330 likes | 476 Views
คำ ภาษาต่างประเทศใน ภาษาไทย. “ฉันชอบกินสุกี้และเกี๊ยวซ่า ส่วนน้องฉันชอบกินขนม เปี๊ยะ รส เก๊กฮวย ขนมเค้กรส ช็อกโกแลต และ ชอบร้องคาราโอเกะ ” ข้อความนี้ มีคำยืมมาจากภาษาจีน และ ภาษาอังกฤษ อย่างละกี่ คำ. คำ ภาษาต่างประเทศใน ภาษาไทย. ๑. ภาษาเขมร. ๒. ภาษาบาลีและสันสฤต.
E N D
คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย “ฉันชอบกินสุกี้และเกี๊ยวซ่า ส่วนน้องฉันชอบกินขนมเปี๊ยะ รสเก๊กฮวย ขนมเค้กรสช็อกโกแลต และชอบร้องคาราโอเกะ” ข้อความนี้มีคำยืมมาจากภาษาจีน และภาษาอังกฤษ อย่างละกี่คำ....
คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ๑. ภาษาเขมร ๒. ภาษาบาลีและสันสฤต ๓. ภาษาอังกฤษ ๔. ภาษาจีน ๕. ภาษาชวา-มลายู
๑. สาเหตุที่ทำให้เกิดการยืม ลักษณะของคำภาษาต่างประเทศ • ด้านภูมิศาสตร์ • ด้านการค้า • ด้านศาสนาและวัฒนธรรม • ด้านการศึกษา • ด้านเทคโนโลยี
๑. อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย ลักษณะของคำภาษาต่างประเทศ • คำไทยมีหลายพยางค์ • คำไทยเป็นคำควบกล้ำมากขึ้น • มีตัวสะกดหลายตัวที่ไม่ตรงตามมาตรา • มีคำศัพท์ใช้ในภาษามากขึ้น
๓. วิธีการนำคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย ลักษณะของคำภาษาต่างประเทศ • ใช้ตามคำเดิมที่ยืมมา เช่น แข (เขมร) หมายถึง ดวงเดือน • เปลี่ยนตัวสะกดให้ผิดไปจากเดิม เช่น เผอิล (เขมร) เผอิญ • เปลี่ยนรูปและเสียงให้ผิดไปจากเดิม เช่น กระเบย (เขมร) กระบือ • ตัดคำให้มีเสียงสั้นลง เช่น อุโบสถ(บาลีสันสกฤต) เป็น โบสถ์
๓. วิธีการนำคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย ลักษณะของคำภาษาต่างประเทศ • แผลงสระและพยัญชนะให้ผิดไปจากเดิม เช่น กีรติ (บาลีสันสกฤต) • เป็น เกียรติ • เปลี่ยนความหมายไปจากเดิมให้เข้ากับความหมายของภาษาไทย • เช่น โมโห (บาลีสันสกฤต) หมายถึง ความหลุ่มหลง ไทยใช้ โกรธ • ๗. บัญญัติศัพท์ขึ้นมาใหม่ คือการสร้างคำขึ้นมาใหม่ เช่น มหาวิทยาลัย
คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ • ภาษาเขมร • ภาษาชวา–มลายู • ภาษาบาลี • และภาษาสันสกฤต • ภาษาจีน • ภาษาอังกฤษ
๑. ภาษาเขมร ภาษาเขมรเข้ามาปะปนกับภาษาไทยตั้งแต่สมัยโบราณโดยทางการค้า สงคราม การเมือง และวัฒนธรรม เนื่องจากเขมร เคยเจริญรุ่งเรืองในดินแดนสุวรรณภูมิ มาก่อนและคนไทยเคยตกอยู่ใต้อำนาจ ของขอม จึงได้รับอิทธิพลของขอมทุกด้าน อักษรเขมรบนแผ่นศิลา ไทยรับอิทธิพลมาจากขอมทั้งด้านรูปแบบการปกครอง ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา และวรรณกรรม
ไทยรับคำเขมรมาใช้เป็นคำราชาศัพท์ ตามรูปแบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คนไทยและคนเขมรต่างนับถือและนิยมใช้ภาษาของกันและกัน ภาษาเขมรมีความคล้ายคลึงกับภาษาไทยทั้งรูปแบบและการออกเสียง เขมรเคยมีความเจริญรุ่งเรืองและมีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้ ไทยมีการรับวัฒนธรรมทางภาษามาจากเขมร นักปราชญ์ ราชบัณฑิต นำคำเขมรมาใช้ในทางวรรณคดีหรือวรรณกรรม และใช้ในการจารึกต่าง ๆ ๑. ภาษาเขมร สาเหตุที่ไทยนำคำภาษาเขมรมาใช้ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕.
