอง และโหลด้อมูลเข้าสู่คลังข้อมูลนั้นใช้เวลานาน และต้องอาศัยผู้ที่มีความชำนาญในการกลั่นกรองข้อมูล • แนวโน้มความต้องการข้อมูลมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงอาจเป็นสาเหตุให้คำตอบที่ผู้ใช้ต้องการ เพิ่มความซับซ้อนให้กับกระบวนการทำงานมากขึ้น • ใช้เวลานานในการพัฒนาคลังข้อมูล • ระบบคลังข้อมูลมีความซับซ้อนสูง
แสดงสถาปัตยกรรมของคลังข้อมูลแสดงสถาปัตยกรรมของคลังข้อมูล
การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์(Online Analytical Processing: OLAP) • OLAP คือ กระบวนการประมวลผลข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลในมิติต่าง ๆ ของข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ผู้ใช้ทำการสอบถามข้อมูลยอดขายผลิตภัณฑ์ชุดว่ายน้ำทั้งหมดของบริษัทที่จำหน่ายในจังหวัดภูเก็ดในเดือนมีนาคม เปรียบเทียบกับยอดขายชุดว่ายน้ำรุ่นเดียวกันในเดือนตุลาคม และเปรียบเทียบยอดขายชุดว่ายน้ำและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของบริษัทที่ขายในจังหวัดภูเก็ดในช่วงเวลาเดียวกัน
แสดงลักษณะการแสดงข้อมูลแบบหลายมิติแสดงลักษณะการแสดงข้อมูลแบบหลายมิติ
Slice and Dice • หรือบางครั้งอาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “Pivoting” เป็นการแยกข้อมูลออกเป็นส่วนเพื่อพิจารณาเฉพาะส่วนที่ต้องการโดยเฉพาะ โดยเกณฑ์ในการแยกจะใช้ข้อมูลของมิติใด ๆ • Slice การ Slice หมายถึง การเลือก พิจาณาผลลัพธ์บางส่วนที่เราสนใจ โดย การเลือกเฉพาะค่าที่ถูกกำกับด้วยข้อมูล บางค่าของแต่ละมิติเท่านั้น
Slice and Dice • Diceการ Dice หมายถึง กระบวนการพลิกแกนหรือมิติข้อมูล ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน แสดงตัวอย่างการ Dice
ประโยชน์ของ OLAP • การใช้ระบบประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์เพื่อช่วยจัดการข้อมูลในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ช่วยให้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทำงานได้ดียิ่งขึ้นดังต่อไปนี้ • ช่วยในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลในมุมมองต่าง ๆ ทำให้ผู้ตัดสินใจมีมุมมองเกี่ยวกับการเปรียบเทียบข้อมูลมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ • ช่วยให้ผู้ใช้เปรียบเทียบข้อมูลในมุมมองต่าง ๆ ที่หลากหลาย • ช่วยให้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถสร้างข้อมูลตามมุมมองของตนเองได้ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้งานเฉพาะด้าน • ได้รับข้อมูลในมุมมองใหม่ ๆ สำหรับประกอบการตัดสินใจ ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกในการตัดสินใจทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เหมืองข้อมูล (Data Mining) เหมืองข้อมูล หรือ Data Mining หมายถึง การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อแยกประเภท จำแนกรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือคลังข้อมูล และนำสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในการตัดสินในธุรกิจ ดังนั้นผู้ใช้ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็สามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เทคนิค Classification เทคนิค Classification เป็นเทคนิคในการจำแนกกลุ่มข้อมูลด้วยลักษณะ ต่าง ๆ ที่ได้มีการกำหนดไว้แล้ว เทคนิคประเภทนี้เหมาะกับการสร้างแบบจำลองเพื่อการพยากรณ์ค่าข้อมูล (Predictive Modeling) ในอนาคต
