510 likes | 718 Views
งานวิจัยต้นน้ำ วิจัยเพื่อท้องถิ่น. ค้นหาคำตอบของความสำเร็จ เพื่อการพัฒนา สู่ วิจัยเพื่อท้องถิ่น. ความในใจ......งานวิจัยต้นน้ำ. สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ ถูกจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ในนามของ
E N D
งานวิจัยต้นน้ำวิจัยเพื่อท้องถิ่นงานวิจัยต้นน้ำวิจัยเพื่อท้องถิ่น ค้นหาคำตอบของความสำเร็จ เพื่อการพัฒนา สู่ วิจัยเพื่อท้องถิ่น
ความในใจ......งานวิจัยต้นน้ำความในใจ......งานวิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ ถูกจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๘ในนามของ กองอนุรักษ์ต้นน้ำ สังกัดกรมป่าไม้ โดยแยกตัวมาจากงานวิจัยเพื่อรักษาต้นน้ำ กองบำรุง กรมป่าไม้ ภารกิจหลักที่ได้รับมอบหมายในขณะนั้น คือการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูต้นน้ำที่เสื่อมโทรม ซึ่งต่อมามีการพัฒนาด้วยการขยายพื้นที่ดำเนินงาน และการเพิ่มกิจกรรมอื่น ๆ ประกอบ คือ งานวิจัยต้นน้ำ งานสำรวจและประเมิน งานปลูกป่า และงานจัดหมู่บ้าน การปลูกหญ้าแฝก การสร้างฝายต้นน้ำ งานสารสนเทศ ฯลฯ เป็นต้น จากอดีตจวบจนปัจจุบัน สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำได้รับเงินงบประมาณแผ่นดิน จำนวนมาก แต่ผลลัพธ์เชิงประจักษ์ที่ปรากฏให้เห็น คือ พื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทยยังไม่ฟื้นตัว กลับมาสู่สภาพที่เป็นปกติตามที่คาดหวัง ประกอบกับสภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดการกระจุกตัวตก ของฝนเฉพาะบนพื้นที่สูง ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบ ทำให้เกิดปัญหาน้ำป่าไหลหลาก และแผ่นดิน ถล่มเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้เกิดเป็นข้อสงสัยขึ้นมาว่า เงินงบประมาณที่รัฐบาลลงทุนไป
ความในใจ......งานวิจัยต้นน้ำความในใจ......งานวิจัยต้นน้ำ ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันนั้น คุ้มค่าหรือไม่ ถ้าไม่คุ้มค่าและไม่ได้ผลจะทำอย่างไร ตลอดจนจะวัดผลสำเร็จกันอย่างไร ภายใต้เป้าหมายของการอยู่รอดปลอดภัยในปัจจุบัน และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคตของประชาชน งานวิจัยต้นน้ำจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถีการทำงานเสียใหม่ จากงานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (pure science) ที่มีอยู่เดิม โดยเพิ่มงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (community based research) ขึ้นมา และเข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินงานของสำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำมากขึ้น โดยทำหน้าที่เสริมการทำงานของหน่วยจัดการต้นน้ำแต่ละหน่วย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้งานวิจัยต้นน้ำ ตอบสนองการดำเนินงานของสำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ในพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อนำปัญหาเหล่านั้นมาปรับปรุงงานวิจัยให้เกิดความสอดคล้องกัน ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการพัฒนางานวิจัยที่ถูกต้องต่อไป
งานวิจัยต้นน้ำ (อดีต - ปัจจุบัน) ก่อนปี พ.ศ.๒๕๑๘งานวิจัยต้นน้ำมีภารกิจ เพื่อค้นหาชนิดพันธุ์ไม้ที่เหมาะสม กับการปลูกเพื่อทดแทนป่าต้นน้ำที่ถูกทำลาย และ/หรือ เสื่อมโทรมในท้องที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ.๒๕๑๘-๒๕๓๕งานวิจัยต้นน้ำมุ่งเน้นไปที่ ๓ ประเด็นหลัก คือ ๑) ศึกษาลักษณะทางอุทกวิทยา-นิเวศวิทยาของป่าต้นน้ำชนิดต่าง ๆ ๒) ศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำลายป่าต้นน้ำ อาทิ การสูญเสียดิน น้ำ และธาตุอาหารจากกระบวนการกัดชะพังทลายของดิน การเปลี่ยนแปลงปริมาณ และลักษณะการไหลของน้ำท่าในลำธาร ฯลฯ และ ๓) ค้นหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่ป่าต้นน้ำที่ถูกบุกรุกทำลาย
งานวิจัยต้นน้ำ (อดีต - ปัจจุบัน) ช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๕-๒๕๔๕เป็นช่วงที่งานวิจัยต้นน้ำโอนไปสังกัดสำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ ในช่วงเวลานี้งานวิจัยต้นน้ำมุ่งเน้นไปที่การประเมินมูลค่าของป่าต้นน้ำ และการสร้างแบบจำลอง (Mathematical model) เพื่อประเมินค่าเสียหายจากการทำลายป่าต้นน้ำทั่วประเทศ ช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๕-ปัจจุบัน ส่วนวิจัยต้นน้ำได้ย้ายกลับมาสังกัดสำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช การดำเนินงานวิจัยในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ มุ่งเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการสำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อาทิ การหาศักยภาพในการให้น้ำของป่าต้นน้ำ การประเมินมูลค่าความหลากหลายทางชีวภาพของป่าต้นน้ำ การศึกษาบทบาทของฝายต้นน้ำ ต่อการชะลอการไหลของน้ำ ประสิทธิภาพในการดักตะกอน การเพิ่มความชื้นให้กับดินสองฝากฝั่งลำห้วย และการพัฒนาตัวของสังคมพืชริมฝั่งน้ำ ตลอดจนงานวิจัยเพื่อส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก เป็นต้น
