E N D
ข้อมูลทั่วไป โมลิบดินัมเป็นธาตุจำเป็นเล็กน้อยในพืชและสัตว์ เชื่อว่ามีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับสรีรวิทยาของมนุษย์ โมลิบดินัมทำหน้าที่ร่วมกับเอนไซม์หลายชนิดซึ่งมีความสำคัญในการเปลี่ยนสารทางเคมีในวงจรของ carbon, nitrogen และsulfer ดังนั้นเอนไซม์อิสระของโมลิบดินัมจึงไม่มีผลต่อสุขภาพของมนุษย์แต่มีผลต่อสภาพของระบบที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อม
หน้าที่ของโมลิบดินัม โมลิบดินัมจะปรากฏออกมาในรูปของสารประกอบเอนไซม์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของโมเลกุลในร่างกายหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าปัจจัยร่วมของโมลิบดินัมและในร่างกายของมนุษย์นั้นโมลิบดินัมทำหน้าที่เป็นปัจจัยร่วมของเอนไซม์ 3 ชนิดคือ • sulfite oxidase กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากsulfite ไปเป็นsulfateปฏิกิริยาดังกล่าวมีความจำเป็นต่อกระบวนการเผาผลาญสารให้อยู่ในรูปกรดอะมิโน เช่น cysteine
2. xanthine oxidaseกระตุ้นการแตกตัวของ nucleotides ( DNA และ RNA) ให้อยู่ในรูปกรดยูริกและช่วยจำกัดปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้น 3. aldehyde oxidaseจะทำงานร่วมกับ xanthine oxidaseในการกระตุ้นปฏิกิริยาของไฮโดรเจนและออกซิเจนที่มีความเกี่ยวข้องกับโมเลกุลหลายชนิดที่มีลักษณะโครงสร้างคล้ายกัน นอกจากนี้สารทั้ง 2 ชนิดนี้ยังมีบทบาทในการเผาผลาญยาและสารพิษต่างๆ ในเอนไซม์ทั้ง 3 ประเภทนี้เฉพาะ sulfile oxidaseเท่านั้นที่เป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์ 4. เกี่ยวข้องกับการทำงานของเอนไซม์ที่ควบคุมการใช้ออกซิเจนและการเผาผลาญอาหารพวกไลปิด
ประโยชน์ของโมลิบดินัมประโยชน์ของโมลิบดินัม • ต่อต้านการเกิดมะเร็ง • ป้องกันโรคโลหิตจาง • ป้องกันและยับยั้งการผิดรูปของฟัน • ช่วยในกรณีการเสื่อมสรรถภาพทางเพศ • กำจัดสารพิษและเปลี่ยนโปรตีนไปเป็นกรดยูริก
แหล่งของโมลิบดินัม • พืชผักตระกูลถั่ว เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา เป็นต้น (เป็นแหล่งที่มีโมลิบดินัมมากที่สุด) • เนื้อสัตว์ พืชตระกูลข้าว
ผลไม้ ,ผัก(มีโมลิบดินัมปริมาณน้อย),นม • ขนมปัง ,ธัญพืช, เครื่องในสัตว์
ความต้องการของร่างกายความต้องการของร่างกาย
สารอาหารที่ทำหน้าที่ร่วมกับโมลิบดินัมสารอาหารที่ทำหน้าที่ร่วมกับโมลิบดินัม ทองแดง (copper) การบริโภคโมลิบดินัมในปริมาณมากเกินไปถูกค้นพบว่ามีผลทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดแคลนทองแดงในสัตว์เคี้ยวเอื้อง ซึ่งในสัตว์เคี้ยวเอื้องจะมีการสร้างสารประกอบที่บรรจุ sulferและ molybdenum ที่เรียกว่าthiomolybdenate ซึ่งพบว่าจะช่วยในการยับยั้งการดูดซึมทองแดง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่าง thiomolybdenates และทองแดงนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในร่างกายของมนุษย์ จากการศึกษาพบว่าการบริโภคข้าวฟ่างที่มีโมลิบดินัมในปริมาณ 500-1500 ไมโครกรัม/วัน จะช่วยทำให้กระเพาะปัสสาวะขับทองแดงในผู้ชายจำนวน 8 คนไดชี้ให้เห็นว่าการบริโภคโมลิบดินัมมากเกินไป (มากกว่า 1500 ไมโครกรัม/วัน) จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาวะการบริโภคทองแดง
การเมตาโบลิซึมของโมลิบดินัมการเมตาโบลิซึมของโมลิบดินัม โมลิบดินัมจะสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็วจากการรับประทานอาหาร โดยมีการดูดซึมบริเวณกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก โดยกลไกการดูดซึมจะเป็นได้ทั้งแบบ passive หรือ activeหรืออาจทั้ง 2 อย่างซึ่งไม่สามารถระบุได้แน่ชัด การขนถ่ายของโมลิบดินัมจะผ่านทางช่องหมุนเวียนของตับและระบบหมุนเวียนของเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกาย โดยตับและไตจะรักษาโมลิบดินัมไว้ในปริมาณมาก โมลิบดินัมจะถูกขับออกมาในรูปของปัสสาวะและน้ำดี
