670 likes | 1.24k Views
การให้ระดับคะแนนเพื่อตัดสินผลการเรียน. Assoc. Prof. Kanjana Watanasuntorn Ph.D. drkanjana@yahoo.com. จะเห็นว่า ธรรมชาติของการวัดผลนั้น. 1. การวัดแต่ละครั้ง วัดตัวอย่างความรู้ส่วนหนึ่งของที่ได้เรียนรู้เท่านั้น ไม่สามารถวัดได้ทุกรายละเอียดที่เรียน
E N D
การให้ระดับคะแนนเพื่อตัดสินผลการเรียนการให้ระดับคะแนนเพื่อตัดสินผลการเรียน Assoc. Prof. Kanjana Watanasuntorn Ph.D. drkanjana@yahoo.com
จะเห็นว่า ธรรมชาติของการวัดผลนั้น 1. การวัดแต่ละครั้ง วัดตัวอย่างความรู้ส่วนหนึ่งของที่ได้เรียนรู้เท่านั้น ไม่สามารถวัดได้ทุกรายละเอียดที่เรียน 2. สิ่งที่เลือกมาวัด จึงต้องเป็นสิ่งที่มีความหมาย สามารถเป็นตัวแทนความรู้ทั้งหมดได้ 3. คะแนนที่ได้จากการวัด เรียกว่าคะแนนดิบ จะนำสู่การตัดสินให้ระดับคะแนนได้อย่างเชื่อถือได้ ต้องมาจาก กระบวนการวัดที่เชื่อถือได้
คะแนนที่นำมาให้ระดับคะแนน ส่วนใหญ่เป็นคะแนนรวมจากหลายแหล่ง เช่น จากงาน โครงการ สอบกลางภาค สอบปลายภาค ควรใช้คะแนนปรับเปลี่ยน โดยปรับเปลี่ยนหรือแปลงคะแนนดิบหรือคะแนนที่ได้จากแต่ละแหล่ง ให้อยู่ในมาตรหรือระดับเดียวกันก่อนที่จะนำมารวมกัน เพื่อให้ระดับคะแนน คะแนนปรับเปลี่ยนที่นิยมใช้คือคะแนนมาตรฐาน (Standard Score )
คะแนนมาตรฐานที่นิยมใช้และจะนำมาลองใช้ในครั้งนี้มี2 ตัวคือ - คะแนนมาตรฐาน ซี (Z- score) และ - คะแนนมาตรฐาน ที (T –score ) คะแนนมาตรฐานที่เป็นพื้นฐานในการปรับเปลี่ยนคะแนนดิบเป็นคะแนนมาตรฐานอื่น ๆ คือคะแนนมาตรฐาน ซี
การปรับเปลี่ยนคะแนนดิบเป็นคะแนนมาตรฐาน อาจปรับเป็นคะแนนมาตรฐาน (Standard Score) หรือปรับเป็นคะแนนมาตรฐานปกติ (Normalized Standard Score)
ถ้าปรับเปลี่ยนเป็นคะแนนมาตรฐานด้วยวิธีการเชิงเส้นตรง คะแนนมาตรฐานที่ได้จะมีรูปทรงการกระจายเหมือนกับการกระจายของคะแนนดิบ ถ้าปรับเปลี่ยนเป็นคะแนนมาตรฐานปกติ คะแนนมาตรฐานปกติที่ได้จากการปรับเปลี่ยนจะมีรูปทรงของการกระจายเป็นการกระจายแบบปกติ (Normal distribution)
การแปลงคะแนนดิบ เป็นคะแนนมาตรฐาน Z X – SD Z = Xคือคะแนนดิบที่จะเปลี่ยนเป็นคะแนน Z คือคะแนนเฉลี่ย SDคือส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ตัวอย่าง คะแนนวิชาภาษาไทยของนักเรียนห้องหนึ่ง มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 45 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 5 ถ้าวิชัยได้คะแนนวิชานี้ (X) เท่ากับ 38 คะแนน นงคราญได้คะแนน (X) เท่ากับ 55 คะแนนของ วิชัย และ นงคราญ คิดเป็นคะแนนมาตรฐาน z ได้เท่ากับเท่าไร