ปฐพีวิทยา อุตุนิยมวิทยา พืชพรรณ เศรษฐกิจ-สังคม การชะล้างพังทลายของดิน อุทกวิทยา คุณภาพน้ำ อุทกภัย กิจกรรมการวิจัยต้นน้ำ วิจัยต้นน้ำเพื่อท้องถิ่น
งานวิจัยด้านอุตุนิยมวิทยางานวิจัยด้านอุตุนิยมวิทยา • เก็บวัด และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาวะอากาศ ข้อมูลน้ำฝน และช่วงระยะเวลาในการตก โอกาสที่ฝนจะตกในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ ของรอบปี การกระจายของปริมาณน้ำฝนในส่วนต่าง ๆ ของพื้นที่ลุ่มน้ำ เชื่อมโยงถึงการระบายน้ำให้กับพื้นที่ท้ายน้ำ การเกิดอุทกภัยและความแห้งแล้ง งานวิจัยด้านอุทกวิทยา • ศึกษากระบวนการต่าง ๆ ในระบบการหมุนเวียนของน้ำ การสกัดกั้นน้ำฝน การซึมน้ำผ่านผิวดิน การเคลื่อนที่ของน้ำในดิน การคายระเหยน้ำ แล การไหลของน้ำในลำธาร • ศึกษาการหมุนเวียนของน้ำภายใต้การปกคลุมของพืชชนิดต่าง ๆ • เปรียบเทียบและพยากรณ์ถึงผลที่เกิดขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพืชคลุมดิน
งานวิจัยด้านปฐพีวิทยางานวิจัยด้านปฐพีวิทยา • สมบัติดิน ทั้งด้านกายภาพและเคมีในลุ่มน้ำ และการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการ • ใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่าง ๆ • มาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง • ผลกระทบและการประเมินค่าความเสียหายในเชิงเศรษฐศาสตร์ • การกัดชะพังทลายของดิน งานวิจัยด้านพรรณไม้และนิเวศวิทยา • ระบบการหมุนเวียนของธาตุอาหารภายในระบบนิเวศต่าง ๆ • การให้ผลผลิตปฐมภูมิสุทธิในรูปของมวลชีวภาพ • ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่ทำการเกษตร • รูปแบบของการใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตรที่มีลักษณะที่ก่อให้เกิดประโยชน์ที่ยั่งยืนใน • แต่ละพื้นที่
วิเคราะห์การลงทุนและผลกระทบเชิงเศรษฐกิจทาง • สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์ที่ดินทาง • การเกษตรบนพื้นที่ต้นน้ำ • เปรียบเทียบผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม • ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของป่าไม้ และสร้าง • จิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ตลอดจนวางแผน การใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืน งานวิจัยด้านเศรษฐกิจ งานวิจัยด้านสังคม • ศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ลุ่มน้ำ • นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการอธิบายและปรับองค์ความรู้ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ • อื่น ๆ ได้ • ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น องค์กรท้องถิ่น และองค์กรเอกชน • ในการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำ เพื่อลดปัญหาการแก่งแย่งพื้นที่ • ประสานความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น • ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเก็บวัดข้อมูลร่วมกับหน่วยฯ • - ข้อมูลอากาศ • - การเจริญเติบโตของต้นไม้ในป่า • - การให้ผลผลิตทางการเกษตรและการวิเคราะห์การลงทุน • - การซึมน้ำผ่านผิวดินในพื้นที่ป่า และพื้นที่ทำการเกษตร • ชนิดต่าง ๆ • - ความผันแปรของปริมาณน้ำในชั้นดินในพื้นที่ป่า และพื้นที • ทำการเกษตรชนิดต่าง ๆ • - การวัดระดับน้ำท่าที่ไหลในลำธาร • หน่วยจัดการต้นน้ำ และชุมชนต้นน้ำร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อ • ค้นหาคำตอบ • ให้ความรู้กับชุมชนในร่วมกัน เก็บและวิเคราะห์ร่วมกันติดสินใจ • เพื่อคัดเลือกรูปแบบที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ที่ดิน • ประชุมร่วมกันระหว่างชุมชนต้นน้ำ และชุมชนท้ายน้ำ เพื่อ • กำหนดชนิดของการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่แต่ละแห่งของต้น • น้ำที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต
งานวิจัยต้นน้ำที่ผ่านมา.........ค้นหาได้งานวิจัยต้นน้ำที่ผ่านมา.........ค้นหาได้ ขอรับได้ที่ ส่วนวิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร. ๐๒ ๕๖๑๐๗๗๗ ต่อ ๑๘๒๑และ ๑๘๒๒ e-mail : bmuay@yahoo.com
ผลงานวิจัย • แบบจำลอง API เพื่อการเตือนภัยน้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม เพื่อให้ประชาชนมีชีวิตอยู่ • รอดปลอดภัย • แบบจำลอง มูลค่าทางเศรษฐกิจของสิ่งแวดล้อมหลังการทำลายป่าต้นน้ำ • แบบจำลอง มูลค่าทางเศรษฐกิจจากการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทาง • ชีวภาพของระบบนิเวศต้นน้ำ • แบบจำลอง เหตุการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินทำการเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ต้นน้ำ • แบบจำลอง ความยั่งยืนของระบบนิเวศต้นน้ำ ใช้ตรวจสอบว่าการใช้ประโยชน์ของ • ชุมชนต้นน้ำ ส่งผลกระทบต่อชุมชนท้ายน้ำหรือไม่ • แบบจำลอง คุณภาพชีวิต
