250 likes | 673 Views
การจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน. Library of Congress Classification. พรทิพย์ อาจวิชัย 14 ส.ค. 56. การจัดหมวดหมู่.
E N D
การจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันการจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน Library of Congress Classification พรทิพย์ อาจวิชัย 14 ส.ค. 56
การจัดหมวดหมู่ การจัดหมวดหมู่หรือ การวิเคราะห์หนังสือมาจากคำว่า Book Classification คือ การนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่มาจัดแยกประเภทของแต่ละสาขาวิชาอย่างกว้าง ๆ โดยหนังสือที่มีเนื้อหาแบบเดียวกันจัดเอาไว้ด้วยกัน เนื้อหาใกล้เคียงกันเอาไว้ด้วยกัน รวมถึงหนังสือที่มีลักษณะการประพันธ์แบบเดียวกัน จัดกลุ่มไว้ด้วยกัน
ประโยชน์ของการจัดหมวดหมู่ประโยชน์ของการจัดหมวดหมู่ • เพื่อพิจารณาแยกและหนังสือตามเนื้อหาวิชา • เพื่อสะดวกในการจัดเรียงและค้นหาข้อมูล • หนังสือที่มีเนื้อหาสาระอย่างเดียวกันรวมอยู่ด้วยกัน • เพื่อควบคุมทรัพยากรสารสนเทศให้สมดุลในสาขาวิชาต่าง ๆ
ประเภทระบบการจัดหมวดหมู่ประเภทระบบการจัดหมวดหมู่ • ระบบเอ็กแพนซีฟ:Expansive Classification (EC) • ระบบทศนิยมสากล: Universal Decimal Classification (UDC) • ระบบซับเจค: Subject Classification (SC) • ระบบทศนิยมดิวอี้: Dewey Decimal Classification (DDC) • ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน:Library of Congress Classification(LC) • ระบบโคลอน: Colon Classification (CC) • ระบบบรรณานุกรม: Bibliographic Classification (BC)
ประวัติการจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันประวัติการจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน • ค.ศ.1800 จัดตั้งหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน โดยใช้ระบบจัดแยกหนังสือตามขนาด แล้วเรียงตามเลขทะเบียน • ค.ศ.1812 จัดเรียงตามเนื้อหาคล้ายกับระบบของเบคอน และ ดาลอมแบร์ ซึ่งใช้ในห้องสมุดฟิลาเดเฟีย ของเบนจามิน แฟลงคลิน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ มี 18 หมวด
ค.ศ.1814 ทหารอังกฤษเผาเมืองหลวง หนังสือในหอสมุดรัฐสภาอเมริกันถูกไฟไหม้ • ค.ศ.1815 ประธานาธิบดี โธมัส เจฟเฟอร์สัน ขายหนังสือในห้องสมุดส่วนตัวกว่า 6000 เล่มให้แก่หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ซึ่งจัดหมวดหมู่แล้ว ตามระบบของเบคอนและดาลอมแบร์ และใช้มาจนถึงปลายศตวรรษที่ 19 • ค.ศ.1846 กฎหมายลิขสิทธิ์กำหนดให้ผู้พิมพ์และสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ส่งสิ่งพิมพ์ให้หอสมุด ทำให้มีจำนวนหนังสือเพิ่มขึ้นเป็นล้านเล่ม
ค.ศ.1897 ขยายหอสมุดและเปิดให้ประชาชนเข้าใช้ จอห์น รัสเซ็ลล์ ยังก์ เสนอให้ศึกษาระบบการจัดหมวดหมู่แบบใหม่ เนื่องจากของเดิมไม่สามารถรองรับจำนวนหนังสือที่เพิ่มขึ้นได้ • ค.ศ.1899 เฮอร์เบอร์ต พุทนัม สนับสนุนให้มีการศึกษาระบบ Expansive Classification อย่างจริงจังและเป็นการเริ่มต้นของระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันที่ใช้กันในปัจจุบัน
หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน • ปัจจุบันเป็นหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก • ประกอบไปด้วย 3 อาคาร มีพื้นที่ประมาณ 2,614,000 ตรม. • มีทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบจากทั่วโลกกว่า 460 ภาษา • มีทรัพยากรประมาณ 140 ล้านรายการ • มีบุคลากรประจำหอสมุดประมาณ 4085 คน • มีทรัพยากรที่ได้รับบริจาคและจัดซื้อ เฉลี่ยวันละประมาณ 22,000 รายการ
ลักษณะพิเศษของระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันลักษณะพิเศษของระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน • การแบ่งหมวดหมู่หนังสือเป็นไปตามหลักปฏิบัติ (Practical system) เนื่องจากเกิดจากการปฏิบัติจริงของบรรณารักษ์ฝ่ายวิเคราะห์หมวดหมู่ • ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เป็นการเรียงลำดับหมวดหมู่หนังสือตามความเหมาะสมในแต่ละสาขาวิชาดังนั้นในหมวดย่อยจึงมีการแบ่งมากบ้างน้อยบ้าง • มีคู่มือของระบบมีลักษณะเป็นหนังสือชุด เนื่องจากการสร้างระบบแบ่งความรับผิดชอบให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละหมวดจัดทำเลขหมู่
สัญลักษณ์และลักษณะของระบบ LC • เป็นสัญลักษณ์ผสม (mixed notation) • มี 21 หมวด ประกอบด้วยอักษร A-Z • ยกเว้น I O W X Y • แบ่งเนื้อหาย่อยโดยใช้เลข 1 - 9999 • แต่ละหมวดแยกการพิมพ์และการใช้โดยอิสระ บางหมวดมีเล่มเดียว บางหมวดมีหลายเล่ม
ลักษณะการแบ่งหมวดหมู่ของระบบ LC 1. หมวดใหญ่ (Main Classes) มี 21 หมวด คือ A = เรื่องทั่วไป B = ปรัชญา ศาสนา C = ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ D = ประวัติศาสตร์ทั่วไป / โลกเก่า E-F= ประวัติศาสตร์ของทวีปอเมริกา G = ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา นันทนาการ H= สังคมศาสตร์ J = รัฐศาสตร์ K= กฎหมาย L = การศึกษา M = ดนตรี N = ศิลปะ P = ภาษาและวรรณคดี Q = วิทยาศาสตร์ R = การแพทย์ S = การเกษตร T = เทคโนโลยี U = วิทยาศาสตร์การทหาร V = นาวิกศาสตร์ Z = บรรณารักษศาสตร์
ลักษณะการแบ่งหมวดหมู่ของระบบ LC 2. หมวดย่อย (Sub Classes) เป็นการแบ่งย่อยจากหมวดใหญ่ (main classes)ใช้อักษรภาษาอังกฤษ 2-3 ตัว ซึ่งแต่ละหมวดอาจแบ่งหมวดย่อยไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับขอบเขตเนื้อหา เช่น หมวด H สังคมศาสตร์ HC = สถิติ HB = เศรษฐศาสตร์ HC = ประวัติสภาวะทางเศรษฐกิจ HE = การขนส่งและการคมนาคม
ลักษณะการแบ่งหมวดหมู่ของระบบ LC 3. เนื้อเรื่องย่อยของหนังสือ (subdivision / subject) เป็นการแบ่งเนื้อหาในหมวดย่อย (sub classes) ให้ละเอียดมากยิ่งขึ้นโดยใช้เลข 1-9999 เติมหลังหมวดย่อย และอาจใช้จุดทศนิยม เลขคัตเตอร์หมู่ หรือตารางประเภทต่าง ๆ ในการกระจายเนื้อหาให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น ตัวอย่าง Q Sciences (general) 300-385 Cybernetics. Information theory QA Mathematics 9-10 Mathematical Logic 76 Computer sciences. Electronics data processing 101-141 Elementary mathematics. Arithmetic 150-274 Algebra
ตัวอย่างเลขหมู่ระบบ LC QA แบ่งหมวดหมู่ย่อยจากหมวดใหญ่ Q 76 แบ่งย่อยจากหมวดหมู่ย่อย โดยใช้ตัวเลข .7 ใช้จุดทศนิยมแบ่งย่อยเนื้อหาเพื่อให้ละเอียดยิ่งขึ้น QA 76.7 AAA 2000
ระบบLCในประเทศไทย ห้องสมุดคณะรัฐประศาสนาศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ สำนักหอสมุด ม.นเรศวร นำระบบ LCมาใช้ครั้งแรกเมื่อใด ?