๑. ภาษาเขมร ลักษณะคำเขมรที่นำมาใช้ในภาษาไทย ๓. นิยมเติมคำนำหน้าหรืออุปสรรค ลงหน้าคำกริยาหรือวิเศษณ์เพื่อให้ ความหมายของคำเปลี่ยนไปบ้าง ๑. ใช้ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ๒. พยัญชนะต้นมักเป็นคำควบกล้ำและคำที่ใช้อักษรนำ ๔. ใช้คำเติมกลาง ลงในคำนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ เพื่อให้ความหมาย เปลี่ยนไปบ้าง
๑. ภาษาเขมร ๑. ใช้ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา • มักใช้พยัญชนะ จ ญ ด น ร ล ส สะกด เช่น • แม่กด ใช้ ด จ ส สะกด เช่น โปรด เผด็จ ตรัส • แม่กน ใช้ น ญ ร ล สะกด เช่น เดิร (เดิน) เพ็ญ กำธร อัญเชิญ ๒. พยัญชนะต้นมักเป็นคำควบกล้ำและคำที่ใช้อักษรนำ • คำควบกล้ำ เช่น ขลาด กระบือ โปรด เพลา • คำที่มีอักษรนำ เช่น ขจัด พนม ไผท เสด็จ เสวย โตนด
๓. นิยมเติมคำหน้าหรืออุปสรรค ลงหน้าคำกริยาหรือวิเศษณ์เพื่อให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปบ้าง • ๓.๑ ใช้พยางค์ บัง บัน บำ หน้าคำซึ่งขึ้นต้นด้วยพยัญชนะวรรคต่าง ๆ • บัง นำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะวรรค ก และเศษวรรค เช่น • เกิด บังเกิด เหิน บังเหิน • บัน นำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะวรรค ต และเศษวรรค เช่น • ดล บันดล ดาล บันดาล • บำ (บํ) นำหน้าคำซึ่งขึ้นต้นด้วยพยัญชนะวรรค ป เช่น • บวง บำบวง เพ็ญบำเพ็ญ • ๓.๒ ใช้พยัญชนะ ป ผ นำหน้าคำ เช่น • ราบ ปราบ จญ ผจญ, ประจญ • ๓.๓ ใช้ กำ นำหน้าคำ เช่น บัง กำบัง • ๓.๔ ใช้พยัญชนะ ปร นำหน้าคำ เช่น ชุม ประชุม มูล ประมูล
๔. ใช้คำเติมกลาง ลงในคำนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์เพื่อให้ความหมายเปลี่ยนไปบ้าง • ๔.๑ - น เช่น จอง เป็น จำนอง ติ เป็น ตำหนิ • ๔.๒ - อำ เช่น ขลัง เป็น กำลัง เปรอ เป็น บำเรอ • ๔.๓ - ห เช่น ฉัน เป็น จังหัน (อาหารสำหรับพระสงฆ์) • ๔.๔ น เช่น เกย เป็น เขนย • ๔.๕ บ เช่น เรียนเป็น ระเบียน • ๔.๖ ม เช่น โลภ เป็น ละโมบ
วิธีนำคำเขมรมาใช้ในภาษาไทยวิธีนำคำเขมรมาใช้ในภาษาไทย • โดยเลือกคำที่ออกเสียงได้สอดคล้องกับภาษาไทย • โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงรูปและเสียงของคำ เช่น ฉบับ เขนย กราบ ไถง ปรุง ฉลอง ตรัส เกิด ๑. เลือกคำที่ออกเสียงได้สะดวก
๒. เปลี่ยนแปลงเสียงสระหรือพยัญชนะ ตัวสะกดมีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับคำไทย เช่น • เขมรใช้ • ไทยใช้ • เขมรเขียน • เขมรอ่าน • ไทยใช้ คำใดที่ออกเสียงหรือเขียนไม่สอดคล้อง กับภาษาไทยก็ต้องเปลี่ยนแปลง เช่น • ถนล • ถนน • เดิร • เดอ • เดิน • รมาส • ระมาด • เขนีย • เขนย • เขนย • ขลาจ • ขลาด • ทำลาย • ตม–เลีย • ทำลาย