แบบจำลองมูลค่าความหลากหลายทางชีวภาพแบบจำลองมูลค่าความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบจำลองน้ำฝนบนเรือนยอดแบบจำลองน้ำฝนบนเรือนยอด แบบจำลองน้ำผิวดิน แบบจำลองน้ำใต้ผิวดิน แบบจำลองน้ำใต้ดิน แบบจำลองเหตุการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดิน นำเข้าข้อมูลอุทกวิทยา ของ ป่าธรรมชาติ ตรวจแก้ด้วยข้อมูลจริง และปรับเปลี่ยนเป็นข้อมูลอุทกวิทยาของ Land Use ชนิดต่าง ๆ เพื่อให้แบบจำลองประเมินค่าน้ำท่า หลังการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ เป็นพื้นที่ Land Use ชนิดต่าง ๆ
แบบจำลองความยั่งยืนของระบบนิเวศต้นน้ำแบบจำลองความยั่งยืนของระบบนิเวศต้นน้ำ
แบบจำลองคุณภาพชีวิต • QL (คุณภาพชีวิต) = 0.52.Econ + 0.15.Soc + 0.33.Envi Econ (เศรษฐกิจ) = 0.16.X1 + 0.84.X2 Soc (สังคม) = 0.05.X3 + 0.47.X4 + 0.21.X5 + 0.21.X6 + 0.06.X7 Envi(สิ่งแวดล้อม) = 0.20.X8 + 0.06.X9 + 0.25.X10 + 0.49.X11
อนาคต ของ งานวิจัยต้นน้ำ สำหรับการดำเนินงานในอนาคต มีเป้าหมายอยู่ที่ความปลอดภัยของประชาชนในปัจจุบัน และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคตของชุมชนต้นน้ำ ควบคู่ไปกับการทำงานตามหน้าที่เต็มศักยภาพของพื้นที่ ในการให้บริการ (services) กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ท้ายน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณและลักษณะการไหลของน้ำท่า ต้องมีปริมาณที่เพียงพอ ไม่มากเกินไปในช่วงฤดูฝน และน้อยเกินไปในช่วงฤดแล้ง ตลอดจนมีคุณภาพที่ดีพอต่อการนำไปใช้ประโยชน์ บทบาทของงานวิจัยต้นน้ำจะต้องอยู่ในลักษณะที่ชี้นำแนวทางในการดำเนินงาน และชี้วัดผลสำเร็จของการ ดำเนินงานของหน่วยจัดการต้นน้ำแต่ละหน่วยโดยชุมชนมีส่วนร่วม ด้วยการปรับเปลี่ยนงานวิจัยโดยมุ่งเน้นไปที่ “งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” ความสำเร็จในการจัดการลุ่มน้ำ....ต้องดำเนินภายใต้หลักวิชาการ ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติ....ที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติงาน
สถานการณ์ ดินถล่ม ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โลกร้อน ปัญหาพื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่ต้นน้ำถูกบุกรุกทำลาย อุทกภัย ดินพังทลาย ภัยแล้ง ไฟป่า
การวิจัยต้นน้ำ....สตน. ความปลอดภัย ของประชาชน (ระบบเตือนภัย) พื้นที่ป่าต้นน้ำดีขึ้น ประชาชนมีคุณภาพดีขึ้น (การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน) ป่าดี น้ำดี ชีวีมีสุข ปลูกป่าฟื้นฟูต้นน้ำ การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน
งานวิจัยต้นน้ำ กับงานของสำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ ส่วนประเมินทรัพยากรต้นน้ำ ส่วนส่งเสริมและพัฒนาชุมชนต้นน้ำ ข้อมูลทางเศรษฐกิจ-สังคม ข้อมูลทางกายภาพ ส่วนราชการ สถาบันศึกษา องค์กรพัฒนา นำไปใช้ประโยชน์ ศึกษา วิจัย ส่วนวิจัยต้นน้ำ แนวทางการทำงาน ส่วนจัดการทรัพยากรต้นน้ำ ทดลองใช้ ปรับแผน ชี้วัดผล การทำงาน ส่วนศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำ ให้ความรู้ ฝึกอบรม หน่วยงานสนามจัดการต้นน้ำ นำไปปฏิบัติ ผลการจัดการ
ส่วนวิจัยต้นน้ำ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ แผนงานวิจัย กลยุทธ์ แบบจำลอง API ความอยู่รอด ของประชาชน สร้างแบบจำลองเตือนภัย การเตือนภัย Climate Change การให้ผลผลิต ศึกษาการให้ ผลผลิตบริการ สร้างจิตสำนึก ส่งเสริมการมี ส่วนร่วม ลดความขัดแย้ง การดำเนินงาน ตามเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ การให้บริการ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ศึกษาผลกระทบ ไฟป่า บริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติ อย่างยั่งยืน คุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น ของประชาชน ค้นหารูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน อย่างยั่งยืน การใช้ที่ดินที่เหมาะสม วิจัยฝาย
งานวิจัยต้นน้ำ.....ที่จะทำต่อไปงานวิจัยต้นน้ำ.....ที่จะทำต่อไป วิจัยร่วมประชาชน / วิจัยเพื่อท้องถิ่น ชี้วัดผลสำเร็จการดำเนินงาน พื้นที่ป่าสมบูรณ์ พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม พื้นที่เกษตรกรรม ฟื้นฟูป่า พิทักษ์ เกษตร ๔ ชั้น การวางแผนการใช้ประโยชน์ ที่ดินโดยชุมชนมีส่วนร่วม การใช้ประโยชน์ อย่างยั่งยืน ไม่พอใจ ชุมชนต้นน้ำ ชุมชนกลางน้ำ ชุมชนท้ายน้ำ การบริการ ของพื้นที่ต้นน้ำ รูปแบบ การจัดการพื้นที่ต้นน้ำ พอใจ
