691 likes | 3.78k Views
การเขียนรายงาน ทางวิชาการ. รายงานทางวิชาการ หมายถึง เอกสารที่เราได้มาจากการค้นคว้ารวบรวมเนื้อหาอย่างละเอียดมีเหตุและผล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงตามแบบที่กำหนดไว้. ประเภทของรายงาน. แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
E N D
การเขียนรายงานทางวิชาการการเขียนรายงานทางวิชาการ รายงานทางวิชาการ หมายถึง เอกสารที่เราได้มาจากการค้นคว้ารวบรวมเนื้อหาอย่างละเอียดมีเหตุและผล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงตามแบบที่กำหนดไว้
ประเภทของรายงาน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. รายงานทั่วไป เป็นรายงานที่เกี่ยวกับการรายงานเหตุการณ์ทั่วไปหรือความเคลื่อนไหวต่าง ๆ เช่น รายงานกาปฏิบัติงาน รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
รายงานทางวิชาการ เป็นรายงานที่ต้องศึกษค้นคว้าวิจัยโดยมีระเบียบวิธีการที่เป็นระบบ และให้ถูกตามแบบแผนของรายงานซึ่งแบ่งได้ดังนี้ 2.1 ภาคนิพนธ์ ( TERM PAPER ) คือรายงานประจำภาคเรียน เป็นรายงาน ที่ทำและศึกษาเฉพาะเรื่อง ของภาคเรียนนั้น ๆ ซึ่งผู้ทำต้องค้นคว้าและมีความรู้ในเนื้อหาของเรื่องเป็นอย่างดี
2.2 วิทยานิพนธ์ ( THESIS ) เป็นรายงานที่ต้องศึกษาค้นคว้าและวิจัยอย่างละเอียดรอบคอบ ประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะตามลำดับขั้นตอน โดยต้องอาศัยเหตุและผลมาทำการประกอบรายงานอย่างถูกต้อง
ขั้นตอนการทำรายงานทางวิชาการขั้นตอนการทำรายงานทางวิชาการ • การเลือกเรื่อง ควรเป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีประโยชน์ต่อผู้ทำ เนื้อเรื่องไม่แคบหรือกว้างจนเกินไป สามารถมีแหล่งที่ค้นคว้าอ้างอิงได้
การเขียนโครงเรื่อง คือ ต้องมีการกำหนดขอบเขตของเรื่อง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเขียนเนื้อหา โดยการเรียงตามลำดับขั้นตอน *** ข้อดีของการเขียนโครงเรื่องคือ...?
แบบคัดลอก แบบสรุปความ 3. การค้นคว้าหาข้อมูล ผู้ทำรายงานต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งค้นคว้าต่างๆ เช่น วารสาร หนังสือพิมพ์ ตำรา 4. จดบันทึกข้อมูล ให้จดเรียงลำดัหัวข้อก่อนหลัง เรียบเรียงเนื้อหา เริ่มเขียนฉบับร่างเมื่อเรียบร้อยแล้วเริ่มเขียนฉบับจริง
ชื่อเรื่อง รูปแบบของรายงาน ชื่อผู้จัดทำ ชื่อร.ร ชื่อวิชา บน 1. ส่วนปก กลาง ล่าง 2. คำนำ 3. สารบัญ วางตรงกลาง ไม่ต้องขีดเส้น ให้ห่างจากกระดาษด้านบน 2 นิ้ว
สำนวนไทย จัดทำโดย จักรพงษ์ รักเรียน สุมาลี ยืนยง ปวส.1/1 สาขาคอมพิวเตอร์ ภาควันอาทิตย์ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย รหัส 30001103 โรงเรียนศรีวัฒนาบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีนานาชาติ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554
ส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนเนื้อเรื่อง หรือเนื้อหาถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการทำรายงาน โดยจะเรียงลำดับความสำคัญตามโครงเรื่องที่วางไว้ จะประกอบไปด้วยสิ่งต่อไปนี้
.. อัญประภาษ ( QUOTATION ) หรือ อัญพจน์ คือข้อความที่คัดลอกมาจากคำพูดของคนอื่น โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำมาประกอบการทำรายงาน ให้เนื้อหาน่าเชื่อถือ โดยมีหลักการเขียนดังนี้ …..