ผลของการขาดโมลิบดินัมผลของการขาดโมลิบดินัม การขาดโมลิบดินัมจะไม่พบในคนทั่วไปที่มีสุขภาพดี แต่จะพบในกรณีที่มีการได้รับโมลิบดินัมในปริมาณไม่เพียงพอและเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบในระยะยาว ผู้ป่วยที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยโรคปวดศรีษะ ผู้ป่วยโรคตาบอดกลางคืน และสุดท้ายอาจทำให้เกิดอาการโคม่าได้
นอกจากนี้สัญญาณที่สามารถบ่งบอกได้ว่ากำลังขาดสารโมลิบดินัมประกอบด้วย กรดยูริกอยู่ในระดับต่ำ การขับถ่ายของกรดยูริกและsulfateในกระเพาะอาหารจะลดลงแต่จะขับถ่ายออกมาในรูปของsulfiteมากขึ้น อาการดังกล่าวจะไม่ปรากฏเมื่อการทำงานของกรดอะมิโนเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง การบริโภคโมลิบดินัม (160 ไมโครกรัม/วัน) จะช่วยรักษาผู้ที่มีปัญหาการขาดแคลนกรดอะมิโนและยังช่วยฟื้นฟูอาการป่วยของคนไข้ได้อีกด้วย
ในปัจจุบันความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของโมลิบดินัมในร่างกายมนุษย์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาเฉพาะบุคคลในเด็กที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการเผาผลาญซึ่งเป็นกรณีที่พบได้ยากและมีผลต่อการขาดแคลน molybdoenzyme , sulfite oxidaseและผลของการขาด sulfite oxidaseนั้นสามารถแยกได้เป็น 2 รูปแบบ • Isolated sulfite oxidase deficiencyจะมีผลกระทบต่อกิจกรรมการทำงานของsulfite oxidaseเพียงอย่างเดียว • Molydenum cofactor deficiencyมีผลกระทบต่อกิจกรรมการทำงานของทั้ง 3 เอนไซม์
เพราะหน้าที่หลักของโมลิบดินัมในรูปของปัจจัยร่วมในมนุษย์นั้นทำให้เกิดความยุ่งยากในการเผาผลาญ ซึ่งจะไปรบกวนหน้าที่ทั้งหมดในเอนไซม์ของโมลิบดินัม และได้มีการวินิจฉัยผู้ป่วยทั่วโลกกว่า 100 คนที่เกิดภาวะขาดแคลนทั้งแบบ Isolated sulfiteoxidase และMolydenum cofactorผลที่เกิดจากความผิดปกติดังกล่าวเป็นผลมาจากพันธุกรรมคือ เกิดขึ้นกับบางคนเท่านั้นที่ได้รับยีนต์ที่ผิดปกติจากการสืบทอดพันธุกรรม 2 ยีนต์
อีกกรณีหนึ่งคือการได้รับยีนต์ผิดปกติเพียงยีนต์เดียวจะไม่แสดงอาการของโรคขาดแคลนIsolated sulfite oxidaseแต่จะเป็นในรูปของพาหะและมีอาการเกี่ยวกับทางสมองอย่างรุนแรงซึ่งอาการจะปรากฏออกมาให้เห็นชัดเจนเนื่องจากการสูญเสียการทำงานของ sulfite oxidateในปัจจุบันไม่มีผลปรากฏแน่ชัดว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบประสาทมีผลมาจากการสะสมสารพิษที่เกิดจากการเผาผลาญเช่น sulfite หรือการผลิตsulfate ไม่เพียงพอ
การขาดแคลนแบบIsolated sulfite oxidaseและMolydenum cofactorนั้นสามารถนำไปวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับหญิงมีครรภ์ในระยะแรกได้ (10-14 สัปดาห์) จากเยื่อหุ้มครรภ์และในบางกรณีสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนสามารถระบุได้จากการทดสอบยีนต์ และไม่สามารถรักษาได้ในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมียาและอาหารที่สามารถต่อต้านภาวะดังกล่าวได้ซึ่งก็คือ สารประกอบกรดอะมิโนประเภท sulfer ที่จะสามารถใช้ได้ในบางกรณีเท่านั้น
คำถาม • จงบอกหน้าที่ของโมลิบดินัมมาอย่างน้อย 3 ข้อ • การเมตาโบลิซึมของโมลิบดินัมเกิดขึ้นที่บริเวณใด
จัดทำโดย นางสาวสิริธร ศรีเทพ 4808293 นางสาวสินีนาฏ บุญเจริญ 4811208 นางสาวสิริญาภรณ์ ศรีเทพ 4811209