แผนงานวิจัย เป้าหมาย ๑. งานวิจัยเพื่อการเตือนภัยน้ำท่วมแผ่นดินถล่ม - เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของประชาชน ๒. งานวิจัยมูลค่าป่าต้นน้ำ - เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของป่าต้นน้ำ - หยุดการทำลายป่าต้นน้ำ ๓. งานวิจัยผลกระทบจากการทำลายป่าต้นน้ำ • สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการ • เปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตรชนิดต่าง ๆ • บนพื้นที่ต้นน้ำ ๔. งานวิจัยเพื่อค้นหาป่ากินได้ทดแทนป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม - ค้นหารูปแบบของการทำการเกษตร ที่ก่อให้เกิดรายได้ที่ พอเพียงควบคู่ไปกับการฟื้นฟูพื้นที่ให้มีการทำงานตามหน้าที่ คล้ายคลึงป่าธรรมชาติ ๕. งานวิจัยเพื่อกำหนดรูปแบบของการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่ ต้นน้ำ • กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินชนิดต่าง ๆ ลง ณ จุดต่าง ๆ ของ • พื้นที่ต้นน้ำ ที่ก่อให้เกิดผลผลิตโดยรวมที่พอเพียงกับชุมชนต้น • น้ำ ในขณะเดียวกันทำให้พื้นที่ต้นน้ำทำงานตามหน้าที่ในการ • ให้ผลผลิตน้ำกับชุมชนท้ายน้ำอย่างพอเพียงและมีคุณภาพดี ๖. งานวิจัยเพื่อรายงานความสำเร็จในการฟื้นฟูระบบนิเวศต้นน้ำ • ค้นหาผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำ • เช่น การปลูกป่า การสร้างฝายต้นน้ำ การปลูกหญ้าแฝก
แนวทางปฏิบัติในงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นแนวทางปฏิบัติในงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ๑. ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเก็บวัดข้อมูลร่วมกับหน่วยจัดการต้นน้ำ ซึ่งประกอบไปด้วย - ข้อมูลอากาศ - การเจริญเติบโตของต้นไม้ในป่า - การให้ผลผลิตทางการเกษตรและการวิเคราะห์การลงทุน - การซึมน้ำผ่านผิวดินในพื้นที่ป่า และพื้นที่ทำการเกษตรชนิดต่าง ๆ - ความผันแปรของปริมาณน้ำในชั้นดินในพื้นที่ป่า และพื้นที่ทำการเกษตร ชนิดต่าง ๆ - การวัดระดับน้ำท่าที่ไหลในลำธาร ๒. หน่วยจัดการต้นน้ำ และชุมชนต้นน้ำร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อค้นหา คำตอบ เช่น ผลผลิตจากป่า มูลค่าของป่าต้นน้ำ การลงทุนและผลตอบแทนที่ได้รับ จากการทำการเกษตรชนิด
ต่างๆ ผลกระทบทางอุทกวิทยาภายหลังการเปลี่ยนป่าต้นน้ำไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตร ชนิดต่าง ๆ ร่วมกันค้นหารูปแบบของป่ากินได้ และร่วมกันกำหนดรูปแบบของการ ใช้ประโยชน์ที่ดินชนิดต่าง ๆ ลงบนแต่ละจุดของพื้นที่ต้นน้ำ ๓. หน่วยจัดการต้นน้ำจัดการประชุมหมู่บ้าน เพื่อให้ผู้ร่วมเก็บวัดและวิเคราะห์ ข้อมูลนำเสนอต่อที่ประชุม รับฟังข้อคิดเห็นของประชาคม ร่วมกันติดสินใจ เพื่อ คัดเลือกรูปแบบของป่ากินได้ ร่วมกันสร้างแปลงสาธิตป่ากินได้รูปแบบต่าง ๆและ ติดตามตรวจสอบการลงทุนรายได้และการพัฒนาตัวของพื้นที่ ร่วมกันพิจารณาเพื่อ คัดเลือกรูปแบบของป่ากินได้ที่เหมาะสมที่สุด ๔. หน่วยจัดการต้นน้ำจัดการประชุมร่วมกันระหว่างชุมชนต้นน้ำ และชุมชน ท้ายน้ำ เพื่อกำหนดชนิดของการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่แต่ละแห่งของต้นน้ำที่ ก่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต กล่าวคือก่อให้เกิดเป็นรายได้ที่พอเพียงกับ ชุมชนต้นน้ำ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานตามหน้าที่ของพื้นที่ต้นน้ำ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการเอื้ออำนวยผลผลิตน้ำให้กับชุมชนท้ายน้ำ
หน้าที่ของ ผู้อำนวยการส่วน หัวหน้าศูนย์ และหัวหน้าหน่วย ด้านการอนุรักษ์ต้นน้ำ ในกิจกรรมวิจัยต้นน้ำเพื่อท้องถิ่น ๑. เข้ารับการฝึกอบรม เพื่อให้เกิดทักษะในด้านต่าง ๆ - การเก็บวัดข้อมูล - การวิเคราะห์ข้อมูล - การใช้แบบจำลอง เพื่อการเตือนภัย มูลค่าป่าต้นน้ำ ผลกระทบจากการทำลายป่า และความยั่งยืนของพื้นที่ ต้นน้ำ (ส่วนวิจัยต้นน้ำกำลังพัฒนาให้สะดวกต่อการใช้ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น) - ฝึกการเป็นผู้นำในการตัดสินใจ
หน้าที่ของ ผู้อำนวยการส่วน หัวหน้าศูนย์ และหัวหน้าหน่วย ด้านการอนุรักษ์ต้นน้ำ ในกิจกรรมวิจัยต้นน้ำเพื่อท้องถิ่น (ต่อ) ๒. ชักชวนประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการ เก็บวัดข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และการแปลผลร่วมกัน - ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศต้นน้ำ มูลค่าป่าต้นน้ำ และผลกระทบจากการใช้ประโยชน์ (การรับรู้ข้อมูลเดียวกัน และเรียนรู้ร่วมกัน) - นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ด้วยการร่วมกันกำหนดรูปแบบของป่ากินได้ และจัดทำแปลงสาธิตรูปแบบต่าง ๆ (อัญเชิญแนวพระราชดำริ) - ร่วมกับประชาชนติดตามประเมินผลผลิตทางเศรษฐกิจและผลการพัฒนาการทำงานตามหน้าที่ของพื้นที่ต้นน้ำ นำข้อมูลทั้งสองส่วนมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมต่อไปในส่วนของการกำหนดรูปแบบของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ณ จุดต่าง ๆ ของพื้นที่ต้นน้ำ (ร่วมกับ เก็บข้อมูล วิเคราะห์ และติดตาม)
