500 likes | 764 Views
มาตรฐานฝีมือแรงงาน กับ การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. จิตรพงศ์ พุ่มสอาด กองยุทธศาสตร์และเครือข่ายพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน. ประชาคมอาเซียน ASEAN COMMUNITY.
E N D
มาตรฐานฝีมือแรงงาน กับ การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จิตรพงศ์ พุ่มสอาด กองยุทธศาสตร์และเครือข่ายพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
ประชาคมอาเซียนASEAN COMMUNITY • กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้บรรลุข้อตกลงการเปิดเสรีตามกรอบประชาคมอาเซียนตามกฎบัตรอาเซียนซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่15 ธันวาคม 2551 โดยกำหนดให้มีการเปิดเสรีใน 3 เสาหลัก ได้แก่ • ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community: APSC) • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) • ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community หรือ(ASCC)
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) เป้าหมายหนึ่งของ AEC: มุ่งหวัง ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนกลายเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวร่วมกัน(single market and single production base) ภายในปี 2558 มีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรี 5 ด้าน ได้แก่ 1) สินค้า 2) บริการ 3)การลงทุน 4)เงินทุน 5) แรงงานมีฝีมือ
การพัฒนากำลังคน ในสาขาที่เกี่ยวข้อง กับการเคลื่อนย้ายเสรี 5 ด้าน ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน AEC 3.สร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาเศรษฐกิจอาเซียน 4.ส่งเสริมการรวมกลุ่มอาเซียนเข้ากับประชาคมโลก 1.มีตลาดและเป็นฐานการผลิตเดียวกัน 2.มีขีดความสามารถสูง 1.การเคลื่อนย้าย สินค้าเสรี 9 สาขา 5.การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี 8 สาขา 2.การเคลื่อนย้ายบริการเสรี 3 สาขา 3.การเคลื่อนย้ายการลงทุนเสรี 4.การเคลื่อนย้ายเงินลงทุนเสรี 1.ท่องเที่ยว 2.การบิน 3.โลจิสติกส์ 4.เทคโนโลยีสารสนเทศ 5.สุขภาพ 1. ยานยนต์ 2.อิเลคทรอนิคส์ 3.ผลิตภัณฑ์เกษตร 4.ผลิตภัณฑ์ยาง 5.สิ่งทอ/เสื้อผ้า 6.ผลิตภัณฑ์อาหาร/ประมง 7.สินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ 8.ผลิตภัณฑ์ไม้ 9. สินค้าสุขภาพ 1.แพทย์ 2.พยาบาล 3.ทันตแพทย์ 4.ช่างสำรวจ 5.บัญชี 6.วิศวกร 7.สถาปนิก 8.ท่องเที่ยวที่พัก 4
ผลกระทบ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ
สรุปประเด็นสำคัญ การพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเตรียมตัวรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี ใน ASEAN • วิเคราะห์และเตรียมพร้อมรับผลกระทบของสาขาอาชีพที่จะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีในภูมิภาคอาเซียนในระยะแรก และการเตรียมตัวของประเทศ • สาขาอาชีพที่ได้รับผลกระทบอาจจะมิใช่สาขาอาชีพที่จะมีการเปิดให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือเสรี 8 สาขา เท่านั้น เนื่องจากในสาขาอาชีพเหล่านี้มักจะมีการกำหนดกฎ ระเบียบ และข้อบังคับของภาครัฐและองค์กรวิชาชีพทำให้ยังไม่เกิดการเคลื่อนย้ายอย่างมีนัยสำคัญในช่วงแรก • การเปิดเสรีด้านค้าการลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมต่างๆ จะส่งผลกระทบต่อแรงงานมากกว่า เนื่องจากเมื่อมีการปรับตัวในเรื่องโครงสร้างการค้าการลงทุนก็จะส่งผลให้เกิดการใช้แรงงานที่มากขึ้นกว่าเดิม
การพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเตรียมตัวรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี ใน ASEAN (ต่อ) 2. พัฒนาทักษะที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการแข่งขันของแรงงานไทย • ควรหาวิธีการพัฒนาทักษะที่มีความจำเป็นในการทำงาน ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ เช่น Work Place Learning ซึ่งตรงกับความต้องการและไม่เสียเวลา • กำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย/ระดับอาชีพที่จะทำการพัฒนาฝีมือแรงงาน/วิชาชีพและเห็นว่ามีความได้เปรียบในการแข่งขัน และวิเคราะห์ความต้องการนั้น โดยคณะกรรมการทรัพยากรมนุษย์ฯ ได้วิเคราะห์จากนโยบายรัฐบาล แผนชาติ งานวิจัย และเลือกอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะพัฒนาฝีมือแรงงาน 10 อุตสาหกรรม
การพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเตรียมตัวรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี ใน ASEAN (ต่อ) 3.เตรียมแนวทางเพื่อการกำหนดสาขาอาชีพอื่นที่จะมีการเปิดเสรีในอนาคต โดยคำนึงถึงความสามารถในการแข่งขันของแรงงานไทย • ควรเพิ่มเรื่องการแสวงหาประโยชน์จากการเปิดเสรี เพื่อให้การเปิดเสรีช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของเรา เช่น ดึงคนจากสาขาอาชีพที่ขาดแคลนเข้ามา และส่งแรงงานที่เกินความต้องการออกไป • ควรหาข้อมูลแนวทางการกำหนดสาขาอาชีพอื่นที่จะมีการเปิดเสรีให้ชัดเจน และควรจะมีการกำหนดตัวผู้ที่จะกำหนดนโยบายและเจรจา โดยมีตัวแทนอย่างครบถ้วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
โครงสร้างกำลังแรงงานของประเทศไทยโครงสร้างกำลังแรงงานของประเทศไทย คนไทย 65.90 ล้านคน ก่อนวัยเรียน 2.1 ล้านคน เด็ก/เยาวชน ที่กำลังเรียน 13.95 ล้านคน กำลังแรงงาน 39.01 ล้านคน นอกกำลังแรงงาน (ผู้สูงอายุ, ผู้พิการ, ฯลฯ) 10.84 ล้านคน มีงานทำ 38.27 ล้านคน ศึกษาในชั้นปีสุดท้าย 2.25 ล้านคน กำลังศึกษา 11.70 ล้านคน ว่างงาน 0.36 ล้านคน รอฤดูการ 0.38 ล้านคน แรงงานในระบบ 12.89 ล้านคน แรงงานนอกระบบ 25.38 ล้านคน ที่มา: สนง.สถิติแห่งชาติ และเอกสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์รองรับประชาคมอาเซียน ภาครัฐ 3.7 ล้านคน เอกชน 9.19 ล้านคน
ประเด็นที่จะใช้ดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประเทศไทยประเด็นที่จะใช้ดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประเทศไทย สร้างสมรรถนะ (Competency)ให้คนไทยแข่งขันได้
การพัฒนาเศรษฐกิจ/สังคมและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศการพัฒนาเศรษฐกิจ/สังคมและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ Lifelong Learning รายได้ ทำงาน ตลาดแรงงาน ความต้องการ (กำลังคน บริการวิชาการ นวัตกรรม ฯลฯ) ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร รายได้ การอุดมศึกษา ทำงานระหว่างศึกษา สถาบันการศึกษา ภาคบริการ อื่นๆ โอกาสเข้าสู่อุดมศึกษาและเงื่อนเวลาที่ยืดหยุ่น สามารถสะสม โอนย้ายหน่วยกิตได้ รัฐและเอกชน องค์กรรัฐ องค์กรรัฐวิสาหกิจ ความต้องการ (กำลังคน บริการวิชาการ นวัตกรรม ฯลฯ) องค์กรเอกชน เจ้าของธุรกิจ รายได้ การอาชีวศึกษา ทำงาน ระหว่าง ศึกษา แหล่งเงิน Career Path & Development สถาบันการศึกษา Gov Student Director Manager Operator 404 วิทยาลัย Research & Innovation Enterprise First Step in Lifelong Learning การศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียน Others (Donation ,..) Funds 261 เขตพื้นที่การศึกษา กรอบแนวคิดการพัฒนากำลังคน ติดตาม ประเมินผล ติดตาม ประเมินผล • การพัฒนากำลังคนโดยคำนึงถึง • การพัฒนาตามกลุ่มอุตสาหกรรม (Industrial Clusters) • การสร้างเครือข่ายผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Networking) • การรับรองคุณภาพ (Quality Assurance) • การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ติดตาม ประเมินผล ติดตาม ประเมินผล ติดตาม ประเมินผล ติดตาม ประเมินผล Updated 14 ม.ค.56