= 45 คะแนน SD = 5คะแนน Xวิชัย = 38 คะแนนXนงคราญ = 55 คะแนน X – SD แทนค่าในสูตร Z = 38–45 5 -1.40 มากกว่า หรือน้อยกว่า -1.00 Zวิชัย = =-1.40 55–45 5 Zนงคราญ = =2.00
Z=1.40 Z=1.40 Z: -3 -2 -1 0 1 2 3 X: 38 45 เพราะการแปลความหมายค่าที่เป็นลบทำได้ยากกว่า ค่าที่เป็นบวก ดังนั้น จึงนิยมใช้ค่า T แทน
สูตร T = 50+10Z จากสูตร จะเห็นว่า การแปลงคะแนนให้เป็นคะแนน T คือ การแปลงคะแนน Z ให้เป็นคะแนนมาตรฐานที่มี ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน เป็น 10 ค่าเฉลี่ย เป็น 50
แปลงคะแนน Z เป็น T สูตร T = 50+10Z Tวิชัย = 50 + 10(-1.40) = 36 Tนงคราญ = 50 + 10(2) = 70
Z: -3 -2 -1 0 1 2 3 T: 20 30 40 50 60 70 80 วิชัย; X= 38 Z=-1.40 T=36 นงคราญ;X = 55 Z=-1.40 T=36
คะแนน Stanine (Stanine – Score ) =5 SD =2 : Stanine = 5+2Z คะแนน AGCT ( AGCT – Score ) -Army General Classification test =100 SD =20 :AGCT = 100 + 20 Z Wechsler IQs ( Deviation IQ ) = 100 SD =15 : IQ = 100 +15 Z Stanford – Benet IQs =100 SD =16 :IQ = 100 + 16Z
คะแนน CEEB ( CEEB – Score ) พัฒนาขึ้นสำหรับใช้ในการรายงานผลสอบของ College Entrance Examination Board ซึ่งเป็นหน่วยบริการการทดสอบทางการศึกษาของสหรัฐอเมริกา เช่น GRE,TOEFL =500 SD = 100 :CEEB = 500 + 100 Z คะแนน ITED ( ITED-Score)-Iowa Test of Educational Development =15 SD= 5; ITED = 15+5Z
เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของคะแนนมาตรฐานต่าง ๆ
การแปลงคะแนนดิบเป็นคะแนนมาตรฐานปกติ เนื่องจากมีวิธีที่แปลงจากคะแนนดิบเป็นคะแนนทีปกติ (Normalized T –score ) ได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านคะแนนซีปกติ เราจะเรียนรู้วิธีการแปลงคะแนนดิบเป็นคะแนนTปกติ คะแนนซีหรือทีปกติ ที่แปลงจากคะแนนดิบ จะมีการกระจายของคะแนนในรูปโค้งปกติ
เราจะเปลี่ยนคะแนนชุดนี้ให้เป็นเราจะเปลี่ยนคะแนนชุดนี้ให้เป็น คะแนนมาตรฐาน T ปกติ 11,12,15,20,18,17,16,16,19,18,15,15,15,13,12,12,17,13,12,14
วิธีแปลงคะแนนดิบให้เป็นคะแนนมาตรฐาน T ปกติ 1. สร้างตารางแจกแจงความถี่ โดยเรียงคะแนนจากมากไปหาน้อย 11,12,15, 20,18,17, 16,16,19, 18,15,15, 15,13,12, 12,17,13, 12,14
2. ลงรอยขีดความถี่ของคะแนน (tally) 3. หาค่าความถี่ (f) 11,12,15, 20,18,17, 16,16,19, 18,15,15, 15,13,12, 12,17,13, 12,14
4. หาค่า ความถี่ สะสม (cf)
5. หาค่า cf + (1/2)f ค่าcf+(1/2) f บรรทัดแรก ได้จากค่า cf=0 บวกกับครึ่งหนึ่ง ของ f ที่เท่ากับ 1 จะได้ = 0+ 1 = 0+0.5 = 0.5 บรรทัดแรก ดูที่ cf บรรทัด ต่ำกว่า ซึ่งไม่มีค่า ดังนั้น ใส่เป็นเลขศูนย์ 1 2 0