หน้าที่ของ ผู้อำนวยการส่วน หัวหน้าศูนย์ และหัวหน้าหน่วย ด้านการอนุรักษ์ต้นน้ำ ในกิจกรรมวิจัยต้นน้ำเพื่อท้องถิ่น (ต่อ) - จัดการประชุมร่วมกันระหว่างชุมชนต้นน้ำ กลางน้ำ และชุมชนท้ายน้ำ เพื่อกำหนดรูปแบบที่ก่อให้เกิดผลผลิตจากการเพาะปลูกกับชุมชนต้นน้ำ ควบคู่ไปกับผลผลิตน้ำที่ชุมชนท้ายน้ำได้รับจากพื้นที่ต้นน้ำนั้น (การสร้างเครือข่าย) - ส่วน ศูนย์ หน่วย และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติต้องทำหน้าที่ลดข้อขัดแย้งระหว่างชุมชนทั้งสองกลุ่ม ชักชวนให้ร่วมกันวางแผน สาธิตการใช้โปรแกรมความยั่งยืนและแสดงผล และหาข้อยุติที่ได้รับการยอมรับทั้งสองฝ่าย (ร่วมกันวางแผน ร่วมกันปฏิบัติ ร่วมกันติดตามผล) ๓. หัวหน้าหน่วยฯ จะต้องเป็นผู้จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน - ผลผลิต : รายงานผลการดำเนินงาน ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการเก็บวัดและ วิเคราะห์ ตลอดจนผลที่เกิดขึ้นจากร่วมกันตัดสินใจ
หน้าที่ของ ผู้อำนวยการส่วน หัวหน้าศูนย์ และหัวหน้าหน่วย ด้านการอนุรักษ์ต้นน้ำ ในกิจกรรมวิจัยต้นน้ำเพื่อท้องถิ่น (ต่อ) - ผลลัพธ์ : รายงานความปลอดภัยของประชาชน การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่า ต้นน้ำและความสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำที่เหลืออยู่ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการใช้ ประโยชน์ที่ดิน และการพัฒนาตัวของการทำงานตามหน้าที่ของระบบนิเวศต้นน้ำ ๔. หัวหน้าหน่วยฯ จะต้องประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ ๆ - ประสิทธิภาพ : สัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น กับ เป้าหมายที่กำหนดไว้ - ประสิทธิผล : สัดส่วนระหว่างมูลค่าของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา กับ เงินงบประมาณที่ใช้ไป ทั้งหมดนี้คือความสำเร็จของการจัดการพื้นที่ต้นน้ำ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ หัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำ
แนวทางปฏิบัติ “การวิจัยเพื่อท้องถิ่น” เรียนรู้ร่วมกัน ในการเก็บ+วิเคราะห์ข้อมูล หัวหน้าหน่วยฯ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ชุมชนต้นน้ำ • ข้อมูลอากาศ • การเจริญเติบโตของต้นไม้ในป่า • การให้ผลผลิตทางการเกษตร และ • การวิเคราะห์การลงทุน • การซึมน้ำผ่านผิวดินในพื้นที่ป่า และ • พื้นที่ทำการเกษตรชนิดต่าง ๆ • ความผันแปรของปริมาณน้ำในชั้นดิน • ในพื้นที่ป่า และพื้นที่ทำการเกษตร • ชนิดต่าง ๆ • การวัดระดับน้ำท่าที่ไหลในลำธาร จัดประชุม เวทีชาวบ้าน ชุมชนกลางน้ำ นำเสนอข้อมูลต่อที่ประชุม ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ต้นน้ำ เพื่อกำหนดและคัดเลือกรูปแบบ การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความปลอดภัย ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าต้นน้ำ และความสมบูรณ์ การใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงอนุรักษ์ และพอเพียง การพัฒนาการทำหน้าที่ของระบบนิเวศต้นน้ำ ลดความขัดแย้งในการแย้งชิงทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ชุมชนท้ายน้ำ จัดประชุม ประสังคม การบริหารจัดการพื้นที่ต้นน้ำ โดยการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน ก่อให้เกิดความยั่งยืน+พอเพียง อำนวยผลผลิตน้ำให้กับ กลางน้ำ และท้ายน้ำ ร่วมรับฟังข้อคิดเห็นของชุมชน ร่วมตัดสินใจ ร่วมตรวจสอบ รูปแบบการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การพัฒนาตัวของพื้นที่ต้นน้ำ จัดประชุมเครือข่าย ต้นน้ำ+กลางน้ำ+ท้ายน้ำ
งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่ต้นน้ำโดยชุมชนมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาบ้านแม่อ้อ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ Community Based Research for watershed Management by People Participation : Case Study at Mae O Village, Chiang Dao District, Chiang Mai Province. โดย ดร.พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล1ธรรมนูญ แก้วอำพุท1 และพิณทิพย์ ธิติโรจนะวัฒน์1 Dr.PongsakWitthawatchutikul, ThammanoonKaewumput and PintipThitirojanawat 1 ส่วนวิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
คำนำ การจัดการพื้นที่ต้นน้ำในปัจจุบันอยู่ภายใต้เงื่อนไข ๓ ประการ คือ ๑) จะต้องดำเนินการให้พื้นที่ต้นน้ำที่เสื่อมโทรมฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ๒) จะต้องทำให้คนอยู่กับป่าได้ และ ๓) ประชาชนในท้องถิ่นจะต้องมีส่วนร่วม สำหรับมาตรการที่ใช้ในการดำเนินงานนั้น จะมีทั้งมาตรการเร่งด่วน เช่น การสร้างฝายต้นน้ำเพื่อชะลอน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ และมาตรการระยะยาว คือ การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ยั่งยืน และเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่นั้น ๆ
