200 likes | 534 Views
สรุป. BOD (Biochemical Oxygen Demand) หมายถึง ปริมาณของออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ (Microorganism) ในขณะที่สลายสารอินทรีย์ หรือใช้สารอินทรีย์เป็นอาหารภายใต้ภาวะที่มีอากาศ (Aerobic Condition)
E N D
สรุป • BOD (Biochemical Oxygen Demand) หมายถึง ปริมาณของออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ (Microorganism) ในขณะที่สลายสารอินทรีย์ หรือใช้สารอินทรีย์เป็นอาหารภายใต้ภาวะที่มีอากาศ (Aerobic Condition) • COD (Chemical Oxygen Demand) หมายถึง ปริมาณของออกซิเจนที่ต้องการทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ภายใต้ภาวะสาร Strong oxidizing และกรดเข้มข้น *** BOD และ COD เป็นตัวชี้วัดความต้องการของออกซิเจนของน้ำ
สรุป ตัวอย่างน้ำเสียที่มีค่า COD = 100 mg/L ค่า BOD โดยประมาณ= COD = 100 = 50 mg/L 2 2
สรุป • DO (Dissolved Oxygen) คือ การหาปริมาณออกซิเจนซึ่งละลายอยู่ในน้ำ เป็นลักษณะสำคัญที่จะบอกให้ทราบว่าน้ำนั้นมีความเหมาะสมเพียงใดต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในน้ำ และแนวการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในน้ำว่าเป็นประเภทใช้ออกซิเจนอิสระ (Aerobic) หรือไม่ใช้ออกซิเจนอิสระ (Anaerobic)
สรุป • ปริมาณออกซิเจนซึ่งละลายในน้ำมีความสัมพันธ์กับ 1. อุณหภูมิของน้ำ 2. ความดันบรรยากาศ 3. สิ่งเจือปนในน้ำ (Impurities) • ค่า DO มีความสำคัญในการที่จะรักษาสภาวะของน้ำให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ คือให้มี DO ปริมาณพอเหมาะ เช่น ไม่น้อยกว่า 4 มก./ลิตร เป็นต้น
สรุป คุณภาพน้ำทางเคมี • เหล็กและแมงกานีส ธาตุทั้งสองถ้ามีในน้ำมากเกินไปทำให้เกิดปัญหาในการใช้เพื่อการซักล้างและทำให้เกิดกลิ่น, รส ที่ไม่พึงประสงค์ในอาหารและเครื่องดื่ม ดังนั้น ปริมาณเหล็กและแมงกานีสจึงกำหนดไว้เป็น 0.5 และ 0.3 มก./ลบ.เดซิเมตร ตามลำดับ
สรุป คุณภาพน้ำทางเคมี (ต่อ) • ทองแดงและสังกะสี ธาตุทั้งสองไม่มีโทษต่อร่างกาย แต่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ในทางโภชนาการ แต่ถ้ามีมากทำให้รสของน้ำไม่ชวนดื่ม จึงได้มีการกำหนดค่าทองแดงและสังกะสีไว้เป็น 1.0 และ 3.0 มก./ลบ.เดซิเมตร ตามลำดับ
สรุป คุณภาพน้ำทางเคมี (ต่อ) • คลอไรด์และซัลเฟต เกลือคลอไรด์ถ้าละลายอยู่ในน้ำมากจะทำให้เกิดรสเค็มไม่ชวนดื่ม ส่วนเกลือซัลเฟตที่ละลายอยู่ในน้ำจำนวนมากจะทำให้เกิดอาการท้องร่วงขึ้นได้ โดยเฉพาะหากมีแมกนีเซียมรวมอยู่ด้วย โดยทั่วไปซัลเฟตมีผลทำให้เกิดรสได้น้อยกว่าคลอไรด์ • การกำหนดมาตรฐานน้ำบริโภคจึงกำหนดให้น้ำบริโภคมีปริมาณคลอไรด์และซัลเฟตอยู่ไม่เกิน 250 และ 400 มก./ลบ.เดซิเมตร ตามลำดับ
สรุป คุณภาพน้ำทางเคมี (ต่อ) • ความกระด้าง ไม่มีผลต่อสุขภาพอนามัยมากนัก แต่มีผลต่อการซักล้างทำให้เปลืองสบู่และทำให้เกิดตะกรันในหม้อต้มน้ำ นอกจากนี้ยังทำให้น้ำมีรสเฝื่อน จึงกำหนดค่าความกระด้างไว้เป็น 300 มก./ลบ.เดซิเมตร
