1 / 26

แนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาคุณภาพฐานข้อมูลการบริการผู้ป่วยนอก

แนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาคุณภาพฐานข้อมูลการบริการผู้ป่วยนอก การบริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรครายบุคคล ในรูปแบบ 21 แฟ้มมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2555 กระทรวงสาธารณสุข. สำนักโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลักระทรวงสาธารณสุข. พัฒนาการ. 2550-2551.

Download Presentation

แนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาคุณภาพฐานข้อมูลการบริการผู้ป่วยนอก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาคุณภาพฐานข้อมูลการบริการผู้ป่วยนอก การบริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรครายบุคคล ในรูปแบบ 21 แฟ้มมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2555 กระทรวงสาธารณสุข สำนักโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลักระทรวงสาธารณสุข

  2. พัฒนาการ 2550-2551 • วางระบบการเชื่อมโยง /จัดเตรียมบุคลากร/จัดหา Server /พัฒนา โปรแกรม/ ดำเนินการเชื่อมโยงฐานข้อมูลระดับจังหวัด และส่วนกลาง • ทุกสอ. ใน 75 จังหวัด จัดส่งฐานข้อมูลเข้าส่วนกลาง • จัดส่ง/เชื่อมโยงฐานข้อมูลให้ สปสช. • กำหนดเงื่อนไข และตรวจสอบฐานข้อมูล 2552 • เร่งรัดคุณภาพฐานข้อมูล (ตรวจสอบและแจ้งสถานะฐานข้อมูลให้ สอ. • ปรับแก้) • เร่งรัดให้ทุก สอ. ที่ลงทะเบียน ส่งข้อมูลให้ครบถ้วน/ทันเวลา • ปรับรหัสที่มีปัญหาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน • ประสานการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลร่วมกัน ในส่วนกลาง • พัฒนาบัญชีจำแนกโรค ICD-10-TM for PCU ฉบับแรกของประเทศไทย • อบรมครู ก เพื่อทำหน้าที่ให้ความรู้และเป็นพี่เลี้ยงในการให้ความรู้การให้ รหัสโรคและการวินิจฉัยรหัสโรค ตาม ICD-10-TM (รุ่นที่ 1)

  3. พัฒนาการ • ปีแห่งคุณภาพและการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล • เร่งรัดคุณภาพฐานข้อมูลทั้งด้านรักษา ส่งเสริม ควบคุมและป้องกันโรค • ปรับรหัสและโครงสร้างฐานข้อมูลให้สอดคล้องกับการใช้งาน • เร่งรัดการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลร่วมกัน • พัฒนาศักยภาพผู้วินิจฉัยโรคและการให้รหัสโรคตาม ICD-10-TM • จัดสอบวัดความรู้การให้รหัสโรค ICD-10-TM for PCU ใน 8 จังหวัดนำร่อง • ประกาศใช้รหัสยา 24 หลัก และจัดเก็บข้อมูลมาใช้ประโยชน์ • ประกาศใช้รหัสหัตถการระดับปฐมภูมิ 2553 2554 • ปีแห่งคุณภาพ การใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล • เร่งรัดคุณภาพฐานข้อมูลการบริการผู้ป่วยนอก และการบริการสร้างเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรค โดยการลงพื้นที่ติดตามคุณภาพฐานข้อมูล ใน 8 จังหวัด • อบรมครู ก เพื่อทำหน้าที่ในการให้ความรู้ในการให้รหัสโรคและการวินิจฉัย รหัสโรค ตาม ICD-10-TM (รุ่นที่ 2) • เร่งรัดการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการระดับปฐมภูมิในการให้รหัสโรคและการวินิจฉัยรหัส โรคตาม ICD-10-TM โดยกำหนดให้ทุกจังหวัดจัดทำแผนพัฒนา และจัดอบรม อย่างเข้มข้น • เร่งรัดการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลร่วมกันในส่วนกลางและจังหวัด • ปรับโครงสร้างฐานข้อมูลฯ จาก 18 แฟ้มมาตรฐาน เป็น 21 แฟ้มมาตรฐาน เพื่อ ประกาศใช้ในปีงบประมาณ 2555