วัตถุประสงค์ ๑) เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในท้องถิ่นตระหนักถึงความสำคัญของป่าต้นน้ำ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงป่าต้นน้ำไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตรชนิดต่าง ๆ ๒) เพื่อให้ประชาชนเข้ามาร่วมมือกับรัฐบาลค้นหารูปแบบของการทำการเกษตรที่ก่อให้เกิดรายได้ที่พอเพียง ควบคู่ไปกับการรักษาการทำงานตามหน้าที่ในการให้บริการของพื้นที่ต้นน้ำ ๓) เพื่อให้ประชาชนเห็นคุณประโยชน์ของฝายต้นน้ำในการเร่งรัดการฟื้นตัวของพื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่ศึกษา พื้นที่ศึกษาเป็นรอยต่อระหว่างอุทยานแห่งชาติศรีลานนา กับชุมชนบ้านแม่อ้อ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ลาดเชิงเขา และลูกเนิน ที่อยู่ระหว่างภูเขาที่สูงชันบริเวณตอนบนของลุ่มน้ำ กับพื้นที่ราบตอนล่าง ซึ่งมีประชากรทั้งสิ้น ๔๗๘ครัวเรือน จำนวน ๑,๔๑๗คน ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนพื้นเมือง หรือคนเมือง ลุ่มน้ำศึกษา
วิธีการศึกษา การดำเนินงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่ต้นน้ำโดยชุมชนมีส่วนร่วมนี้ มีลักษณะเป็นการทำงานแบบคู่ขนานกันระหว่าง (ก)การมุ่งเน้นการเรียนรู้ของชุมชน และ (ข)การศึกษาวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจของประชาชน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานโดยสังเขปดังต่อไปนี้ คือ ๑) ทำความเข้าใจกับชาวบ้านเกี่ยวกับจุดประสงค์ของการดำเนินงาน และเป้าหมาย ๒) คัดเลือกประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย และรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมโครงการ ๓) ติดตั้งเครื่องมือ ประกอบด้วย สถานีตรวจวัดอากาศ เครื่องวัดปริมาณน้ำฝนที่ ตกค้างบนเรือนยอดต้นไม้ และแปลงตะกอนวัดการสูญเสียดินและน้ำจาก กระบวนการกัดชะพังทลายของดิน โดยทำการติดตั้งบริเวณพื้นที่ทำกิน
๔) อธิบายบทบาทของโครงสร้างต่อการทำงานตามหน้าที่ของระบบนิเวศต้นน้ำ การใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการหมุนเวียนของน้ำ เพื่อชี้วัดความสมบูรณ์ในการทำงานตามหน้าที่ของระบบนิเวศต้นน้ำ การแนะนำวิธีการเก็บวัดข้อมูล และดำเนินการเก็บวัดข้อมูลร่วมกับสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ
๕) ร่วมกับประชาชนที่เป็นสมาชิกเข้าร่วมโครงการ วิเคราะห์เบื้องต้นข้อมูลที่เก็บวัดมาได้ และให้สมาชิกหรือประชาชนที่เข้าร่วมโครงการให้ความคิดเห็นในเชิงเปรียบเทียบ ๖) จัดประชุมชาวบ้าน เพื่อให้สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการนำเสนอข้อคิดเห็นที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ ในขณะที่ทำการเก็บวัดและวิเคราะห์เบื้องต้นข้อมูลร่วมกับเจ้าหน้าที่โครงการต่อผู้นำชุมชน และกรรมการหมู่บ้าน ตลอดจนการประชุมเพื่อนำเสนอข้อคิดเห็นต่อประชาชนทั้งหมดในหมู่บ้านแม่อ้อ ๗) สอบถามความคิดเห็นของผู้นำชุมชน กรรมการหมู่บ้าน และประชาชนในหมู่บ้านแม่อ้อ เกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นจากการทำการเกษตรในอดีตที่ผ่านมาจวบจนปัจจุบัน และแนวคิดในการแก้ไข ก่อนที่จะสอดแทรกองค์ความรู้จากการทำการเกษตร 4 ชั้น หรือ ป่ากินได้ ที่ประสพความสำเร็จ เช่นที่บ้านคลองเรือ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร หรือที่ บ้านคีรีวงค์ อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น
ผลการศึกษา ประชาชนรู้อะไรบ้างจากงานวิจัย ๑. ผลกระทบจากการทำลายป่าไม้ ผลของการนำเสนอข้อสังเกตที่เกิดขึ้น จากการทำงานวิจัยของประชาชนที่เป็นสมาชิกเข้าร่วมโครงการ ต่อผู้นำท้องถิ่น และกรรมการหมู่บ้าน ในการประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินโครงการ พบว่า การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตร ทั้งที่เป็นไม้ผล และพืชไร่ของประชาชน เป็นการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ประกอบตัวกันขึ้นเป็นโครงสร้าง (structure) ของระบบนิเวศต้นน้ำ ทำให้การทำงานตามหน้าที (function) ของระบบนิเวศต้นน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งผลกระทบทำให้การให้บริการ (services) ของระบบนิเวศต้นน้ำเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย (พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล และพิณทิพย์ ธิติโรจนะวัฒน์, 2552) ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ๑.๑ น้ำฝนที่ถูกสกัดกั้นโดยเรือนยอดของต้นไม้ (interception) ประชาชนที่เป็นสมาชิกเข้าร่วมโครงการ (ก) พบว่า การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตรชนิดต่าง ๆ
เช่น สวนมะม่วง ทำให้ฝนตกลงสู่พื้นดินมากขึ้นสำหรับในส่วนของงานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ (ข) พบว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ ความสามารถสูงสุดในการสกัดกั้นน้ำฝนโดยเรือนยอดของต้นไม้จะลดลงจาก ๔.๒เป็น ๒.๘มิลลิเมตร ความสามารถสูงสุดในการสกัดกั้นน้ำฝนของเรือนยอดต้นไม้ในป่าธรรมชาติ และสวนมะม่วง