ค่าcf+(1/2) f บรรทัดที่ 2 ได้จากค่า cf=1 บวกกับครึ่งหนึ่ง ของ f ที่เท่ากับ 4 จะได้ = 1+ 4 = 1+2 = 3 1 2
ค่า cf+(1/2) f บรรทัดต่อๆไป หาค่าได้เช่นเดียวกับ 2 บรรทัดแรก
การหาค่าใน col. 6คือ cf+(1/2)f(100/N) นั้น ได้จาก การคูณ col. 5 ด้วย 100/N N คือจำนวนคะแนน=20 ดังนั้น 100/N= 100/20 = 5 คูณค่าใน col. 5 ด้วย 5 ได้เป็นค่าใน col. 6 ค่าใน col. 6คือค่า percentilerank
จากตาราง พบว่า คะแนนดิบ 20 ครงกับ P98โดยประมาณ คะแนนดิบ 15 ตรงกับ P50 คะแนนดิบ 11 ตรงกับ P3โดยประมาณ
คะแนนดิบ 20 ครงกับ P98 หมายความว่ามีผู้ได้คะแนนต่ำกว่า 20 อยู่ประมาณ 98%หรือ ถ้ามีคนเข้าสอบ 100 คน จะมีผู้ได้คะแนนต่ำกว่า 20 อยู่ 98 คน คะแนนดิบ 15 ตรงกับ P50 หมายความว่ามีผู้ได้คะแนนต่ำกว่า 15 อยู่ประมาณ 50%หรือ ถ้ามีคนเข้าสอบ 100 คน จะมีผู้ได้คะแนนต่ำกว่า 15 อยู่ 50 คน คะแนนดิบ 11 ตรงกับ P3โดยประมาณหมายความว่ามีผู้ได้คะแนนต่ำกว่า 11 อยู่ประมาณ 3% หรือ ถ้ามีคนเข้าสอบ 100 คน จะมีผู้ได้คะแนนต่ำกว่า 11 อยู่ 3 คน
6. จากค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ แปลงเป็นคะแนนมาตรฐาน T ปกติ โดยนำค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ ไปเทียบเป็นคะแนนมาตรฐาน T ปกติ จากตารางนี้ ค่าในกรอบนอกที่แรเงาสีน้ำเงินคือค่า T ค่าในแนวนอนเป็นหลักหน่วย ค่าในแนวตั้งเป็นหลักสิบ ส่วนตัวเลขที่เหลือด้านในเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ P ที่ค่า P ในช่องสีแดง จะตรงกับค่า Normalized T= 56 มาดูให้ชัดเจนในตารางหน้าต่อไป
จากตารางหน้าที่แล้ว จะหาค่า T ปกติที่ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 97.5 พบว่า ไม่มีค่า P97.5แต่มีค่าที่ใกล้เคียงคือ P97.72 (ระบายสีแดงไว้ที่ตารางหน้าต่อไป) ซึ่งตรงกับ ค่า T =70 หาค่า T ปกติที่ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 75 พบว่ามีแต่ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ใกล้เคียงคือ P75.8(ระบายสีเขียวไว้ที่ตารางหน้าต่อไป)ซึ่งตรงกับค่า T ปกติ = 57 ที่ P2.5ตรงกับค่า T= 30
ลองหาค่า T ปกติ ที่เหลือ
ประเภทของการประเมิน ใช้วัตถุประสงค์ของการประเมินเป็นเกณฑ์แบ่ง 1. การประเมินแบบอิงกลุ่ม (Norm-Referenced Measures (NRM) เหมาะกับ การตัดสินผลการเรียนหลังเรียนเพื่อเปรียบเทียบกันในกลุ่มผู้สอบ ว่าใครเก่งหรืออ่อนกว่ากันเท่าไร วัดและประเมินในภาพรวม ในลักษณะการ บูรณาการและวัดความรู้ในระดับสูง