  4. พัฒนาการ 2555 • ปีแห่งคุณภาพ การใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลร่วมกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนของการรายงาน • ประกาศใช้โครงสร้างฐานข้อมูลการบริการผู้ป่วยนอก การบริการสร้าง เสริมสุขภาพและป้องกันโรค จาก 18 แฟ้มมาตรฐาน เป็น 21 แฟ้มมาตรฐาน โดยให้จัดส่งไปที่ส่วนกลาง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555 เป็นต้นไป • เร่งรัดคุณภาพฐานข้อมูลการบริการผู้ป่วยนอก การบริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค โดยการลงพื้นที่ติดตามและตรวจสอบคุณภาพข้อมูลฯ • เร่งรัดการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลร่วมกันในส่วนกลาง (กรม/กอง/สำนักฯ) และจังหวัด โดยออกรายงานให้ใช้ประโยชน์รายจังหวัด • อบรมครู ก เพื่อทำหน้าที่ในการให้ความรู้ในการให้รหัสโรคและการวินิจฉัย รหัสโรค ตาม ICD-10-TM (รุ่นที่ 3) • เร่งรัดพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการในการให้รหัสโรคและการวินิจฉัยรหัสโรค ตาม ICD-10-TM โดยกำหนดให้ทุกจังหวัดจัดทำแผนพัฒนา และจัดอบรม อย่างเข้มข้น • สนับสนุนให้จังหวัดดำเนินการสอบวัดความรู้ในการให้วินิจฉัยรหัสโรคและการ ให้รหัสโรค ตาม ICD-10-TM

  5. แนวการดำเนินการด้านข้อมูลให้บริการผู้ป่วยนอกฯ ปีงบประมาณ 2555 1. กำหนดให้ใช้โครงสร้างฐานข้อมูลการบริการผู้ป่วยนอก การบริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ในรูปแบบ 21 แฟ้มมาตรฐาน (ตามมาตรฐาน 18 แฟ้มมาตรฐาน) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555 เป็นต้นไป 2. กำหนดให้โรงพยาบาล, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/สถานีอนามัย/ ศูนย์สุขภาพชุมชนฯลฯ ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทุกแห่ง จัดส่ง/เชื่อมโยงข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอก การให้บริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ในรูปแบบ 21 แฟ้มมาตรฐาน (ตามมาตรฐาน 18 แฟ้มมาตรฐาน) เข้าส่วนกลาง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555 เป็นต้นไป โดยเพิ่มแฟ้มการบริการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิต จำนวน 3 แฟ้ม ได้แก่ แฟ้ม NCDSCREEN, CHRONICFU, LABFU เพื่อลด ภาระในการจัดเก็บและการบันทึกข้อมูลหลายระบบ

  6. แนวทางการดำเนินการด้านข้อมูลให้บริการผู้ป่วยนอกฯ ปีงบประมาณ 2555 (ต่อ) 3. กำหนดเวลาการจัดส่ง/เชื่อมโยงฐานข้อมูลฯ - ตัดยอดทุกวันสิ้นเดือน - จัดส่ง/เชื่อมโยงฐานข้อมูลฯ เข้าระบบให้สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ภายในวันสิ้นเดือนของเดือนถัดไป สำหรับข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 –มกราคม 2555 ให้จัดส่งเข้าส่วนกลางภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ส่วนข้อมูลตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 เป็นต้นไป ให้จัดส่งตามระยะเวลา ที่กำหนด 4. การทักท้วงและทวงข้อมูล ปีงบประมาณ 2555 -การทักท้วง ประสานให้ สสจ. ดำเนินการ หากยังไม่ได้ผล สนย. จะ ประสานหน่วยบริการโดยตรง เพื่อทำการแจ้งปัญหาที่พบจากการ ตรวจสอบคุณภาพข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งสถานบริการจะได้ทำการปรับแก้ไข ข้อมูลให้ถูกต้อง