Lifelong Learning 13 ภาพรวมการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การพัฒนาเศรษฐกิจ/สังคมและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ความสามารถและความต้องการของภาคการผลิตและบริการ ยุทธศาสตร์ชาติ / นโยบายรัฐบาล นโยบายการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ความต้องการของตลาดแรงงาน การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อการพัฒนาประเทศ (National Human Resource Development and Management) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคล Equality Excellence Employment ความสามารถในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน ความเสมอภาคทางการศึกษาตามศักยภาพของบุคคล ความเป็นเลิศของการศึกษาในแต่ละระดับ ระบบการศึกษา ระดับการศึกษา ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล 1 ผู้กำหนดนโยบาย/ทิศทาง ผู้ผลิต / ผู้พัฒนา ผู้ได้รับการพัฒนา ผู้ใช้ / ผู้จ้างงาน ผู้สนับสนุน/มีส่วนเกี่ยวข้อง ในระบบ ระดับอุดมศึกษา รัฐบาล สำนักงบประมาณ ก.การคลัง ขั้นพื้นฐาน (สายสามัญ / สายอาชีวศึกษา ก.พัฒนาสังคม ก.แรงงาน สทศ. สกศ. สมศ. สถาบันการศึกษา องค์กรภาครัฐ ภาครัฐ การอาชีวศึกษา ก.สาธารณสุข ก.วัฒนธรรม สกว. สป.ศธ. สพฐ. อุดมศึกษา เจ้าหน้าที่ภาครัฐ อปท. 2 สอศ. สกอ. สนง.พระพุทธฯ ก.มหาดไทย ... นอกระบบ องค์กรวิชาชีพ ขั้นพื้นฐาน วิชาชีพ การสอนทางไกล โฮมสคูล สถาบันการศึกษา สถานประกอบการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคเอกชน NGOs เจ้าหน้าที่เอกชน องค์กรที่เกี่ยวข้อง 3 ตามอัธยาศัย ระดับปฐมวัย นักเรียน/นักศึกษา ผู้ปกครอง ภาคประชาชน สื่อและแหล่งเรียนรู้ กระบวนการทาง สังคม ประชาชนทั่วไป ชุมชน
การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ/มาตรฐานฝีมือแรงงานการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ/มาตรฐานฝีมือแรงงาน การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ/มาตรฐานฝีมือแรงงาน เร่งบูรณาการโครงสร้างของระบบการพัฒนาฝีมือแรงงาน/วิชาชีพใหม่ทั้งระบบ ซึ่งประกอบด้วย ระบบมาตรฐานฝีมือแรงงาน มาตรฐานวิชาชีพ ระบบการฝึกอบรม ระบบการศึกษา ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ และระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามโครงสร้างภาพรวมดังกล่าว • ใช้กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualification Framework – NQF) เป็นแกนหลักในการเชื่อมโยงระหว่างคุณวุฒิการศึกษาและการพัฒนาฝีมือ ทักษะและสมรรถนะของกำลังคนที่ทำงานในภาคการผลิตและบริการ • พัฒนาระบบสนับสนุนต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบ credit bank ระบบรับรอง/เทียบโอนประสบการณ์ ฯลฯ • สนับสนุนการใช้ระบบการเรียนการสอนที่บูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work-Integrated Learning – WIL) ให้เกิดขึ้นในภาคการศึกษา • เป้าหมาย • การบูรณาการระบบการพัฒนาแรงงานกับระบบการศึกษา เพื่อให้เกิดระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ตอบสนองความต้องการของภาคการผลิตและบริการ มีประสิทธิภาพและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน • การจัดการ/มาตรฐานฝีมือแรงงานในภาพรวมของประเทศ และจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานในทุกอาชีพที่สำคัญ • การปรับปรุงมาตรฐานหลักสูตรการพัฒนาฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานฝีมือแรงงาน คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ
สินค้าและบริการภายใต้สินค้าและบริการภายใต้ สถานการณ์โลก สถานการณ์อาเซียน สถานการณ์ประเทศ แนวทางเพื่อการบูรณาการการพัฒนาฝีมือแรงงาน/วิชาชีพตามกรอบยุทธศาสตร์ใหม่ การบูรณาการและการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการดำเนินงาน ผู้ประกอบการภาคเอกชน แรงงานในภาคส่วนต่างๆ Core Competency (ตาม NQF) • Professional Code: • - Conduct • - Practice • - Ethics International Professional Code ผู้บริหารมืออาชีพ/ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ความรู้/ ความสามารถ/ ทักษะ/ ทัศนคติ Technical Competency Level N: ??? ระดับที่ 5: เชี่ยวชาญ Level 3: ??? Level2:??? ระดับที่ 4: ชำนาญการ Level1: ??? มาตรฐานของผู้ประกอบการ มาตรฐานสากล มาตรฐานอาเซียน มาตรฐานวิชาชีพ (สภา/องค์กรวิชาชีพ) ภาคการผลิต ภาคบริการ ภาคการ เกษตร มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน) กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (สนง.