เหมืองข้อมูล (Data Mining) เทคนิค Clustering => เป็นเทคนิคที่ใช้ในการจำแนกกลุ่มข้อมูลใหม่ที่มีลักษณะคล้ายกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน โดยที่ไม่มีการจัดกลุ่มข้อมูลตัวอย่างไว้ล่วงหน้า เทคนิค Association => เป็นเทคนิคที่ใช้ค้นพบองค์ความรู้หรือสารสนเทศใหม่ ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลหรือกลุ่มข้อมูลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์เดียวกันเข้าด้วยกัน เทคนิค Visualization => เป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อการแสดงผลนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟิก ที่จะทำให้ผู้ใช้หรือผู้ตัดสินใจสามารถค้นพบองค์ความรู้ได้จากการแสดงผล ดังนั้น จึงต้องพัฒนารูปแบบการแสดงผลข้อมูลให้สามารถเห็นได้ชัดเจน ซึ่งอาจแสดงผลให้มีสีสัน หรือแสดงผลแบบ 3 มิติ แสดงให้เห็นพื้นที่ของกลุ่มข้อมูลทั้งหมดได้
ประโยชน์เหมืองข้อมูล • ช่วยชี้แนวทางการตัดสินใจและช่วยคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะได้รับจากการตัดสินใจ • เพิ่มความเร็วในการวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ • ค้นหาส่วนประกอบที่ซ่อนอยู่ภายในเอกสาร รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ด้วย • เชื่อมโยงเอกสารที่มีความเกี่ยวข้องกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กร
ตัวอย่างการนำเหมืองข้อมูลไปใช้งานตัวอย่างการนำเหมืองข้อมูลไปใช้งาน การตลาด - การทำนายผลการตอบสนองกับการเปิดตัว สินค้าชนิดใหม่- การทำนายยอดขายเมื่อมีการลดราคาสินค้าลง- การทำนายกลุ่มลูกค้าที่น่าจะใช้สินค้าของเรา การค้าขาย - ทำนายผลกำไรเมื่อลงทุนซื้อสินค้า มาเพื่อขาย- ใช้ค้นหาจุดคุ้มทุน
การแสดงผลข้อมูลแบบกราฟิกการแสดงผลข้อมูลแบบกราฟิก จะต้องทำให้ผู้ตัดสินใจสามารถอ่านเข้าใจง่าย และแสดงความหมายของข้อมูลนั้นได้อย่างชัดเจน
การแสดงผลข้อมูลแบบหลายมิติการแสดงผลข้อมูลแบบหลายมิติ การตลาด - การทำนายผลการตอบสนองกับการเปิดตัว สินค้าชนิดใหม่- การทำนายยอดขายเมื่อมีการลดราคาสินค้าลง- การทำนายกลุ่มลูกค้าที่น่าจะใช้สินค้าของเรา การค้าขาย - ทำนายผลกำไรเมื่อลงทุนซื้อสินค้า มาเพื่อขาย- ใช้ค้นหาจุดคุ้มทุน
การแสดงผลข้อมูลแบบหลายมิติการแสดงผลข้อมูลแบบหลายมิติ
การแสดงผลข้อมูลแบบหลายมิติการแสดงผลข้อมูลแบบหลายมิติ มุมมองที่ 1 เปรียบเทียบยอดขายอุปกรณ์ไฟฟ้าของสาขาต่าง ๆ จำแนกตามประเภทอุปกรณ์ไฟฟ้า
การแสดงผลข้อมูลแบบหลายมิติการแสดงผลข้อมูลแบบหลายมิติ มุมมองที่ 2 เปรียบเทียบยอดขายและประมาณการณ์ยอดขายปีหน้าของสาขา ต่าง ๆ โดยจำแนกตามประเภทอุปกรณ์ไฟฟ้า
การแสดงผลข้อมูลแบบหลายมิติการแสดงผลข้อมูลแบบหลายมิติ มุมมองที่ 3 เปรียบเทียบยอดขายและประมาณการณ์ยอดขายปีหน้าของอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละประเภท จำแนกตามสาขา
การแสดงผลข้อมูลแบบหลายมิติการแสดงผลข้อมูลแบบหลายมิติ มุมมองที่ 4 เปรียบเทียบยอดขายปีนี้และการคาดการณ์ยอดขายปีหน้าของ อุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ จำแนกตามสาขา