  7. การดำเนินการด้านข้อมูลให้บริการผู้ป่วยนอกฯ ปีงบประมาณ 2555 (ต่อ) 5. การทวงข้อมูลเร่งรัดให้มีการจัดส่งข้อมูลให้ครบถ้วน ได้มีการกำหนดขั้นตอนการ ติดตามการส่งข้อมูลที่สถานบริการยังไม่ได้จัดส่งตามเวลาที่กำหนด โดยมีขั้นตอน ดังนี้5.1 ประสานเบื้องต้นทางโทรศัพท์ กับผู้รับผิอชอบระดับ สสจ. หากยังไม่ได้ผล สนย. จะประสานเพื่อติดตามโดยตรงกับสถานบริการนั้น ๆ 5.2 ทำหนังสือติดตามการส่งข้อมูล ไปที่ สสจ. 5.3 ทำหนังสือแจ้งผู้ตรวจราชการแต่ละเขตที่รับผิดชอบในจังหวัดนั้น ๆ ให้เร่งรัด

  8. แนวการดำเนินการด้านข้อมูลให้บริการผู้ป่วยนอกฯ ปีงบประมาณ 2555 (ต่อ) 6. สร้างเครื่องมือสำหรับใช้ในการ monitor ข้อมูลที่มีไม่ถูกต้อง (Error) ในแต่ละระดับ โดยเว็บไซต์ ที่ 164.115.5.62/ccreport/ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบข้อมูล ใช้สำหรับติดตาม แก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูลในแต่ละระดับได้ง่ายขึ้น

  9. รูปแบบการจัดส่ง/เชื่อมโยงฐานข้อมูลฯ ในรูปแบบ 21 แฟ้มมาตรฐานเข้าส่วนกลาง ปีงบประมาณ 2555 ระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับส่วนกลาง กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สปสช. • รพ.สต./สถานีอนามัย/PCU-โรงพยาบาล • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 9

  10. แนวทางการตรวจสอบคุณภาพฐานข้อมูลฯ ปีงบประมาณ 2555 • การตรวจสอบคุณภาพฐานข้อมูล ปี 2555 ได้กำหนดไว้ 3 ส่วน • ส่วนที่ 1 ตรวจสอบเชิงปริมาณ ประกอบด้วย -ตรวจสอบโครงสร้างฯ ตามที่กำหนด -ตรวจสอบรหัส ว่าถูกต้องตามที่กำหนดหรือไม่ -ตรวจสอบความเชื่อมโยงเบื้องต้น • ส่วนที่ 2 ตรวจสอบเชิงความสัมพันธ์ของแต่ละแฟ้ม เพื่อการออกรายงาน ประกอบด้วย -ตรวจสอบความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ในแต่ละแฟ้มที่เกี่ยวข้อง -ตรวจสอบตามเงื่อนไขและเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับการออกรายงาน • ส่วนที่ 3 ลงพื้นที่โดยการสุ่ม เพื่อตรวจสอบ ให้คำแนะนำในการบันทึก/จัดเก็บข้อมูลฯ • ร่วมกับกรม • ส่วนที่ 4 จัดทำเว็บไซต์ให้กับจังหวัดสำหรับติดตามในส่วนที่มีข้อมูลผิดพลาดสูง เพื่อช่วยในการบริการจัดการแก้ไขปัญหาการบันทึกข้อมูลไม่ถูกต้อง ที่ 164.115.5.62/ccreport/

  11. แผนการดำเนินงานปีงบประมาณ 2555 • ด้านคุณภาพฐานข้อมูล • 1.1 จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน และแนวทางการตรวจสอบคุณภาพ ข้อมูลฯ ปีงบประมาณ 2555 ร่วมกับ สปสช. ประมาณเดือนธันวาคม -มกราคม • 1.2 จัดอบรมครู ก โดยให้จังหวัดคัดเลือกผู้เหมาะสมส่งเข้าอบรม จังหวัดละ 2 คน เพื่อ ทำหน้าที่ให้ความรู้ในการให้รหัสโรคฯ ในระดับจังหวัดต่อไป ประมาณเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม ๒๕๕๕ • 1.3 สนับสนุนและผลักดันให้ทุกจังหวัดสอบวัดความรู้เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในระดับ ปฐมภูมิทุกคน เพื่อจะได้จัดกลุ่มจัดอบรมได้ตรงตามความต้องการ จะดำเนินการสำรวจและทำทะเบียนไว้