๑.๒ อัตราการซึมน้ำผ่านผิวดิน (infiltration) ประชาชนที่เป็นสมาชิกเข้าร่วมโครงการ (ก) พบว่าการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตร ทำให้น้ำซึมลงไปในดินได้น้อยลง ในส่วนของงานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ (ข) พบว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้อัตราการซึมน้ำสูงสุด หรืออัตราการซึมน้ำแรกเริ่ม (initial infiltration) ลดลงร้อยละ ๓๐.๑๗ในทำนองเดียวกันการซึมน้ำผ่านผิวดินคงที่ (constant infiltration) จะลดลงร้อยละ ๔๒.๓๓ ๑.๓ การเคลื่อนที่ของน้ำในชั้นดิน (permeability) เช่นเดียวกันกับการซึมน้ำผ่านผิวดิน ประชาชนที่เป็นสมาชิกเข้าร่วมโครงการ (ก) พบว่า การเคลื่อนตัวของน้ำในชั้นดินลึกหนึ่งเมตรจะลดลงเมื่อพื้นที่ป่าไม้ถูกเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตร สำหรับในส่วนของงานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ (ข) พบว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ความสามารถในการเคลื่อนตัวของน้ำในชั้นดินลึก ๐-๑๕, ๑๕-๓๕,๓๕-๕๕และ ๕๕-๑๐๐เซนติเมตรจากผิวดิน ลดลงร้อยละ ๑๐, ๐, ๓๘.๔๖และ ๗๕ตามลำดับ
๑.๔ การสูญเสียดินและน้ำจากกระบวนการกัดชะพังทลายของดิน (soil erosion) ประชาชนที่เป็นสมาชิกเข้าร่วมโครงการ (ก) พบว่า การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตรทำให้การสูญเสียดินและน้ำจากกระบวนการกัดชะพังทลายของดินมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ว่างเปล่าที่ปราศจากการปกคลุมดินของพืช ปริมาณตะกอนในถังเก็บวัดข้อมูลจะมีเป็นจำนวนมาก ในขณะที่งานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ (ข) พบว่า ฝนที่ตกลงมาทั้งหมดในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๒ ด้วยปริมาณเฉลี่ย๑,๐๑๘.๗มิลลิเมตร ทำให้พื้นที่ว่างเปล่าที่เกิดขึ้นจากการทำลายป่า พื้นที่การทำการเกษตรด้วยการปลูกข้าวโพด การทำสวนลำไย และการทำสวนมะม่วง มีปริมาณน้ำไหลบ่าหน้าผิวดิน (surface runoff) เพิ่มมากขึ้น ๓.๖๑, ๒.๔๗, ๒.๔๖และ ๐.๘๗เท่าของป่าธรรมชาติ ซึ่งมีปริมาณเท่ากับ ๕.๔๖มิลลิเมตร การเพิ่มขึ้นของน้ำไหลบ่าหน้าผิวดินนี้ ก่อให้เกิดกระบวนการกัดชะพังทลายของดินออกไปจากพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ๑๑๒.๕๓, ๓๖.๘๐, ๑๖.๓๐และ ๑.๗๔เท่าของป่าธรรมชาติ (๒.๐๓๖๘ตัน/เฮกแตร์ หรือ๐.๓๒๕๙ตัน/ไร่) เมื่อพื้นที่ป่าไม้ถูกทำให้ว่างเปล่า, ปลูกข้าวโพด, ปลูกลำไย และปลูกมะม่วงตามลำดับ
ปริมาณน้ำไหลบ่าหน้าผิวดิน (มม.) และดินตะกอน (ตัน/เฮกแตร์) ที่เกิดขึ้นจาก กระบวนการกัดชะพังทลายของดินในป่าธรรมชาติ และพื้นที่ทำการเกษตรชนิดต่าง ๆ
๑.๕ ความชื้นในดิน หรือ ปริมาณน้ำในชั้นดิน (soil water) ที่เป็นส่วนคงเหลือของน้ำฝนที่ตกลงมา หลังจากการระบายให้กับลำธารทั้งทางผิวดิน (surface runoff) และใต้ผิวดิน (interflow + groundwater flow) กับการดึงน้ำจากชั้นดินกลับขึ้นไปใช้ในกระบวนการคายระเหยน้ำ (evapotranspiration) ของต้นไม้ ประชาชนที่เป็นสมาชิกเข้าร่วมโครงการ (ก) ค้นพบข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ปรากฎให้เห็น คือ ดินผิวบริเวณพื้นที่ทำการเกษตรมีความชื้นน้อย หรือแห้งกว่าพื้นที่ป่าไม้ โดยมีข้อสันนิษฐานว่า เป็นผลมาจากการซึมน้ำผ่านผิวดิน และการเคลื่อนที่ลงมาตามระดับความลึกของชั้นดินของน้ำฝนมีน้อยลง ส่วนข้อมูลจากการศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์ (ข) พบว่าในชั้นดินลึก๑เมตรของป่าธรรมชาติมีค่าเฉลี่ยของความชื้นในดินเท่ากับ ๒๙.๖๕เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก แต่ในพื้นที่ทำการเกษตรจะมีความชื้นอยู่ในชั้นดินโดยเฉลี่ยเพียง ๒๐.๔๗เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักเท่านั้น
๒.ฝายต้นน้ำกับการฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำ ใช้ลุ่มน้ำเปรียบเทียบ (paired watershed) เป็นเครื่องมือ (Wanielista et al., 1997) โดยมีขั้นตอนของการดำเนินงานดังรายละเอียดต่อไปนี้ ๒.๑ ร่วมกับประชาชนหมู่บ้านแม่อ้อคัดเลือกลุ่มน้ำย่อยสองลุ่มน้ำ ที่มีลักษณะภูมิประเทศ และชนิดดิน ตลอดจนการใช้ประโยชน์ที่ดินที่คล้ายคลึงกัน และอยู่ใกล้เคียงกันเพื่อลดความผันแปรของสภาพอากาศ .โดยกำหนดให้ลุ่มน้ำแห่งหนึ่งเป็นลุ่มน้ำสำหรับการสร้างฝายต้นน้ำ ส่วนอีกลุ่มน้ำหนึ่งถูกเก็บรักษาไว้ให้เป็นลุ่มน้ำเปรียบเทียบ ๒.๒ ร่วมกับสมาชิก เก็บวัดข้อมูลความเร็วกระแสน้ำ และอัตราการไหลของน้ำท่าในลำห้วย ณ จุดต่าง ๆ ของลุ่มน้ำทั้งสอง ให้ประชาชนสังเกตความแตกต่างของกระแสน้ำจากลุ่มน้ำทั้งสอง ในขณะเดียวกันจะใช้วิธีการวิเคราะห์ความถดถอย (regression analysis) เป็นเครื่องมือในการสร้างสมการคณิตศาสตร์เพื่อประเมินค่าความเร็วกระแสน้ำ/อัตราการไหลของน้ำท่า ของลุ่มน้ำที่จะทำการสร้างฝายต้นน้ำ (Y) จากข้อมูลความเร็วกระแสน้ำ/อัตราการไหลของน้ำท่า ของลุ่มน้ำที่ไม่สร้างฝายต้นน้ำ (X)
