2.34k likes | 6.27k Views
การรับวัคซีนในเด็ก. โดย นางสุกัญญา พรมภาพ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านน้ำพุ ต.บ้านแป้น อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร. ขั้นตอนการรับบริการ. 1. ยื่นบัตรและสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก 2. ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศรีษะ 3. ตรวจสุขภาพ ประเมินพัฒนาการเด็ก
E N D
การรับวัคซีนในเด็ก โดย นางสุกัญญา พรมภาพ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านน้ำพุ ต.บ้านแป้น อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร
ขั้นตอนการรับบริการ 1. ยื่นบัตรและสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก 2. ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศรีษะ 3. ตรวจสุขภาพ ประเมินพัฒนาการเด็ก 4. ให้คำแนะนำ เรื่อง การตรวจพัฒนาการ การใช้กราฟดูการเจริญเติบโต อาหาร การดูแลฟัน การดูแลหลังรับวัคซีน อาการที่ควรพบแพทย์ การรับวัคซีนตามนัด 5. ฉีดวัคซีน นัดรับบริการครั้งต่อไป
การใช้กราฟประเมินการเจริญเติบโตการใช้กราฟประเมินการเจริญเติบโต 1. น้ำหนักเทียบกับอายุ - น้ำหนักตามเกณฑ์ ค่อนข้างมาก ค่อนข้างน้อย - น้ำหนักมากเกินเกณฑ์ - น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
การใช้กราฟประเมินการเจริญเติบโตการใช้กราฟประเมินการเจริญเติบโต 2. ส่วนสูงเทียบกับอายุ - ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ค่อนข้างสูง สูงกว่าเกณฑ์ ค่อนข้างเตี้ย - เตี้ย
การใช้กราฟประเมินการเจริญเติบโตการใช้กราฟประเมินการเจริญเติบโต 3. น้ำหนักเทียบกับส่วนสูง - สมส่วน ท้วม ค่อนข้างผอม - เริ่มอ้วน อ้วน
ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ กราฟแสดงการเจริญเติบโต เพศหญิง น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง
ยังบอกไม่ได้ว่า เด็กอ้วนหรือไม่ ต้องตรวจสอบ ภาวะอ้วน โดยใช้กราฟน้ำหนัก ตามเกณฑ์ส่วนสูง
ส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์การเจริญเติบโตส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์การเจริญเติบโต ดีมากๆ
น้ำหนักอยู่ ในภาวะอ้วนระดับ 2
การรับวัคซีนวัคซีนที่ใช้เพื่อการสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรค
วัคซีนพื้นฐานในงานEPI BCG HB DTP/DTP-HB OPV M/MMR JE dT
ประเภทของวัคซีน ท็อกซอยด์ ชนิดเชื้อตาย • เชื้อแบคทีเรีย/ไวรัสทั้งตัว • เชื้อแบคทีเรีย/ไวรัสบางส่วน ชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์
ท็อกซอยด์ ใช้ป้องกันโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย นำพิษมาทำให้สิ้นฤทธิ์ แต่ยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ ได้แก่ วัคซีน DTP T dT
ท็อกซอยด์ โดยปกติเมื่อฉีดจะมีไข้หรือปฏิกิริยาเฉพาะที่ ถ้าฉีดมาหลายครั้ง อาจทำให้มีอาการมากขึ้น
วัคซีนเชื้อตาย • ประเภทแรก ทำจากแบคทีเรียหรือไวรัสทั้งตัวที่ทำให้ตายแล้ว วัคซีนจากเชื้อแบคทีเรีย มักเกิดปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีด อาจมีไข้หลังฉีด 3-4 ชม. และอาการอยู่คง 1-3 วัน (วัคซีนไอกรน อหิวาตกโรคชนิดฉีด โปลิโอชนิดฉีด พิษสุนัขบ้า ตับอักเสบเอ JEชนิดน้ำ วัคซีนพวกนี้เก็บในตู้เย็น ห้ามแช่แข็ง จะทำให้แอนติเจนเสีย)
วัคซีนเชื้อตาย • ประเภทที่สอง ทำจากบางส่วนของแบคทีเรียหรือไวรัส วัคซีนในกลุ่มนี้ มักมีปฏิกิริยาน้อยหลังฉีด เช่น ตับอักเสบบี ไข้หวัดใหญ่Hibไอกรนชนิดไร้เซลล์ ไทฟอยด์ชนิดวีไอ และนิวโมคอคคัส
วัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์วัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ ทำจากเชื้อที่มีชีวิตแต่ทำให้อ่อนฤทธิ์แล้ว เช่น โปลิโอชนิดกิน MMR/ Mอีสุกอีใส BCGทัยฟอยด์ชนิดรับประทาน วัคซีนกลุ่มนี้เมื่อฉีดร่างกายจะไม่มีปฏิกิริยาทันที จะใช้เวลาประมาณ 5-12 วันหลังฉีด อาการเหมือนเป็นโรคอ่อนๆ
วัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์วัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ วัคซีนชนิดนี้ต้องเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำตลอดเวลา ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นเชื้อจะตาย การได้รับImmunoglobulinอาจขัดขวางการออกฤทธิ์ของวัคซีน การให้วัคซีนนี้แก่ผู้มีภูมิบกพร่องหรือได้ยากดภูมิต้องระวัง อาจเป็นอันตรายได้
วิธีการบริหารวัคซีน @ การรับประทาน @ การฉีดเข้าในหนัง @ การฉีดใต้หนัง @ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
ใช้กระตุ้นภูมิคุ้มกันในลำไส้ เช่น วัคซีนโปลิโอชนิดกิน วัคซีนทัยฟอยด์ชนิดกิน
การฉีด ฉีดเข้าในหนัง ฉีดเข้าใต้หนัง ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
การฉีดเข้าในหนัง ฉีดเข้าในหนังให้ตุ่มนูนขึ้น ใช้เข็ม 26Gยาว ½ นิ้ว วิธีนี้ทำให้แอนติเจนเข้าไประบบน้ำเหลืองดี เช่น BCGพิษสุนัขบ้า
การฉีดบีซีจีในทารกแรกเกิดควรฉีดที่ต้นแขนเพื่อให้ทดสอบแผลได้ง่าย ไม่ควรฉีดที่สะโพกเพราะอาจติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากอยู่ใกล้ผ้าอ้อม
เทคนิคการฉีด แทงเข็มให้ปลายหงายขึ้นเกือบขนานกับผิวหนัง แล้วค่อยๆฉีดในชั้นตื้นสุดของผิวหนัง ซึ่งจะรู้สึกมีแรงต้านและมีตุ่มนูนที่มีลักษณะเปลือกผิวส้มปรากฎขึ้น
การฉีดเข้าใต้หนัง ควรใช้เข็มขนาด 26Gยาว ½ นิ้ว การฉีดให้ตั้งเข็มทำมุม 45 องศากับผิวหนัง การฉีดเข้าใต้หนังมักใช้กับวัคซีนที่ไม่ต้องการให้มีการดูดซึมเร็วเกินไป เพราะอาจเกิดปฏิกิริยารุนแรง เช่น MMRทัยฟอยด์ JE อีสุกอีใส
การฉีดวัคซีนเข้าใต้หนัง(เข็มทำมุม 45 องศา)บริเวณ ต้นแขนในเด็กโตและผู้ใหญ่
การจัดท่าฉีดวัคซีนบริเวณต้นขาในเด็กเล็กการจัดท่าฉีดวัคซีนบริเวณต้นขาในเด็กเล็ก
ส่วนเด็กโตและผู้ใหญ่ ควรฉีดที่ต้นแขน
การจัดท่าฉีดวัคซีนบริเวณต้นแขนในเด็กเล็กการจัดท่าฉีดวัคซีนบริเวณต้นแขนในเด็กเล็ก
การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เป็นการฉีดลึกลงไปในชั้นกล้ามเนื้อ ควรตั้งเข็มทำมุมฉากกับผิวหนัง ขนาดเข็มที่ใช้ขึ้นกับขนาดของเด็ก • ทารกแรกเกิด 26G ยาว 5/8-1นิ้ว • เด็ก 2-12เดือน 25G ยาว 5/8-1 นิ้ว • เด็ก 1ปีขึ้นไป 24G-25G ยาว 1- 1 1/4 นิ้ว • ผู้ใหญ่ 23G-25G ยาว 1-2นิ้ว
การฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ(เข็มตั้งฉากกับผิวหนัง) บริเวณต้นขาในเด็กเล็ก
การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ไม่แนะนำให้ฉีดที่สะโพก เพราะอาจเกิดอันตรายกับเส้นประสาทไซเอติก หรือฉีดไม่ถึงกล้ามเนื้อเนื่องจากไขมันมาก
สามารถให้วัคซีนหลายชนิดพร้อมกันในวันเดียวกันได้ แต่ให้ต่างตำแหน่งห่างกันอย่างน้อย 1 นิ้ว • ห้ามนำวัคซีนต่างชนิดมาผสมรวมในกระบอกฉีดยาเดียวกัน
กำหนดการให้วัคซีนตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคกระทรวงสาธารณสุขกำหนดการให้วัคซีนตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคกระทรวงสาธารณสุข
วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (HB) • HB เข็ม 1 • อายุการรับวัคซีน 24 ชม. หลังคลอด • HB เข็ม 2 • อายุการรับวัคซีน อายุครบ 1 เดือน กรณีมารดาเป็นพาหะ • ขนาดต่อโด๊ส เด็ก 0.5 มล.