  12. แผนการดำเนินงานปีงบประมาณ 2555 • ด้านคุณภาพฐานข้อมูล (ต่อ)1.4 กำหนดให้ทุกจังหวัดจัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ระดับปฐมภูมิทุกคนให้มีความรู้และสามารถในการวินิจฉัยและให้รหัสโรคตาม ICD-10-TM ได้ถูกต้อง เพื่อส่งผลให้ข้อมูลมีคุณภาพสามารถนำไปใช้การกำหนด นโยบายและวางแผนด้านสุขภาพได้อย่างถูกต้อง 1.5 ประสานสำนักตรวจราชการ เพื่อขอความร่วมมือในการเร่งรัดให้มีการ บันทึกข้อมูลการบริการผู้ป่วยนอก การบริการสร้างเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรค ลงในฐานให้ครบทุกบริการทั้งเชิงรับและเชิงรุก1.6 ลงพื้นที่ร่วมกับกรม ทำการนิเทศและตรวจสอบคุณภาพการบันทึกข้อมูล โดยสุ่มเลือกผู้มารับบริการมาจำนวนหนึ่ง Coder จะเป็นผู้ตรวจสอบความ สอดคล้องของอาการ การวินิจฉัยและการให้รหัสโรค และการจ่ายยา ว่า สอดคล้องกันหรือไม่ พร้อมให้ข้อเสนอแนะ และตอบข้อซักถามในระดับ ปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2555 กำหนดไว้ 12 เขต ๆ ละ 2 จังหวัด (มีค-สค.55)

  13. ด้านการให้บริการของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 1. พัฒนาระบบประมวลผลและให้บริการข้อมูลที่ได้จากฐานข้อมูล 18 แฟ้มรายจังหวัด/ รายเดือน ตาม Report ที่กำหนด ตั้งแต่ปี 2551-2554 และ 21 แฟ้ม ปี 2555 หรือตาม ร้องขอ2. พัฒนาระบบแจ้งสถานะตรวจสอบฐานข้อมูลเบื้องต้นตามเงื่อนไขที่กำหนด 3. พัฒนาระบบการรายงานและระบบนำเสนอข้อมูลที่ได้จากฐานข้อมูล 18 แฟ้ม และ 21 แฟ้ม ในมิติต่างๆ สำหรับใช้ประโยชน์ทั้งระดับกระทรวง และระดับจังหวัด4. จัดทำ web board เพื่อใช้เป็นช่องทางติดต่อสื่อสารระหว่าง สนย. และพื้นที่ (สสจ. สสอ. สอ./รพ.สต./ศสช.) 6. บริการอื่น ๆ เช่น รหัสมาตรฐานที่ประกาศใช้ปี 2555 ฯ คู่มือ ฯ เข้าไปดูได้ที่http://healthcaredata.moph.go.th

  14. แฟ้มข้อมูลที่เพิ่มใหม่ในปีงบประมาณ2555แฟ้มข้อมูลที่เพิ่มใหม่ในปีงบประมาณ2555 กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้มีการจัดเก็บฐานข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอก การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จาก 18 แฟ้มมาตรฐาน เป็น 21 แฟ้มมาตรฐาน โดยเพิ่มแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับการคัดกรองโรคเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน และความดันโลหิต จำนวน 3 แฟ้ม ได้แก่ 1) NCDSCREEN 2) CHRONICFU 3) LABFU

  15. 1. NCDSCREEN (หน้า 27) -ข้อมูลการให้บริการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สำหรับผู้ที่มารับบริการ และ ประวัติการได้รับบริการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเป้าหมายอายุ 15 ปี ขึ้นไป ทั้งในรพ.และสถานบริการระดับปฐมภูมิ ทั้งในและนอกสถานพยาบาล ทั้งที่อาศัยในเขต และนอกเขตรับผิดชอบ -ข้อมูลที่สถานพยาบาลอื่นให้บริการกับประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่อาศัยในเขต รับผิดชอบ เป็นการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินความครอบคลุม กรณีโรงพยาบาล เขตรับผิดชอบ หมายถึง ตำบลที่ตั้งของโรงพยาบาล หรือ พื้นที่รับผิดชอบในส่วนของบริการระดับปฐมภูมิ ลักษณะแฟ้ม เป็นแฟ้มบริการ กำหนดให้ทำการคัดกรองปีละ 1 ครั้ง และจัดส่งข้อมูลทุกครั้ง ที่มีการคัดกรอง