เลขาธิการสภาการศึกษา) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ การเทียบโอนประสบการณ์ การบูรณาการและการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน ระดับที่ 3 เชี่ยวชาญ ระดับที่ 3: สูง การจัดการศึกษาในอนาคต (Life Long Learning) การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาตามอัธยาศัย ระดับที่ 2: ชำนาญการ ระดับที่ 2: กลาง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ ระดับที่ 1: พื้นฐาน ระดับที่ 1: พื้นฐาน มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ
กรอบแนวคิด (Conceptual Framework) พัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อเพิ่ม ผลิตแรงงงาน มาตรฐานฝีมือแรงงาน + การพัฒนาฝีมือแรงงาน + AEC 1.ฝึกยกระดับฝีมือแรงงานให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงาน 2.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานภาครัฐและเอกชนทั้งในและนอกสถานประกอบกิจการ กำหนดวัตถุประสงค์ มาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อ ใช้เป็นเกณฑ์ใน การพัฒนาสมรรถนะ รองรับ AEC เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ ในการแข่งขัน ด้านกำลังแรงาน ของประเทศ 1.กำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงาน 2.ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน 3.รับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน 4.ส่งเสริมมาตรฐานฝีมือแรงงานในวงกว้าง 1.กำหนดเป้าหมายการพัฒนาฝีมือแรงงานที่สอดคล้องกับการเปิดเสรี AEC 2.ส่งเสริมการใช้เกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานในการพัฒนาฝีมือแรงงานองค์กรและสถานประกอบกิจการ พัฒนาฝีมือ แรงงาน
ความเป็นมาของมาตรฐานฝีมือแรงงาน ในปี พ.ศ.๒๕๑๑ มาตรฐานฝีมือแรงงานกำเนิดขึ้นในประเทศไทย ภายใต้การดำเนินงานของกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย โดยได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ILO จนถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนาและทบทวนมาตรฐานฝีมือแรงงานไปแล้วกว่า ๔๐ ปี ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติเป็นที่ยอมรับ ของภาคการจ้างงาน
ความหมายของมาตรฐานฝีมือแรงงาน มาตรฐานฝีมือแรงงาน หมายถึง ข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับความรู้ ทักษะและเจตคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่าง ๆ ประกอบด้วย(1) ความรู้ (Knowledge) ซึ่งจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้ในการทำงานได้อย่างถูกต้องตาม หลักวิชาการ(2) ทักษะ (Skills) เป็นการสะสมประสบการณ์จนเกิดความชำนาญ มีความสามารถเพียงพอที่จะทำงานได้อย่างมีคุณภาพตามข้อกำหนด ถูกขั้นตอน และเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ (3) เจตคติ (Attitude) จะต้องมีจิตสำนึกในการทำงานที่ดีประกอบด้วย จริยธรรม และจรรยาบรรณของวิชาชีพ
ระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน การจำแนกฝีมือแรงงานออกเป็นระดับต่างๆ ตามลำดับความยากง่ายของงาน โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับ 1 หมายถึง ผู้ที่มีฝีมือและความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงานที่ต้องมีหัวหน้างานช่วย ให้คำแนะนำหรือช่วยตัดสินใจในเรื่องสำคัญเมื่อจำเป็น ระดับ 2 หมายถึง หมายถึง ผู้ที่มีฝีมือระดับกลาง มีความรู้ความสามารถ ทักษะและการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ได้ดีและประสบการณ์ในการทำงานการสามารถให้คำแนะนำผู้ใต้บังคับบัญชาได้คุณภาพงานสูง ระดับ 3 หมายถึง ผู้ที่มีฝีมือระดับสูง สามารถวิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหา การตัดสินใจ รู้ขั้นตอนกระบวนการของงานเป็นอย่างดี สามารถช่วยแนะนำงานฝีมือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดี ใช้หนังสือคู่มือ นำความรู้และทักษะมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีใหม่ได้ โดยเฉพาะการตัดสินใจและเลือกใช้วิธีที่เหมาะสม
การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เกณฑ์การพิจารณาประเมินผลการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จะคำนึงถึงปัจจัย ต่างๆ ดังนี้ ๑) ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน ๒) ความปลอดภัยในการทำงาน ๓) วิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง ๔) การใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ ๕) การเลือกและใช้วัสดุได้ถูกต้องอย่างประหยัด ๖) การใช้เวลาในการปฏิบัติงานตามกำหนด ๗) ผลงานสำเร็จได้คุณภาพเป็นที่ยอมรับ
ลักษณะการทดสอบ การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติเป็นการทดสอบทั้งภาคความรู้และภาคทักษะโดยมีเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ภาคความรู้ เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวนข้อสอบประมาณ 50-100 ข้อ คะแนนคิดเป็น ประมาณร้อยละ 20 ของคะแนนทั้งหมด ขึ้นอยู่กับสาขาอาชีพที่กำหนด ประกอบด้วยความรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงานวิธีการใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุ ความรู้ในงานของสาขาอาชีพนั้น (2) ภาคทักษะ(ปฏิบัติ) ให้ปฏิบัติตามแบบทดสอบที่กำหนดให้ คะแนนคิดเป็นประมาณ ร้อยละ 80 ของคะแนน ทั้งหมดขึ้นอยู่กับสาขาอาชีพที่กำหนดประกอบด้วย วิธีการใช้และบำรุงรักษาเครื่องมืออย่างปลอดภัย การใช้วัสดุได้อย่างถูกต้อง ความสามารถในการปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามคำสั่ง และเสร็จภายในเวลาที่กำหนด
คุณสมบัติผู้เข้ารับการทดสอบ ๑)อายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์นับถึงวันสมัครเข้ารับการทดสอบ ๒) มีประสบการณ์การทำงานหรือประกอบอาชีพเกี่ยวกับสาขาที่จะทดสอบ ๓) ผ่านการฝึกฝีมือแรงงานหรือฝึกอาชีพ และมีประสบการณ์จากการฝึก หรือปฏิบัติงานในกิจการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ๔) เป็นผู้ที่จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสาขาที่ เกี่ยวข้อง ๕) กรณีต้องการทดสอบในระดับที่สูงขึ้น จะต้องมีประสบการณ์การทำงาน หรือประกอบอาชีพ หรือได้คะแนนรวมในสาขาอาชีพและระดับที่เคย ทดสอบผ่านมาแล้ว ตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือ แรงงานประกาศกำหนด
รับสมัครแนะแนวการทดสอบ เตรียมการทดสอบ ทำการทดสอบ ตรวจ / ประเมินผล ประกาศผลการทดสอบ ไม่ผ่าน ผลการทดสอบ ฝึกฝีมือเพิ่มเติม ผ่าน ออกหนังสือรับรองผลการทดสอบ รายงานผลเข้าระบบฐานข้อมูล ๒) หน่วยงานภาครัฐและเอกชนอื่นที่ได้รับอนุญาตเป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เรียกเก็บค่าทดสอบฝีมือ ในอัตรา ๕๐๐ ถึง ๒,๐๐๐ บาท กระบวนการ ทดสอบ ๑) หน่วยงานภายใต้สังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สามารถเรียกเก็บค่าทดสอบในอัตรา ดังนี้ ระดับ ๑๑๐๐ บาท ระดับ ๒๑๕๐ บาทระดับ ๓๒๐๐ บาท
ประโยชน์ของมาตรฐานฝีมือแรงงาน 1. ด้านสถานประกอบกิจการและนายจ้าง 1.1 ใช้คัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะฝีมือ และทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน เข้าปฏิบัติงานในองค์กร 1.2 ใช้ประกอบการวางแผนการพัฒนา/เลื่อนตำแหน่งงานและขึ้นเงินเดือนของพนักงาน ช่วยลดปัญหาความขัดแย้งในองค์กร 1.3 ช่วยลดอัตราความเสียหายอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ และการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ 1.4 เพิ่มคุณภาพให้ผลผลิตสินค้าและบริการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค
ประโยชน์ของมาตรฐานฝีมือแรงงาน 2. ด้านผู้ใช้แรงงาน 2.1 ทราบระดับทักษะฝีมือและข้อบกพร่องของตนเอง 2.2 เป็นแนวทางการวางแผนการพัฒนาฝีมือแรงงานของตนตามความสามารถของตำแหน่งงานที่จะเลื่อนระดับขึ้น 2.3 เพิ่มโอกาสในการจ้างงานสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่มีวุฒิการศึกษา 2.4 เพิ่มโอกาสในการมีงานทำทั้งในประเทศ และต่างประเทศ 2.5 เพิ่มโอกาสในการรับค่าจ้างค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
ประโยชน์ของมาตรฐานฝีมือแรงงาน 3. ด้านประชาชนผู้บริโภค 3.1 เพิ่มโอกาสและทางเลือกในการบริโภคสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน 3.2 ได้รับบริการที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตรวจสอบได้ จากแรงงาน ผู้มีทักษะฝีมือ 4. ภาครัฐ 4.1 ใช้ประกอบการวางแผนพัฒนากำลังคนให้มีมาตรฐานฝีมือแรงงานในการ ประกอบอาชีพ 4.2 ใช้เป็นกรอบเพื่อพิจารณาจัดทำหลักสูตรอบรม หลักสูตรการเรียนในระดับชาติ ให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน 4.3 ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค 4.4 ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้สามารถแข่งขันใน ตลาดการค้าภายในประเทศและต่างประเทศ
สรุปสถานการณ์ด้านมาตรฐานฝีมือแรงงานสรุปสถานการณ์ด้านมาตรฐานฝีมือแรงงาน • มาตรฐานฝีมือแรงงานที่มีอยู่ยังไม่คลอบคลุมความต้องการของภาคการผลิตและบริการได้ในวงกว้าง (รวมถึงระบบการจ่ายค่าตอบแทนตามมาตรฐานแรงงาน) • มาตรฐานฝีมือแรงงานที่มีอยู่หลายประเภทมีความแตกต่างกับมาตรฐานที่กำหนดโดยภาคส่วนอื่น เช่น ภาคการผลิตและบริการ สมาคมวิชาชีพ มาตรฐานระดับสากล ทั้งในเรื่องระดับชั้น และรายละเอียดในแต่ละระดับ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเปรียบเทียบระดับฝีมือ • การเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทำให้ต้องมีการยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานและสมรรถนะของแรงงานอย่างเร่งด่วน • การเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายของแรงงานมีฝีมือ (Free Flow of Skilled Labor) ใน 8 สาขาอาชีพทำให้ต้องมีการพัฒนาสมรรถนะบางประการ เช่น ภาษา การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การทำงานเป็นทีม เป็นต้น • การเปิดเสรีด้านการค้าในสาขาเร่งด่วน 9 สาขา (+5สาขาการบริการ) ทำให้ต้องยกระดับการจัดการมาตรฐานฝีมือแรงงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สินค้าและการบริการของไทยยังสามารถแข่งขันได้
ความหมายของแรงงาน แรงงาน นอกระบบ แรงงาน ในระบบ แรงงานใหม่ หมายถึง แรงงานที่ไม่ได้อยู่ในความคุ้มครองของกฎหมายแรงงานทั้งมวล เช่น ทำงานโดยไม่มีสัญญาการจ้างงานที่เป็นทางการ ไม่มีนายจ้าง เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ แรงงานภาคเกษตร หมายถึง ผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาซึ่งกำลังจะจบการศึกษาและเตรียมเข้าสู่ตลาดแรงงาน หมายถึง ผู้มีงานทำที่ได้รับความคุ้มครองและหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน ได้แก่ 1. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของข้าราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น 2. ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ 3. ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนตามกฎหมาย 4) ลูกจ้างของรัฐบาล 5) ลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ความหมายของการพัฒนาฝีมือแรงงาน ความหมายของการพัฒนาฝีมือแรงงาน คำว่า "ฝีมือ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525ได้ให้ความหมายไว้ว่าเป็นความเชี่ยวชาญในการใช้มือ การช่างทำด้วยมือ คำว่า "แรงงาน" ได้ให้ความหมายไว้ว่าเป็นความสามารถในการทำงานเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ กิจการที่คนงานทำในการผลิตเศรษฐทรัพย์ คำว่า "ฝีมือแรงงาน" หมายถึง ความเชี่ยวชาญในการลงมือลงแรงทำงานเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ ความหมายของการพัฒนาฝีมือแรงงานใน พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๕ หมายความว่า กระบวนการที่ทำให้ผู้รับการฝึกและประชากร วัยทำงานมีฝีมือ ความรู้ความสามารถ จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการทำงาน อันได้แก่ การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน การกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงาน และการอื่นที่เกี่ยวข้อง
ความสำคัญของการพัฒนาฝีมือแรงงานความสำคัญของการพัฒนาฝีมือแรงงาน “แรงงานไม่ใช่แค่ปัจจัยการผลิต แต่แรงงาน คือ ทรัพยากรมนุษย์” การพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีทักษะมีคุณภาพได้มาตรฐานฝีมือแรงงานจะส่ง ผลให้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค นายจ้างและผู้ประกอบกิจการได้รับสินค้าและบริการที่ดีมีโอกาสเพิ่มกำไรจากการค้าขายมากขึ้น ลูกจ้างหรือผู้ใช้แรงงานจะได้รับค่าแรงสูงมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีโอกาสในการทำงานและเข้าถึงสวัสดิการมากขึ้น ส่งผลให้องค์กรหรือหน่วยงานเกิดการพัฒนาและก้าวสู่ การเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง ผลจากการพัฒนาฝีมือแรงงานหรือผลิตภาพแรงงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจและสังคมของประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว
ภารกิจการพัฒนาฝีมือแรงงาน ภารกิจการพัฒนาฝีมือแรงงาน (1) การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (2) มาตรฐานฝีมือแรงงาน (3) ด้านการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน 1.1 การฝึกเตรียม เข้าทำงาน 1.2 การฝึก ยกระดับฝีมือ 1.3 การฝึกอาชีพ เสริม 2.1 การกำหนดมาตรฐาน ฝีมือแรงงานแห่งชาติ 2.2 การทดสอบ มาตรฐานฝีมือแรงงาน 2.3 การทดสอบฝีมือ คนหางานเพื่อไป ทำงานต่างประเทศ 2.4 การแข่งขันฝีมือ แรงงาน 3.1 การพัฒนาส่งเสริมบุคลากร 3.2 การประสานนโยบายด้าน การพัฒนาแรงงานระดับชาติ และระดับจังหวัด 3.3 การประสานความร่วมมือ กับหน่วยงานภาครัฐและ ภาคเอกชน 3.4 การส่งเสริมการพัฒนา ฝีมือแรงงานของภาคเอกชน 3.5 การส่งเสริมการพัฒนาฝีมือ แรงงานเพื่อเป็นผู้ประกอบ อาชีพอิสระ
เป้าหมายการพัฒนาฝีมือแรงงานเป้าหมายการพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้ที่อยู่ในวัยศึกษา ผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน ตั้งแต่เด็ก --------> สำเร็จการศึกษา กำลังแรงงาน (Labour Force) การเรียนในระบบการศึกษา /พื้นฐาน/อาชีวศึกษา/อุดมศึกษา การศึกษานอกระบบ ตามอัธยาศัย สถานศึกษา/โรงเรียน/มหาวิทยาลัย สถานฝึก/Training Center/สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน วุฒิบัตร/ประกาศนียบัตร/ใบรับรอง ในระบบการศึกษา มาตรฐานฝีมือแรงงาน/มาตรฐานวิชาชีพ/มาตรฐานสมรรถนะ แรงงานใหม่ ผู้สำเร็จการศึกษา นักศึกษาที่กำลังจะออกจากระบบการศึกษา แรงงานใน/นอกระบบ (ที่ได้รับสิทธิประโยชน์หลักประกันสังคม)
มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพภาคบริการ (สำหรับรองรับวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียน) หมายเหตุ ปีงบประมาณ 2556 จะดำเนินการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในส่วนที่เหลือ เพื่อให้สอดคล้องกับ 32 สมารรถนะร่วมสำหรับวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียน
สรุป การพัฒนาฝีมือแรงงานจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาฝีมือแรงงานให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานไร้ฝีมือและแรงงานกึ่งฝีมือให้เป็นแรงงานฝีมือที่มีทักษะสูงโดยมุ่งเน้นการพัฒนาในสาขาที่จะเปิดเสรีและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และแรงงานฝีมือตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในขณะเดียวกันก็จำเป็นจะต้องพัฒนาฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานภายในประเทศทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ มุ่งพัฒนาคนให้มีความรู้จริงคิดได้ทำเป็น มีทักษะฝีมือที่ดี และมีสมรรถนะเป็นที่ยอมรับของนายจ้างและผู้ประกอบกิจการ (demand side) เพิ่มความน่าจ้างให้แรงงานไทย (marketability) ด้วยการเพิ่มทักษะด้านภาษาต่างประเทศและความรู้ด้านสารสนเทศ (IT) เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ มาตรฐานฝีมือแรงงานสามารถนำมาปรับใช้ในการพัฒนาสมรรถนะและทักษะฝีมือแรงงานในสถานประกอบกิจการและองค์กรได้ โดยนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถนำเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงาน 1. ส่งเสริมให้บุคลากร ผู้ใช้แรงงาน เข้ารับการฝึกหลักสูตรยกระดับฝีมือแรงงานกับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชนได้รับการรับรองให้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานได้ 2.การส่งเสริมให้ผู้ใช้แรงงาน พนักงานหรือบุคลากรในองค์กรเข้ารับการทดสอบฝีมือแรงงานเพื่อให้ทราบถึงระดับฝีมือแรงงานของพนักงาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทักษะฝีมือในระดับที่สูงขึ้นกว่าเดิม 3.การนำเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานใช้เป็นเครื่องมือในการพิจารณาเงินเดือนค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสวัสดิการที่เหมาะสมกับทักษะฝีมือ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ใช้แรงงานและพนักงานในองค์กรยกระดับฝีมือแรงงานของตนเองเพื่อให้ได้รับค่าแรงที่สูงขึ้น
ข้อเสนอแนะ 4.พัฒนาบุคลากร จากแนวทางทั้ง 3 แนวทางดังกล่าวนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือบุคคลากรสามารถนำมาตรฐานฝีมือแรงงานมาจัดทำสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานโดยแบ่งเป็นสมรรถนะสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับล่าง กลาง และสูง และสมรรถนะของผู้บริหารได้โดยร่วมกันวิเคราะห์พฤติกรรมที่สอดคล้องกับขอบเขตงาน (job) เพื่อจัดทำเป็นมาตรฐานสมรรถนะและจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรในองค์กรต่อไป 5.ภาครัฐควรให้ข้อแนะนำและประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานและสถานประกอบการภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตและบริการและสาขาอาชีพที่เปิดให้มีการเคลื่อนย้ายเสรีตาม AEC เร่งปรับกระบวนการผลิตและยกระดับฝีมือแรงงานของตนเองโดยเร่งด่วนก่อนปี พ.ศ.2558 เพื่อรองรับผลกระทบและการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นจากการเข้าสู่ AEC และเพิ่มโอกาสในการประกอบธุรกิจของตนเองต่อไป
ข้อเสนอแนะ 6.ภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือกับหน่วยงาน ห้างร้าน สถานประกอบการภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตและบริการและสาขาอาชีพที่เปิดให้มีการเคลื่อนย้ายเสรีตาม AEC ใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานเป็นเกณฑ์ในการรับคนต่างชาติ / อาเซียน เข้าทำงานภายในประเทศ เพื่อให้เกิดการ Outbound – Inbound ของแรงงานฝีมือเท่านั้น ซึ่งจะเป็นการคัดกรองและจำกัดโอกาสของแรงงานไร้ฝีมือจากต่างชาติไหลเข้ามาทำงาน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของแรงงานไทยและตลาดแรงงานภายในประเทศ โดยมุ่งเน้นให้แรงงานต่างชาติที่มีฝีมือดี (ที่ผ่านมาตรฐานสมรรถนะอาเซียนและมาตรฐานฝีมือแรงงานไทย) ได้เข้ามาทำงานเพื่อเพิ่มผลิตภาพให้แก่ผู้ประกอบการของไทย ภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิตบริการของไทย และส่งเสริมขีดความสามารถของประเทศได้ต่อไป
กราบขอบพระคุณ จิตรพงศ์ พุ่มสอาด