311 likes | 728 Views
สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้มีรูปร่าง และโครงสร้างที่แตกต่างกัน. สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่เล็กที่สุดคือ “ เซลล์ ( Cell ) ”. ภายในเซลล์ประกอบด้วยโมเลกุลของสารเคมีหลายชนิด. อะตอม (ธาตุ) โมเลกุล เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ระบบ สิ่งมีชีวิต. เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต.
E N D
สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้มีรูปร่างและโครงสร้างที่แตกต่างกันสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้มีรูปร่างและโครงสร้างที่แตกต่างกัน
สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่เล็กที่สุดคือ “เซลล์(Cell)”
ภายในเซลล์ประกอบด้วยโมเลกุลของสารเคมีหลายชนิดภายในเซลล์ประกอบด้วยโมเลกุลของสารเคมีหลายชนิด อะตอม (ธาตุ) โมเลกุล เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ระบบ สิ่งมีชีวิต
เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตเคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
สารในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์สารในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์
สารอินทรีย์ (organic substance) • คือ สารที่มีธาตุCและ H เป็นองค์ประกอบ • สารอินทรีย์ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่เป็นสารประกอบโมเลกุลใหญ่ เรียก สารชีวโมเลกุล (biological molecule) • สารชีวโมเลกุล แบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ลิพิด โปรตีน กรดนิวคลีอิก
สารอนินทรีย์ (inorganic substance) คือ สารประกอบที่ไม่มีธาตุ Cเป็นองค์ประกอบได้แก่ นํ้า และแร่ธาตุต่าง ๆ
คาร์โบไฮเดรต พบในอาหารประเภทใดบ้าง?
ปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหาร 100 กรัม
คาร์โบไฮเดรต • มาจากคำว่า hydrate of carbon หรือคาร์บอนที่มีนํ้า • ประกอบด้วยธาตุ 3 ชนิด คือ C, H,O • สูตรทั่วไปคือ (CH2O)n **C≥3 • มีสัดส่วน H : O = 2 : 1 • แบ่งตามขนาดโมเลกุลเป็น 3 ประเภท • monosaccharide • oligosaccharide • polysaccharide
1.มอโนแซ็กคาไรด์ • คือ นํ้าตาลโมเลกุลเดี่ยว • เป็นคาร์โบไฮเดรตขนาดเล็กที่สุด • ประกอบด้วยC3-7 อะตอม
การจำแนกน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวตามจำนวนอะตอมของคาร์บอนการจำแนกน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวตามจำนวนอะตอมของคาร์บอน • ไตรโอส (triose) >>มีC3 อะตอม เช่น Glyceraldehyde, Dihydroxyacetone • เทโทรส (tetrose) >>มีC4 อะตอม เช่น Erythrose, Erythrulose • **เพนโทส (pentose) >>มีC5 อะตอม เช่น Ribose, Deoxyribose • **เฮกโซส (hexose) >>มีC6 อะตอม ได้แก่ Glucose, Galactose,, Fructose • เฮปโทส (heptose)>>มีC7 อะตอม เช่น Sedoheptulose
aldehydes ketones • มอนอแซ็กคาไรด์จำแนกตามหมู่ฟังก์ชันได้เป็นแอลโดส (aldose) ซึ่งมีหมู่ฟังก์ชันเป็นแอลดีไฮด์และคีโทส (ketose)ซึ่งมีหมู่ฟังก์ชันเป็นคีโตน
