240 likes | 495 Views
รูปแบบประเมินความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับ มหาวิทยาลัยราชภัฏ A Security Evaluation Model of Information Technology for Rajabhat University นายจุมพฏ กาญจนกำธร ผศ.ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์ รศ.ดร. สมบัติ ทีฆทรัพย์ ผศ.ดร. บุญมี กวินเสกสรรค์. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา.
E N D
รูปแบบประเมินความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับ มหาวิทยาลัยราชภัฏ A Security Evaluation Model of InformationTechnology for Rajabhat University นายจุมพฏ กาญจนกำธรผศ.ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์ รศ.ดร. สมบัติ ทีฆทรัพย์ ผศ.ดร. บุญมี กวินเสกสรรค์
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา • ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารจัดการและการเรียนรู้ • มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในสถาบันการศึกษา เพื่อการบริหารงาน การเรียนการสอน การทำวิจัย กันอย่างแพร่หลาย
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา • ภัยคุกคามและความเสี่ยงต่าง ๆ มีมากขึ้นและรุนแรงมากขึ้นและมีผลเสียหายร้ายแรงต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย • เพื่อศึกษา สถานะสภาพและความคิดเห็นต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ • เพื่อพัฒนา รูปแบบประเมินความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับมหาวิทยาลัย ราชภัฏ
การวิจัยครั้งนี้ มีประโยชน์ในการพัฒนาใช้รูปแบบการประเมินความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏได้ด้วยตัวเอง
ผลที่ได้รับ1. เพิ่มประสิทธิภาพความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยี สารสนเทศได้มากขึ้น 2. ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถบริหารจัดการด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่าง มีประสิทธิภาพ3. สามารถบริหารงบประมาณเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นผลดีต่อสถาบันการศึกษาของประเทศไทย 4. สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้
ข้อมูลป้อนเข้า 1. นโยบาย 2. งบประมาณ 3. สิ่งแวดล้อม 4. บุคคลกร 5. พฤติกรรมผู้ใช้ กรอบแนวคิดของการวิจัย กระบวนการ สร้างรูปแบบประเมินความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ กรอบที่ใช้อ้างอิง มาตรฐาน ISO/IEC 27001 ความมั่นคงปลอดภัยในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผลลัพธ์ รูปแบบประเมินความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยี สารสนเทศสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ
การบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์กรจะต้องกำหนดการลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมโดยใช้มาตรฐานกระบวนการ Plan-Do-Check-Act(PDCA)
ผลเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินของหน่วยงาน ประกอบด้วย • ความลับของข้อมูลและสารสนเทศ • ความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูล • ความพร้อมใช้งานของระบบสารสนเทศ
ในปัจจุบันมีการนำระบบประเมินการจัดการความมั่นคงปลอดภัยแบบสากลตาม มาตรฐาน ISO 27001ซึ่งประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกหลาย ๆ ประเทศ ได้แก่ ประเทศสิงค์โปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ มีการร่วมมือกันเพื่อพัฒนาเป็นแนวทางพัฒนาเพื่อให้เกิดความมั่นคง ที่มา :ThaiCERT, NECTEC, พัฒนาการมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก, 2549, http://lanta.giti.nectec.or.th/nectec/images/pdf/techtrends/69/secure69.pdf
มาตรฐาน ISO 27001 ประกอบด้วย 1. นโยบายความมั่นคงปลอดภัย 2. โครงสร้างความมั่นคงปลอดภัยขององค์กร 3. การบริหารจัดการทรัพย์สินขององค์กร 4. ความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวกับบุคลากร 5. การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม 6. การบริหารจัดการด้านการสื่อสาร และการดำเนินงานเครือข่ายสารสนเทศขององค์กร 7. การควบคุมการเข้าถึง 8. การจัดหา การพัฒนา และบำรุงระบบสารสนเทศ 9. บริหารจัดการเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยขององค์กร 10. บริหารความต่อเนื่องในการดำเนินงานขององค์กร 11. การปฏิบัติตามข้อกำหนด (ที่มา: อ้างอิงข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001)