๓. เปลี่ยนแปลงความหมาย • ความหมายเขมร • คำเขมร • ความหมายไทย • ข้าม • ฉฺลอง • พิธีฉลอง คำเขมรบางคำที่ไทยยืมมาไม่ได้ใช้ตามความหมายเดิม มีการเปลี่ยนแปลงความหมายใหม่ เพื่อความเหมาะสมในภาษาไทย เช่น • ปลุก • ดัด • ทำให้อ่อนตาม • ทำให้เต็ม • บำเพ็ญ • ทำความดี, ทำความเพียร
๔. กำหนดความหมายขึ้นใหม่ เมื่อมีการบัญญัติศัพท์ใหม่ขึ้นใช้ โดยบัญญัติจากคำเขมร จะกำหนดความหมายขึ้นใหม่แต่ยังใกล้เคียงความหมายเดิม เช่น • คำเขมร • ความหมายไทย • ความหมายเขมร • หัว • ทบวง • หน่วยงานที่มีฐานะต่ำกว่ากระทรวงแต่สูงกว่ากรม • ผู้ตรวจ • ตำรวจ • เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ
แผลงทั้งพยัญชนะ สระ ตัวสะกด และให้อ่านออกเสียงอย่างไทย เช่น ๕. แผลงอักษรให้มี รูปร่างต่าง ๆ • ความหมายเขมร • คำเขมร • ความหมายไทย • ประทม, บรรทม • ผฺทม • นอน • เรียม • ราม • ฉัน, พี่ • กระจอก • ขฺจก • เขยก, ง่อย
๒. ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ลักษณะที่แตกต่างกันของภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ๓. พยัญชนะ ควบกล้ำ • ภาษาบาลี • ภาษาสันสกฤต ๔. พยัญชนะ ฑ, ฬ • ภาษาบาลี • ภาษาสันสกฤต ๒. พยัญชนะ • ภาษาบาลี • ภาษาบาลี • ภาษาบาลี • ภาษาสันสกฤต • ภาษาสันสกฤต • ภาษาสันสกฤต • คำที่มาจากภาษาบาลีไม่ใช้ รร • คำที่มาจากภาษาสันสกฤตใช้ รร • เช่น กรรม กรรณ ครรภ์ จรรยา ดรรชนี ธรรม สุวรรณ • ใช้สระ ๘ เสียง ได้แก่ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ • ใช้สระ ๑๔ เสียง ได้แก่ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ไอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ • สำหรับ ฦ ฦๅ ไม่มีใช้ในภาษาไทย • ใช้พยัญชนะ ๓๓ เสียง • ไม่นิยมใช้พยัญชนะควบกล้ำ เช่น • – กีฬา – ปกติ • – กิเลส – จัก (ก) • – ปณีต – สัตตุ • ภาษาบาลีนิยมใช้ ฬ เช่น • – จุฬา – ปีฬา • – ครุฬ – โอฬาร • – เวฬุริยะ • ใช้พยัญชนะ ๓๕ เสียง พยัญชนะที่ภาษาสันสกฤตใช้เพิ่มจากพยัญชนะบาลีคือ ศ ษ • นิยมใช้พยัญชนะควบกล้ำ เช่น • – กรีฑา – ปรกติ • – เกลศ – จักร • – ประณีต– ศัตรู • ภาษาสันสกฤตนิยมใช้ ฑ เช่น • – จุฑา – ปีฑา • – ครุฑ – โอฑาร • – ไพฑูรย์ ๕. คำที่ใช้ รร ๑. สระ ๖. คำที่มาจากภาษาบาลี มีหลักเกณฑ์การสะกดคำแน่นอนกว่าคำที่มาจากภาษาสันสกฤต
๒. ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต หลักเกณฑ์การใช้ตัวสะกดสำหรับคำบาลี ๑. ตัวสะกดและตัวตามต้องอยู่ในวรรคเดียวกัน ๒. พยัญชนะวรรคแถวที่เป็นตัวสะกดได้ คือ แถวที่ ๑, ๓ และ ๕ ๓. กฎของตัวสะกดตัวตาม