2.โอลิโกแซ็กคาไรด์ (oligosaccharide) • โอลิโกแซ็กคาไรด์เกิดจากมอนอแซ็กคาไรด์2–10 หน่วย มาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะ C–O–C ซึ่งเรียกว่า พันธะไกลโคซิดิก (glycosidic bond) ถ้าประกอบด้วย 2 หน่วยเรียกว่า ไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide) ถ้า 3 หน่วย เรียกว่า ไตรแซ็กคาไรด์ (trisaccharide) • ที่พบมากคือ ไดแซ็กคาไรด์ ได้แก่ ซูโครส มอลโทส แลกโทส
ตัวอย่าง โอลิโกแซ็กคาไรด์ • มอสโทส- พบในข้าวมอลต์หรือเมล็ดข้าวที่กำลังงอก • (กลูโคส + กลูโคส) • ในร่างกายเกิดขึ้นจากการย่อยแป้งและไกลโคเจน • ข้าวที่เคี้ยวในปากมีรสหวาน เพราะแป้งถูกเอนไซม์อะไมเลสย่อยเป็นมอลโทส
ซูโครส- พบมากในอ้อย นํ้าตาลมะพร้าว ผลไม้สุก และอยู่ในรูปนํ้าตาลทราย • (กลูโคส + ฟรักโทส) • เป็นนํ้าตาลที่เราได้รับจากอาหารมากที่สุด
แลกโทส - พบในนํ้านมคนและสัตว์ • (กลูโคส + กาแลกโทส) • มีความหวานน้อยที่สุด
3.พอลิแซ็กคาไรด์(polysaccharide) • คือ คาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ • ประกอบด้วยนํ้าตาลโมเลกุลเดี่ยว>10 โมเลกุลขึ้นไปเรียงต่อกันเป็นสายยาวด้วยพันธะไกลโคซิดิก • มีสมบัติเป็นของแข็งสีขาว ไม่ละลายนํ้า ไม่มีรสหวาน ไม่ว่องไวต่อการทำปฏิกิริยาเคมี • ได้แก่ แป้ง ไกลโคเจน เซลลูโลส ไคติน • ทั้งหมดมีกลูโคสเป็นองค์ประกอบ แต่โครงสร้างแตกต่างกัน
amylose amylopectin glycogen cellulose
แป้ง - โครงสร้างเป็นสายยาว/แตกแขนงไม่กี่แขนง - มีสมบัติไม่ละลายในนํ้าเย็น แต่ละลายได้ในนํ้าร้อน - แป้งถูกย่อย (hydrolysis) จะได้สารที่มีขนาดโมเลกุลเล็กลงตามลำดับ ดังนี้ แป้งเดกซ์ทริน มอลโทส กลูโคส แป้ง อะไมโลสไม่แตกแขนง อะไมโลเพกติน แตกแขนง
เซลลูโลส - โครงสร้างเป็นสายยาว ไม่แตกแขนง - เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์พืช - ร่างกายคนไม่มีเอนไซม์ย่อยเซลลูโลส เป็นกากอาหารกระตุ้นการขับถ่าย
ไกลโคเจน - โครงสร้างเป็นสายยาว มีแตกแขนงเป็นสายสั้น ๆ จำนวนมาก - ร่างกายสัตว์สำรองไกลโคเจนไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อไว้ใช้เมื่อขาดแคลน
ไคติน • โครงสร้างเป็นสายยาวไม่แตกแขนง • ไม่ละลายน้ำ • เป็นองค์ประกอบสำคัญของเปลือกกุ้ง ปู แมลง • เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์เห็ด รา ยีสต์
ความสำคัญของคาร์โบไฮเดรตความสำคัญของคาร์โบไฮเดรต • เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในเซลล์ โดยเฉพาะกลูโคส • เป็นอาหารสะสมของพืชและสัตว์ เช่น แป้ง ไกลโคเจน • เป็นส่วนประกอบและโครงสร้างของเซลล์
ให้นักเรียนช่วยกันสรุปประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรตให้นักเรียนช่วยกันสรุปประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต
ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรตประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต • เป็นแหล่งพลังงานในเซลล์ เช่น กลูโคส • เป็นอาหารสะสมของพืชและสัตว์ เช่น แป้ง ไกลโคเจน • เป็นส่วนประกอบของเซลล์และโครงสร้างเซลล์ เช่น น้ำตาลไรโบส น้ำตาลดีออกซีไรโบส เซลลูโลส