ประเทศไทยมีการเริ่มนำเอามาตรฐาน ISO 27001มาใช้ในบางหน่วยงานที่มีความพร้อมแต่เนื่องจากมีความยุ่งยากซับซ้อนและเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ซึ่งสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏเอง ไม่สามารถทำได้รวมทั้งการขาดแคลนบุคคลกรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนี้ • ระบบมีขอบเขตที่กว้างมาก การนำมาใช้สถาบันการศึกษาอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนอย่างมากและต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก
ดังนั้น การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนา รูปแบบประเมินความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับสถาบันการศึกษาต่อไป
อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการวิจัยอุปกรณ์และวิธีการดำเนินการวิจัย การวิจัยนี้ ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลเชิงลึกด้านนโยบายการบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อทราบสถานะภาพและความคิดเห็นต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย • ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ • ผู้บริหารสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏ • เจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏ • ผู้ใช้งาน เจ้าหน้าที่และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ
เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก • นำข้อมูลที่ได้มารวบรวมและสังเคราะห์ • และพัฒนารูปแบบประเมินความมั่นคงของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏและนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน พิจารณาตรวจสอบคุณภาพโดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับลักษณะพฤติกรรม และนำรูปแบบประเมินความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ไปทดสอบการใช้งานและนำผลที่ได้รับมาปรับปรุง
ผลจากการศึกษา • สถานะสภาพและความคิดเห็นต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏพบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในแต่ละปีได้รับงบประมาณน้อย ในขณะที่ต้องดูแลรับผิดชอบจัดการศึกษาให้แก่นิสิตและนักศึกษา ตลอดจนให้บริการทางวิชาการแก่ประชาชนเป็นจำนวนมาก ขาดบุคลากรทางด้านผู้ดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จากการที่ได้รับงบประมาณน้อยจึงทำให้การดูแลความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ค่อยมีประสิทธิภาพมากนัก มักมีปัญหาด้านการให้บริการแก่ผู้ใช้งาน
จากการศึกษาได้พัฒนา รูปแบบประเมินความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏประกอบด้วย 8 เรื่อง ดังนี้1) นโยบายความมั่นคงปลอดภัยสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) โครงสร้างความมั่นคงปลอดภัยขององค์กร 3) ความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวกับบุคลากร 4) การบริหารจัดการด้านการสื่อสารและการดำเนินการ ของเครือข่ายสารสนเทศขององค์กร 5) การควบคุมการเข้าถึง 6) การจัดหา การพัฒนา และบำรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 7) การบริหารความต่อเนื่องในการดำเนินงานขององค์กร 8) การปฏิบัติตามข้อกำหนด
บทสรุป • จากการทราบสถานะสภาพและความคิดเห็นต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ สามารถนำไปสู่การพัฒนารูปแบบประเมินความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏหรือองค์กรของตนเองได้ • ผลประโยชน์ที่ได้รับในด้านการบริหารจัดการทรัพย์กรสามารถทำได้คล่องตัวขึ้น แม้งบประมาณที่ได้รับไม่มากพอหรือขาดบุคลกรมืออาชีพ เพราะระบบนี้สามารถนำมาศึกษาและใช้ในองค์กรตนเองได้ง่ายและประหยัดงบประมาณเมื่อเทียบกับการต้องลงทุนจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกด้วยงบประมาณที่สูง
รูปแบบที่พัฒนาขึ้นยังสามารถใช้กับสถาบันอุดมศึกษาอื่นได้ด้วยอันจะเป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางในการป้องกันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับหลาย ๆ สถาบันต่อไป งานที่จะพัฒนาต่อไป • ตรวจสอบรูปแบบ • ทดลองใช้งาน • ปรับปรุงให้สามารถใช้งานได้กว้างขวางต่อไป
จบการนำเสนอ ขอบคุณครับ