1. ข้อความที่คัดลอกมาห้ามตัด หรือเพิ่มเติมไปจากเดิม 2. ถ้าข้อความที่คัดลอกมามีความยาว ไม่เกิน 4 บรรทัด ให้เขียนต่อจากเนื้อหารายงาน โดยใส่เครื่องหมายอัญประกาศ “ ” ( QUOTATION MARK ) คร่อมไว้
3. ถ้าข้อความที่คัดลอกมามีความยาวเกิน 4 บรรทัด ให้ย่อหน้าใหม่ต่างหาก ให้พิมพ์ตัวใหญ่ หรือเล็กลงกว่าเดิม โดยไม่ต้องใส่เครื่องหมายอัญประกาศ เมื่อเขียนจบให้เว้น1 บรรทัด ก่อนเขียนข้อความต่อไป
เชิงอรรถ ( FOOTNOTE ) • คือข้อความที่อยู่ส่วนล่างของหน้ากระดาษ เพื่อบอกที่มาของข้อความที่นำมาคัดลอกเป็นอัญประภาษ โดยเชิงอรรถจะต้องอยู่หน้าเดียวกับอัญประภาษ
เชิงอรรถแบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้ 1. เชิงอรรถอ้างอิง คือเชิงอรรถที่บอกแหล่งที่มาของข้อความที่นำมาทำการประกอบรายงาน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาหรือข้อเท็จจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้หาข้อมูลที่อ่านเพิ่มเติมได้
ตัวอย่างเชิงอรรถอ้างอิงตัวอย่างเชิงอรรถอ้างอิง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีระบบสื่อสาร มีเทคนิควิธีการหลายอย่าง ดังที่รรคชิต มาลัยวงศ์ กล่าวไว้ในหนังสือ เทคโนโลยีสารสนเทศว่า “ การนำระบบสื่อสารข้อมูลมาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ เราได้เห็นวิธีการประมวลผลแบบกระจาย ซึ่งเป็นการนำคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาพ่วงต่อกันให้ทำงานร่วมกันและสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ” 1 1 ครรชิต มาลัยวงศ์ , เทคโนโลยีสารเทศ, (กรุงเทพ : ศูนย์เทคโนโลยี อิเลกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ , 2535 ) , หน้า 115.
2. เชิงอรรถเสริมความ ( เชิงอรรถอธิบาย ) คือเชิงอรรถที่อธิบายความหมายของคำหรือคำศัพท์ ให้ผู้อ่านเข้าใจยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเชิงอรรถเสริมความตัวอย่างเชิงอรรถเสริมความ งานประกวดนางสาวไทยปีนี้ ต้องหาพิธีกรที่มีทักษะ1ในการพูดเป็นอย่างมาก 1 ทักษะ แปลว่า ความรู้ ความสามารถ
3. เชิงอรรถโยง ( เชิงอรรถอนุสนธิ์ ) คือ เชิงอรรถที่โยงให้ผู้อ่านไปดูความหมายของคำ หรือคำศัพท์ ในหน้าที่ได้กล่าวไปแล้ว โดยไม่ต้องการกล่าวซ้ำอีก
ตัวอย่างเชิงอรรถโยง การจะเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ดีได้ ต้องอาศัยทักษะ1ในเรียนรู้เป็นอย่างมาก 1 ดูความหมายหน้า 2
วิธีเขียนเชิงอรรถอ้างอิงวิธีเขียนเชิงอรรถอ้างอิง 1. ขีดเส้นคั่นระหว่างส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง กับส่วนที่เป็นเชิงอรรถยาวประมาณ 2 นิ้ว จากเส้นกั้นหน้า หรือขีดยาวตลอดหน้า 2. ใส่สัญลักษณ์กำกับให้ตรงกับอัญประภาษ
3. บรรทัดแรกให้ย่อหน้า เข้าไป 7-10 ตัวอักษร ถ้าไม่พอบรรทัดใหม่ ให้เขียนชิดเส้นกั้นหน้า 4. ทุกรายการที่เขียนอยู่ในเชิงอรรถ ต้องนำไปอ้างอิงไว้ในบรรณานุกรมท้ายเล่มด้วย
การลงชื่อผู้แต่ง ไม่ต้องใส่เพศหรือยศต่าง ๆ ลงไป ยกเว้นผู้มีราชทินนามให้ใส่ลงไปด้วย ถ้าผู้แต่ง 2 คนให้ใช้และเชื่อม ถ้าผู้แต่ง 3 คน ให้ใช้และเชื่อมคนที่ 2 และ 3 ถ้ามีมากกว่า 3 คน ให้ใช้คำว่า และคณะหรือและคนอื่น ๆ
