241 likes | 612 Views
บทที่ 1 : นวัตกรรมเบื้องต้น เทคโนโลยีและนวัตกรรมสารสนเทศ. อาจารย์ธ นากร อุย พานิชย์ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช ภัฏ สวน สุนัน ทา. วัตถุประสงค์การเรียนรู้.
E N D
บทที่ 1: นวัตกรรมเบื้องต้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมสารสนเทศ อาจารย์ธนากร อุยพานิชย์ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
วัตถุประสงค์การเรียนรู้วัตถุประสงค์การเรียนรู้ • นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรม • นักศึกษาสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการประดิษฐ์และนวัตกรรมได้ • นักศึกษาสามารถอธิบายความแตกต่างของนวัตกรรมแต่ละประเภทได้
นวัตกรรม คืออะไร นวัตกรรม มีรากศัพท์ มาจากภาษาลาติน “Nova” หมายถึง ความใหม่ ดังนั้น การให้คำนิยามของนวัตกรรมจึงขึ้นอยู่กับระดับของความใหม่ ( Degree of Novelty ) ดังนี้ • นวัตกรรม คือ ความคิด การปฏิบัติ หรือ ผลิตภัณฑ์ ที่บุคคลโดยทั่วไปยอมรับกันว่ามีความใหม่ • นวัตกรรม คือ ความใหม่ที่นำไปประยุกต์ใช้กับการผลิต , การจัดจำหน่าย และ การบริโภค ( ผลิตภัณฑ์ , บริการ ) • นวัตกรรม คือ การแตกความคิดที่สมบูรณ์แบบ • นวัตกรรม คือ การสร้างกระบวนการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่และขายได้เป็นรายแรก Smith ( 2010 : p5)
นวัตกรรม หรือ ไม่ - สวัสดิ์ นฤวรวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด…บอกว่าขอเปิด...เปิดศักราชปีม้า...ด้วยการชูความเป็นเจ้าตลาดนวัตกรรมคืนเบี้ยประกัน...รุกไตรมาสแรกด้วยแบบประกัน “ไม่มีโรค มีคืน” คุ้มครองโรคร้ายแรงสามกลุ่มหลัก มะเร็ง หัวใจ หลอดเลือดสมอง สูงสุดถึง 1,000,000 บาท
ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ การให้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ หรือการสร้างความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ นวัตกรรม จะต้องสามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้จากการพัฒนาสิ่งใหม่นั้นๆ ซึ่งผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะสามารถวัดได้เป็นตัวเงินโดยตรง หรือไม่เป็นตัวเงินโดยตรงก็ได้
การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ สิ่งที่จะถือเป็นนวัตกรรมได้นั้นจะต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐานของการพัฒนาให้เกิดขึ้นใหม่ ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบการทำซ้ำ
การจำแนกประเภทของนวัตกรรมการจำแนกประเภทของนวัตกรรม • การจำแนกตามเป้าหมายของนวัตกรรม (The Target of Innovation) • การจำแนกตามระดับของการเปลี่ยนแปลง (The Degree of Change) • การจำแนกตามขอบเขตของผลกระทบ (The Area of Impact)
การจำแนกตามเป้าหมายของนวัตกรรม (The Target of Innovation) • นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) การพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี หรือวิธีการใช้ก็ดี รวมไปถึงการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ให้มีคุณภาพแลประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น (รักษ์ วรกิจโภคาทร, 2547) ตัวแปรหลักที่สำคัญของการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์มี 2 ตัวแปร คือ โอกาสทางด้านเทคโนโลยี และ ความต้องการของตลาด
การจำแนกตามเป้าหมายของนวัตกรรม (The Target of Innovation) • นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) การประยุกต์ใช้แนวคิด วิธีการ หรือกระบวนการใหม่ๆ ที่ส่งผลให้กระบวนการผลิต และการทำงานโดยรวมมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบกระบวนการผลิตใหม่ เป็นต้น (รักษ์ วรกิจโภคาทร, 2547)
การจำแนกตามระดับของการเปลี่ยนแปลง (The Degree of Change) • นวัตกรรมในลักษณะเฉียบพลัน ( Radical Innovation) เป็นนวัตกรรมที่มีระดับความใหม่ ในลักษณะที่มีความแตกต่างไปจากกรรมวิธี และแนวคิดเดิมไปอย่างสิ้นเชิงหรือเป็นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน เช่น กล้องถ่ายรูปแบบดิจิตอลที่เปลี่ยนแปลงมาจากกล้อง ถ่ายรูปที่ใช้ฟิล์ม โทรศัพท์ที่เกิดขึ้นแทนการส่งข้อความด้วยจดหมายหรือบันทึกข้อความ เป็นต้น