  16. 2. CHRONICFU (หน้า 29) ข้อมูลการตรวจติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) ที่ได้รับการตรวจติดตามโดยโรงพยาบาลหรือสถานบริการระดับปฐมภูมิทุกคน ทั้งที่อาศัยในเขตและนอกเขตรับผิดชอบ ข้อมูลการตรวจภาวะแทรกซ้อน เป็นการตรวจร่างกาย ได้แก่ การตรวจเท้า ตา หากพบภาวะแทรกซ้อนให้บันทึกในแฟ้ม DIAG_OPD ในส่วนของการวินิจฉัย complication ลักษณะแฟ้ม เป็นแฟ้มบริการ จัดเก็บ/บันทึกข้อมูลทุกครั้งที่ให้บริการ เพื่อติดตามผลการรักษา และส่งข้อมูลให้จังหวัดและส่วนกลางในรอบของเดือนนั้น ๆ

  17. 3. แฟ้ม LABFU ( หน้า 31) ข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยโรคเรื้อรับ (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) ที่ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดย รพ. และสถานบริการระดับปฐมภูมิทุกคน ทั้งที่อาศัยในเขตและนอกเขตรับผิดชอบ กรณีโรงพยาบาล เขตรับผิดชอบ หมายถึง ตำบลที่ตั้งของโรงพยาบาล หรือ พื้นที่รับผิดชอบในส่วนของบริการระดับปฐมภูมิ ลักษณะแฟ้ม เป็นแฟ้มบริการ จัดเก็บ/บันทึกข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทุกครั้ง และส่งข้อมูลให้จังหวัดและส่วนกลางภายในรอบของเดือนนั้น ๆ

  18. การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ 1. ใช้ในการบริหารงาน กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานด้านสุขภาพ ในระดับประเทศ จังหวัด อำเภอ ตำบล 2. ใช้ในตัดสินใจด้านนโยบายสุขภาพ 3. ใช้ในการประเมินการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในระดับปฐมภูมิ หรือชุมชน 4. เพื่อลดการรายงานของสถานบริการโดยใช้ข้อมูลที่สำนักนโยบาย และยุทธศาสตร์แทน ปัจจุบัน ได้ประมวลสำหรับใช้ในการรายงานการให้บริการ วัคซีน, กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ, สำนักทันตสาธารณสุข,สำนักโภชนาการ, กรมควบคุมโรค, กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เป็นต้น 5. จัดทำชุดข้อมูล (Data Set Report) ที่ได้จากฐานข้อมูล 21แฟ้มร่วมกับกรม และหน่วยงานที่กี่ยวข้อง สำหรับใช้ประโยชน์ โดยใช้ข้อมูลจาก สนย. แทนจังหวัด เพื่อลดภาระการรายลง

  19. การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ 6. ใช้รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดสำคัญระดับจังหวัด/กรม/กระทรวง ปีงบประมาณ 2555 ตัวอย่าง เช่น..... 6.1 ร้อยละของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการคัดกรองเบาหวาน โดยการตรวจเลือด (Fasting CapillaryBlood Glucose หรือ Fasting Plasma Glucose) ได้จากแฟ้ม NCDSCREEN + PERSON + LABFU 6.2 ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการตรวจวัดความดันโลหิต ได้จากแฟ้ม NCDSCREEN + PERSON 6.3 ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองโดยการเจาะเลือด แล้วพบว่ามีภาวะ Pre-DM ได้จากแฟ้ม NCDSCREEN + PERSON + LABFU + DIAG 6.4 ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองโดยการเจาะเลือด แล้วพบว่ามีภาวะ DM ได้จากแฟ้ม NCDSCREEN + PERSON + LABFU + DIAG

  20. การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ 6.5 ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองโดยการเจาะเลือด แล้วพบว่ามีภาวะ Pre-HT ได้จากแฟ้ม NCDSCREEN + PERSON + DIAG 6.6 ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองโดยการเจาะเลือด แล้วพบว่ามีภาวะ HT ได้จากแฟ้ม NCDSCREEN + PERSON + DIAG 6.7 ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีภาวะ Pre-DM หรือ DM ที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองแล้วพบว่ามีความเสี่ยงได้จากแฟ้ม NCDSCREEN + PERSON 6.8 ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีภาวะ Pre-HT หรือ HT ที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองแล้วพบว่ามีความเสี่ยงได้จากแฟ้ม NCDSCREEN + PERSON