** กรณีที่ผู้แต่งใช้นามปากกา ถ้าทราบชื่อจริงให้ใส่ชื่อจริงต่อท้าย แต่ถ้าไม่ทราบชื่อจริง ให้วงเล็บต่อท้ายว่า นามแฝง *** ถ้าผู้แต่งเป็นสถาบัน หรือหน่วยงาน ให้เขียนชื่อของหน่วยงานนำหน้า แล้วตามด้วยหน่วยงาน โดยคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค
หลักการเขียนเชิงอรรถ ชื่อผู้แต่ง, ชื่อหนังสือ, พิมพ์ครั้งที่ , ( สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์ , ปีที่พิมพ์ ) , หน้าที่อ้างถึง. หมายเหตุ ถ้าพิมพ์ครั้งที่ 1 ไม่ต้องเขียนลงไป
, จุลภาค ( ) นขลิขิต : ทวิภาค . มหัพภาค “ ” อัญประกาศ
ปี่ที่พิมพ์ หมายถึง พ.ศ.ที่พิมพ์ ถ้าไม่ปรากฏ พ.ศ.ที่พิมพ์ให้ใช้คำว่า ม.ป.ป. ( ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ) ** สถานที่พิมพ์ หมายถึง ชื่อจังหวัดที่พิมพ์ ถ้าไม่ปรากฏชื่อสถานที่ ให้ใช้คำว่า ม.ป.ท. ( ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ )
การเขียนบรรณานุกรม หรือ ( หนังสืออ้างอิง ) บรรณานุกรม หมายถึงหนังสือที่ผู้ทำรายงานนำมาประกอบการค้นคว้าอ้างอิงโดยนำมาเขียนไว้ส่วนท้ายของรายงาน
วิธีเขียนบรรณานุกรม ( อ้างอิงจากหนังสือ ) 1. เขียนคำว่าบรรณานุกรม ไว้กลางหน้ากระดาษโดยไม่ต้องขีดเส้น ให้ห่างจากขอบกระดาษ 2 นิ้ว
บรรทัดแรกให้เขียนชิดกั้นหน้าถ้าไม่พอบรรทัดต่อไปให้ย่อหน้าเข้าไป 7-10 ตัวอักษร • เรียงรายชื่อผู้แต่งตามตัวอักษร ก-ฮ • 4. ถ้าหนังสือที่นำมาอ้างอิงไม่ถึง 5 เล่มให้ • ใช้คำว่า “ หนังสืออ้างอิง ” หรือ • “ หนังสืออุเทศ ” ถ้ามีเกิน 5 เล่ม ให้ใช้คำว่า • “ บรรณานุกรม ”
5. การลงชื่อผู้แต่ง ไม่ต้องใส่เพศหรือ ยศต่าง ๆ ลงไป ยกเว้นผู้มีราชทินนาม ถ้าผู้แต่ง 2 คนให้ใช้และเชื่อม ถ้าผู้แต่ง 3 คน ให้ใช้และเชื่อมคนที่ 2 และ 3 ถ้ามีมากกว่า 3 คน ให้ใช้คำว่า และคณะหรือและคนอื่น ๆ
** กรณีที่ผู้แต่งใช้นามปากกา ถ้าทราบชื่อจริงให้ใส่ชื่อจริงต่อท้าย แต่ถ้าไม่ทราบชื่อจริง ให้วงเล็บต่อท้ายว่า นามแฝง *** ถ้าผู้แต่งเป็นสถาบัน หรือหน่วยงาน ให้เขียนชื่อของหน่วยงานนำหน้า แล้วตามด้วยหน่วยงาน โดยคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค
หลักการเขียนบรรณานุกรมหลักการเขียนบรรณานุกรม ชื่อผู้แต่ง . ชื่อหนังสือ . พิมพ์ครั้งที่ . สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์ , ปีที่พิมพ์ , จำนวนหน้า . * หมายเหตุ ถ้าเป็นสำนักพิมพ์ ไม่ต้องเขียนคำว่าสำนักพิมพ์ลงไป ถ้าเป็นโรงพิมพ์ให้เขียนโรงพิมพ์ลงไปด้วย
** สถานที่พิมพ์ หมายถึง ชื่อจังหวัดที่พิมพ์ • ถ้าไม่ปรากฏชื่อสถานที่ ให้ใช้คำว่า ม.ป.ท. • ( ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ ) • ปีที่พิมพ์ หมายถึง พ.ศ.ที่พิมพ์ ถ้าไม่ปรากฏ พ.ศ.ที่พิมพ์ให้ใช้คำว่า ม.ป.ป. ( ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ )
ข้อแตกต่างการเขียนเชิงอรรถอ้างอิงและบรรณานุกรมข้อแตกต่างการเขียนเชิงอรรถอ้างอิงและบรรณานุกรม
อ้างอิงจากโสตทัศนวัสดุอ้างอิงจากโสตทัศนวัสดุ ชื่อผู้จัดทำ , “ ชื่อเรื่อง ” , ประเภทของสื่อ , ปีที่จัดทำ . ตัวอย่างเช่น ศูนย์อำนวยการการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ , “พลังแผ่นดิน” , WWW. plpd.org , 2546 .
THANK YOU FROM A. THIDARAT INPONG