การจำแนกตามระดับของการเปลี่ยนแปลง (The Degree of Change) • นวัตกรรมในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป (Incremental Innovation) มีลักษณะของการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไป มีการปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นทีละเล็กละน้อย จากเทคโนโลยีหรือสิ่งที่มีอยู่เดิม Christensen (1997) ได้ให้ความหมายว่าเป็นนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงจากความเชี่ยวชาญขององค์การหรือธุรกิจ ในเรื่องของเทคโนโลยีภายใต้โครงสร้างหรือสถาปัตยกรรมเดิม เช่น เครื่องซักผ้าที่มีการเปลี่ยนระบบการหมุน และประสิทธิภาพในการซักให้มีคุณภาพมากขึ้นหรือเครื่องปรับอากาศที่มีการปรับปรุงระบบการฟอกอากาศและการทำงานให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
การจำแนกตามขอบเขตของผลกระทบ(The Area of Impact) • นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เป็นนวัตกรรมที่มีพื้นฐานหรือขอบเขตของการพัฒนามาจากเทคโนโลยี โดยในปัจจุบันการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีมีบทบาทและความสำคัญต่อหลายๆอุตสาหกรรม ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยี ช่วยทำให้การพัฒนานวัตกรรมสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภค และสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นนวัตกรรมที่มีแรงผลักดันที่สำคัญของความก้าวหน้าในด้านต่างๆ ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองสิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ของประชากร
การจำแนกตามขอบเขตของผลกระทบ (The Area of Impact) • นวัตกรรมทางการบริหาร (Administrative Innovation) การคิดค้นและเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการ ตลอดจนกระบวนการจัดการองค์การใหม่ ที่ส่งผลให้ระบบการทำงาน การผลิตการออกแบบผลิตภัณฑ์ และการให้บริการขององค์การมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เช่น การบริหารองค์การในลักษณะโครงสร้างองค์การแบบเมตริกซ์ การใช้แนวคิด Balanced Score Card ในการวางแผนและประเมินผลงานขององค์การ แ น ว คิด ข อ ง ก า ร พัฒ น า น วัต ก ร ร ม แ บ บ เ ปิด ( O p e n Innovation) ก็จัดได้ว่าเป็นลักษณะของนวัตกรรมทางการบริหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานขององค์การหรือธุรกิจให้มีประสิทธิภาพหรือประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น
ความสำคัญของนวัตกรรมต่อวงการห้องสมุดความสำคัญของนวัตกรรมต่อวงการห้องสมุด นวัตกรรม ถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญของการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับการสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน โอกาสทางการตลาด และความสำเร็จให้แก่ธุรกิจเกิดขึ้นจากการที่ผู้ประกอบการใช้เรื่องของการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาสในการสร้างความแตกต่างทางธุรกิจ จนเป็นที่เข้าใจโดยทั่วกันว่า การเป็นผู้ประกอบการ และการมีนวัตกรรมเป็น สิ่งที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (Drucker, 1994 ; Kanungo, 1999 และ Zhao, 2001)
ตัวอย่าง • Google ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมด้านการค้นหาข้อมูล • Amazon ที่สามารถครองตลาดการจำหน่ายหนังสือด้วยการพัฒนานวัตกรรมด้านช่องทางการจำหน่ายรูปแบบใหม่ โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต • Starbuck ผู้ประกอบการธุรกิจร้านกาแฟ ที่ประสบความสำเร็จจากการพัฒนานวัตกรรมการดื่มกาแฟที่สะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตและวัฒนธรรม • Microsoft ผู้ประกอบการด้านธุรกิจซอฟต์แวร์ ที่ครองตลาดโลกด้วยการมีนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และนวัตกรรมกระบวนการที่สร้างพันธมิตรทางธุรกิจ และการสร้างอิทธิพลเหนือช่องทางการจำหน่ายสินค้าในรูปแบบเดิมๆ เป็นต้น