ประเภทของการประเมิน ใช้วัตถุประสงค์ของการประเมินเป็นเกณฑ์แบ่ง 2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์ Criterion-Referenced Measures (CRM) เหมาะกับการประเมินความรู้ ความสามารถ หรือทักษะของนักเรียนหลังจากที่ได้เรียนรู้บทเรียนทีละหน่วยหรือตอนเล็กๆ หรือทีละรายวัตถุประสงค์ เพื่อดูว่า นักเรียนทำได้ตามวัตถุประสงค์หรือเกณฑ์ หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ เป็นแนวคิดของการเรียนเพื่อรอบรู้ (mastery-oriented)
เมื่อลักษณะของการวัดและประเมินทำทีละเมื่อลักษณะของการวัดและประเมินทำทีละ รายเนื้อหาย่อย นำผลการประเมินมาใช้เพื่อ วินิจฉัยและให้ความช่วยเหลือหรือพัฒนา การประเมินแบบอิงเกณฑ์ จึงใช้ในการตัดสิน ผลการเรียนระหว่างเรียนหรือ formative assessment-การประเมินความก้าวหน้า
การให้ระดับคะแนน GRADING “การเปรียบเทียบผลการสอบกับเกณฑ์ที่กำหนด” • - โดยใช้คะแนนดิบหรือคะแนนมาตรฐาน • สัญลักษณ์ที่ใช้อาจเป็นระบบตัวเลขเช่นคะแนนดิบและเปอร์เซ็นต์การรอบรู้ เปอร์เซ็นไทล์ และคะแนนมาตรฐาน หรือระบบตัวอักษร ซึ่งอาจกำหนดตั้งแต่ 2 ระดับ (ผ่าน-ไม่ผ่าน ) หรือมากกว่า ส่วนใหญ่ไม่เกิน9 ระดับ (A B+ B B- C+ C C- D F)
ระบบการให้ระดับคะแนน แบ่งตามประเภทของการประเมิน 1. ระบบสมบูรณ์ ( absolute system ) เป็นการแปลความหมายของคะแนน แบบอิงเกณฑ์ (criterion-referenced interpretation) แปลความหมายคะแนนโดยเทียบกับเกณฑ์สมบูรณ์ที่เป็นมาตรฐาน ( absolute standard) เกณฑ์ที่นิยมใช้โดยทั่วไปคือ ร้อยละโดยเปลี่ยนคะแนนดิบให้เป็นร้อยละของคะแนนเต็มเพื่อแสดงถึงความรอบรู้ในเนื้อหาที่สอนหรือตามวัตถุประสงค์ของการสอน
2. ระบบสัมพัทธ์ (relative system) เป็นการแปลความหมายของคะแนนแบบอิงกลุ่ม ( norm – referenced interpretation) คือแปลความหมายคะแนนโดยเทียบกับบุคคลภายในกลุ่มเดียวกัน โดยใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกันหรือคู่ขนานกัน ที่นิยมใช้คือ คะแนนมาตรฐานเชิงเส้นตรง (linear standard score) เช่น Z-score T- score
ในที่นี้จะกล่าวถึงระบบการให้ระดับคะแนน 3 ระบบคือ แบบอิงเกณฑ์ แบบอิงกลุ่ม และ แบบผสม การให้ระดับคะแนนแบบอิงเกณฑ์ นิยมให้ระดับคะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดเป็นช่วงคะแนนตามร้อยละของคะแนนเต็ม ไม่คำนึงถึงความสามารถของกลุ่ม แต่คำนึงถึงระดับของความรู้ความสามารถที่ผู้เรียนแต่ละระดับคะแนพึงจะมีหรือบรรลุตามจุดประสงค์
การให้ระดับคะแนนแบบอิงเกณฑ์ตัวอย่าง1:การให้ระดับคะแนนแบบอิงเกณฑ์ตัวอย่าง1: ร้อยละ ระดับคะแนน ค่าคะแนน ความหมาย 85 -100A 4.0 ดีเยี่ยม 80 - 84 B+ 3.5 ดีมาก 75 – 79 B 3.0 ดี 70 - 74 C+ 2.5 ค่อนข้างดี 65 – 69C 2.0 พอใช้ 60 - 64 D+ 1.5 อ่อน 55 - 59D 1.0 อ่อนมาก ต่ำกว่า 55 F 0ไม่ผ่าน