  21. การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ 6.9 ร้อยละของเด็ก 0– 5 ปี ที่มีส่วนสูงตามเกณฑ์ ค่อนข้างสูง สูงกว่าเกณฑ์รวมกัน ได้จากแฟ้ม NUTRITION + PERSON 6.10 ร้อยละของเด็ก 0– 5 ปีที่มีรูปร่างสมส่วนได้จากแฟ้ม NUTRITION + PERSON 6.11 ร้อยละของเด็ก 0– 5 ปีที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ได้จากแฟ้ม NUTRITION + PERSON 6.12 ร้อยละของเด็ก 6– 18 ปีที่มีส่วนสูงตามเกณฑ์ค่อนข้างสูง สูงกว่าเกณฑ์รวมกันได้จากแฟ้ม NUTRITION + PERSON 6.13 ร้อยละของเด็ก 6– 18 ปีที่มีรูปร่างสมส่วนได้จากแฟ้ม NUTRITION + PERSON 6.14 ร้อยละของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีกาวะอ้วน ได้จากแฟ้ม NUTRITION + PERSON

  22. การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ 5.15 ร้อยละของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีกาวะอ้วน (น้ำหนักเทียบกับส่วนสูงหรือค่า BMI) ได้จากแฟ้ม NUTRITION + PERSON 5.16 ร้อยละของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีกาวะอ้วนลงพุง ได้จากแฟ้ม NUTRITION + PERSON 5.17 ร้อยละของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่ได้รับการชั่งน้ำหนักเทียบกับส่วนสูง ได้จากแฟ้ม NUTRITION + PERSON 5.18 ร้อยละของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีขึ้นไปที่ได้รับการชั่งน้ำหนักเทียบกับส่วนสูง ได้จาก แฟ้ม NUTRITION + PERSON 5.19 ร้อยละของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ได้รับการวัดรอบเอว ได้จากแฟ้ม NCDSCREEN + PERSON 5.20 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจครรภ์ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ได้จากแฟ้ม ANC + PERSON

  23. การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ 6.21 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ ได้จากแฟ้ม ANC + PERSON 6.22 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในสถานบริการสาธารณสุข ได้รับ การตรวจสุขภาพช่องปาก และได้รับคำแนะนำทางทันตสุขภาพ ได้จาก แฟ้ม ANC + MCH + PERSON 6.23 อัตราการตั้งครรภ์ของหญิงอายุ 15 – 19 ปี ได้จากแฟ้ม ANC + PERSON 6.24 อัตราคุมกำเนิดของหญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 15 – 49 ปี ที่อยู่กินกับสามี ได้ จากแฟ้ม FP + WOMEN + PERSON 6.25 การออกรายงานตาม Dataset Report สำหรับกรม กอง และหน่วยงาน ภายในหรือภายนอกกระทรวงสาธารณสุข

  24. การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ 6.26 ร้อยละของเด็กอายุครบ 1 ปี ที่ได้รับวัคซีน MMR ในไตรมาสที่รายงาน 6.27 ร้อยละของเด็กอายุครบ 2 ปี ที่ได้รับวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี ครั้งที่ 2 ในไตรมาสที่รายงาน

  25. สิ่งที่จะขอความร่วมมือจากจังหวัดสิ่งที่จะขอความร่วมมือจากจังหวัด 1. เร่งรัดให้มีการบันทึกข้อมูลการบริการผู้ป่วยนอก การบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ครบทุกบริการ ตามมาตรฐานที่กำหนดในโครงสร้างฯ ให้ครอบคลุมสถานบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับและทุกแห่ง 2. วัดความรู้ผู้ให้บริการระดับปฐมภูมิ เพื่อจะได้จัดกลุ่มผู้เข้ารับการ อบรมได้ถูกต้องตรงตามที่ต้องการ 3. จัดทำแผนและฝึกอบรมผู้ให้บริการระดับปฐมภูมิทุกคนให้มีความรู้ และสามารถวินิจฉัยรหัสโรคและให้รหัสโรคได้ถูกต้องตาม ICD-10-TM ข้อมูลการบริการผู้ป่วยนอก การบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประชาชนทุกคนมสุขภาพดี

  26. จบการนำเสนอ

More Related