๒.๓ ร่วมกับประชาชนหมู่บ้านแม่อ้อ สร้างฝายต้นน้ำในลำห้วยที่กำหนดให้มีการสร้างฝาย ให้ประชาชนที่เป็นสมาชิกเข้าร่วมโครงการเก็บวัดข้อมูล และสังเกตความแตกต่างกันของความเร็วกระแสน้ำระหว่างลำห้วยที่มีการสร้างฝายและลำห้วยที่ไม่มีการสร้างฝายอีกครั้ง การสร้างฝายต้นน้ำร่วมกันของประชาชนบ้านแม่อ้อและเจ้าหน้าที่โครงการวิจัย ในส่วนของงานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ จะนำข้อมูลความเร็วกระแสน้ำ/อัตราการไหลของน้ำท่าของลำห้วยที่ไม่มีการสร้างฝาย (X) มาประเมินค่าความเร็วกระแสน้ำ/อัตราการไหลของน้ำท่าของลำห้วยที่จะสร้างฝาย (Y) นำความเร็วกระแสน้ำ/อัตราการไหลของน้ำท่าที่ประเมินได้ มาเปรียบเทียบกับ ความเร็วกระแสน้ำ/อัตราการไหลของน้ำท่าของลำห้วยที่สร้างฝายต้นน้ำที่ เก็บวัดได้จริง ความแตกต่างที่เกิดขึ้นจะเป็นอิทธิพลจากการสร้างฝายต้นน้ำ
ผลการศึกษาปรากฏว่าประชาชนที่เป็นสมาชิกเข้าร่วมโครงการ (ก) พบว่า ความเร็วกระแสน้ำของลุ่มน้ำทั้งสองไม่มีความแตกต่างกัน แต่การ ศึกษาวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ (ข) พบว่า ความสัมพันธ์ของความเร็วกระแสน้ำระหว่างลำห้วยทั้งสองมีเพียง ๒๖.๖๘ เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะขนาดของร่องน้ำไม่เท่ากัน แต่ความสัมพันธ์ของ อัตราการไหลของน้ำระหว่างลำห้วยทั้งสองจะมีค่าสูงถึง ๙๖.๓๕ เปอร์เซ็นต์ ความสัมพันธ์ของความเร็วกระแสน้ำ/อัตราการไหลของน้ำท่าในลำห้วยระหว่าง ลำห้วยที่มีการสร้างฝายต้นน้ำ กับลำห้วยที่ไม่มีการสร้างฝายต้นน้ำ
ในทำนองเดียวกันจะได้สมการคณิตศาสตร์ ที่ใช้ประเมินค่าอัตราการไหลของน้ำท่าในลำธารของลุ่มน้ำที่จะมีการสร้างฝาย (Y, ลบ.ม./วินาที) จากข้อมูลอัตราการไหลของน้ำท่าในลำห้วยของลุ่มน้ำที่ไม่มีการสร้างฝายต้นน้ำ (X, ลบ.ม./วินาที) ที่มีรูปลักษณะดังนี้ คือ Y = 0.0045 + 3.6437*X …(1)
บทสรุป การทำงานร่วมกันระหว่างประชาชนกับนักวิจัยตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่ประชาชนได้เรียนรู้จากข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นเพียงผลของการทำลายป่าต้นน้ำ และใช้ประโยชน์ที่ดินทำการเกษตร นั่นคือการสูญเสียดินและน้ำจากกระบวนการกัดชะพังทลายของดิน และเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ของการเกิดกระบวนการดังกล่าว ตลอดจนบทบาทของฝายต้นน้ำในการเร่งรัดการฟื้นตัวของพื้นที่ต้นน้ำเท่านั้น ในส่วนของการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินยังไปไม่ถึง ดังนั้นเพื่อให้การจัดการพื้นที่ต้นน้ำเกิดความสำเร็จ จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์การลงทุนของพื้นที่เกษตรชนิดต่าง ๆ และการศึกษามูลค่าของป่าต้นน้ำ เพื่อใช้ประกอบการคัดเลือกชนิดพันธุ์พืชเศรษฐกิจ และสัดส่วนของการปลูกที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ โดยใช้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเครื่องมือต่อไป
การวิจัยต้นน้ำเพื่อท้องถิ่นการวิจัยต้นน้ำเพื่อท้องถิ่น จะทำอะไรต่อไปเพื่อให้การจัดการพื้นที่ต้นน้ำโดยชุมชนสำเร็จ ๑. ฝึกหัดประชาชนที่เป็นสมาชิกเข้าร่วมโครงการ ประเมินมูลค่าของผลกระทบในด้าน ต่าง ๆ ออกมาเป็นจำนวนเงิน ในขณะที่มีการเก็บวัดและวิเคราะห์ข้อมูล ๒. จัดประชุมชาวบ้าน เพื่อนำเสนอมูลค่าของผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ไปเป็นพื้นที่ทำการเกษตรชนิดต่างๆ ต่อผู้นำท้องถิ่นและกรรมการหมู่บ้าน ดำเนินการสอบถามค่าใช้จ่าย และผลตอบแทนที่ได้รับจากการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละชนิด ในแต่ละจุดของพื้นที่ลุ่มน้ำ และร่วมกับประชาชนทำการวิเคราะห์การลงทุน ทั้งนี้อาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการประชุม ๓-๔ ครั้ง ๓. จัดประชุมชาวบ้าน เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบของการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต โดยมีเป้าหมายที่ประกอบไปด้วย ๑) รายได้ที่พอเพียงและต่อเนื่อง (เพื่อความอยู่รอดของประชาชนเอง) กับ ๒) การฟื้นฟูสภาวะแวดล้อมของพื้นที่ (เพื่อลด และ/หรือ หยุดผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำ) โดยสอดแทรกวิถีชีวิตแบบเกษตร ๔ ชั้น หรือป่ากินได้ (multi-layer cropping system) ด้วยการประชุมอย่างต่อเนื่องประมาณ ๔-๕ ครั้ง
๔. ร่วมกับประชาชนบ้านแม่อ้อ ค้นหารูปแบบของเกษตร ๔ ชั้น และ/หรือ ป่ากินได้ ที่คาดว่าจะนำไปสู่เป้าหมายทั้งสองที่กำหนดไว้ในข้อ (๓) ซึ่งประกอบด้วยสัดส่วนของพืชเศรษฐกิจชนิดต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ๒ ถึง ๓ รูปแบบ (นำเทคนิคของ linear programming เป็นเครื่องมือในการค้นหา) ร่วมกับชาวบ้านสร้างแปลงสาธิตเกษตร ๔ ชั้น ทำการติดตามตรวจสอบการลงทุน ผลตอบแทนที่ได้รับ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้รูปแบบของเกษตร ๔ ชั้นที่เหมาะสมที่สุดกับการทดแทนพื้นที่ทำการเกษตรเชิงเดี่ยวในปัจจุบัน ๕. ในส่วนของการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำด้วยฝายต้นน้ำนั้น ร่วมกับประชาชนที่เป็นสมาชิกเข้าร่วมโครงการ ฝึกหัดการเก็บวัดข้อมูล และเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลของน้ำท่า การเพิ่มความชื้นให้กับดิน และการพัฒนาตัวของสังคมพืชสองฝั่งลำน้ำหลังการสร้างฝาย