๒. ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต หลักเกณฑ์การใช้ตัวสะกดสำหรับคำบาลี ๓. กฎของตัวสะกดและตัวตาม ก. พยัญชนะวรรคแถวที่ ๑ สะกด พยัญชนะวรรคแถวที่ ๑ หรือแถวที่ ๒ ในวรรคเดียวกันจะต้องตาม เช่น อุกกาบาต มัจฉา สมุฏฐาน เมตตา ข. พยัญชนะวรรคแถวที่ ๓ สะกด พยัญชนะวรรคแถวที่ ๓ หรือแถวที่ ๔ ในวรรคเดียวกันจะต้องตาม เช่น อัคคี พยัคฆ์ มัชฌิม ค. พยัญชนะวรรคแถวที่ ๕ สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคนั้นตามได้ เช่น บัลลังก์ สังข์ สงฆ์ เบญจะ กัญญา คันถธุระ คัมภีร์
๒. ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต หลักเกณฑ์การใช้ตัวสะกดสำหรับคำบาลี ๓. กฎของตัวสะกดและตัวตาม ง. พยัญชนะเศษวรรคเป็นตัวสะกดในเมื่อตัวเองตาม คือ ย ล ส เช่น อัยยิกา วัลลภ อัสสาสะ จ. พยัญชนะเศษวรรคเป็นตัวสะกดในเมื่อพยัญชนะเศษวรรคตาม เช่น คุยห (ลับ, ซ่อนเร้น) ชิวหา (ลิ้น) วิรุฬห์ (เจริญ) ฉ. พยัญชนะท้ายวรรคเป็นตัวสะกดในเมื่อพยัญชนะเศษวรรคตาม เช่น สังวร สงสาร บังสุกุล สังหรณ์ ปัญหา สัณห์ (เกลี้ยงเกลา, อ่อน)
๒. ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต หลักเกณฑ์การใช้ตัวสะกดสำหรับคำสันสกฤต การใช้ตัวสะกดสำหรับคำสันสกฤตไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอนอย่างคำบาลี มีเฉพาะบางคำเท่านั้นที่ใช้หลักเกณฑ์อย่างคำบาลี คำที่ใช้ตัวสะกดอย่างคำบาลี คำที่มีตัวสะกดโดยไม่มีตัวตาม คำที่ใช้ตัวสะกดตัวตามได้ต่าง ๆ เช่น บรรยงค์ (ที่นั่ง) ศานติ ฤทธิ์ ศุทธิ สมุตถาน ทั้งในวรรคเดียวกันและต่างวรรค เช่น อัคคี รักษา เช่น กริน หัสดิน ปักษิน พนัส มนัส
๒. ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต วิธีการนำคำภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทย ๑. เลือกคำที่ออกเสียงได้สะดวก ๒. เปลี่ยนแปลงเสียงสระ หรือพยัญชนะ ๕. กำหนดความหมายใหม่ ๓. เพิ่มและลดเสียงของคำ ๔. เปลี่ยนแปลงความหมาย ให้แตกต่างจากความหมายเดิม
๒. ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต วิธีการนำคำภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทย – ตัดส่วนหน้าของคำออก เช่น สามเณร ตัดเป็น เณร อภิรมย์ ตัดเป็น ภิรมย์ – ตัดส่วนหลังของคำออก เช่น พินิจฉัย ตัดเป็น พินิจ อัชฌาสัย ตัดเป็น อัชฌา – ตัดทั้งส่วนหน้าและส่วนหลังออกใช้เฉพาะส่วนกลาง เช่น อักโขภิณี ตัดเป็น โข อักโข กำหนดความหมายใหม่ คำบางคำไทยทั้งรับภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต มาใช้ แต่มีการกำหนดความหมายที่ต่างกันหรือให้ใช้ต่างกัน เช่น เปลี่ยนแปลงเสียงสระหรือพยัญชนะ คำใดที่ออกเสียงไม่สะดวกก็เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับเสียงในภาษาไทย เช่น เลือกคำที่ออกเสียงได้สะดวก คำใดที่ออกเสียงได้สะดวกก็จะรับมาใช้ เช่น เปลี่ยนแปลงเสียงสระหรือพยัญชนะ คำใดที่ออกเสียงไม่สะดวกก็เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับเสียงในภาษาไทย เช่น เพิ่มและลดเสียงของคำ โดยการตัดบางส่วนหรือเพิ่มบางส่วนของคำเข้ามา เปลี่ยนเป็น เปลี่ยนเป็น โทรทัศน์ หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดเสียงและภาพได้ (คำบาลี) พร้อมกันจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยวิธีการเปลี่ยนคลื่นเสียงและภาพให้ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกสู่อากาศ โทรทรรศน์ หมายถึง กล้องส่องดูสิ่งที่อยู่ไกลให้เห็นใกล้ (คำสันสกฤต) • บาลี • สันสกฤต • ไทยใช้ เปลี่ยนเป็น เปลี่ยนเป็น • สิปฺป • ศิลฺป • ศิลปะ ไวทฺย แพทย์ กษีณ เกษียณ ไวทฺย แพทย์ กษีณ เกษียณ • ขนฺติ • กษานฺติ • ขันติ • อาทิจฺจ • อาทิตฺย • อาทิตย์
๓. ภาษาอังกฤษ วิธีการนำคำภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทย ๒. ลากเข้าความเป็นการเปลี่ยนแปลง เสียงของคำในภาษาอังกฤษ ๑. เปลี่ยนเสียงและคำเพื่อสะดวก ในการออกเสียง sign เซ็น statistic สถิติ jam แยม coffee กาแฟ shoes ชู (รองเท้า) chocolate ช็อกโกแลต
๓. ภาษาอังกฤษ วิธีการนำคำภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทย ๔. บัญญัติศัพท์โดยการกำหนดคำไทย ขึ้นใช้แทนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ๓. ใช้ภาษาอังกฤษโดยตรง ไม่เปลี่ยนรูปและเสียง fashion แฟชั่น term เทอม violin ไวโอลิน bank ธนาคาร video วีดิทัศน์ airplane เครื่องบิน
๓. ภาษาอังกฤษ วิธีการนำคำภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทย ๖. ความหมายของคำเปลี่ยนไป อาจมีความหมายกว้างออก ๕. ตัดคำให้สั้นลงเพื่อความสะดวก ในการออกเสียง คำ ความหมายเดิม ไทยใช้ free อิสระ, ไม่ต้องเสียเงิน สะดวก, ได้เปล่า fit เหมาะ, พร้อม คับ, ขนาดพอดีกับตัว champion แชมป์ number เบอร์ motercycleมอเตอร์ไซค์
๔. ภาษาจีน ตัวอย่างคำยืมภาษาจีน
๕. ภาษาชวา–มลายู ตัวอย่างคำยืมภาษาชวา–มลายู
เกมบอกใบ้ใต้คำ ก ร ะ ดั ง ง า เ ก้ า อี้ ปิ่ น โ ต มีสี่ขาเดินทางมาจากเมืองจีน ไม่ใช่ช้างแต่มีงา ยืมชวามาผิวสีเหลือง มีขามีหู ต้นกำเนิดอยู่ประเทศโปรตุเกส เ ค้ ก ส า คู ทุ เ รี ย น ตัวกลม ๆ มีหลายหน้ายืมอังกฤษมาใช้เรียกกัน กลม ๆ เหนียว ๆ เคี้ยวอร่อย เนื้อเหลืองกลิ่นแรงมีหนามแหลมแทงรอบตัว ส ลั ด กุ ห ล า บ บุ ญ ชื่อเหมือนอาหาร แต่ทานไม่ได้ ขึ้นเรือผ่านไปอาจถูกปล้น กลิ่นหอมสีสวย มีหนามเสียด้วย ยืมมาจากเปอร์เซีย พยางค์เดียวทำปากจู๋ มาอยู่เมืองไทย ชาวพุทธชอบทำ