1 / 25

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง. นำเสนอโดย นางสาวระวิว รรณ ปุณ ศรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ จิตรกรรม รหัสนิสิต 56060017. ความหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ทรง มีพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517.

havard
Download Presentation

เศรษฐกิจพอเพียง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เศรษฐกิจพอเพียง • นำเสนอโดย • นางสาวระวิวรรณปุณศรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ จิตรกรรม รหัสนิสิต 56060017

  2. ความหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ว่า “...การจะเป็นเสือนั้น ไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวจะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้น มันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควรบางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก...”

  3. เศรษฐกิจพอเพียงคือ…… • ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศ หรือภูมิภาคหนึ่ง ๆ ในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่างๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ • ในระดับบุคคลนั้น คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่ตามฐานะ ตามอัตภาพ และที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด

  4. กล่าวโดยสรุปคือ….. “เศรษฐกิจพอเพียงคือ หันกลับมายึดเส้นทางสายกลาง ในการดำรงชีวิต”

  5. หลักการพึ่งตนเอง 1.ด้านจิตใจ เป็นที่พึ่งตนเอง มีจิตสำนึกที่ดี สร้างสรรให้ตนเองและชาติโดยรวม เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง 2. ด้านสังคม แต่ละชุมชนต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายชุมชนที่แข็งแรง เป็นอิสระ 3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ใช้และจัดการอย่างฉลาด พร้อมทั้งหาทางเพิ่มมูลค่า โดยให้ยึดอยู่บนหลักการของความยั่งยืน • ด้านเทคโนโลยีใช้เฉพาะที่สอดคล้องกับความต้อการ ควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของเราเอง • ด้านเศรษฐกิจ มุ่งลดรายจ่ายก่อน เป็นสำคัญ และยึดหลักพออยู่ พอกิน พอใช้

  6. เงื่อนไขและการนำไปใช้…ของเศรษฐกิจพอเพียงเงื่อนไขและการนำไปใช้…ของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง2เงื่อนไข

  7. 3 ห่วง……… ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและ การเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

  8. 2 เงื่อนไข…….คือการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบไปด้วย 1. เงื่อนไขความรู้และคุณธรรม ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต 2.เงื่อนไขชีวิต หมายถึง ดำเนินชีวิตด้วยความอดทนมีความเพียร มีสติและปัญญาบริหารจัดการการใช้ชีวิต โดยใช้หลักวิชาและคุณธรรมเป็นแนวทางพื้นฐาน

  9. การปฏิบัติตนแบบพอเพียงการปฏิบัติตนแบบพอเพียง 3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ 1. ยึดความประหยัด 2.ความถูกต้อง สุจริต 5.ละซึ่งความชั่วทำแต่ความดี 4.ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางแห่งการพ้นทุกข์

  10. 1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง 2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตา 3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบ ต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต 4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียง 5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งชั่วให้หมดสิ้นไป

  11. เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

  12. แนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงสำหรับเกษตรกร ตามแนวพระราชดำริ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการ “ทฤษฎีใหม่” 3 ขั้น คือ

  13. นัยสำคัญของแนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงนัยสำคัญของแนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ประการแรก “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” โดยมุ่งเน้นการผลิตพืชผลให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคในครัวเรือนเป็นอันดับแรกเมื่อเหลือพอจากการบริโภคแล้ว จึงคำนึงถึงการผลิตเพื่อการค้าเป็นอันดับรองลงมารองลงมา ผลผลิตส่วนเกินที่ออกสู่ตลาดก็จะเป็นกำไรของเกษตรกร ในสภาพการณ์เช่นนี้เกษตรกรจะกลายสถานะเป็นผู้กำหนดหรือเป็นผู้กระทำต่อตลาด แทนที่ว่าตลาดจะเป็นตัวกระทำหรือเป็นตัวกำหนดเกษตรกรดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และหลักใหญ่สำคัญยิ่ง คือ การลดค่าใช้จ่าย โดยการสร้างสิ่งอุปโภคบริโภคในที่ดินของตนเองเช่น ข้าว น้ำ ปลา ไก่ ไม้ผล พืชผัก ฯลฯ ประการที่สอง เศรษฐกิจแบบพอเพียงให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มของชาวบ้าน ทั้งนี้ กลุ่มชาวบ้านหรือองค์กรชาวบ้านจะทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ต่าง ๆ ให้หลากหลาย ครอบคลุมทั้งการเกษตรแบบผสมผสาน หัตถกรรมการแปรรูปอาหาร การทำธุรกิจค้าขาย และการท่องเที่ยวระดับชุมชน ฯลฯ เมื่อองค์กรชาวบ้านเหล่านี้ได้รับการพัฒนาให้เข้มแข็ง และมีเครือข่ายที่กว้างขวางมากขึ้นแล้วเกษตรกรทั้งหมดในชุมชนก็จะได้รับการ ดูแลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งได้รับการแก้ไขปัญหาในทุก ๆ ด้าน ประการที่สาม เศรษฐกิจแบบพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีความเมตตา ความเอื้ออาทร และความสามัคคีของสมาชิกในชุมชนในการร่วมแรงร่วมใจเพื่อประกอบอาชีพต่าง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจึงมิได้หมายถึง รายได้แต่เพียงมิติเดียว หากแต่ยังรวมถึงประโยชน์ในมิติอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ การสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน

  14. เกษตรทฤษฎีใหม่กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเกษตรทฤษฎีใหม่กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นทฤษฎีแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการเกษตรที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร โดยการแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน

  15. จำนวนสัดส่วนของพื้นที่นี้ทั้งหมดสามารถปรับเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพพื้นที่แต่ละแห่ง เช่นครอบครัวหนึ่งมีสมาชิกจำนวน 4 คน พื้นที่มีแหล่งน้ำใช้ได้ตลอดทั้งปี แต่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำก็ควรปรับลดพื้นที่ขุดสระ และเพิ่มพื้นที่นาข้าวเพื่อให้มีข้าวบริโภคเพียงพอตลอดทั้งปี ประโยชน์ของ "ทฤษฎีใหม่ สรุปได้ดังนี้ - ประชาชนพออยู่พอกินในระดับประหยัด เลี้ยงตนเองได้ ไม่อดอยาก ตามหลักปรัชญาของ "เศรษฐกิจพอเพียง" - ในหน้าแล้งก็สามารถนำน้ำที่เก็บกักไว้ในสระมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องอาศัยชลประทาน - ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาล ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยได้ - ในกรณีที่เกิดอุทกภัย ก็สามารถฟื้นตัว และช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากนัก

  16. พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง จำนวน 3.6 ไร่ (30%) ขุดสระกักเก็บน้ำจำนวน 2 สระ สามารถกักเก็บน้ำ ได้รวม 10,455 ลูกบาศก์เมตร เพียงพอ ต่อการนำน้ำมาใช้ ในการทำการเกษตรได้ทั้งปีแต่การผันน้ำมาใช้นั้น ยังคงต้องใช้เครื่องจักรกลในการสูบน้ำมาใช้ ทำให้สูญเสียพลังงานเชื้อเพลิง จำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ถ้าสามารถลดการใช้พลังงานลงได้หรือ หาพลังงาน เชื้อเพลิงอื่นทดแทน หรือมีการวางแผนการใช้น้ำ เช่น หากพื้นที่มีระดับที่ต่างกันมาก สามารถวางท่อนำน้ำออกมาใช้โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำและน้ำมัน เป็นการจัดการทำให้ ต้นทุนการเกษตรลดลงได้ในระยะยาว

  17. พื้นที่ส่วนที่สอง 3.6 ไร่ (30%) ใช้ปลูกข้าว ดำเนินการในปี 2547 เตรียมดิน หว่านกล้าและปักดำโดยใช้ข้าวจ้าวหอมมะลิ 105 จำนวน 40 กิโลกรัม ทำการกำจัดวัชพืชในนาข้าว โดยการถอน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16 – 20 – 0 จำนวน 30 กิโลกรัมและปุ๋ยเคมีสูตร 40 – 0 – 0 จำนวน 30 กิโลกรัม

  18. พื้นที่ส่วนที่สาม 3.6 ไร่ (30%) ปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยแบ่งพื้นที่ปลูกดังนี้ 1. พื้นที่จำนวน 2 ไร่ ปลูกมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ จำนวน 50 ต้น 2. พื้นที่จำนวน 0.5 ไร่ ปลูกกล้วยน้ำหว้า จำนวน 60 ต้น 3. พื้นที่จำนวน 0.5 ไร่ ปลูกพืชผัก จำนวน 20 แปลง 4. พื้นที่จำนวน 0.6 ไร่ ปลูกไม้ใช้สอย อาทิเช่น - ต้นสัก จำนวน 30 ต้น - ต้นยูคาลิปตัส จำนวน 80 ต้น - ต้นไผ่รวก จำนวน 10 ต้น - ต้นไผ่ตง จำนวน 5 ต้น - ต้นหวาย จำนวน 30 ต้น

  19. พื้นที่ส่วนที่สี่ 1.2 ไร่ (10%) เป็นพื้นที่สร้างที่อยู่อาศัยและคอกสัตว์ 1. สร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ จำนวน 1 หลังขนาด 3*4 เมตร เลี้ยงไก่แล้ว 3 รุ่น จำนวน 200 ตัว คัดไว้เป็นพ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัวและแม่พันธุ์ จำนวน 10 ตัว 2. สร้างโรงเรือนเลี้ยงเป็ดจำนวน 1 หลัง ขนาด 3*4 เมตร ใช้เลี้ยงเป็ด 3 รุ่น จำนวน 129 ตัว คัดไว้เป็นพ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัวและแม่พันธุ์ จำนวน 10 ตัว 3. สร้างโรงเรือนสุกร จำนวน 1 หลัง ขนาด 3.5*19.5 เมตร ดำเนินการเลี้ยงสุกรจำนวน 20 ตัว 4. สร้างศาลาถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 1 หลัง ขนาด 3.5*10.5 เมตร ใช้เป็นพื้นที่แสดงและถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป

  20. ผลที่ได้รับจากแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงผลที่ได้รับจากแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กล่าวโดยสรุปสาระสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง แม้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนี้อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีก เลี่ยงได้แต่ผลกระทบต่าง ๆ จะไม่รุนแรงมากนักถ้าหากทุกภาคส่วนของสังคมมีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยยึดหลักความพอดีกับศักยภาพของตนเอง บนพื้นฐาน ประชาชนทุกอาชีพหากใช้ชีวิตโดยยึดหลักความพอเพียงย่อมนำความเป็นอยู่ที่ดีมาสู่ตนและครอบครัว การอยู่ด้วยความพอเพียงทำให้เราเหลือกินเหลือเก็บ ไม่ลำบาก สามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อนใคร ไม่ต้องเป็นหนี้ การอยู่อย่างพอเพียง อยู่ด้วยสติปัญญาย่อมไม่นำพาไปสู่อบายมุม ซึ่งจะนำความเสื่อมมาสู่ตนในภายหลัง ผู้ที่อยู่อย่างพอเพียงจะมีความสุขอยู่ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ แม้สังคมจะไหลไปตามกระแสแห่งทุนนิยมที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัตถุอยู่ตลอดเวลา หากแต่ผู้มีสติและตั้งตนอยู่บนความพอเพียงก็จะอยู่อย่างเป็นสุขได้โดยไม่ไหลไปตามกระแสวัตถุนิยม แนวคิดของระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่มีสาระสำคัญดังกล่าวข้างต้นนั้น น่าจะนำมาใช้เป็นแบบอย่างของการพัฒนา ประเทศไทยในระยะต่อไป ถึงแม้ว่าข้อคิดทั้งหมดจะมุ่งเน้นไปสู่กลุ่มเกษตรกร หรือผู้มีที่ดินทั้งหลาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องกลับไป สู่ภาคเกษตรหมด ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในสภาพความเป็นจริง เป็นแนวปฏิบัติตน ไม่ว่าจะอยู่ในกิจกรรม อาชีพใด ก็ต้องยึดวิถีชีวิตไทย อยู่แต่พอดี อย่าฟุ่มเฟือยอย่างไร้ประโยชน์ อย่ายึดวัตถุเป็นที่ตั้ง ยึดเส้นทางสายกลาง อยู่กินตามฐานะ ใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิต จำเริญเติบโต อย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่าใช้หลักการลงทุนเชิงการพนัน ซึ่งตั้งอยู่บนความเสี่ยง กู้เงินมาลงทุนโดยหวังรวยอย่างรวดเร็ว แล้วก็ไปสู่ความล้มละลายในที่สุด “รู้รักสามัคคี” ใช้สติปัญญาปกป้องตนเองไม่ให้หลงกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยไม่รู้ถึงเหตุและผลตาม สภาพแวดล้อมของไทย ให้รู้จัก แยกแยะสิ่งดี สิ่งเลว สิ่งที่เป็นประโยชน์ ตามสภาพความเป็นจริงของบ้านเมืองของเราเป็นที่ตั้ง

  21. เศรษฐกิจพอเพียง คือ การดำรงชีวิตในความพอดี มีชีวิตใหม่ คือ หวนกลับมาใช้วิถีชีวิตไทย จะทำให้ชาติบ้านเมืองและตัวเราหลุดพ้นจากความทุกข์และมีความสุขในที่สุด

  22. นักเรียนกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนักเรียนกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนและเยาวชนแม้จะยังไม่มีอาชีพ แต่สามารถนำหลักของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ได้ ในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น - ฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีคุณธรรม มีความอดทน ความซื่อสัตย์ และขยันหมั่นเพียร - ฝึกการมองไปข้างหน้า และเตรียมตัวให้พร้อมกับความผันผวนของเหตุการณ์ต่างๆ อย่างรู้เท่าทัน ตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผล - หมั่นแสวงหาความรู้ เพื่อให้เกิดความรู้รอบในด้านต่างๆ และฝึกฝนตนเองให้มีความรอบคอบและระมัดระวัง โดยใช้สติปัญญาในการทำงานและดำเนินชีวิต - ไม่เบียดเบียนผู้อื่น แบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน - รู้จักอดออม ไม่โลภ ไม่ฟุ้งเฟ้อ

  23. ขอจบการนำเสนอเพียงแค่นี้ขอจบการนำเสนอเพียงแค่นี้ Credit http://www.moac.go.thhttp://www.kasedtakon.com http://www.rdpb.go.th/rdpb/TH/BRAN DSITE/newsdetail1.aspx?389 นำเสนอโดย นางสาวระวิวรรณปุณศรี 56060017

More Related