เกณฑ์ ระดับคะแนน 86 - 100 A 75–85 B 65-74 C 60–64 D ต่ำกว่า 60 F
เกณฑ์การให้ระดับคะแนนของ มหาวิทยาลัยเปิด (ใช้ระบบ 3 ขั้น) 80ขึ้นไป 4.00 H(Honors) 60-79 2.25S(Satisfactory) 59 ลงมา - U(Unsatisfactory) 80-1004.00 G( Good ) 60-79 2.25 P(Poor) 59 ลงมา - F(Fail)
ตัวอย่าง 2: 1. กำหนดระดับคะแนน เช่นเป็น 5 ระดับ (A B C D F) ระดับต่ำสุดคือ ไม่ผ่าน 2. กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับการให้ระดับผ่าน ระดับสูงสุด และต่ำสุด คือระดับ A และ D 3. หาพิสัยระหว่างคะแนนเกณฑ์ขั้นต่ำในข้อ 2 4. หารพิสัยในข้อ 2 ด้วยจำนวนระดับที่ผ่านลบด้วย 1 (4-1) ค่าที่ได้ให้เป็นค่า k 5. กำหนดช่วงพิสัยของคะแนนสำหรับแต่ละระดับโดยเริ่มด้วยการบวกค่าต่ำสุดของระดับ D ด้วยค่า k
ให้ A เมื่อคะแนนมากกว่า 80 ให้ D เมื่อคะแนน 45 ขึ้นไป พิสัยคือ 80 – 45-1 = 34 ช่วงคะแนนแต่ละระดับคือ 34/311 A: 81 ขึ้นไป B: 69 – 80 C: 57 – 68 D: 45 – 56 F: ต่ำกว่า 45 เกณฑ์การให้ ระดับคะแนน
การให้ระดับคะแนนแบบอิงกลุ่มการให้ระดับคะแนนแบบอิงกลุ่ม เกณฑ์ที่ใช้ พิจารณาจากค่าคะแนนของกลุ่ม เช่น จัดกลุ่มตามธรรมชาติของคะแนนของกลุ่ม จัดกลุ่มโดยอิงการแจกแจงของโค้งปกติ ใช้คะแนนเฉลี่ยกับค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือฐานนิยม กับพิสัยหรือมัธยฐานกับส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ ใช้คะแนนมาตรฐาน
ตัวอย่างการให้ระดับคะแนนแบบอิงกลุ่มตัวอย่างการให้ระดับคะแนนแบบอิงกลุ่ม • จัดกลุ่มตามธรรมชาติของคะแนนของกลุ่ม 5 9 12 15 18 17 21 29 23 25 19 21 27 8 7 15 22 25 28 26 19 18 5 7 8 9 12 15 15 17 18 18 19 19 21 21 22 23 25 25 26 27 28 29 5 7 8 9 12 15 15 17 18 18 19 19 21 21 22 23 25 2526 27 28 29
อิงการแจกแจงของโค้งปกติ เช่น • กำหนดให้สัดส่วนผู้ได้ระดับคะแนนตามโค้งปกติหรือกำหนดสัดส่วนในลักษณะที่สมมาตร กำหนดสัดส่วนระดับคะแนนตามโค้งปกติ D B C A F กำหนด สัดส่วน ในลักษณะ สมมาตร ระดับคะแนน F D C B A ร้อยละของผู้สอบ10 20 40 20 10
3. ใช้คะแนนเฉลี่ยกับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตัวอย่างที่ 1: กำหนดให้คะแนนเฉลี่ย(อาจเป็นคะแนนดิบหรือคะแนนมาตรฐาน)เป็นขีดจำกัดล่างของระดับ C ใช้ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นพิสัยของคะแนนแต่ละระดับ D C F -3 -2 -1 Z=0 1 2 3 B A 20 30 40 T=50 60 70 80 1SD 1SD 1SD 1SD