สรุป คุณภาพน้ำทางเคมี (ต่อ) • ไนเตรท มีพิษต่อร่างกายหากมีอยู่ในปริมาณสูงในน้ำบริโภค โดยเฉพาะในเด็กทารกซึ่งจะทำให้ร่างกายเกิดการขาดออกซิเจน เกิดอาการตัวเขียวและอาจทำให้เด็กถึงแก่ความตายได้ จึงกำหนดค่าไนเตรท (ในรูปของไนโตรเจน) มีค่าไม่เกิน 10 มก./ลบ.เดซิเมตร
สรุป คุณภาพน้ำทางเคมี (ต่อ) • ฟลูออไรด์ โดยธรรมชาติ ฟลูออไรด์จะมีอยู่ในน้ำและอาหารบางชนิดในปริมาณเล็กน้อย ถ้ามีอยู่ในน้ำบริโภคในระดับเกินกว่า 1.5 มก./ลบ.เดซิเมตร อาจมีผลทำให้ฟันผิดปกติ และหากมีอยู่ในระดับ 3.0 – 8.0 มก./ลบ.เดซิเมตร จะมีผลทำให้กระดูกฝิดปกติ • ค่ามาตรฐานจึงกำหนดค่าฟลูออไรด์ไม่เกินกว่า 1.0 มก./ลบ.เดซิเมตร
สรุป คุณภาพน้ำทางเคมี (ต่อ) • คลอรีนอิสระตกค้าง สำหรับน้ำบริโภคที่มีการปรับปรุงคุณภาพโดยใช้คลอรีนในการฆ่าเชื้อโรคควรที่จะให้มีปริมาณคลอรีนอิสระตกค้างอยู่ในระหว่าง 0.2 – 0.5 มก./ลบ.เมตร หรือตามที่หน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น • ตัวอย่าง เช่น น้ำประปาที่มีท่อส่งยาวอาจต้องเติมคลอรีนให้มีคลอรีนเหลืออยู่ในท่อต้นทางประมาณ 1 มก./ลิตร เพื่อให้ปลายท่อมีคลอรีนไม่น้อยกว่า 0.2 มก./ลิตร หรือกรณีที่เกิดโรคระบาดอาจเติมคลอรีนเป็น 2 เท่าของปกติก็ได้
สรุป คุณภาพน้ำทางสารพิษ • สารหนู จากข้อมูลทางด้านสุขภาพอนามัยพบว่าปริมาณสารหนูขนาด 0.05 มก./ลบ.เดซิเมตร เป็นเกณฑ์ที่ปลอดภัย จึงกำหนดค่าสารหนูในน้ำบริโภคไม่ควรเกิน 0.05 มก./ลบ.เดซิเมตร • แคดเมียม จัดเป็นสารพิษที่มีความเป็นพิษสูงแม้ได้รับเข้าสู่ร่างกายเพียงเล็กน้อย ดังนั้น จึงกำหนดค่าของแคดเมียมไว้ไม่เกิน 0.005 มก./ลบ.เดซิเมตร
สรุป คุณภาพน้ำทางสารพิษ (ต่อ) • โครเมี่ยม เนื่องจากโครเมี่ยม มีอันตรายต่อคนมาก จึงกำหนดค่าโครเมี่ยมไว้ไม่เกิน 0.05 มก./ลบ.เดซิเมตร • ไซยาไนด์ จัดว่าเป็นสารพิษที่มีผลต่อร่างกายมนุษย์อย่างเฉียบพลัน ดังนั้น จึงได้กำหนดมาตรฐานของไซยาไนต์ไว้ไม่เกิน 0.5 มก./ลบ.เดซิเมตร
สรุป คุณภาพน้ำทางสารพิษ (ต่อ) • ตะกั่ว เป็นสารพิษที่เกิดโทษอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพอนามัยเมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารก เด็ก และหญิงมีครรภ์ จะไวต่อสารนี้มาก ดังนั้น ในน้ำบริโภคจึงกำหนดให้มีระดับตะกั่วอยู่ได้ไม่เกิน 0.05 มก./ลบ.เดซิเมตร
สรุป คุณภาพน้ำทางสารพิษ (ต่อ) • ปรอท เป็นสารพิษสูงและไม่มีประโยชน์ใด ๆ ต่อร่างกาย ปรอทมีผลทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท ดังนั้นจึงกำหนดให้น้ำบริโภคมีปรอทอยู่ไม่เกิน 0.001 มก./ลบ.เดซิเมตร • ซิลิเนียม เป็นสารที่มีพิษคล้ายสารหนู มีผลต่อระบบประสาท อาจมีอาการไอ อาเจียน เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตต่ำ ค่าซิลิเนียมในน้ำบริโภคไม่ควรเกิน 0.01 มก./ลบ.เดซิเมตร